หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

2. ความดีส่วนรวม

2. ความดีส่วนรวม

1905ความดีของแต่ละคนนั้นมีความสัมพันธ์กับความดีส่วนรวมโดยความจำเป็น เพื่อให้สอดคล้องกับธรรมชาติของมนุษย์ทางสังคม เรื่องนี้ไม่อาจให้คำจำกัดความเป็นอื่นไปได้นอกจากในความสัมพันธ์กับมนุษย์

จงอย่าเจริญชีวิตโดดเดี่ยวโดยการเก็บตัวราวกับว่าท่านเป็นผู้ชอบธรรมแล้ว แต่ตรงข้าม จงรวมตัวกันใหม่เพื่อแสวงหาสิ่งซึ่งเป็นประโยชน์แก่ทุกคน (จดหมายนักบุญบาร์นาบา 4,10)

 1906ต้องมีความเข้าใจสำหรับเรื่องความดีส่วนรวม "สภาพความเป็นอยู่ทางสังคมทั้งหมด ซึ่งอำนวยให้หมู่คณะ ตลอดจนสมาชิกแต่ละคนบรรลุถึงยอดความปรารถนาได้อย่างสมบูรณ์และง่ายขึ้น" (พระศาสนจักรในโลกสมัยนี้ ข้อ 26)  ความดีส่วนรวมเกี่ยวข้องกับชีวิตของทุกคน มันเรียกร้องความรอบคอบจากแต่ละคน และบรรดาผู้ซึ่งใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ ความดีส่วนรวมนั้นมีองค์ประกอบสำคัญสามประการคือ

1907ประการแรก ความดีส่วนรวมนั้นหมายถึงความเคารพส่วนบุคคลในแง่ที่เป็นบุคคล ในนามของความดีส่วนรวม อำนาจรัฐต้องเคารพสิทธิขั้นพื้นฐานและไม่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคล สังคมมีภาระหน้าที่เอื้ออำนวยให้สมาชิกแต่ละคนทำให้กระแสเรียกเฉพาะของตนเป็นจริง   ความดีส่วนรวมประกอบด้วยภาวะเงื่อนไขที่จะใช้เสรีภาพตามธรรมชาติซึ่งมีความจำเป็นในการพัฒนากระแสเรียกของมนุษย์ ภาวะเงื่อนไขนั้นคือ "สิทธิที่จะปฏิบัติตามมโนธรรมของตน สิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองชีวิตส่วนตัวและเสรีภาพอันชอบธรรมของตน เฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องถือศาสนา" (พระศาสนจักรในโลกสมัยนี้ ข้อ 26)

1908ประการที่สอง ความดีส่วนรวมเรียกร้องความเป็นอยู่ที่ดีของสังคมและการพัฒนากลุ่มของตน การพัฒนานั้นเป็นการสรุปภาระหน้าที่ทั้งหมดทางสังคม แน่นอนทีเดียว เป็นหน้าที่ของผู้มีอำนาจที่จะตัดสินใจในนามของความดีส่วนรวม ท่ามกลางผลประโยชน์พิเศษที่แตกต่างกัน แต่ผู้มีอำนาจนั้นต้องจัดการให้แต่ละคนได้รับสิ่งต่างๆ ที่ต้องการเพื่อดำรงชีวิตที่เหมาะสมแก่สภาพมนุษย์ ได้แก่ อาหาร เสื้อผ้า สุขภาพอนามัย การงาน การศึกษาและวัฒนธรรม ข้อมูลที่สะดวกเข้าถึง สิทธิที่จะตั้งครอบครัว และอื่นๆ (เทียบ พระศาสนจักรในโลกสมัยนี้ ข้อ 26.2)

1909ประการสุดท้าย ความดีส่วนรวมหมายถึงสันติสุข กล่าวคือ ความมั่นคง และความปลอดภัยของกฎระเบียบอันชอบธรรม ดังนั้น จึงหมายถึงว่า ผู้มีอำนาจควรรับประกันความปลอดภัยของสังคมและสมาชิกของตนด้วยวิธีที่ซื่อตรง ความดีส่วนรวมนั้นมีพื้นฐานบนสิทธิที่จะป้องกันตนเองและหมู่คณะตามกฎหมาย

1910ถ้าทุกชุมชนมนุษย์เป็นเจ้าของความดีส่วนรวมซึ่งเห็นพ้องที่จะยอมรับรู้อย่างที่เป็น ก็อยู่ในชุมชนทางการเมืองซึ่งพบว่าจะทำให้เป็นจริงได้อย่างสมบูรณ์     เป็นหน้าที่ของรัฐที่จะปกป้องและส่งเสริมความดีส่วนรวมของสังคม ของพลเมืองและบุคคลที่ทำหน้าที่เป็นคนกลาง

1911การพึ่งพาอาศัยกันของมนุษย์นั้นกระชับแน่นแฟ้นขึ้น แผ่ขยายไปทั่วโลก ความเป็นหนึ่งเดียวกันของครอบครัวมนุษย์ซึ่งรวมสมาชิกต่างๆ ที่ชื่นชมกับศักดิ์ศรีที่เท่าเทียมกันตามธรรมชาติ พัวพันถึงความดีส่วนรวม ระดับสากล สิ่งนี้เรียกร้องการจัดตั้งองค์กรนานาชาติให้เป็นองค์การที่สามารถจะ "จัดหาสิ่งของให้ตามที่มนุษย์ต้องการ ไม่ว่าในด้านชีวิตสังคมซึ่งได้แก่เสบียงอาหาร สุขภาพอนามัย การศึกษาอบรม...หรือไม่ว่าในภาวการณ์พิเศษบางอย่างซึ่งอาจเกิดขึ้นที่ใดที่หนึ่งอย่างที่อาจเกิดขึ้นได้...เช่นความจำเป็นที่ต้องช่วยเหลือความทุกข์ลำเค็ญของผู้ลี้ภัย หรือความจำเป็นต้องช่วยเหลือผู้อพยพและครอบครัวของเขา" (พระศาสนจักรในโลกสมัยนี้ ข้อ 84.2)

1912ความดีส่วนรวมย่อมมุ่งถึงความก้าวหน้าของบุคคลเสมอ "ระบบสิ่งของต้องอยู่ภายใต้ระบบบุคคล และกลับกันไม่ได้" (พระศาสนจักรในโลกสมัยนี้ ข้อ 26.3) ระเบียบเช่นนั้นมีความจริงเป็นพื้นฐาน ก่อสร้างขึ้นมาในความยุติธรรม และทำให้มีชีวิตโดยความรัก