หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

3. คำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร

2419"การเผยแสดง (ความจริง) ของคริสตชน... ช่วยส่งเสริมให้เราเข้าใจบัญญัติของการดำรงชีวิตในสังคม" (พระศาสนจักรในโลกสมัยนี้ ข้อ 23.1) พระศาสนจักรได้รับการเผยแสดงความจริงเกี่ยวกับมนุษย์จากพระวรสาร       เมื่อพระศาสนจักรปฏิบัติพันธกิจการประกาศพระวรสาร ก็เป็นพยานแก่มนุษย์ถึงศักดิ์ศรีและกระแสเรียกต่อพี่น้อง ในนามของพระคริสตเจ้า พระศาสนจักรสอนถึงการเรียกร้องด้านความยุติธรรมและสันติภาพที่สอดคล้องกับพระปรีชาญาณ

2420พระศาสนจักรตัดสินด้านศีลธรรมในเรื่องเศรษฐกิจและสังคม "เมื่อสิทธิขั้นมูลฐานของบุคคล หรือความรอดของวิญญาณเรียกร้องให้ทำ" (พระศาสนจักรในโลกสมัยนี้ ข้อ 76.5) ในด้านศีลธรรมพระศาสนจักรมีพันธกิจแตกต่างจากอำนาจทางการเมือง พระศาสนจักรสนใจเรื่องฝ่ายโลกที่เกี่ยวกับความดีส่วนรวม เพราะต่างก็มีจุดหมายเพื่อความดีสูงสุด ซึ่งเป็นเป้าหมายสุดท้ายของเรา พระศาสนจักรพยายามให้เกิดทัศนคติที่ถูกต้อง โดยเคารพความดีฝ่ายโลก และความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจ - สังคม

2421คำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักรได้พัฒนาในศตวรรษที่ 19 เมื่อพระวรสารได้เผชิญกับสังคมอุตสาหกรรมยุคใหม่ ที่มีโครงสร้างใหม่เพื่อผลิตสิ่งของให้บริโภค ที่มีความคิดด้านสังคม รัฐ และอำนาจแนวใหม่ ที่มีรูปแบบใหม่ในการทำงานและการเป็นเจ้าของ การพัฒนาคำสอนของพระศาสนจักรเกี่ยวกับสังคมและเศรษฐกิจ ยืนยันคุณค่าถาวรของคำสอนพระศาสนจักร และในเวลาเดียวกันก็ยืนยันความหมายแท้ของธรรมเนียมประเพณี ซึ่งมีชีวิตชีวาและกระตือรือร้นอยู่เสมอ (เทียบ การเฉลิมฉลองปีที่ 100 ข้อ 3)

2422คำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักรประกอบด้วยข้อคำสอน ซึ่งพระศาสนจักร พยายามอธิบายเหตุการณ์ในกระแสประวัติศาสตร์ อาศัยความช่วยเหลือของพระจิตเจ้า ในแสงสว่างแห่งคำสอนทั้งหมดที่พระเยซูคริสตเจ้าได้เผยแสดง (เทียบ ความห่วงใยเรื่องสังคม 1.41) ยิ่งมนุษย์ผู้มีน้ำใจดีสามารถยอมรับคำสอนนี้ง่ายเท่าใด บรรดาคริสตชนยิ่งสามารถนำไปปฏิบัติได้เพียงนั้น

2423คำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักรเสนอแนะหลักให้พิจารณา  เสนอเกณฑ์ให้ตัดสิน และให้แนวทางเพื่อปฏิบัติ

ระบบใดๆ ซึ่งองค์ประกอบด้านเศรษฐกิจเป็นตัวกำหนดความสัมพันธ์ทางสังคมทั้งหมด ถือเป็นการขัดต่อธรรมชาติของมนุษย์ และกิจการของเขา (เทียบ การเฉลิมฉลองปีที่ 100 ข้อ 24)

2424ทฤษฎีที่หากำไรโดยรูปแบบและเป้าหมายสูงสุดของกิจการธุรกิจ ถือว่าผิดศีลธรรม ความต้องการเงินแบบผิดๆ จะทำให้เกิดผลร้าย เป็นสิ่งหนึ่งในบรรดาความขัดแย้งที่ทำลายระบบสังคม

(พระศาสนจักรในโลกสมัยนี้ ข้อ 63.3)

ระบบหนึ่งที่ถือว่าสิทธิขั้นพื้นฐานของแต่ละบุคคล และของกลุ่มสำคัญน้อยกว่าการจัดองค์การด้านผลิตแบบส่วนรวม ขัดแย้งกับศักดิ์ศรีมนุษย์ (พระศาสนจักรในโลกสมัยนี้ ข้อ 65.2) การปฏิบัติใดๆ ที่ลดคุณค่าของบุคคลไปสู่ความเปล่า มากกว่าวิธีหากำไรจากมนุษย์ผู้เป็นเสมือนทาส ทำให้เขานับถือเงินทองเป็นพระเจ้า และกระจายลัทธิอเทวนิยม "ท่านไม่สามารถรับใช้พระเจ้าและเงินทองพร้อมกันได้" (มธ.6:24)

2425พระศาสนจักรปฏิเสธแนวความคิดการเมืองแบบอเทวนิยม และการปกครองโดยพรรคการเมืองเดียว ในยุคปัจจุบันที่มีชื่อว่า คอมมิวนิสต์ หรือสังคมนิยม พระศาสนจักรปฏิเสธเช่นเดียวกัน ภาคปฏิบัติของทุนนิยม ปัจเจกชนนิยม และการเน้นความสำคัญของกฎหมายการตลาด ว่าอยู่เหนือแรงงานมนุษย์ (เทียบ การเฉลิมฉลองปีที่ 100 ข้อ 10,13,14) การกำหนดเศรษฐกิจโดยยึดการวางแผนแบบรวมศูนย์ เป็นการใช้พื้นฐานความผูกพันธ์ทางสังคมในทางที่ผิด การกำหนดโดยกฎหมายด้านการตลาดที่ทำลายความยุติธรรมในสังคม เพราะ "มีความต้องการของมนุษย์หลายอย่างที่ไม่มีวางขายในตลาด" (การเฉลิมฉลองปีที่ 100 ข้อ 34)  ต้องรักษากฎที่มีเหตุผลด้านการตลาดและความริเริ่มทางเศรษฐศาสตร์ โดยพิจารณาถึงลำดับคุณค่าที่ยุติธรรม และเห็นความสำคัญของส่วนรวมเป็นหลัก