หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

3. สามอันดับแห่งศีลบรรพชา

1554"ศาสนบริกรของพระศาสนจักรที่จะแต่งตั้งโดยพระเจ้านั้นมีอันดับที่แตกต่างกัน ซึ่งเรียกกันว่าพระสังฆราชพระสงฆ์ สังฆนุกร มาแต่กาลนานแล้ว" (พระศาสนจักร 28) ข้อความ-เชื่อคาทอลิกแสดงออกในพิธีกรรม ในอำนาจการสั่งสอนและในการปฏิบัติเป็นกิจประจำของพระศาสนจักร มีอยู่สองอันดับที่จะมีส่วนร่วมทางศาสนบริการกับสังฆภาพของพระ-คริสตเจ้า นั่นคือ ตำแหน่งพระสังฆราชและตำแหน่งพระสงฆ์ ตำแหน่งสังฆานุกรนั้นกำหนดไว้เพื่อช่วยและให้บริการ เพราะเหตุนี้ คำ "สมณะ" (SACERDOS) - มักจะใช้สำหรับพระสังฆราชและพระสงฆ์ แต่ไม่ใช่สังฆานุกร อย่างไรก็ตาม ข้อความเชื่อคาทอลิกสอนว่า อันดับต่างๆ ที่จะเข้าร่วมทางสังฆภาพนั้น (ตำแหน่งพระสังฆราชและตำแหน่งพระสงฆ์) และอันดับการให้บริการ (ตำแหน่งสังฆานุกร) ทั้งสามอันดับที่ได้รับการโปรดแต่งตั้งโดยกิจการทางศีลศักดิ์สิทธิ์ที่เรียกกันว่า "การโปรดศีลบวช"นั่นคือ จากศีลบรรพชา

ทุกคนต่างให้ความนับถือสังฆานุกรเสมือนเป็นพระเยซูคริสตเจ้าเอง และพระสังฆราชเสมือนเป็นพระฉายาลักษณ์ของพระบิดา และบรรดาพระสงฆ์เสมือนผู้อาวุโสของพระเจ้าและเป็นเสมือนคณะอัครสาวก ปราศจากท่านเหล่านี้ก็ไม่มีพระศาสนจักร (นักบุญอิกญาซีโอ แห่งอันทิโอก)

การอภิเษกพระสังฆราช - ความครบครันแห่งศีลบรรพชา

1555"ท่ามกลางบรรดาศาสนบริกรหลากหลาย ซึ่งมีการปฏิบัติกันมาในพระศาสนจักรตั้งแต่ยุคแรกเริ่ม ตามประจักษ์พยานของธรรมประเพณี ภาระหน้าที่สำคัญอันดับหนึ่งคือ หน้าที่ของบุคคลที่ได้ถูกแต่งตั้งขึ้นสู่ตำแหน่งพระสังฆราช โดยการสืบหน้าที่แทน เป็นการไหลลงมาจากต้นเดิม เขาพวกนี้สืบต่อมาจากบรรดาอัครสาวก" (พระศาสนจักร ข้อ 20)

1556เพื่อปฏิบัติภารกิจอันยิ่งใหญ่เช่นนี้ให้สำเร็จลุล่วงไป "พวกอัครสาวกได้รับพระจิตผู้เสด็จมาอย่างอุดมเต็มเปี่ยมจากพระคริสตเจ้า แล้วพวกท่านเอง ได้มอบพระคุณของพระจิตนี้ให้แก่ผู้ช่วยของท่าน โดยทางการปกมือซึ่งกระทำอันนี้ก็มอบต่อๆ กันมาในการอภิเษกพระสังฆราชจนถึงชาวเราทุกวันนี้" (พระศาสนจักร ข้อ 20)

1557สังคายนาวาติกันที่ 2 สอนว่า "ความบริบูรณ์ของศีลบรรพชาเมื่ออภิเษกพระสังฆราช แน่นอนความไพบูลย์อันนี้ ทั้งประเพณีพิธีของพระศาสนจักร ทั้งวาจาคำพูดของบรรดานักบุญ ปิตาจารย์ ก็เรียกว่า สังฆภาพอันสูงสุด สุดยอดของบริกรศักดิ์สิทธิ์" (พระศาสนจักร ข้อ 21.2)

