หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

5. การแพร่ขยายของบาป

1865บาปก่อให้เกิดความโอนเอียงในทางชั่ว มันก่อให้เกิดพยศชั่วด้วยการกระทำสิ่งเดียวกันซ้ำซาก ผลคือเกิดความโน้มเอียงทางชั่วซึ่งทำให้มโนธรรมมืดมัว และก็เปลี่ยนแปลงการประเมินสิ่งดีงามและสิ่งชั่วร้ายในเชิงรูปธรรม แม้บาปมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นและเข้มแข็ง แต่ก็ไม่สามารถทำลายความสำนึกทางศีลธรรมจนถึงรากได้

1866เราสามารถแบ่งพยศชั่วตามคุณธรรมซึ่งตรงข้ามกัน หรือนำมาเชื่อมโยงกับบาปต้น (capital sins) ซึ่งประสบการณ์คริสตชนได้แยกแยะไว้แล้ว   ตามที่นักบุญยอห์น คาสเซียโน และนักบุญเกรโกรี องค์ใหญ่ ได้บอก พยศชั่วเหล่านี้ได้ชื่อว่าบาปต้น เพราะมันทำให้เกิดบาปอื่นๆ พยศชั่วอื่นๆ พยศชั่วเหล่านี้ได้แก่ จองหอง (pride) ตระหนี่ (avarice) อิจฉา (envy) โมโห (wrath) ลามก (lust) โลภอาหาร (gluttony) และเกียจคร้าน (sloth or acedia)

1867ธรรมประเพณียังสอนย้ำว่า มี "บาปซึ่งส่งเสียงร้องฟ้องสวรรค์" โลหิตของอาเบล (เทียบ ปฐก.4:10)  บาปของชาวเมืองโสโดม (เทียบ ปฐก.18:20; 19:13)   การร้องไห้คร่ำครวญของประชากรที่ถูกกดขี่ในอียิปต์ (เทียบ อพย.3:7-10) การร่ำไห้คร่ำครวญของคนแปลกหน้า หญิงหม้าย และเด็กกำพร้า (เทียบ อพย.20:20-22) ลูกจ้างที่ได้รับความอยุติธรรม (เทียบ ฉธบ.24:14-15; ยก.5:4)

1868บาปเป็นการกระทำส่วนบุคคล นอกเหนือจากนี้ เรามีความรับผิดชอบในบาปที่คนอื่นทำเมื่อเราให้ความร่วมมือด้วย เช่น

 มีส่วนโดยตรงและโดยเจตนา

ออกคำสั่ง เป็นที่ปรึกษา ยกย่องชมเชย หรือให้ความเห็นชอบ

ไม่ปฏิเสธหรือไม่ขัดขวางเมื่อถือว่าน่าจะทำ

ปกป้องผู้ที่กระทำความชั่ว

1869ดังนี้ บาปทำให้มนุษย์สับสนต่อกันและกัน และทำให้เกิดความใคร่ ความรุนแรง ความอยุติธรรมท่ามกลางมนุษย์ด้วยกันเอง บาปทำให้เกิดสถานการณ์ทางสังคมและสถาบันที่ตรงข้ามกับความดีของพระเจ้า "โครงสร้างของบาป" เป็นการแสดงออกและผลของบาปส่วนตัว บาปชักนำมนุษย์ที่ตกเป็นเหยื่อให้กระทำความชั่วตามวาระของมัน ในความหมายเปรียบเทียบ บาปทำให้เกิด "บาปสังคม" (RP 16)