หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

การุณยฆาตกรรม [Euthanasia]

2276บรราดาผู้ที่ชีวิตถูกบั่นทอน หรืออ่อนแอ (เพราะโรคภัยไข้เจ็บ) สมควรได้รับความเคารพเป็นพิเศษ ผู้ป่วย หรือคนพิการควรได้รับความช่วยเหลือให้สามารถดำเนินชีวิตแบบปกติเท่าที่สามารถทำได้

2277ไม่ว่าจะมีเจตนาและใช้วิธีการใดๆ การุณยฆาตกรรมโดยตรง (ฆ่าเพราะสงสาร) คือการทำให้คนพิการ ผู้ป่วย หรือผู้กำลังสิ้นใจ เสียชีวิต การกระทำเช่นนี้ตามหลักศีลธรรมไม่อาจยอมรับได้

 เพราะฉะนั้น การกระทำหรือการละเว้น ซึ่งในตัวเอง หรือโดยเจตนา ก่อให้เกิดการสูญเสียชีวิตเพื่อทำให้การทนทุกข์ทรมานสิ้นสุดลง ถือเป็นการฆ่าคนในข้อฉกรรจ์ ขัดแย้งกับศักดิ์ศรีของมนุษย์และไม่เคารพพระเจ้าผู้ทรงชีวิต พระผู้สร้างของเขา ความหลงผิดในการตัดสินกล่าวอ้างว่าทำไปเพราะหวังดี ไม่อาจเปลี่ยนธรรมชาติของฆาตกรรมนี้ ซึ่งต้องถูกประณาม และห้ามกระทำเสมอไป

2278การขัดขวางวิธีดำเนินการทางแพทย์ ซึ่งเป็นภาระยุ่งยาก อันตรายเป็นพิเศษ หรือไม่แน่ใจในผลที่คาดหวังว่าอาจะเป็นสิ่งที่ถูกต้อง ในกรณีเช่นนั้น มันเป็นการปฏิเสธการปฏิบัติที่มากไป (over zealous) คนหนึ่งที่ไม่มีเจตนาจะเป็นเหตุให้เกิดความตาย เขาไม่สามารถจะขัดขวางได้ มันถึงจะยอมรับได้ คนไข้ควรเป็นผู้ตัดสินใจเอง ถ้าเขาสามารถ หรือหากเขาไม่สามารถ (ตัดสินใจเองได้) ผู้ที่มีสิทธิตัดสินแทนคนไข้ตามกฎหมายจึงเป็นผู้ตัดสินใจ โดยต้องพิจารณาเคารพเจตนาที่มีเหตุผล และผลประโยชน์ตามกฎหมายเสมอ

2279ถ้ามีการพิจารณาว่าใกล้สิ้นชีวิต ก็ไม่สามารถหยุดการเยียวยารักษาโดยทั่วไป การใช้ยาบรรเทาความเจ็บปวด เพื่อลดความทุขก์ทรมานของผู้ใกล้ตาย แม้เป็นการเสี่ยงที่จะทำให้ชิวตของเขาสั้นลง ตามหลักศีลธรรมสามารถทำได้ หากความตายนั้นเป็นสิ่งพึงปรารถนา ไม่ว่าโดยความตั้งใจ หรือโดยวิธีการ แต่เป็นเพียงการคาดการณ์ล่วงหน้าและยอมให้อย่างที่ไม่อาจเลี่ยงได้ เราขอสนับสนุนการรักษาที่เป็นสิ่งที่ช่วยบรรเทาในรูปแบบพิเศษแห่งความรักที่มิได้หวังผลตอบแทนใด