1558"การอภิเษกพระสังฆราช และพร้อมกันนี้ ภาระหน้าที่บันดาลความศักดิ์สิทธิ์ ขณะเดียว-กันก็ประสาทอำนาจหน้าที่สั่งสอนและหน้าที่ปกครองอีกด้วย... พระจิตประทานพระ-หรรษทานโดยการปกมือ และการอภิเษกประสาทพระหรรษทานของพระจิตเจ้า และพระสังฆราชได้รับประทับตราอันศักดิ์สิทธิ์ให้ จนกระทั่งพระสังฆราช ท่านรับเอาและสวมองค์พระคริสตเจ้าเอง ผู้เป็นพระอาจารย์ พระชุมพาบาลและพระสมณะอย่างเลอเลิศและแลเห็นได้ ฉะนั้น จึงนับว่า บรรดาพระสังฆราชได้รับการแต่งตั้งจากพระจิตที่ท่านได้รับให้เป็นอาจารย์สอนความเชื่อ คนกลางและผู้อภิบาลสัตบุรุษอย่างแท้จริงและเที่ยงแท้" (หน้าที่ของพระสังฆราชในการอภิบาลสัตบุรุษในพระศาสนจักร ข้อ 2)

1559"ใครเข้าเป็นสมาชิกทำเนียบพระสังฆราช คนนั้นต้องได้รับการแต่งตั้งขึ้นโดยการอภิเษกของศักดิ์สิทธิการ และต้องร่วมสหพันธ์ของพระฐานานุกรมกับองค์พระประมุขของคณะ ทั้งกับสมาชิกของคณะนั้นด้วย" (พระศาสนจักร ข้อ 22) ลักษณะและสภาพของคณะแห่งตำแหน่งพระสังฆราชนั้นแสดงให้เห็นในข้อความเก่าของพระศาสนจักร ซึ่งต้องการให้พระสังฆราชจำนวนมากขึ้นมีส่วนร่วมโดยการอภิเษกพระสังฆราชใหม่ ปัจจุบันนี้ ได้มีการเรียกร้องขอความช่วยเหลือพิเศษจากพระสังฆราชแห่งกรุงโรม เพื่อการโปรดแต่งตั้งพระสังฆราชให้ถูกต้อง เพราะเหตุผลที่ว่า ท่านเป็นสายสัมพันธ์สูงสุดที่แลเห็นประจักษ์แห่งการมีสหพันธ์ของพระศาสนจักรท้องถิ่นในพระศาสนจักรหนึ่งเดียว และเป็นผู้รับประกันเสรีภาพ ถ

1560พระสังฆราชทุกองค์ในฐานะตัวแทนพระคริสตเจ้า มีภาระหน้าที่อภิบาลพระศาสนจักรท้องถิ่นซึ่งได้รับมอบหมาย แต่ในเวลาเดียวกันก็มีความพร้อมจะทำงานเพื่อพระศาสนจักรทุกแห่งอย่างเป็นคณะ พร้อมกับพี่น้องทั้งหลายในตำแหน่งพระสังฆราช "แม้ว่าพระ-สังฆราชทุกองค์เป็นชุมพาบาลเฉพาะแต่ในส่วนของฝูงแกะที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลเฉพาะของตนเท่านั้น แต่ในฐานะที่เป็นผู้สืบตำแหน่งที่ถูกต้องต่อกันมาจากอัครสาวก ทำให้ท่านมีความรับผิดชอบมั่นคงต่อภารกิจการแพร่ธรรมของพระศาสนจักร ตามที่พระ- คริสตเจ้าได้แต่งตั้งบรรดาสาวกให้กระทำพร้อมกับสังฆราชอื่นๆ (พระสันตะปาปา ปีโอ ที่ 12)

