หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

มาตรา 7 

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

พระบัญญัติประการเจ็ด

อย่าลักขโมย (อพย.20:15; เทียบ ฉธบ.5:19; มธ.19:18)

2401พระบัญญัติประการเจ็ดห้ามเอาหรือเก็บรักษาสิ่งของของเพื่อนบ้านอย่าง อยุติธรรม และก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินเพื่อนบ้านด้วยวิธีใดๆ พระบัญญัติประการนี้สั่งให้มีความยุติธรรมและความรักเมตตาในการจัดการทรัพย์สมบัติฝ่ายโลก และผลงานของมนุษย์ พระบัญญัติประการนี้เรียกร้องให้เคารพจุดหมายสากลของสิ่งของส่วนรวม และเคารพสิทธิในทรัพย์สินส่วนตัว  ชีวิต คริสตชนพยายามที่จะใช้ทรัพย์สมบัติโลกนี้มุ่งสู่พระเจ้าและแสดงความรักฉันพี่น้อง

1. จุดหมายปลายทางสากลและการเป็นเจ้าของทรัพย์สินส่วนตัว

2402ตอนแรกเริ่ม พระเจ้าได้ทรงมอบแผ่นดินโลกและแหล่งทรัพยากรไว้ให้มนุษย์ เพื่อให้ดูแลรักษาครอบครองด้วยการทำงานและชื่นชมงานนั้น (เทียบ ปฐก.1:26-29) ทรัพย์สินจากการสร้างโลกนั้นถูกกำหนดไว้ให้มนุษย์ชาติทั้งมวล อย่างไรก็ตาม เราสามารถแบ่งปันสิ่งของบนแผ่นดินแก่กัน เพื่อให้มีความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตที่ยากจน และถูกคุกคามด้วยความรุนแรง การครอบครองทรัพย์สินนั้นถูกต้องเพื่อประกันเสรีภาพและศักดิ์ศรีของบุคคล เพื่อช่วยเหลือแต่ละคนให้สนองตอบความต้องการขั้นพื้นฐานของตนและความต้องการของบรรดาผู้อยู่ในความดูแล การครอบครองเป็นเจ้าของนั้นควรมี เพื่อพึ่งพาอาศัยกันและพัฒนามนุษย์

2403สิทธิต่อทรัพย์สินส่วนตัวที่ได้มาหรือได้รับมาด้วยวิธีที่ถูกต้อง มิได้ทำลายของประทานต้นกำเนิดของแผ่นดินโลกแก่มวลมนุษย์ จุดหมายสากลของทรัพย์สินนั้นยังคงเป็นขั้นเบื้องต้น แม้ว่าการส่งเสริมความดีของส่วนรวมเรียกร้องให้เคารพสิทธิทรัพย์สินส่วนบุคคลและการใช้ทรัพย์สินนั้น

2404"เมื่อใช้สิ่งของเหล่านี้ มนุษย์ต้องไม่ถือว่าของภายนอกที่เขาเป็นเจ้าโดยชอบธรรมเป็นของตนเท่านั้น แต่ควรถือเป็นของร่วมกัน โดยสำนึกว่าของเหล่านั้นอาจเป็นประโยชน์ไม่ใช่แก่ตนเท่านั้น แต่อาจเป็นประโยชน์แก่คนอื่นด้วย" (พระศาสนจักรในโลกสมัยนี้ ข้อ 69.1) การเป็นเจ้าของทรัพย์สินชิ้นหนึ่ง ทำให้ผู้นั้นเป็นผู้จัดการแห่งปรีชาญาณ เพื่อทำให้เกิดผลประโยชน์ และแบ่งปันผลประโยชน์ให้ผู้อื่น และเป็นต้นแก่สมาชิกทุกคนในครอบครัว

2405สิ่งที่ผลิตขึ้นมา ทั้งเป็นวัตถุหรือไม่ใช่วัตถุ เช่น ที่ดิน โรงงาน  ความสามารถต่างๆ หรือศิลปะเรียกร้องผู้ที่ครอบครองต้องดูแลรักษา เพื่อให้เกิดผลประโยชน์ต่อบุคคลจำนวนมาก ที่สุด บรรดาผู้ซึ่งครอบครองสิ่งของเครื่องใช้และเครื่องบริโภคต้องใช้โดยประมาณตน โดยรักษาส่วนที่ดีกว่าไว้ให้ผู้มาเยือน คนเจ็บไข้และผู้ยากไร้

2406เจ้าหน้าที่ฝ่ายบ้านเมืองมีสิทธิและหน้าที่ควบคุมการใช้สิทธิต่อสิ่งครอบครองที่ถูกต้องเพื่อประโยชน์ส่วนรวม (เทียบ พระสมณความห่วงใยเรื่องสังคม ข้อ 42 การเฉลิมฉลองปีที่ 100 ข้อ 40,48,71:4)