หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

2. ความปรารถนาและชีวิตทางศีลธรรม

1767ความปรารถนาในตัวเองเป็นทั้งความดีและความชั่ว ความปรารถนาจะถือได้ว่าอยู่ในหนทางของศีลธรรมถ้าอยู่ในมาตรการซึ่งขึ้นกับเหตุผลและน้ำใจอย่างมีประสิทธิภาพ ความปรารถนากล่าวกันว่าเป็นการจงใจ "หรือเพราะว่าได้รับคำสั่งจากน้ำใจ หรือเพราะว่าน้ำใจไม่ต่อต้าน" (เทววิทยาชั้นสูง ข้อ 1-2,26,4) เป็นความสมบูรณ์ของสิ่งดีงามทางศีลธรรมหรือของมนุษย์ที่ว่า ความปรารถนานั้นควบคุมโดยเหตุผล

1768ความรู้สึกที่รุนแรงไม่ใช่เครื่องตัดสินถึงศีลธรรมหรือความศักดิ์สิทธิ์ของคน ความรู้สึกนั้นเป็นการเก็บสงวนไว้ซึ่งจินตนาการและความรู้สึกชอบพอที่ไม่รู้จักหมด ซึ่งในนั้นแสดงออกถึงชีวิตทางศีลธรรม ความปรารถนานั้นจะดีงามทางศีลธรรมเมื่อมีส่วนให้กับกิจกรรมที่ดีงาม เป็นสิ่งชั่วในกรณีตรงกันข้าม เจตจำนงที่ซื่อตรงจะออกคำสั่งให้ประสาทสัมผัสทั้งห้าที่เห็นว่าความปรารถนานั้นสมควรมุ่งไปสู่สิ่งดีงามและความบรมสุข     แต่น้ำใจที่ชั่วร้ายนั้นย่อมพ่ายแพ้ต่อความปรารถนาที่ไร้ระเบียบและทำให้เกิดความรู้สึกขมขื่น อารมณ์และความรู้สึกนั้นสามารถรวมเข้าอยู่ในคุณธรรม หรือแปรเปลี่ยนเป็นพยศชั่วได้

1769ในชีวิตคริสตชน พระจิตเจ้าทรงปฏิบัติงานของพระองค์ให้สำเร็จไปโดยทรงทำให้ทุกอย่างเคลื่อนที่ไป รวมทั้งความทุกข์ ความกลัว และความเศร้าสลดใจ ดังที่เห็นได้ในการเข้าตรีทูต และในพระมหาทรมานขององค์พระเจ้า ในพระคริสตเจ้านั้น ความรู้สึกประสามนุษย์สามารถได้รับความสมบูรณ์ในความรักและความสุขแบบพระเจ้า

1770ความสมบูรณ์ทางศีลธรรมนั้นประกอบอยู่ในข้อเท็จจริงที่ว่า   มนุษย์ไม่ได้รับการชักนำไปสู่สิ่งดีงามโดยน้ำใจเท่านั้น แต่โดยรสชาติทางประสาทสัมผัสดังถ้อยคำในบทเพลงสดุดีที่ว่า "ทั้งใจและเนื้อหนังของข้าพเจ้าชื่นชมยินดีในพระเจ้าผู้ทรงชีวิต" (สดด.84:2)