1561ตามที่อธิบายไว้ข้างต้นว่า ทำไมบูชามิสซาที่พระสังฆราชเป็นประธานนั้นมีความหมายพิเศษเฉพาะ เสมือนเป็นการแสดงของพระศาสนจักรที่มาร่วมชุมนุมกันรอบพระแท่น ภายใต้การเป็นประธานของท่านผู้เป็นตัวแทนพระคริสตเจ้า พระชุมพาบาลที่ดี และศีรษะของพระศาสนจักรของพระองค์ (เทียบ พิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ 41,พระศาสนจักร 26)

การโปรดศีลบวชพระสงฆ์ - ผู้ร่วมงานพระสังฆราช

1562"พระบิดาได้ทรงอภิเษกพระคริสตเจ้า และได้ทรงใช้มายังแผ่นดินโลก พระคริสตเจ้าได้ทรงบันดาลให้ผู้รับส่วนแบ่งแห่งการอภิเษก และพระภารกิจของพระองค์ท่าน กล่าวคือ บรรดาอัครสาวก และบรรดาผู้สืบตำแหน่งของท่าน นั่นคือบรรดาพระสังฆราช ท่านเหล่านี้ โดยทำนองอันชอบได้ถ่ายทอดภารกิจแห่งหน้าที่ของท่าน ที่มีหลั่นชั้นต่างๆ กันให้แก่บุคคลต่างกัน" (พระศาสนจักร ข้อ 28 เทียบ ยน.10:36) "พระสังฆราชก็มอบงานในหน้าที่ของท่านในขั้นต่ำกว่าให้แก่บรรดาพระสงฆ์ต่อไป ทั้งนี้ก็เพื่อว่า เมื่อเข้าอยู่ในตำแหน่งสงฆ์แล้ว พระสงฆ์จะได้เป็นผู้ร่วมมือกับผู้อยู่ในตำแหน่งสังฆราช เพื่อประกอบภารกิจของอัคร-ธรรมทูตที่พระคริสตเจ้าได้ทรงมอบไว้ให้สำเร็จ" (การปฏิบัติงานและชีวิตของพระสงฆ์ ข้อ 2)ถ

1563"ตำแหน่งพระสงฆ์ที่มีความเกี่ยวโยงกับตำแหน่งสังฆราช จึงมีส่วนในอำนาจซึ่งพระ-  คริสตเจ้าเองทรงใช้สำหรับเสริมสร้างปกครองพระกายของพระองค์ และทำให้พระกายศักดิ์สิทธิ์ ดังนั้น สังฆภาพของพระสงฆ์เรียกร้องศีลศักดิ์สิทธิ์สามประการแรกก่อนก็จริง (ล้างบาป กำลัง มหาสนิท) แต่ก็ยังต้องมีศีลศักดิ์สิทธิ์อีกประการหนึ่ง เพื่อที่จะรับสังฆ-ภาพ อาศัยศีลบวช พระสงฆ์ได้รับตราพิเศษด้วยการเจิมของพระจิต และเป็นเหมือน พระคริสตเจ้าผู้ทรงเป็นสงฆ์ จนสามารถปฏิบัติงานได้ในนามของพระคริสตเจ้าผู้ทรงเป็นศีรษะ" (การปฏิบัติงานและชีวิตของพระสงฆ์ ข้อ 2)

1564"บรรดาพระสงฆ์ ถึงแม้ท่านไม่มีบรรดาศักดิ์แห่งขั้นสุดยอดแห่งสมณภาพ และในการใช้อำนาจ ท่านต้องขึ้นต่อพระสังฆราช ถึงกระนั้น ท่านก็มีความสัมพันธ์กับพระสังฆราชโดยศักดิ์ศรีของการเป็นสงฆ์ และโดยอิทธิฤทธิ์ของศักดิ์สิทธิกรอนุกรม  ท่านร่วมเป็นภาพลักษณ์ของพระคริสตเจ้า องค์พระสงฆ์สูงสุดนิรันดร ท่านได้รับอภิเษกเพื่อประกาศ พระวรสาร เพื่อเป็นชุมพาบาล เลี้ยงดูสัตบุรุษ และเพื่อประกอบคารวกิจต่อพระเป็นเจ้าในฐานะเป็นพระสงฆ์แท้แห่งพันธสัญญาใหม่" (พระศาสนจักร ข้อ 28)

