หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

1. การแต่งงานในแผนการของพระเจ้า

 1602พระคัมภีร์เริ่มต้นด้วยการสร้างชายและหญิงตามพระฉายาลักษณ์ของพระเจ้า และสรุปท้ายด้วยภาพนิมิต "งานเลี้ยงวิวาห์ของลูกแกะของพระเจ้า" (วว.19:7,9 เทียบ ปฐก.1:26-27)    ตั้งแต่เริ่ม พระคัมภีร์กล่าวถึงการแต่งงาน และธรรมล้ำลึกของการแต่งงาน สถาบันและความหมายซึ่งพระเจ้าได้ประทานให้ ที่มาและจุดหมายปลายทาง การทำให้เป็นจริงที่แตกต่างกันตามประวัติศาสตร์แห่งความรอด ปัญหาที่ได้รับจากบาปและการฟื้นฟู  "ในองค์พระผู้เป็นเจ้า" (1คร.7:39 เทียบ อฟ.5:31-32) ในพันธสัญญาใหม่ของพระคริสตเจ้าและพระศาสนจักร (เทียบ อฟ.5:31-32)

การแต่งงานในลำดับของการสร้าง

1603"การที่ชายหญิงสองคนร่วมชีวิตและรักกันอย่างสนิทนั้น เป็นสิ่งที่พระผู้สร้างทรงตั้งขึ้นและกำหนดให้มีกฎเกณฑ์ กระนั้นเกิดขึ้นจากการที่สามีภรรยาสร้างพันธะต่อกัน...  พระเป็นเจ้าเองเป็นผู้ให้กำเนิดการสมรส" (พระศาสนจักรในโลกสมัยนี้ ข้อ 48) กระแสเรียกสู่การแต่งงานจารึกไว้ลงในธรรมชาติของชายและหญิง ซึ่งมาจากพระหัตถ์ของพระผู้สร้าง การแต่งงานไม่ใช่เป็นสถาบันของมนุษย์แต่เพียงอย่างเดียว ทั้งๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงมากมาย ซึ่งสามารถทนรับโครงสร้างทางสังคมและเจตคติฝ่ายจิตในช่วงเวลานานเป็นศตวรรษๆ ในวัฒนธรรมหลากหลาย ความแตกต่างกันเหล่านี้ต้องไม่ทำให้ลืมร่องรอยที่ร่วมกันและถาวร แม้ว่าศักดิ์ศรีของสถาบันนี้ไม่ปรากฏอย่างชัดเจนในที่ทั่วไป    (เทียบ พระศาสนจักรในโลกสมัยนี้ ข้อ 48.1) อย่างไรก็ตาม มีความหมายแห่งความยิ่งใหญ่ของการสมรสในทุกวัฒนธรรม "เนื่องจากว่าความรอดของบุคคลและสังคมมนุษย์และคริสตชนนั้นเกี่ยวข้องกันอย่างแนบแน่นกับสถานการณ์ที่เป็นสุขของชุมชนสามีภรรยาและครอบครัว" (พระศาสนจักรในโลกสมัยนี้ ข้อ 47.1)

1604พระเจ้าทรงสร้างมนุษย์ด้วยความรัก และยังได้ทรงเรียกมนุษย์ไปสู่ความรักด้วย เป็นกระแสเรียกขั้นพื้นฐานและมีมาแต่เดิมของการเป็นมนุษย์ทุกคน อันที่จริง มนุษย์นั้นสร้างขึ้นมาตามพระฉายาของพระเป็นเจ้า ซึ่งเป็นองค์ความรัก ความรักซึ่งกันและกันของมนุษย์กลายเป็นพระฉายาของความรักเด็ดเดี่ยวและไม่มีที่ติ ด้วยความรักนั้นพระเจ้าได้ทรงสร้างให้เป็นชายและหญิง เป็นสิ่งที่ดีและดีมากต่อสายพระเนตรของพระผู้สร้าง และความรักนี้ซึ่งพระเจ้าทรงอวยพรได้ทรงกำหนดให้สมบูรณ์ และให้ทำเป็นจริงในผลงานร่วมกันของการเฝ้ารักษาการสร้างโลก พระเจ้าทรงอวยพรเขาดังนี้ "จงเกิดลูกหลานมากมาย เพื่อเชื้อสายของเจ้าจะกระจายไปอยู่ในโลก และปกครองทุกอย่าง" (ปฐก.1:28)

