หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

4. อย่าทำรูปเคารพใดๆ

 2129 พระบัญญัติของพระเจ้าห้ามการมีตัวแทนพระเจ้าใดๆ ที่น้ำมือมนุษย์สร้างขึ้น เฉลยธรรมบัญญัติอธิบายว่า    "ในวันนั้นพวกท่านไม่เห็นสัณฐานอันใด เมื่อพระเจ้าตรัสกับท่านทั้งหลายที่โฮเรบจากท่ามกลางเพลิง จงระวังเถิด เกรงว่าท่านทั้งหลายจะหลงทำรูปเคารพแกะสลัก" (ฉธบ.4:15-16) เป็นพระเจ้า  ผู้ทรงอยู่เหนือสิ่งอื่นใดโดยเด็ดขาดซึ่งทรงเผยแสดงแก่ประชาอิสราเอล "พระองค์ทรงเป็นทุกสิ่ง" แต่ในเวลาเดียวกัน พระองค์ก็ทรงอยู่ "เหนือผลงานทั้งปวงของพระองค์" (บสร.43:29) พระองค์ทรงเป็น "บ่อเกิดแห่งความสวยงาม" (ปชญ.13:3)

2130 อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่พันธสัญญาเดิม พระเจ้าได้ทรงสั่งหรืออนุญาตให้ทำรูปสัญลักษณ์ซึ่งนำไปสู่ความรอดที่เป็นงานของพระวจนาตถ์ทรงรับเอากาย ได้แก่งูที่ติดไว้ที่เสา (เทียบ กดว.21:4-9; ปชญ.16:5-14;  ยน.3:14-15)   หีบพันธสัญญาและบรรดาเครูบิม (เทียบ อพย.25:10-22; 1พกษ.6:23-28;7:23-26)

2131 สภาสังคายนาสากลครั้งที่ 7 แห่งนิเช (ในปี 787) ได้ทำให้การสักการะรูปเคารพถูกต้องโดยตั้งพื้นฐานอยู่บนรหัสธรรมของพระวจนาตถ์ทรงรับเอากายต่อสู้กับบรรดาผู้นับถือรูปเคารพ เป็นรูปเคารพของพระคริสตเจ้า ของพระมารดาแห่งพระเจ้า ของบรรดาเทวดาและบรรดานักบุญทั้งหลาย ด้วยการรับเอากายเป็นมนุษย์พระบุตรแห่งพระเจ้าได้ทรงสถาปนา "ความไพบูลย์" (Economy) ใหม่แห่งรูปเคารพ

2132 คารวกิจต่อรูปเคารพของคริสตชนไม่ขัดแย้งกับพระบัญญัติประการแรก ซึ่งห้ามรูปปฏิมา ในทางปฏิบัติ "เกียรติที่ให้กับรูปนั้นเป็นของผู้ซึ่งเป็นตัวแทน" และ "ใครเคารพบูชาพระรูปก็เคารพบูชาความจริงซึ่งพระรูปนั้นหมายถึง" (สังคายนาแห่งนิเช ครั้งที่ 2 ข้อ 601; เทียบ SC 126) การให้เกียรติกับพระรูปศักดิ์สิทธิ์เป็น "การให้ความเคารพนับถือ" ไม่ใช่เป็นการนมัสการซึ่งใช้กับพระเจ้าองค์เดียวเท่านั้น 

กิจกรรมแห่งคารวกิจนั้นไม่มุ่งสู่รูปเคารพนั้นเอง แต่ในแง่ช่วยให้มองเห็นภาพพระเป็นเจ้าผู้ทรงบังเกิดเป็นมนุษย์ บัดนี้ อิริยาบทหันไปทางรูปเคารพนั้นในแง่เป็นรูปเคารพก็ไม่หยุดอยู่ที่รูปนั้น แต่มุ่งสู่ความจริงซึ่งรูปนั้นหมายถึง (นักบุญโทมัส อไควนัส)