หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

มาตรา 5

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

 ความมีศีลธรรมของความปรารถนา

1762มนุษย์นั้นจัดไว้ให้มุ่งสู่ความบรมสุขด้วยการกระทำที่เสรีของตน ความปรารถนา หรือความรู้สึกที่เขาประสบสามารถกำหนดให้เขาไปสู่ความบรมสุข และช่วยเหลือในเรื่องนี้

1. ความปรารถนา

1763คำว่า "passion" เป็นคำของคริสตชน ความรู้สึก หรือความปรารถนานั้นหมายถึง อารมณ์ หรือการรับรู้ทางประสาทสัมผัส ซึ่งผลักดันให้เรากระทำหรือไม่ให้กระทำ โดยพิจารณาจากความรู้สึกหรือการจินตนาการว่าดีหรือชั่ว

1764ความปรารถนาเป็นส่วนประกอบของจิตใจมนุษย์ตามธรรมชาติ ความปรารถนาทำหน้าที่เป็นตัวกลางและรับการเชื่อมโยงระหว่างชีวิตทางประสาทสัมผัส กับชีวิตฝ่ายจิต องค์พระเจ้าของเราชี้ถึงหัวใจมนุษย์ว่าเป็นบ่อเกิด ที่มาของความปรารถนาต่างๆ

1765ความปรารถนามีมากมาย ความปรารถนาขั้นพื้นฐานที่สำคัญที่สุดคือความรัก ที่เกิดขึ้นจากแรงดึงดูดของความดี ความรักกระตุ้นให้เกิดความต้องการสิ่งดีงามซึ่งตนไม่มีและความหวังที่จะได้มา ความปรารถนานี้จะสมหวังเมื่อพบความพึงพอใจและชื่นชมยินดีกับสิ่งดีงามที่ตนครอบครอง ความชั่วร้ายก่อให้เกิดความเกลียดชัง การเป็นปรปักษ์ และความหวาดระแวงถึงความชั่วร้ายที่จะตามมา สิ่งเหล่านี้สิ้นสุดลงในความเศร้าสลดของความชั่วร้ายที่ปรากฏอยู่หรือในความโกรธซึ่งทำการต่อสู้คัดค้าน

1766"ความรักคือการหวังดีต่อคนบางคน" (นักบุญโทมัส อไควนัส เทววิทยาขั้นสูง ข้อ 1-2,26,4) ความชอบพอใดๆ มีที่มาจากความประทับใจครั้งแรกของใจมนุษย์ต่อสิ่งดีงาม ไม่มีการรักสิ่งอื่นใดนอกจากสิ่งดีงาม   "ความปรารถนาเป็นสิ่งชั่ว ถ้าความรักนั้นชั่ว แต่จะเป็นสิ่งดีถ้าความรักนั้นดีงาม" (นักบุญออกัสติน)