หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

การเคารพทรัพย์สินของผู้อื่น

2408พระบัญญัติประการเจ็ดห้ามลักขโมย กล่าวคือ การแย่งชิงทรัพย์ของผู้อื่น ซึ่งขัดน้ำใจที่มีเหตุผลของเจ้าของ ไม่ถือว่าเป็นการขโมยหากเจ้าของยินยอม หรือถ้าการปฏิเสธนั้นเป็นการขัดกับเหตุผลและจุดหมายสากลของทรัพย์สินนั้น กรณีจำเป็นเร่งด่วนและชัดเจน เมื่อต้องตัดสินใจและการใช้สมบัติของคนอื่นเป็นวิธีด้วย เพื่อสนองความต้องการเร่งด่วนและมีความสำคัญ ได้แก่ อาหาร ที่พัก เสื้อผ้า...   (เทียบ พระศาสนจักรในโลกสมัยนี้ ข้อ 69.1)

2409ทุกวิถีทางที่เอาและครอบครองทรัพย์สินของเพื่อนบ้านอย่างอยุติธรรม ถึงแม้จะไม่ขัดกับกฎหมายบ้านเมืองก็เป็นการทำผิดพระบัญญัติประการเจ็ด ได้แก่การครอบครองสิ่งของที่ยืมไว้โดยจงใจ หรือสิ่งของที่เก็บได้ การฉ้อโกงในธุรกิจ การจ่ายค่าจ้างที่ไม่ยุติธรรม การบังคับ ขึ้นราคาเก็งกำไร เอาเปรียบคนอื่นที่ไม่รู้หรือทำงานหนัก (เทียบ ฉธบ.25:13-16; 24:14-15;ยก.5:4;อมส.8:4-6)

สิ่งต่อไปนี้ก็ไม่ถูกต้องตามศีลธรรมเช่นกัน ได้แก่ การเก็งกำไร ซึ่งเปลี่ยนแปลงคุณค่าของสินค้า โดยการคดโกงเพื่อหาผลประโยชน์จากความเสียหายของคนอื่น การฉ้อราษฎร์บังหลวง ซึ่งมีอิทธิพลต่อการตัดสินของเจ้าหน้าที่ตามกฎหมาย การยึดเป็นเจ้าของและใช้ทรัพย์สินส่วนรวมมาเป็นของส่วนตัว การปฏิบัติแบบไม่รับผิดชอบ การโกงภาษีอากร การออกเช็คและใบเสร็จปลอม การใช้จ่ายเกินขอบเขตและสิ้นเปลือง การตั้งใจทำลายทรัพย์สินส่วนบุคคลหรือส่วนรวม เป็นการขัดต่อกฎศีลธรรมและจำเป็นต้องชดใช้

2410ต้องรักษาสัญญา (Promises) และปฏิบัติตามข้อตกลง (Contacts) โดยเคร่งครัด ตามที่ได้ตกลงกันไว้อย่างถูกต้องตามศีลธรรม ชีวิตสังคมและเศรษฐกิจจะเด่นก็ขึ้นกับเกียรติที่เราถือตามสัญญากับบุคคลอื่นทั้งเรื่องฝ่ายกายและศีลธรรม   เช่นข้อตกลงธุรกิจซื้อขายตามสัญญา การเช่าหรือการงานเราต้องปฏิบัติตามที่ตกลงไว้ทุกข้อ และการกระทำด้วยเจตนาบริสุทธิ์

2411ข้อตกลงต่างๆ ต้องมีความยุติธรรมแบบต่างตอบแทน (Commutative Justice) ซึ่งหมายถึงการแลกเปลี่ยนระหว่างบุคคล และระหว่างสถาบันที่มีการเคารพสิทธิกันอย่างเคร่งครัด ความยุติธรรมแบบต่างตอบแทนเรียกร้องให้มีการพิทักษ์รักษาสิทธิในทรัพย์สิน การจ่ายหนี้สินและการทำตามข้อบังคับที่ได้สัญญากันไว้อย่างเสรีนั้นโดยสมบูรณ์ ปราศจากความยุติธรรมแบบต่างตอบแทนแล้ว ความยุติธรรมแบบอื่นย่อมเป็นไปไม่ได้