1565โดยทางศีลบรรพชา บรรดาพระสงฆ์มีส่วนร่วมในมิติสากลแห่งพระภารกิจของพระ-   คริสตเจ้าที่ทรงมอบให้แก่บรรดาอัครสาวก "พระคุณฝ่ายจิตที่พระสงฆ์ได้รับเมื่อบวชนั้น... เตรียมพระสงฆ์มิใช่ให้ไปทำภารกิจในบริเวณอันมีขอบเขตจำกัด แต่ให้ไปทำภารกิจแห่งความรอดในอาณาบริเวณอันกว้างใหญ่ไพศาล "จนถึงสุดแดนพิภพ" มีจิตใจพร้อมที่จะประกาศพระวรสารที่ไหนก็ได้" (การอบรมพระสงฆ์ ข้อ 20 เทียบ กจ.1:2)

1566ท่าน "ปฏิบัติพิธีขอบพระคุณโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการถวายเครื่องบูชา หรือบูชามิสซา ในพิธีกรรมนั้นท่านสวมองค์พระคริสตเจ้า และประกาศธรรมล้ำลึกของพระองค์ ท่านนำเอาคำภาวนาของสัตบุรุษมาร่วมกับบูชาขององค์พระประมุขของพวกเขา กล่าวคือบูชาขององค์พระคริสตเจ้า พระองค์ได้ทรงถวายพระองค์เองเป็นบูชาอันนิรมลแด่พระบิดา ครั้งเดียวสำหรับตลอดไป ท่านปฏิบัติดังนี้ในบูชามิสซาเรื่อยไป จนกว่าจะถึงวันองค์พระ-ผู้เป็นเจ้า" (พระศาสนจักร ข้อ 28 เทียบ 1คร.11:26)    ศาสนบริกรทั้งปวงทางสังฆภาพได้รับพละกำลังจากเครื่องบูชาเดียวกันนี้ (เทียบ การปฏิบัติงานและชีวิตของพระสงฆ์ ข้อ 2)

1567"พระสงฆ์ เป็นผู้ร่วมงานที่รอบคอบ เป็นผู้ช่วยเหลือและเป็นเครื่องมือของพระสังฆราช มีกระแสเรียกเพื่อรับใช้ประชากรของพระเป็นเจ้า พระสงฆ์พร้อมกับพระสังฆราชร่วมกันเป็นสภาสงฆ์ ซึ่งมีหน้าที่รับใช้หลายอย่างต่างกัน ในชุมชนของบรรดาสัตบุรุษตามท้องถิ่นต่างๆ พระสงฆ์เป็นหนึ่งเดียวกับพระสังฆราชด้วยความไว้เนื้อเชื่อใจ และเพราะมีจิตอันสูงส่ง จึงทำให้มองเห็นภาพของพระสังฆราช เหมือนกับว่าตัวท่านเองปรากฏอยู่ในชมรมนั้นๆ ก็ว่าได้" (พระศาสนจักร ข้อ 28.2) พระสงฆ์ตามหน้าที่ส่วนตน ท่านรับเอาภาระหน้าที่และความสลวนของพระสังฆราชมาใส่ใจของตน ทั้งปฏิบัติด้วยความเอาใจใส่ทุกๆ วัน พระสงฆ์ไม่สามารถใช้ศาสนบริการของตนถ้าไม่ขึ้นและเป็นหนึ่งเดียวกับพระสังฆราช คำสัญญาจะนบนอบเชื่อฟังซึ่งกระทำไปต่อพระสังฆราชเมื่อตอนรับศีลบวช และการมอบสันติสุขของพระสังฆราชในตอนจบพิธีกรรมศีลบวชนั้น มีความหมายว่า พระสังฆราชพิจารณาพระสงฆ์ว่าเป็นผู้ร่วมงานของท่าน เป็นลูกๆ เป็นพี่น้อง เป็นเพื่อน และว่าพระสงฆ์ก็ต้องให้ความรัก ความนบนอบเป็นการตอบแทน

