หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

3. บัญญัติใหม่ หรือ กฎของพระวรสาร

 1965บัญญัติใหม่หรือกฎของพระวรสารนั้นเป็นความสมบูรณ์แห่งธรรมบัญญัติพระเจ้า กฎธรรมชาติ และธรรมบัญญัติที่ได้รับการไขแสดงบนพื้นพิภพนี้ เป็นผลงานของพระคริสตเจ้าและพบการแสดงออกโดยเฉพาะอย่างยิ่งในบทเทศน์บนภูเขา ยังเป็นผลงานของพระจิตเจ้าและกลายเป็นธรรมบัญญัติภายในแห่งความรักโดยอาศัยพระองค์ "เราจะทำพันธสัญญาใหม่กับตระกูลอิสราแอล... เราจะเอาบทบัญญัติของเราใส่ไว้ในจิตใจของเขา และเราจะจารึกไว้ในดวงใจของเขา และเราจะเป็นพระเจ้าของเขาและเขาจะเป็นประชากรของเรา" (ฮบ.8:8,10)

1966บัญญัติใหม่เป็นพระหรรษทานของพระจิตเจ้าให้ไว้กับสัตบุรุษอันเนื่องมาจากความเชื่อในพระคริสตเจ้า บัญญัตินั้นปฏิบัติการโดยทางความรัก บทเทศน์บนภูเขามีประโยชน์เพื่อสอนเราถึงสิ่งซึ่งต้องกระทำ และศีลศักดิ์สิทธิ์ก็ช่วยเราเพื่อให้เราได้รับพระหรรษทานที่จะปฏิบัติตามนั้น

ถ้าใครต้องการคิดรำพึงบทเทศน์ ซึ่งองค์พระเจ้าของเราได้ทรงประกาศไว้บนภูเขาด้วยความศรัทธาและคิดรำพึงให้ลึกซึ้ง ก็ให้อ่านเรื่องในพระวรสารของนักบุญมัทธิวก็จะพบ "ธรรมนูญสำคัญ"ของชีวิตคริสตชนอย่างไม่ต้องสงสัย... อันที่จริง บทเทศน์นี้รวมถึงกฎเกณฑ์พิเศษทั้งหมดของชีวิตคริสตชนด้วย (นักบุญออกัสติน)

1967กฎของพระวรสาร "สมบูรณ์" (เทียบ มธ.5:17-19) ชำระให้บริสุทธิ์ อยู่เหนือและนำบัญญัติเก่าไปสู่ความสมบูรณ์ ใน "บรมสุข" บัญญัติใหม่ทำให้คำสัญญาของพระเจ้าสมบูรณ์ โดยการยกระดับและจัดอันดับไปสู่ "พระราชัยสวรรค์" มีการหันมาหาบรรดาผู้ซึ่งพร้อมที่จะรับความหวังใหม่นี้ด้วยความเชื่อ กับผู้ยากไร้ ผู้มีใจสุภาพถ่อมตน ผู้ถูกเบียดเบียน ผู้มีใจบริสุทธิ์   ผู้ถูกข่มเหงอันเนื่องมาจากพระคริสตเจ้า  โดยการเจริญรอยตามหนทางที่น่าพิศวงของพระราชัยด้วยวิธีการเช่นนั้น

1968กฎของพระวรสารนั้นให้ความสมบูรณ์แก่คำสั่งของธรรมบัญญัติ บทเทศน์บนภูเขาขององค์พระเจ้านั้นอยู่ห่างไกลจากการลบล้าง หรือยกคุณค่าต่อคำสั่งห้ามทางศีลธรรมของธรรมบัญญัติเก่า บทเทศน์นั้นไขแสดงความมีคุณธรรมที่ซ่อนเร้นไว้และทำให้ความต้องการใหม่ๆ หลั่งไหลออกมา  ให้ความกระจ่างแก่ความจริงของพระเจ้าและมนุษย์ทั้งหมด บทสนทนานั้นไม่เพิ่มคำสั่งสอนใหม่ออกมา แต่เพื่อปรับปรุงรากเหง้าของกิจการต่างๆ ของมนุษย์ นั่นคือ ดวงใจ ที่นั่นที่ซึ่งมนุษย์เลือกระหว่างสิ่งบริสุทธิ์และไม่บริสุทธิ์ ที่ซึ่งมีการพัฒนาความเชื่อ ความหวังและความรักและคุณธรรมอื่นๆ ด้วยสิ่งเหล่านี้  เพราะฉะนั้น พระวรสารจึงนำธรรมบัญญัติไปสู่ความไพบูลย์  โดยอาศัยการเลียนแบบความสมบูรณ์ของพระบิดาเจ้าบนฟ้าสวรรค์ การให้อภัยศัตรูและการอธิษฐานให้ผู้เบียดเบียนนั้นเป็นตัวอย่างการมีใจกว้างขวางของพระเจ้า

1969บัญญัติใหม่กำหนดข้อปฏิบัติต่างๆ ของศาสนา การทำบุญให้ทาน การอธิษฐานและการถือศีลอดอาหาร โดยมุ่งตรงไปหา "พระบิดาผู้ซึ่งแลเห็นในที่ลับ" ตรงข้ามกับความต้องการที่จะ "ให้มนุษย์เห็น" บทภาวนานั้นคือ "บทข้าแต่พระบิดาของข้าพเจ้าทั้งหลาย" (เทียบ มธ.6:9-13)

1970กฎของพระวรสารนั้นเรียกร้องให้เราตัดสินใจเลือกระหว่าง "สองทาง" และการนำพระวาจาขององค์พระเจ้ามาปฏิบัติ กฎเกณฑ์นั้นสรุปออกมาใน "กฎทอง" "ท่านอยากให้เขากระทำกับท่านอย่างไร ก็จงกระทำกับเขาอย่างนั้นเถิด" นี่คือ ธรรมบัญญัติและคำสั่งสอนของบรรดาประกาศก (มธ.7:12)

