หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

2. ศีลบรรพชาในแผนการแห่งความรอด

 การเป็นพระสงฆ์ในพันธสัญญาเดิม

1539ประชากรที่ได้รับเลือกสรรนั้นพระเจ้าได้แต่งตั้งขึ้นมาให้เป็น "อาณาจักรสงฆ์และชนชาติศักดิ์สิทธิ์" (อพย.19:6 เทียบ อสย.61:6) แต่ภายในประชาอิสราเอล พระเจ้าทรงเลือกตระกูลหนึ่งจากสิบสองตระกูลคือ ตระกูลเลวี โดยทรงสงวนไว้ให้เพื่อให้บริการทางพิธีกรรม พระเจ้าเองทรงเป็นส่วนมรดกของเขา มีพิธีแต่งตั้งโดยเฉพาะที่มาของการเป็นพระสงฆ์แห่งพันธสัญญาเดิม พระสงฆ์ในพันธสัญญาเดิมนั้นแต่งตั้งขึ้น "เพื่อความดีของมนุษย์ในสิ่งซึ่งเกี่ยวกับพระเจ้า เพื่อถวายพระพรและเครื่องบูชาชำระบาป" (เทียบ ฮบ.5:1 เทียบ อพย. 29:1-30)

1540ถึงแม้ว่า สังฆภาพถูกสถาปนาเพื่อประกาศพระวาจาของพระเป็นเจ้า และเพื่อทำให้มนุษย์คืนดี กลับเป็นหนึ่งเดียวกับพระเป็นเจ้า โดยอาศัยเครื่องบูชาและการภาวนา (เทียบ มลค.2:7-9) อย่างไรก็ดี สังฆภาพยังไร้อำนาจที่จะนำความรอด จึงมีความจำเป็นต้องถวายเครื่องบูชาซ้ำแล้วซ้ำเล่า โดยไม่หยุดหย่อน และไม่สามารถทำการบูชาที่ศักดิ์สิทธิ์สมบูรณ์ได้ มีแต่เครื่องบูชาของพระคริสตเจ้าเท่านั้นที่สามารถปฏิบัติเช่นนั้นได้ (เทียบ ฮบ. 5:3; 7:27; 10:1-4)

1541อย่างไรก็ตาม พิธีกรรมของพระศาสนจักรแลเห็นในความเป็นพระสงฆ์ของอาโรน และในการให้บริการของตระกูลเลวีเช่นเดียวกับในการแต่งตั้ง "ผู้อาวุโส" เจ็ดสิบท่าน (เทียบ กดว.11:24-25) ที่เป็นรูปแบบล่วงหน้าของหน้าที่ศาสนบริการที่ตั้งขึ้นในพันธสัญญาใหม่ ดังนี้ ในพิธีลาติน พระศาสนจักรแสดงออกมาในการอธิษฐานที่ใช้ประกอบพิธีอภิเษกพระ-สังฆราชว่า

พระเจ้า พระบิดาของพระเยซูคริสตเจ้า พระผู้เป็นเจ้าของเรา ด้วยพระวาจาแห่งความรอด พระองค์ได้ทรงกำหนดแผนการของพระศาสนจักรด้วยพระเมตตาของพระองค์  พระเจ้าข้า ตั้งแต่เริ่มแรก พระองค์ได้ทรงเลือกลูกหลานอับราฮัมเป็นชนชาติศักดิ์สิทธิ์ พระองค์ได้ทรงตั้งผู้ปกครองและพระสงฆ์ พระองค์มิได้ทรงทิ้งสักการะสถานของพระองค์ ให้ปราศจากศาสนบริกร... (หนังสือพิธีโรมัน การอภิเษกพระสังฆราช ข้อ 26)

1542 ในการโปรดศีลบรรพชาพระสงฆ์ พระศาสนจักรภาวนาว่า

ข้าแต่พระเจ้า พระบิดาผู้ศักดิ์สิทธิ์... ในพันธสัญญาเดิมนั้นมีหลายรูปแบบหลายวิธีที่ตั้งขึ้นเพื่อให้บริการทางพิธีกรรม พระองค์ทรงเชื่อมโยงผู้ร่วมงานที่ติดตามท่านโมเสสและอาโรน ตามอันดับและตามศักดิ์ศรีกับท่านทั้งสองที่พระองค์ได้ทรงเลือก เพื่อปกครองและทำให้ประชากรของพระองค์ศักดิ์สิทธิ์ ในการเดินทางช่วงการอพยพนั้นพระองค์ได้ทรงสื่อจิตตา-รมณ์ของโมเสส ผู้รับใช้ของพระองค์กับผู้รู้และผู้รอบคอบเจ็ดสิบท่าน เพื่อให้สามารถนำทางประชากรของพระองค์ได้อย่างคล่องตัวด้วยความช่วยเหลือของเขา พระองค์ทรงให้ลูกๆ ของอาโรนมีส่วนร่วมในความไพบูลย์ของบรรพบุรุษของเขา เพื่อมิให้ขาดการให้บริการทางสงฆ์ในเตนท์ที่พักของพระองค์ (ระเบียบพิธีโรมัน ข้อ 177)