1605พระคัมภีร์ยืนยันว่า พระเจ้าสร้างชายและหญิงเพื่อกันและกัน "ไม่เป็นการดีที่ชายจะอยู่คนเดียว" (ปฐก.2:18) ผู้หญิงนั้น "เป็นเนื้อจากเนื้อของเขา" เท่าเทียมกัน เป็นผู้ใกล้ชิดกัน ในทุกสิ่ง พระเป็นเจ้าทรงประทานให้เสมือนเป็นผู้ช่วยเหลือ    ดังนั้น สตรีแสดงถึงพระเป็นเจ้าซึ่งพระองค์เป็นผู้ช่วยเหลือของเรา (เทียบ ปฐก.2:18-25) "เพราะเหตุนี้ ชายจึงจากบิดามารดาของตนไปผูกพันอยู่กับภรรยา และเขาทั้งสองจะเป็นเนื้อเดียวกัน" (ปฐก.2:24) องค์พระผู้เป็นเจ้าเองทรงชี้แสดงให้เห็นโดยทรงทำให้ระลึกว่า แผนการของพระผู้สร้าง "แต่เดิม" เป็นอะไร "เขาจึงไม่เป็นสองอีกต่อไป แต่เป็นเนื้อเดียวกัน" (มธ.19:6)

การแต่งงานภายใต้การครอบงำของบาป

1606มนุษย์ทุกคนมีประสบการณ์ความชั่วรอบตัวเองและภายในตัวเอง ประสบการณ์นี้ทำให้รู้สึกได้ในความสัมพันธ์ระหว่างชายและหญิง  ความผูกพันของชายหญิงได้รับการขู่เข็ญอยู่เสมอโดยความไม่ลงรอยกัน โดยจิตตารมณ์จะอยู่เหนือกว่า ความไม่ซื่อสัตย์ ความอิจฉาริษยา และความขัดแย้ง ซึ่งสามารถถึงจุดความเกลียดชังและความแตกร้าว ความไร้ระเบียบนี้สามารถแสดงออกเองมากขึ้นหรือน้อยลงอย่างรุนแรง และสามารถฟันฝ่าอุปสรรคได้ไม่มากก็น้อยตามสภาพแวดล้อมด้านวัฒนธรรม ตามยุคสมัยแล้วแต่บุคคล แต่ดูเหมือนจะมีลักษณะสากลของมันเอง

1607ตามความเชื่อ ความไร้ระเบียบนี้ ซึ่งเรารับรู้ด้วยความเจ็บปวด ไม่มาจากธรรมชาติของชายและหญิง ไม่ได้มาจากธรรมชาติของความสัมพันธ์ของชายหญิง แต่มาจากบาป การแตกร้าวกับพระเป็นเจ้า   เป็นบาปแรกที่ทำให้เกิดความแตกแยกของการมีชีวิตร่วมกันแต่เดิมของชายและหญิง เสมือนเป็นผลที่ตามมาข้อแรก ความสัมพันธ์ของชายและหญิงได้รับการถูกทำลาย (เทียบ ปฐก.3:12) การบิดเบือนโดยการกล่าวหาซึ่งกันและกันความมีเสน่ห์ดึงดูดซึ่งกันและกัน เป็นของขวัญเฉพาะของพระผู้สร้าง มีการเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ด้านต้องการอยู่เหนือกว่าและความอยากได้ (เทียบ ปฐก.2:22; 3:16) กระแสเรียกอันประเสริฐของชายและหญิงที่จะมีลูกดกทวีมากขึ้น และมีอำนาจเหนือแผ่นดินโลก ได้รับแรงกดดันด้วยความทุกข์ลำบากเมื่อคลอดบุตรและความเหน็ดเหนื่อยจากการทำงาน (เทียบ ปฐก.1:28; 3:16-19)

1608อย่างไรก็ตาม ระเบียบของการสร้างโลกยังคงอยู่แม้ถูกรบกวนอย่างหนัก ชายและหญิงต้องการความช่วยเหลือของพระหรรษทานซึ่งพระเจ้าไม่เคยปฏิเสธเขา ในความเมตตา-กรุณาหาขอบเขตมิได้ของพระองค์เพื่อเยียวยารักษาแผลของบาป (เทียบ ปฐก.3:21) ปราศจากพระหรรษทานนี้ ชายและหญิงไม่สามารถบรรลุถึงความผูกพันของชีวิตเขา ซึ่งพระเจ้าได้ทรงสร้างมาแต่แรก

