หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

2. พระบัญญัติพระศาสนจักร

 2041พระบัญญัติของพระศาสนจักรจัดไว้เป็นแนวทางชีวิตศีลธรรม ซึ่งยึดเกาะและได้รับการหล่อเลี้ยงด้วยชีวิตพิธีกรรม ลักษณะบังคับของกฎด้านบวกที่ถูกกำหนดโดยอำนาจทางการอภิบาล มีจุดประสงค์จะรับประกันขั้นต่ำที่จำเป็นมากแก่สัตบุรุษ ในจิตตารมณ์ของการอธิษฐานและความพยายามทางศีลธรรม   ในการเจริญเติบโตในความรักต่อพระเจ้าและเพื่อนมนุษย์

2042พระบัญญัติข้อแรก (จงร่วมบูชามิสซาในวันอาทิตย์และวันฉลองบังคับ และพักผ่อนจากงานแบบทาส) เรียกร้องสัตบุรุษให้ถือเป็นวันศักดิ์สิทธิ์ ด้วยการระลึกถึงการกลับเป็นขึ้นมาของพระคริสตเจ้า รวมทั้งวันฉลองตามพิธีกรรมที่สำคัญ เพื่อเป็นการให้เกียรติธรรมล้ำลึกของพระเยซูเจ้า พระนางพรหมจารีมารีย์ และบรรดานักบุญ ก่อนใดหมด ด้วยการไปร่วมพิธีบูชามิสซาในที่ซึ่งชุมชนรวมกัน และด้วยการพักผ่อนจากงานและกิจกรรมต่างๆ   ซึ่งกีดกันให้ไม่สามารถถือวันดังกล่าวเป็นวันศักดิ์สิทธิ์ (เทียบ กฎหมายพระศาสนจักร ม.1246-1248)

พระบัญญัติข้อสอง (จงสารภาพบาปอย่างน้อยปีละครั้ง) ตระเตรียมการรับศีลมหาสนิทโดยทางการรับศีลแห่งการคืนดี ซึ่งต่อเนื่องงานการกลับใจและการให้อภัยบาปของศีลล้างบาป (เทียบ กฎหมายพระศาสนจักร ม.989)ถ
พระบัญญัติข้อสาม (จงรับศีลมหาสนิทอย่างน้อยระหว่างเทศกาลปัสกา) ให้ประกันขั้นต่ำที่สุดในการรับพระกายและพระโลหิตของพระคริสตเจ้า สัมพันธ์กับวันฉลองเทศกาลปัสกา ซึ่งเป็นต้นกำเนิดและศูนย์กลางของพิธีกรรมคริสตชน (เทียบ กฎหมายพระศาสนจักร ม.920)

2043พระบัญญัติข้อสี่ (จงถือวันอดอาหารและอดเนื้อตามที่พระศาสนจักรกำหนด) ทำให้ช่วงเวลาแห่งการบำเพ็ญพรตและการใช้โทษบาป ซึ่งเตรียมเราสู่วันฉลองตามพิธีกรรม และช่วยเราให้สามารถควบคุมสัญชาติญาณและมีใจอิสระ (เทียบกฎหมายพระศาสนจักร ม.1249-1251)

พระบัญญัติข้อห้า (จงช่วยเหลือจัดหาสิ่งที่จำเป็นแก่พระศาสนจักร) หมายความว่า คริสตชนต้องช่วยเหลือด้านวัตถุแก่พระศาสนจักร ตามกำลังความสามารถของแต่ละคน (เทียบ กฎหมายพระศาสนจักร ม.222) นอกจากนี้ สภา- พระสังฆราช สามารถกำหนดบัญญัติพระศาสนจักรข้ออื่นๆ ในเขตรับผิดชอบของตนเอง (เทียบ กฎหมายพระศาสนจักร ม.455)