1543 และในบทภาวนาโปรดศีลบวชสังฆานุกร พระศาสนจักรยืนยันว่า

ข้าแต่พระเจ้าผู้ทรงสรรพฤทธิ์... พระองค์ได้ทรงสร้างพระศาสนจักรขึ้น... โดยทางสามลำดับแห่งศาสนบริกรที่พระองค์ทรงตั้งขึ้นเพื่อความเจริญและการสร้างพระวิหารใหม่ เสมือนในพันธสัญญาเดิมที่พระองค์ได้ทรงเลือกลูกๆ ของตระกูลเลวีให้รับใช้ที่พระแท่นศักดิ์สิทธิ์ (ระเบียบพิธีโรมัน ข้อ 230)

สงฆ์แต่องค์เดียว : พระคริสตเจ้า

1544รูปแบบล่วงหน้าทั้งปวงของความเป็นสงฆ์ในพันธสัญญาเดิม พบความสมบูรณ์ในพระเยซูคริสตเจ้า "คนกลางแต่ผู้เดียวระหว่างพระเจ้าและมวลมนุษย์" (1ทธ.2:5) เมลคีเซเดค "สงฆ์ของพระเจ้าสูงสุด" (ปฐก.14:18) นั้น ธรรมประเพณีคริสตชนถือว่าเป็นรูปแบบล่วงหน้าของความเป็นสงฆ์ของพระคริสตเจ้า "มหาสมณะสูงสุดตามรูปแบบของเมลคีเซเดค" (ฮบ.5:10;6:20) "ผู้ศักดิ์สิทธิ์ บริสุทธิ์ปราศจากมลทิน" (ฮบ.7:26) ซึ่งได้ทรงทำให้บรรดาผู้ซึ่งได้รับความศักดิ์สิทธ์นั้นถึงความสมบูรณ์เป็นนิตย์ด้วยการถวายบูชาเพียงครั้งเดียว... นั่นคือ ด้วยเครื่องบูชาแต่อย่างเดียวคือกางเขนของพระองค์

1545การถวายบูชาไถ่บาปของพระคริสตเจ้าเป็นหนึ่งเดียว ต่างกับการถวายอื่นๆ ซึ่งทำสำเร็จสมบูรณ์ครั้งเดียวตลอดไป อย่างไรก็ตาม แม้ยังคงเป็นปัจจุบันในการถวายบูชามิสซาของพระศาสนจักร เครื่องบูชานั้นมีค่าเพราะสังฆภาพหนี่งเดียวของพระคริสตเจ้า การถวายบูชานี้ยังเป็นปัจจุบัน โดยอาศัยสังฆภาพของศาสนบริกร ซึ่งความเป็นหนึ่งเดียวของสังฆ-ภาพของพระคริสตเจ้าไม่ได้ลดน้อยถอยลงไป    "อันที่จริง พระคริสตเจ้าเท่านั้นเป็นพระสงฆ์แท้จริงขณะที่ท่านอื่นๆ นั้นเป็นศาสนบริกรของพระองค์" (นักบุญโทมัส อไควนัส)

มีสองวิธีในการมีส่วนร่วมในสังฆภาพหนึ่งเดียวของพระคริสตเจ้า

1546พระคริสตเจ้า มหาสมณะและคนกลางแต่ผู้เดียวได้ทรงทำให้พระศาสนจักร "เป็นอาณาจักรของบรรดาปุโรหิตเพื่อพระเจ้า พระบิดาของพระองค์" (วว.1:6) ชุมชนผู้มีความ-เชื่อทั้งมวลเป็นสงฆ์อย่างที่เป็นอยู่ สัตบุรุษดำเนินชีวิตสังฆภาพทางศีลล้างบาปของเขา โดยทางการมีส่วนร่วมแต่ละคนตามกระแสเรียกของตน ตามภารกิจของพระคริสตเจ้า สมณะ ประกาศกและกษัตริย์ โดยอาศัยศีลล้างบาปและศีลกำลัง บรรดาสัตบุรุษ "ได้รับเจิมถวายเป็น.... สงฆ์ผู้ศักดิ์สิทธิ์" (พระศาสนจักร ข้อ 10)