การแต่งงานภายใต้คำสอนของธรรมบัญญัติ

1609พระเจ้าไม่ได้ทอดทิ้งมนุษย์คนบาป เพราะความเมตตากรุณาของพระองค์ ความทุกข์ทรมานที่เป็นผลจากบาป "ความเจ็บปวดจากการคลอดบุตร" (ปฐก.3:16) การงานด้วยเหงื่ออาบหน้า (ปฐก.3:19) เป็นยาบำบัด ซึ่งทำให้ผลเสียหายจากบาปลดน้อยลง ภายหลังการตกในบาป การแต่งงานช่วยให้ชนะการแสวงหาตนเอง ความเห็นแก่ตัว การแสวงหาความสนุกสนานและเปิดตนสู่ผู้อื่น ให้ช่วยเหลือกัน และเป็นการมอบตนเอง

1610ความสำนึกทางศีลธรรมเกี่ยวกับความเป็นหนึ่งเดียว และการไม่หย่าร้างของการแต่งงานได้พัฒนาขึ้นมาภายใต้การสั่งสอนของธรรมบัญญัติเดิม ในพันธสัญญาเดิม การมีภรรยาหลายคนของบรรดาอัยกาและกษัตริย์ ยังไม่อาจรับการปฏิเสธอย่างชัดแจ้ง อย่างไรก็ตาม บัญญัติที่โมเสสให้มานั้นมุ่งป้องกันสตรีจากการทำตามอำเภอใจจากฝ่ายชายที่ทำหน้าที่ปกครอง แม้ว่าบัญญัติก่อให้เกิดร่องรอยของหัวใจแข็งกระด้างตามพระวาจาขององค์-พระผู้เป็นเจ้า ซึ่งอันเนื่องมาจากเหตุผลนี้ โมเสสได้อนุญาตให้สามีหย่าภรรยาของตน (เทียบ มธ.19:8; ฉธบ.24:1)

1611บรรดาประกาศกได้ตระเตรียมมโนธรรมของประชากรผู้เลือกสรรให้มีความเข้าใจลึกซึ้งถึงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และการไม่อาจหย่าร้างได้ของการแต่งงาน โดยเพ่งเล็งดูพันธสัญญาของพระเจ้ากับประชาอิสราเอลภายใต้พระฉายาลักษณ์ของความรักฉันสามีภรรยาโดยเฉพาะและสัตย์ซื่อ  หนังสือเรื่องนางรูธและโทบิตเป็นพยานถึงความหมายที่สูงส่งของการแต่งงาน ความสัตย์ซื่อและความนุ่มนวลของคู่บ่าวสาว ธรรมประเพณีได้แลเห็นการแสดงออกอันเดียวกันของความรักมนุษย์ในบทเพลงของซาโลมอนเสมอ เป็นการสะท้อนความรักของพระเจ้า "ความรักนั้นเข้มแข็งอย่างความตาย" ซึ่ง "น้ำมากสักเท่าใดก็ไม่อาจดับความรักให้มอดเสียได้" (พซม.8:6-7)

การแต่งงานในองค์พระผู้เป็นเจ้า

1612พันธสัญญาวิวาห์ระหว่างพระเจ้ากับอิสราเอล ประชากรของพระองค์นั้น ได้ตระเตรียมพันธสัญญาใหม่และถาวรโดยทางพระบุตรของพระเจ้า ผู้ทรงบังเกิดเป็นมนุษย์ และมอบชีวิตของพระองค์ให้ ได้ทรงผูกพันมนุษย์ทั้งมวลที่พระองค์ได้ทรงช่วยให้รอด เพื่อจัดเตรียม "งานวิวาห์ขององค์ชุมพา" (วว.19:7,9 เทียบ พระศาสนจักรในโลกสมัยนี้ ข้อ 22) ถ

