หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

มาตรา 3

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -  - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

 ความยุติธรรมทางสังคม

1928สังคมรับประกันความยุติธรรมทางสังคม เมื่อต้องการทำให้เงื่อนไขที่เห็นพ้องกับสมาคมและปัจเจกบุคคล ที่จะดำเนินการสิ่งซึ่งมีสิทธิตามธรรมชาติและกระแสเรียกของเขา ความยุติธรรมทางสังคมเชื่อมโยงกับความดีส่วนรวมและการใช้อำนาจ

1. การเคารพนับถือต่อมนุษย์

1929ความยุติธรรมทางสังคมไม่อาจได้รับมาถ้าขาดความเคารพนับถือศักดิ์ศรีเหนือธรรมชาติของมนุษย์ บุคคลนั้นเป็นตัวแทนจุดหมายสูงสุดของสังคมซึ่งได้มีการจัดระเบียบให้มุ่งไปสู่

"พระผู้สร้างทรงมอบให้เราป้องกันและสนับสนุนเกียรติและศักดิ์ศรีนี้ ไม่ว่าชายหรือหญิงในทุกขณะของประวัติศาสตร์ ก็มีพันธะผูกพันอย่างเข้มงวด และด้วยความรับผิดชอบต่อเกียรติและศักดิ์ศรีนั้น" (ความห่วงใยเรื่องสังคม ข้อ 47)

1930การให้ความเคารพต่อมนุษย์นั้นมีความหมายถึงการนับถือสิทธิซึ่งได้มาจากศักดิ์ศรีของสิ่งสร้าง สิทธิเหล่านี้มีอยู่ก่อนสังคมและมีการกำหนดวางไว้ให้สังคม สิทธิเหล่านี้เป็นพื้นฐานแห่งความถูกต้องทางศีลธรรมของผู้มีอำนาจทุกคน สังคมที่เยาะเย้ยสิ่งเหล่านี้หรือปฏิเสธที่จะยอมรับรู้ในการออกกฎก็เป็นภัยต่อความถูกต้องทางศีลธรรมของตน ถ้าขาดความเคารพนับถือเช่นนี้ อำนาจนั้นก็ไม่สามารถอยู่ได้นอกจากยึดอยู่กับพละกำลังหรือความรุนแรงเพื่อให้ได้รับการนบนอบเชื่อฟังจากผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา เป็นหน้าที่ของพระศาสนจักรที่จะทำให้มนุษย์ที่มีน้ำใจดีระลึกและจดจำถึงสิทธิต่างๆ เหล่านี้ และแยกแยะออกมาจากความถูกต้องที่นำไปใช้ในทางที่ผิด

1931ความเคารพต่อมนุษย์นั้นไม่อาจแยกออกจากความเคารพนับถือต่อหลักการนี้  "ขอให้แต่ละคนถือเพื่อนมนุษย์โดยไม่ยกเว้นแม้แต่คนเดียวว่าเป็น "ตัวของตนอีกคนหนึ่ง" โดยให้คำนึงถึงชีวิตของเขาและปัจจัยที่เขาจำเป็นต้องมีเพื่อดำรงชีวิตอย่างสมควร" (พระศาสนจักรในโลกสมัยนี้ ข้อ 27.1) ไม่มีการตรากฎใดๆ จะอยู่ในขั้นที่จะปัดเป่าความกลัว การมีอคติ ความโน้มเอียงสู่ความหยิ่งจองหองและความเห็นแก่ตัวด้วยตนเอง ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการสร้างสังคมที่เป็นพี่น้องกันอย่างแท้จริง การประพฤติปฏิบัติในทำนองเดียวกันจะหยุดได้ด้วยความรักเท่านั้น ซึ่งแลเห็น "เพื่อนมนุษย์" เป็นพี่น้องในมนุษย์ทุกคน

1932ภาระหน้าที่ที่จะวางตนเป็นเพื่อนมนุษย์ของคนอื่นและที่จะบริการรับใช้เขาอย่างจริงจังนั้นกลายเป็นเรื่องเร่งด่วนยิ่งขึ้นเมื่อมันเกี่ยวพันถึงการเอารัดเอาเปรียบกัน ไม่ว่าจะเป็นที่ใดก็ตาม "สิ่งที่ท่านได้ปฏิบัติต่อพี่น้อง แม้ที่ต่ำต้อยของเรา นั่นแหละเท่ากับได้ปฏิบัติต่อเราแล้ว" (มธ.25:40)

1933ภาระหน้าที่เดียวกันนี้ รวมถึงบรรดาผู้ซึ่งคิดหรือปฏิบัติการแตกต่างจากเราด้วย คำสั่งสอนของพระคริสตเจ้านั้นเรียกร้องให้เรารักแม้แต่ศัตรู พระองค์ทรงขยายความพระบัญญัติแห่งความรักซึ่งเป็นพระบัญญัติใหม่ให้กับศัตรูทุกคน (เทียบ มธ.5: 43-44)  การเป็นอิสระตามจิตตารมณ์ของพระวรสารนั้น ไม่อาจเข้ากันได้กับความเกลียดชังศัตรูในแง่เป็นบุคคล แต่ไม่ใช่เกลียดความชั่วซึ่งเขากระทำในแง่ที่เป็นศัตรู