1547สังฆภาพของศาสนบริกร หรืออีกนัยหนึ่งของผู้อยู่ในพระฐานานุกรม คือพระสังฆราชและพระสงฆ์ และสังฆภาพทั่วไปของบรรดาสัตบุรุษทั้งหลาย แม้ "แตกต่างกันด้านธรรมชาติ ถึงกระนั้นสังฆภาพทั้งสองก็เกี่ยวข้องประสานกันและกัน  เหตุว่า สังฆภาพแต่ละอันตามทำนองพิเศษเฉพาะของตน ก็ได้รับปันส่วนมาจากสังฆภาพหนึ่งเดียวของพระคริสตเจ้า" (พระศาสนจักร 10.2) ขณะที่สัตบุรุษใช้สังฆภาพทั่วไปโดยแสดงพระหรรษทานทางศีลล้างบาป คือชีวิตตามความเชื่อ ความไว้ใจและความรัก ชีวิตตามพระจิตเจ้า สังฆภาพของศาสนบริกรเป็นการให้บริการแก่สังฆภาพทั่วไป มุ่งที่จะส่งเสริมพระหรรษ-ทานทางศีลล้างบาปของบรรดาคริสตชนทุกคน  จึงเป็นเครื่องมือหนึ่งซึ่งพระคริสตเจ้าทรงทำต่อเนื่องที่จะสร้างและนำทางพระศาสนจักรของพระองค์ เพราะเหตุผลนี้จึงได้มีการถ่ายทอดโดยทางศีลศักดิ์สิทธิ์พิเศษ คือศีลบรรพชา

ในพระบุคคลแห่งพระคริสตเจ้าผู้เป็นศีรษะ

1548ในการให้บริการของศาสนบริกรผู้ได้รับศีลบวชของพระศาสนจักร ที่พระคริสตเจ้าเองได้ทรงจัดขึ้นนั้น พระองค์ทรงประทับอยู่กับพระศาสนจักร ในแง่ที่เป็นศีรษะของพระกายของพระองค์ พระชุมพาบาลของฝูงแกะของพระองค์ พระมหาปุโรหิตแห่งเครื่องบูชาไถ่บาป พระอาจารย์แห่งความจริง เป็นสิ่งซึ่งพระศาสนจักรแสดงออกมาโดยกล่าวว่า พระสงฆ์ผู้ได้รับศีลบวชปฏิบัติการ "ในพระบุคคลของพระคริสตเจ้าผู้เป็นศีรษะ" (เทียบ พระศาสนจักร ข้อ 10:28; พิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ ข้อ 33)

อันเนื่องมาจากศีลบรรพชา ศาสนบริกรเป็นตัวแทนของพระคริสตเจ้า พระมหาสมณะ  พระคริสตเยซูเจ้า ซึ่งศาสนบริกรทำหน้าที่แทนพระองค์ ในความเป็นจริง ท่านวางตัวเหมือนพระมหาปุโรหิตอันเนื่องมาจากการแต่งตั้งเป็นพระสงฆ์ซึ่งท่านได้รับนั้น มีอำนาจที่จะปฏิบัติหน้าที่ด้วยอำนาจขององค์พระคริสตเจ้าเองซึ่งเป็นตัวแทน (ปีโอ ที่ 12, AAS 39 (1947) 548)

พระคริสตเจ้าทรงเป็นที่มาแห่งสังฆภาพทุกประเภท อันที่จริง พระสงฆ์แห่งธรรมบัญญัติ (สมัยก่อน) นั้น เป็นรูปแบบของพระองค์ ขณะที่พระสงฆ์แห่งธรรมบัญญัติใหม่ปฏิบัติหน้าที่ในพระบุคคลของพระองค์ (นักบุญโทมัส อไควนัส เทวศาสตร์ชั้นสูง ข้อ 3,22,4)

1549โดยทางศาสนบริกรศีลบวช เฉพาะอย่างยิ่งบรรดาพระสังฆราช พระสงฆ์ แสดงถึงการประทับอยู่ของพระคริสตเจ้าในฐานะศีรษะของพระศาสนจักร  ยังคงแลเห็นประจักษ์ท่ามกลางชุมชนของบรรดาผู้มีความเชื่อ  (เทียบ พระศาสนจักร ข้อ 21) ตามถ้อยคำของท่านนักบุญอิกญาซีโอ แห่งอันทิโอก ที่กล่าวว่า พระสังฆราชเป็นเสมือนภาพลักษณ์ที่มีชีวิตของพระเจ้า พระบิดา