1613เมื่อพระเยซูเจ้าเริ่มเทศน์สอน  พระองค์ทรงกระทำเครื่องหมายแรก ตามคำขอของพระมารดาของพระองค์ระหว่างงานเลี้ยงสมรส (เทียบ ยน.2:1-11) พระศาสนจักรให้ความสำคัญยิ่งใหญ่ต่อการประทับอยู่ของพระเยซูเจ้าที่งานเลี้ยงแต่งงานที่คานา พระศาสนจักรยืนยันความดีของการแต่งงาน และประกาศว่า นับตั้งแต่บัดนี้มา การแต่งงานจะเป็นเครื่องหมายที่มีประสิทธิผลแห่งการประทับอยู่ของพระคริสตเจ้า

1614พระเยซูเจ้าได้ทรงสอนความหมายดั้งเดิมของความผูกพันของชายและหญิงอย่างตรงไปตรงมา ในการเทศนาสั่งสอนของพระองค์ ซึ่งพระผู้สร้างทรงพระประสงค์แต่เดิม การอนุญาตที่โมเสสให้ในการหย่าขาดจากภรรยาของตนเป็นการจำยอมที่มีเหตุจูงใจจากใจกระด้าง (เทียบ มธ.19:8)    ความผูกพันทางการแต่งงานของชายและหญิงนั้นไม่สามารถลบล้างได้ พระเจ้าเองได้ทรงสรุป "ฉะนั้น สิ่งที่พระเจ้าทรงรวมกันไว้ มนุษย์อย่าได้แยกเลย" (มธ.19:6)

1615การยืนกรานอย่างตรงไปตรงมา เรื่องความไม่สามารถที่จะลบล้างสายสัมพันธ์ทางการแต่งงาน อาจจะเกิดความสับสน และดูเหมือนว่าเป็นการเรียกร้องที่ไม่อาจทำให้เป็นจริงขึ้นมาได้ อย่างไรก็ตาม พระเยซูเจ้าไม่ได้ให้คู่บ่าวสาวแบกภาระที่ไม่อาจเป็นไปได้ หรือหนักเกินไป หนักกว่าธรรมบัญญัติของโมเสส (เทียบ มก.8:34; มธ.11:29-30) พระองค์เองได้ทรงประทานพละกำลังและพระหรรษทานเพื่อให้ดำเนินชีวิตการแต่งงานในมิติใหม่ของพระ-ราชัยแห่งพระเจ้า โดยเสด็จมาสร้างระเบียบที่ริเริ่มการสร้างโลก ที่บาปได้ทำให้วุ่นวายเสียใหม่ คู่บ่าวสาวสามารถเข้าใจความหมายดั้งเดิมของการแต่งงานและดำเนินชีวิตด้วยความช่วยเหลือของพระคริสตเจ้า คือปฏิเสธตนเอง และแบกกางเขนของตน (เทียบ มธ. 19:11) พระหรรษทานของการแต่งงานแบบคริสตชนนี้ เป็นผลของกางเขนแห่งพระคริสต-เจ้า บ่อเกิดแห่งชีวิตคริสตชนทั้งมวล

1616อัครสาวกเปาโล ทำให้เราเข้าใจถึงสิ่งนี้ เมื่อท่านกล่าวว่า "สามีจงรักภรรยาดังที่พระ- คริสตเจ้าทรงรักพระศาสนจักร และทรงพลีพระองค์เพื่อพระศาสนจักร ทรงบันดาลให้พระศาสนจักรศักดิ์สิทธิ์ ทรงใช้น้ำและพระวาจาชำระพระศาสนจักรให้บริสุทธิ์" (อฟ.5:25-26) และเพิ่มเติมอีกว่า "เพราะเหตุนี้ ชายจะละจากบิดามารดาไปอยู่กับภรรยาอย่างแนบชิด และทั้งสองจะเป็นเนื้อเดียวกัน  ธรรมล้ำลึกประการนี้ยิ่งใหญ่นัก  ข้าพเจ้าหมายถึงพระคริสตเจ้ากับพระศาสนจักร" (อฟ.5:31-32)