ความยุติธรรมแบบต่างตอบแทนแตกต่างกับความยุติธรรมแบบกฎหมาย (Legal) ซึ่งหมายถึงพลเมืองย่อมต้องยุติธรรมต่อชุมชน และแตกต่างกับความยุติธรรมแบบแจกจ่าย (Distributive Justice) ซึ่งหมายถึงสิ่งที่ชุมชนต้องปฏิบัติต่อพลเมืองตามที่พวกเขาได้ให้การมีส่วนสนับสนุนและความจำเป็นของพวกเขา

2412ตามความยุติธรรมแบบต่างตอบแทน ใครที่ขโมยหรือโกงต้องชดเชยสิ่งของนั้นคืนเจ้าของ

พระเยซูเจ้าทรงกล่าวชมศักเคียสสำหรับข้อเสนอของเขาว่า "ถ้าข้าพระองค์ได้โกงผู้ใด ข้าพระองค์ยอมคืนให้เขาสี่เท่า" (ลก.19:8) บรรดาผู้ที่ยึดทรัพย์สินของผู้อื่นไว้โดยตรงหรือโดยอ้อม ก็ต้องชดใช้คืนเจ้าของ หรือถ้าสิ่งนั้นไม่อยู่แล้วก็ให้ทดแทนเท่าเทียมกันหรือเป็นเงิน รวมทั้งผลกำไรหรือผลประโยชน์ที่เจ้าของควรได้รับจากสิ่งนั้นอย่างถูกต้อง ในทำนองเดียวกัน ทุกคนที่มีส่วนในการขโมยด้วยวิธีใดก็ตามหรือมีส่วนได้รับผลประโยชน์จากการขโมยนั้นโดยรู้ตัว ตัวอย่างเช่น ผู้บงการ ช่วยเหลือหรือรับของขโมยมา ต้องชดใช้ตามสัดส่วนความรับผิดชอบและส่วนแบ่งที่ถูกขโมยมา

2413เกมที่เสี่ยง (เช่น การเล่นไพ่ ฯลฯ) หรือการพนัน ในตัวมันเองไม่ขัดต่อความยุติธรรม แต่เราไม่อาจยอมรับสิ่งเหล่านี้ตามหลักศีลธรรม เมื่อทำให้บางคนขาดสิ่งที่จำเป็นสำหรับตนเองและของคนอื่น การติดการพนันเสี่ยงต่อการกลายเป็นทาส การฉ้อโกงในการพนันหรือการเล่นอื่นๆ ถือเป็นเรื่องหนัก ยกเว้นแต่ว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นเบามากจนว่าเจ้าทุกข์ไม่ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ

2414พระบัญญัติประการเจ็ดห้ามกระทำกิจการไม่ว่าด้วยเหตุผลใดๆ เช่นเห็นแก่ตัวหรือฝันเฟื่อง การค้าหรือเผด็จการทำให้คนกลายเป็นทาส ถูกซื้อ ถูกขายไป และแลกเปลี่ยนเหมือนสินค้า โดยไม่คำนึงถึงศักดิ์ศรีของคน การลดคุณค่าของบุคคลด้วยความรุนแรงเพื่อค่าแลกเปลี่ยนทางการผลิตหรือเป็นแหล่งรายได้ เป็นบาปผิดต่อศักดิ์ศรีของบุคคลและสิทธิขั้นพื้นฐานของเขา     นักบุญเปาโลสั่งเจ้านายคริสตชนให้ปฏิบัติต่อทาสคริสตชนของเขา "มิใช่ในฐานะทาส แต่ในฐานะที่ดีกว่ามาก คือเป็นน้องชายที่รัก... ทั้งในฐานะที่เป็นเพื่อนมนุษย์ และในฐานะที่เป็นพี่น้องในองค์พระผู้เป็นเจ้า" (ฟม.16)