1568"พระสงฆ์เข้ามาในตำแหน่งสงฆ์อาศัยศีลบวช พระสงฆ์ทุกองค์จึงมีความสัมพันธ์ต่อกันอย่างใกล้ชิด ด้วยภราดรภาพอันเนื่องมาจากศีลศักดิ์สิทธิ์ พระสงฆ์ร่วมเป็นคณะสงฆ์ในสังฆมณฑลภายใต้บังคับบัญชาพระสังฆราช" (การปฏิบัติงานและชีวิตของพระสงฆ์ ข้อ 8) ความเป็นหนึ่งเดียวของคณะสงฆ์แสดงออกทางพิธีกรรมในการปฏิบัติกิจวัตร ซึ่งระหว่างพิธีบวชนั้น พระสงฆ์ก็ปกมือด้วยตามหลังพระสังฆราช

การบวชสังฆานุกร - "เพื่อรับใช้"

1569 ในลำดับฐานานุกรม สังฆานุกรสังกัดอยู่ในขั้นต่ำสุด สังฆานุกรได้รับการปกมือ "ไม่ใช่เพื่อเข้าสู่สังฆภาพ แต่เพื่อรับใช้" (พระศาสนจักร ข้อ 29) เพื่อโปรดศีลบวชสังฆานุกร พระสังฆราชเท่านั้นปกมือให้ โดยมีความหมายว่า สังฆานุกรมีความเชื่อมโยงกับพระสังฆราชในหน้าที่การงานของการบริการรับใช้ในวิธีพิเศษ

1570สังฆานุกรมีส่วนร่วมกับภารกิจและพระหรรษทานของพระคริสตเจ้าในลักษณะเฉพาะ  ศีลบรรพชานี้ให้ตราแก่เขา ซึ่งไม่มีสิ่งใดมาลบล้างออก และซึ่งทำให้เขาคล้ายพระคริสต-เจ้า ซึ่งได้ทรงกลายเป็น "สังฆานุกร" นั่นคือ เป็นทาสรับใช้ทุกคน (เทียบ มก.10:45; ลก.22:27) คุณสมบัติของสังฆานุกรที่จะช่วยพระสังฆราชและพระสงฆ์ในการฉลองธรรมล้ำลึกของพระเจ้าโดยเฉพาะอย่างยิ่งในบูชามิสซา การแจกศีล เป็นพยานและอวยพรศีลสมรส ประกาศพระวรสารและเทศน์ เป็นประธานพิธีศพและอุทิศตนให้บริการเมตตาจิต (เทียบ พระศาสนจักร ข้อ 29, พิธีกรรม ข้อ 35.4)

1571ตั้งแต่สังคายนาวาติกันครั้งที่ 2 พระศาสนจักรลาตินได้รื้อฟื้นตำแหน่งสังฆานุกรขึ้นใหม่   "ให้เป็นตำแหน่งขั้นหนึ่งโดยเฉพาะและเป็นขั้นถาวรของพระฐานานุกรม" (พระศาสนจักร ข้อ 29.2) ขณะที่คริสตจักรตะวันออกยังคงอนุรักษ์ไว้คงเดิมเสมอ ตำแหน่งสังฆานุกรถาวรซึ่งสามารถโปรดให้กับคนที่แต่งงานแล้วตั้งขึ้นไว้ให้เกิดความสมบูรณ์ที่มีความสำคัญสำหรับภารกิจของพระศาสนจักร อันที่จริง เป็นการสะดวกและมีประโยชน์ที่ผู้ชายซึ่งกระทำหน้าที่ศาสนบริการด้านสังฆานุกรในพระศาสนจักรอย่างแท้จริง ไม่ว่าจะเป็นชีวิตทางพิธีกรรมและอภิบาล หรือปฏิบัติงานเมตตาจิตในกิจการสังคมสงเคราะห์ต่างๆ "ได้รับการชุบให้แข็งแรงด้วยการปกมือซึ่งสืบมาตั้งแต่สมัยอัครสาวก และอยู่ใกล้ชิดพระแท่นยิ่งขึ้น เพื่อจะได้ปฏิบัติหน้าที่ของตนได้ผลดียิ่งขึ้นอาศัยพระหรรษทานพิเศษของศีลบวชขั้นสังฆานุกร" (งานธรรมทูตแห่งพระศาสนจักร ข้อ 16.6)