1617ตลอดชีวิตคริสตชน ติดตราความรักฉันคู่บ่าวสาวของพระคริสตเจ้าและพระศาสนจักร เริ่มจากศีลล้างบาป ซึ่งนำเข้าเป็นประชากรของพระเจ้า เป็นธรรมล้ำลึกเกี่ยวกับงานเลี้ยงแต่งงาน กล่าวคือ เป็นการชำระล้างให้บริสุทธิ์ (เทียบ อฟ.5:26-27) เพื่อเข้าสู่งานเลี้ยงแต่งงาน ได้แก่ ศีลมหาสนิท การแต่งงานแบบคริสตชน กลายเป็นเครื่องหมายที่มีประสิทธิผล คือเป็นศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งพันธสัญญาของพระคริสตเจ้าและพระศาสนจักร เนื่องจากว่า ศีลศักดิ์สิทธิ์นี้ให้ความหมายและเป็นสื่อพระหรรษทาน การแต่งงานของผู้ที่ได้รับศีลล้างบาปจึงเป็นศีลศักดิ์สิทธิ์แท้จริงแห่งพันธสัญญาใหม่   (เทียบ DS 1800; กฎหมายพระศาสนจักร ม.1055 ข้อ 2)

การถือพรหมจรรย์เพื่อพระราชัย

1618พระคริสตเจ้าทรงเป็นศูนย์กลางของทุกชีวิตคริสตชน ความสัมพันธ์กับพระองค์นั้นสำคัญกว่าความสัมพันธ์อื่นๆ ทั้งหมดที่เป็นความสัมพันธ์ทางครอบครัว หรือทางสังคม (เทียบ ลก. 14:26; มก.10:28-31) ตั้งแต่แรกเริ่มของพระศาสนจักร มีชายและหญิงได้สละความดียิ่งใหญ่ของการแต่งงานเพื่อติดตาม "ลูกแกะของพระเจ้าไปทุกแห่ง" (วว.14:4)    เพื่อแสวงหาน้ำพระทัยของพระเจ้าและกระทำสิ่งที่พระองค์ทรงพอพระทัย เพื่อออกไปต้อนรับเจ้าบ่าวที่กำลังเสด็จมา พระคริสตเจ้าเองเชิญคนที่แน่ใจให้ติดตามพระองค์ในวิถีชีวิตแบบนี้ซึ่งพระองค์ทรงเป็นแบบอย่าง

อันที่จริง ผู้ที่เป็นขันทีตั้งแต่กำเนิดก็มี ผู้ที่มนุษย์กระทำให้เป็นขันทีก็มี ผู้ที่กระทำตัวเองให้เป็นขันทีเพราะเห็นแก่พระราชัยสวรรค์ก็มี ใครถือได้ก็ให้ถือเอาเถิด (มธ.19:12)

1619การถือพรหมจรรย์เพื่อพระราชัยสวรรค์นั้นเป็นการเปิดเผยพระหรรษทานของศีลล้างบาป เป็นเครื่องหมายทรงอานุภาพของความสัมพันธ์อันดีเลิศกับพระคริสตเจ้า และของความ-หวังอย่างแรงกล้าของการเสด็จกลับมาของพระองค์ เป็นสัญลักษณ์ที่ทำให้เราระลึกว่า การแต่งงานเป็นความจริงของชีวิตปัจจุบัน ซึ่งกำลังจะผ่านพ้นไป (เทียบ มก.12:25; 1คร.7:31)

1620ทั้งศีลสมรสและการถือพรหมจรรย์เพราะเห็นแก่พระอาณาจักรของพระเป็นเจ้า มาจากองค์พระผู้เป็นเจ้าเองพระองค์ทรงให้ความหมายและประทานพระหรรษทานที่จำเป็น เพื่อที่จะเจริญชีวิตตามน้ำพระทัยของพระองค์ (เทียบ มธ.19:3-12) การถือว่าศีลพรหมจรรย์นั้นมีค่าเพื่อพระราชัย (เทียบ พระศาสนจักร ข้อ 42) และเข้าใจว่า การแต่งงานนั้นแยกจากกันไม่ได้กับศีลพรหมจรรย์ และเป็นการสนับสนุนซึ่งกันและกัน

"ใครที่ดูถูกการแต่งง่าน ก็ลดค่าศักดิ์ศรีของการถือพรหมจรรย์ ใครยกย่องการแต่งงาน ก็ยิ่งนิยมชมชอบ และทำให้การถือพรหมจรรย์มีสง่าราศรี สิ่งที่ปรากฏว่าดี แค่เปรียบกับความชั่วเท่านั้น ยังไม่อาจถือว่าดีจริง สิ่งที่ดียอดเยี่ยมที่สุด คือสิ่งที่ดีกว่าสิ่งที่ได้รับการยอมรับว่าดี" (นักบุญยอห์น คริสซอสโตม PG 48,540 เทียบ ครอบครัวคริสตชน ข้อ 16)