1550การประทับอยู่ของพระคริสตเจ้าในศาสนบริกรนี้ เราต้องเข้าใจว่ามิใช่ผู้นั้นจะได้รับการประกันเข้มแข็งในการสู้กับความอ่อนแอประสามนุษย์ทุกอย่าง ความอยากเป็นใหญ่ ความหลงผิด จนกระทั่งบาป กำลังของพระจิตเจ้านั้นก็มิได้รับประกันในการกระทำทุก-อย่างของพวกเขา แต่ในขณะเดียวกันก็รับประกันในการโปรดศีลศักดิ์สิทธิ์นี้ถึงขนาดว่า แม้แต่บาปของศาสนบริกรก็ไม่อาจขัดขวางผลของพระหรรษทานได้ ยังมีการกระทำอื่นๆ อีกมาก ศาสนบริกรในฐานะมนุษย์นั้นมิใช่เป็นเครื่องหมายของความสัตย์ซื่อต่อพระวรสารเสมอไป  ซึ่งผลที่ตามมาสามารถทำร้ายผลการแพร่ธรรมของพระศาสนจักรได้

1551สังฆภาพนี้เป็นศาสนบริการ "ภาระหน้าที่นี้ซึ่งองค์พระผู้เป็นเจ้าได้ทรงมอบหมายให้บรรดาผู้อภิบาลแห่งประชากรของพระองค์นั้นเป็นการให้บริการที่แท้จริง" (พระศาสนจักร ข้อ 21) การให้บริการนั้นสัมพันธ์ถึงพระคริสตเจ้าและมนุษย์ทั้งปวง มันขึ้นอยู่กับพระคริสตเจ้าและสังฆภาพเดียวของพระองค์ ได้รับการตั้งขึ้นเพื่อประโยชน์ของมนุษย์และชุมชนของพระศาสนจักร ศีลบรรพชาสื่อ "อำนาจศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเป็นอำนาจของพระคริสตเจ้าอย่างแน่แท้  การใช้อำนาจนั้นต้องวัดด้วยแม่แบบ  คือพระคริสตเจ้าซึ่งได้ทรงทำตนเป็นคนสุดท้ายและทาสรับใช้ของทุกคนด้วยความรัก (เทียบ มก.10:43-45; 1ปต.5:3) องค์พระผู้เป็นเจ้าได้ตรัสอย่างชัดเจนว่า ความพร้อมที่จะปฏิบัติหน้าที่เพื่อฝูงแกะของพระองค์นั้นเป็นข้อพิสูจน์ความรักต่อพระองค์ (นักบุญยวง คริสโซสโตม, เทียบ ยน.21:15-17)

"ในนามของพระศาสนจักรทั้งมวล"

1552สังฆภาพด้านศาสนบริกรนั้นมีหน้าที่มิใช่เพียงแค่เป็นตัวแทนพระคริสตเจ้า ศีรษะของพระศาสนจักร ต่อหน้าที่ประชุมของสัตบุรุษเท่านั้น แต่ยังปฏิบัติหน้าที่ในนามของพระ-ศาสนจักรทั้งมวลเมื่อนำเสนอการอธิษฐานของพระศาสนจักรแด่พระเจ้า และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อถวายบูชามิสซา (เทียบ พิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ 33, พระศาสนจักร 10)

1553"ในนามของพระศาสนจักรทั้งมวล" ไม่ได้หมายความว่า บรรดาพระสงฆ์เป็นผู้แทนของชุมชน การอธิษฐานและถวายบูชาของพระศาสนจักรนั้นไม่อาจแยกจากการอธิษฐานและถวายบูชาพระคริสตเจ้าผู้เป็นศีรษะของพระศาสนจักรได้ ยังเป็นการถวายบูชาพระ-  คริสตเจ้าเสมอในและโดยทางพระศาสนจักร เป็นพระศาสนจักรทั้งมวล พระกายของพระคริสตเจ้าซึ่งอธิษฐานและถวายตนเอง โดยพระองค์ พร้อมกับพระองค์และในพระองค์ - ในความเป็นหนึ่งเดียวของพระจิตเจ้าแด่พระเจ้า พระบิดา พระกายทั้งมวล -ศีรษะและอวัยวะ- อธิษฐานและถวายตนเอง เพราะเหตุนี้ บรรดาผู้ซึ่งเป็นศาสนบริกรในความหมายเฉพาะในพระกายได้รับเรียกว่าศาสนบริกร ไม่เพียงเพราะพระคริสตเจ้าเท่านั้น  แต่ยังเป็นเพราะพระศาสนจักรด้วย ทั้งนี้เพราะว่าศาสนบริกรเป็นตัวแทนพระ-คริสตเจ้า และสามารถเป็นตัวแทนพระศาสนจักรอีกด้วย