กฎของพระวรสารทั้งหมดถูกบรรจุไว้ในบัญญัติใหม่ของพระเยซูเจ้า คือ "จงรักกันและกันเหมือนที่เรารักท่าน"

1971เป็นการเหมาะสมที่จะเพิ่มคำสอนทางศีลธรรมของบรรดาอัครสาวกต่อเติมบทเทศน์บนภูเขาขององค์พระเจ้า (ตัวอย่างเช่น รม.12-15, 1คร.12-13, คส.3-4, อฟ.4-5 ฯลฯ) ข้อคำสอนนี้ถ่ายทอดคำสั่งสอนขององค์พระเจ้าด้วยอำนาจของบรรดาอัครสาวกโดยเฉพาะอย่างยิ่งโดยทางการอธิบายคุณธรรมต่างๆ ที่ได้รับมาจากความเชื่อในพระคริสตเจ้าและได้รับการชุบเลี้ยงด้วยความรัก เป็นพระพรสำคัญของพระจิตเจ้า "จงรักด้วยใจจริง... จงรักกันฉันพี่น้อง... จงชื่นชมยินดีในความหวัง จงมีความอดทนต่อความทุกข์ยาก   จงพากเพียรในการภาวนา  จงเห็นอกเห็นใจช่วยเหลือพี่น้องคริสตชนในยามขัดสน จงต้อนรับด้วยอัธยาศัยไมตรี" (รม.12:9-13) คำสอนนี้ยังสอนเราให้พิจารณากรณีต่างๆ ตามจิตสำนึกในความเข้าใจแห่งความสัมพันธ์ของเรากับพระคริสตเจ้าและพระศาสนจักร

1972บัญญัติใหม่เรียกว่า พระบัญญัติแห่งความรัก เพราะว่าทำให้เกิดการกระทำอันเนื่องมาจากความรักซึ่งพระจิตเจ้าทรงระบายลงมา มากกว่าที่จะกระทำภายใต้การกระตุ้นของความกลัว เป็นบัญญัติแห่งพระหรรษทาน เพราะว่า โดยอาศัยความเชื่อและศีลศักดิ์สิทธิ์ก็ประทานพละกำลังแห่งพระหรรษทานสำหรับการกระทำ เป็นบัญญัติแห่งเสรีภาพ เพราะว่าปลดปล่อยเราจากการถือปฏิบัติตามจารีตพิธีและกฎระเบียบของบัญญัติเก่า นำเราให้ปฏิบัติการตามธรรมชาติภายใต้แรงกระตุ้นของความรัก และท้ายสุด ทำให้เราผ่านจากภาวะเป็นทาส "คนใช้ไม่รู้แผนการของนาย"  ไปสู่ภาวะของมิตรของพระคริสตเจ้า "เพราะเราให้ท่านมีส่วนรู้เห็นในสิ่งที่เราทราบจากพระบิดาของเรา" (ยน.15:15) หรือไปสู่ฐานะของบุตรผู้รับมรดก

1973นอกเหนือจากคำสั่งสอนแล้ว บัญญัติใหม่ยังรวมถึงข้อแนะนำให้ดำเนินชีวิตตามพระวรสาร การแยกแยะทางธรรมประเพณีระหว่างพระบัญญัติของพระเจ้าและข้อแนะนำให้ดำเนินชีวิตตามพระวรสารนั้นสร้างขึ้นมาให้มีความสัมพันธ์กับความรัก ความสมบูรณ์ของชีวิตคริสตชน คำสั่งสอนนี้มุ่งถึงการปรับใหม่ในสิ่งที่เข้ากันไม่ได้กับความรัก ข้อแนะนำนี้เจาะจงล่วงหน้าที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งซึ่งผิดต่อความรักเมตตา อันเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา

1974ข้อแนะนำให้ดำเนินชีวิตตามพระวรสารนี้ แสดงออกถึงความไพบูลย์ที่มีชีวิตของความรัก ซึ่งยังคงไม่พอใจที่ยังไม่ได้เพิ่มมากขึ้น ข้อแนะนำนี้เป็นประจักษ์พยานถึงแรงกระตุ้นและมีความพร้อมด้านจิตใจของเรา ความสมบูรณ์ของธรรมบัญญัติใหม่นั้นประกอบด้วยพระบัญญัติแห่งความรักต่อพระเจ้าและต่อเพื่อนมนุษย์เป็นสาระสำคัญ ข้อแนะนำนี้ชี้ให้เห็นหนทางต่างๆ ที่ถูกต้องมากขึ้น เป็นทางที่ปลอดภัย และนำมาประยุกต์ปฏิบัติให้สอดคล้องกับกระแสเรียกของแต่ละคน

พระเจ้าไม่ทรงพระประสงค์ให้ทุกคนถือปฏิบัติข้อแนะนำทุกข้อ แต่ให้ถือตามความเหมาะสมของความแตกต่างของบุคคล ของยุคสมัย ของโอกาส และพละกำลัง โดยยึดมั่นอยู่บนความรัก ซึ่งความรักนี้เสมือนเป็นราชินีแห่งคุณธรรมทั้งปวง แห่งพระบัญญัติ แห่งคำแนะนำ แห่งคำพูด แห่งกฎทุกชนิด และแห่งกิจการคาทอลิก ให้ทุกสิ่งแก่ทุกคน ความเรียบร้อย เวลา และคุณค่า (นักบุญฟรังซิส เดอ ชาลล์)