หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

การฆ่าคนโดยเจตนา

2268พระบัญญัติประการห้า ห้ามฆ่าคนโดยเจตนาและจงใจ โดยถือว่าเป็นบาปหนัก ฆาตกรและบรรดาผู้ซึ่งให้ความร่วมมือโดยเจตนาในการฆ่าคนนั้นทำบาป ซึ่งส่งเสียงร้องขอล้างแค้นไปถึงสวรรค์

การฆ่าเด็กทารก การฆ่าพี่น้อง การฆ่าบิดามารดา และการฆ่าคู่สมรสนั้น เป็นอาชญากรรมฉกรรจ์ โดยเฉพาะอันเนื่องมาจากสายสัมพันธ์ทางธรรมชาติซึ่งแตกหัก ความห่วงกังวลใจเรื่องการบำรุงพันธุ์หรือสุขอนามัยของชุมชนไม่อาจทำให้การฆ่าคนนั้นชอบธรรมได้ ต่อให้อำนาจฝ่ายบ้านเมืองออกคำสั่งมา

2269พระบัญญัติประการห้า ห้ามทำการใดๆ ก็ตามที่ตั้งใจกระทำอันก่อให้เกิดความตายโดยทางอ้อม กฎศีลธรรมห้ามเปิดโอกาสให้บางคนเสี่ยงอันตรายถึงชีวิตโดยปราศจากเหตุผลอันสมควร ซึ่งมีค่าเท่ากับการปฏิเสธให้ความช่วยเหลือบุคคลที่ตกอยู่ในภัยอันตราย

การทนภาวะเงื่อนไขน่าสังเวชจากฝ่ายสังคมมนุษย์ ซึ่งนำไปสู่ความตายโดยปราศจากการที่เราพยายามจะรักษาเยียวยานั้นเป็นความอยุติธรรมที่อื้อฉาวและเป็นความผิดฉกรรจ์ การปฏิบัติของนายทุนขูดรีด และพ่อค้าในทางการค้านั้นซึ่งก่อให้เกิดความหิวโหยและความตายของพี่น้องเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ก็ได้กระทำการฆ่าคนโดยทางอ้อม ซึ่งต้องรับผิดชอบ (เทียบ อมส.8:4-10)

การฆ่าคนโดยไม่เจตนา มิใช่ว่าไม่ต้องรับผิดชอบทางศีลธรรม แต่ก็ไม่มีการแก้ตัวจากความผิดฉกรรจ์ เมื่อได้มีการกระทำในลักษณะที่จะเป็นสาเหตุให้เกิดการสูญเสียชีวิตโดยไม่มีเหตุจูงใจเหมาะสมและถึงแม้มิได้ตั้งใจให้เกิดขึ้น