หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

2. อย่าออกนามของพระเป็นเจ้าโดยไม่สมควร

2150 พระบัญญัติประการสองห้ามการสาบานเท็จ ในการทำสัญญา หรือการสาบาน คือการเอาพระเป็นเจ้าเป็นพยานในสิ่งที่คนหนึ่งยืนยัน เป็นการวอนขอพระผู้เป็นองค์ความจริงรับประกันการพูดความจริงของตน คำสาบานผูกมัดกับพระนามของพระเป็นเจ้า "จงยำเกรงพระเจ้าของท่านแต่องค์เดียวจงกราบไหว้พระองค์และสาบานโดยออกพระนามของพระองค์" (ฉธบ.6:13)

2151การปฏิเสธการสาบานเท็จเป็นหน้าที่ที่ต้องกระทำต่อพระเป็นเจ้า ในฐานะพระผู้สร้างและพระเป็นเจ้า พระองค์ทรงเป็นกฎเกณฑ์แห่งความจริงทั้งปวง ถ้อยคำของมนุษย์นั้น สอดคล้องหรือขัดแย้งกับพระเป็นเจ้าซึ่งรวมเป็นความจริง เมื่อการสาบานนั้นเป็นความจริงและถูกต้องก็เน้นถึงความสัมพันธ์ของถ้อยคำมนุษย์กับความจริงของพระเป็นเจ้า การสาบานเท็จเรียกพระเป็นเจ้ามาเป็นพยานในการโกหก

2152 บุคคลหนึ่งเป็นพยานเท็จ (perjury) เมื่อเขาทำสัญญาภายใต้การสาบานโดยตั้งใจไม่รักษาคำมั่นสัญญานั้นไว้ หรือผู้ซึ่งภายหลังได้สัญญาภายใต้การสาบานแล้วก็ไม่ปฏิบัติตาม การสาบานเท็จถือเป็นการขาดความเคารพต่อองค์พระเป็นเจ้าในทุกคำพูดในขั้นฉกรรจ์  การให้คำมั่นสัญญากับตนเองด้วยการสาบานจะกระทำงานชั่วช้า เป็นการขัดต่อความศักดิ์สิทธิ์แห่งพระนามพระเป็นเจ้า

2153ในบทเทศน์บนภูเขา พระเยซูเจ้าได้ทรงขยายความพระบัญญัติประการสองว่า       "ท่านยังได้ยินคำกล่าวแก่คนโบราณ อย่าทนสาบาน แต่จงถือตามที่ได้ปฏิญาณต่อพระเป็นเจ้า ฝ่ายเราบอกท่านว่า อย่าสาบานเลย... ขอให้ท่านกล่าวซื่อๆ ว่า ใช่หรือไม่ใช่ ที่เกินไปมาจากมาร" (มธ.5:33-34,37 เทียบ ยก.5:12) พระเยซูเจ้าทรงสอนว่า การสาบานทุกครั้งหมายถึงการอ้างอิงพระเจ้า และว่าการประทับอยู่ของพระเจ้าและความจริงของพระองค์นั้นต้องได้รับการให้เกียรติในทุกถ้อยคำ เมื่ออ้างนามพระเป็นเจ้าเราต้องรอบคอบ กล่าวด้วยความเคารพต่อการประทับอยู่ของพระองค์

2154ตามความเห็นของนักบุญเปาโล (เทียบ 2คร.1:23;กท.1:20)   ธรรมประเพณีของพระศาสนจักรเข้าใจนั้นไม่ห้ามการสาบาน ที่ทำไปเพราะเหตุจูงใจสำคัญและถูกต้อง (ยกตัวอย่างเช่น ต่อหน้าศาล)  "การสาบาน กล่าวคือ การร้องเรียกพระนามพระเจ้าให้มาเป็นพยานถึงความจริง ไม่อาจให้ได้ถ้าไม่เป็นไปตามความจริง ความรอบคอบและความยุติธรรม" (กฎหมายพระศาสนจักร ม.1199.1)

2155ความศักดิ์สิทธิ์แห่งพระนามของพระเป็นเจ้านั้นเรียกร้องให้อย่ามุ่งใช้เพื่อสิ่งที่ไร้สาระ และการสาบานซึ่งในสถานการณ์แวดล้อมนั้นๆ    อาจจะตีความเป็นการให้ความเห็นชอบกับอำนาจซึ่งได้รับการเรียกร้องอย่างไม่ยุติธรรม เมื่อมีความต้องการสาบานโดยอำนาจฝ่ายบ้านเมืองที่ไม่ถูกต้อง ปฏิเสธในเมื่อได้รับการเรียกร้องเพื่อวัตถุประสงค์ที่ขัดต่อศักดิ์ศรีของบุคคลหรือขัดต่อเอกภาพของพระศาสนจักร