หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

มาตรา 4 

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

ความมีศีลธรรมของการกระทำของมนุษย์

1749เสรีภาพทำให้มนุษย์เป็นคนมีศีลธรรม เมื่อมนุษย์กระทำอย่างเสรีก็เป็นบิดาแห่งการกระทำของตนเอง การกระทำนั้น กล่าวคือ การกระทำที่เลือกปฏิบัติอย่างเสรีที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการตัดสินของมโนธรรม และสามารถประเมินผลทางศีลธรรมได้ว่าการปฏิบัตินั้นดีหรือชั่ว

1. แหล่งที่มาของความมีศีลธรรม

1750ความมีศีลธรรมของการกระทำของมนุษย์ขึ้นอยู่กับ

สิ่งที่เลือก

จุดหมายปลายทางซึ่งกำหนดไว้ล่วงหน้า หรือความตั้งใจ

สภาพแวดล้อมของการกระทำ

การกระทำ ความตั้งใจ สภาพแวดล้อมทำให้เกิด "แหล่งที่มา" หรือองค์ประกอบที่สร้างขึ้นของความมีศีลธรรมของการกระทำของมนุษย์

1751สิ่งที่เลือกทำนั้นเป็นสิ่งดีซึ่งน้ำใจมุ่งหมายถึงอย่างเสรี เป็นเนื้อหาของการกระทำของมนุษย์ สิ่งที่เลือกทำนั้นระบุเจาะจงการกระทำของน้ำใจของศีลธรรมในแง่เหตุผล ยอมรับรู้และตัดสินสอดคล้องหรือไม่กับสิ่งดีแท้จริง กฎเกณฑ์ของความมีศีลธรรมนั้นระบุระเบียบที่มีเหตุผลของสิ่งดีและสิ่งไม่ดี โดยมีมโนธรรมเป็นประจักษ์พยาน

1752ความตั้งใจกำหนดขึ้นจากฝ่ายของผู้กระทำต่อสิ่งที่ทำ ตามข้อเท็จจริงที่ตั้งอยู่ที่แหล่งที่มาโดยเจตนาของการกระทำและกำหนดลงไปโดยทางเป้าหมาย ความตั้งใจเป็นองค์ประกอบสำคัญที่กำหนดคุณสมบัติทางศีลธรรมของการกระทำ   ความมุ่งหมายคือเป้าหมายแรกของความตั้งใจและเป็นตัวชี้ถึงจุดประสงค์ ความตั้งใจเป็นตัวที่ทำให้ใจมุ่งไปสู่จุดหมายปลายทาง คือเป้าหมายของการกระทำ เป้าหมายเพื่อความดีซึ่งคาดหวังไว้จากการกระทำ ความตั้งใจมิได้ถูกจำกัดให้มุ่งไปสู่การกระทำของตนเท่านั้น แต่สามารถที่จะนำกิจการหลายๆ อย่างไปสู่จุดหมายเดียวหรือจุดประสงค์เดียวกัน  สามารถมุ่งถึงเป้าหมายสุดท้ายตลอดชีวิต ตัวอย่างเช่น การบริการช่วยเหลือเพื่อนบ้านในเวลานั้น เพราะมีแรงดลใจจากความรักของพระเจ้าว่าเป็นเป้าหมายสูงสุดของการกระทำทั้งปวงของเรา กิจการเดียวกันสามารถได้รับการดลใจจากความตั้งใจแตกต่างกัน ยกตัวอย่างเช่น บริการรับใช้เพื่อจะได้รับความพึงพอใจ หรือเพื่อจะได้รับเกียรติ

1753ความตั้งใจดี (ยกตัวอย่างเช่น การช่วยเหลือคนอื่น) ไม่ทำให้ความประพฤติที่ในเนื้อแท้เป็นสิ่งไม่ถูกต้อง เช่น การโกหกและการใส่ร้าย จุดหมายปลายทางไม่ทำให้วิธีที่ใช้นั้นถูกต้อง ฉะนั้น การกล่าวหาผู้บริสุทธิ์ไม่สามารถตัดสินได้ว่าถูกต้องตามกฎหมาย เพียงบอกว่าเพื่อรักษาชาติ อีกแง่หนึ่ง การที่มีความตั้งใจชั่วอยู่แล้ว (เช่น การโอ้อวด) ก็ทำให้การกระทำนั้นชั่ว ซึ่งในตัวเองสามารถเป็นสิ่งดีได้

1754สภาพแวดล้อม โดยรวมถึงผลที่ตามมา เป็นองค์ประกอบประการที่สองของการกระทำทางศีลธรรม มีส่วนทำให้การกระทำของมนุษย์ที่เป็นความดีและความชั่ว (ยกตัวอย่างเช่น การเก็บรวบรวมของขโมย) สภาพแวดล้อมนั้นสามารถทำให้ความรับผิดชอบของผู้ที่ทำลดน้อยลงหรือเพิ่มมากขึ้นได้ (ตัวอย่างเช่น ทำเพราะกลัวความตาย) สภาพแวดล้อมในตัวเองไม่สามารถเปลี่ยนแปลงคุณภาพทางศีลธรรมของการกระทำ ไม่สามารถทำให้กิจการที่ชั่วร้าย กลายเป็นสิ่งที่ดี หรือถูกต้องได้