หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

8. ศาสนบริกรแห่งศีลศักดิ์สิทธิ์นี้

 1461เนื่องจากพระคริสตเจ้าได้ทรงมอบหมายหน้าที่ศาสนบริกรแห่งการกลับคืนดีกันแด่บรรดาอัครสาวก (เทียบ ยน.20:23; 2คร.5:18)    บรรดาพระสังฆราช ผู้สืบตำแหน่งของเขาและคณะสงฆ์ ผู้ร่วมงานของพระสังฆราชทำต่อเนื่องที่จะใช้หน้าที่ศาสนบริกรนี้ อันที่จริง เป็นพระสังฆราชและคณะสงฆ์ซึ่งมีอำนาจที่จะอภัยบาปทุกชนิด "ในนามของพระบิดาและพระบุตรและพระจิต" โดยอาศัยศีลบรรพชา

1462การอภัยบาปเป็นการคืนดีกับพระเจ้าแต่ยังคืนดีกับพระศาสนจักรด้วย ตั้งแต่ยุคสมัยโบราณ พระสังฆราช ประมุขที่แลเห็นได้ของพระศาสนจักรเฉพาะท้องที่ จึงได้รับการพิจารณาว่ามีอำนาจเป็นอันดับแรก และทำหน้าที่ศาสนบริกรแห่งการทำให้คืนดีกัน เป็นผู้กำหนดระเบียบการทำกิจใช้โทษบาปในสังฆมณฑล (เทียบ พระศาสนจักร ข้อ 26.3) คณะสงฆ์ ผู้ร่วมงานของท่านสามารถใช้อำนาจเช่นนั้น    ในมาตรการซึ่งได้รับหน้าที่ไม่ว่าจากพระสังฆราชของตน (หรือจากผู้มีอำนาจเหนือกว่าทางฝ่ายศาสนา) ไม่ว่าจากพระสันตะ-ปาปา บนพื้นฐานของกฎหมายของพระศาสนจักร (เทียบ กฎหมายพระศาสนจักร ม.844, 967-969, 972)

1463บาปบางชนิดโดยเฉพาะอย่างยิ่งบาปหนักที่ถูกลงโทษตัดขาดจากพระศาสนจักร เป็นโทษที่รุนแรงที่สุดของพระศาสนจักรซึ่งขัดขวางที่จะรับศีลศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ และที่จะกระทำกิจการของพระศาสนจักรที่กำหนดไว้บางกิจการ   และซึ่งการยกบาปไม่อาจกระทำได้อันเป็นผลที่ตามมาตามกฎหมายของพระศาสนจักรนอกจากพระสันตะปาปา พระสังฆราชของท้องที่ หรือคณะสงฆ์ที่ได้รับอำนาจ ในกรณีมีภัยถึงความตาย พระสงฆ์ทุกองค์ ต่อให้ขาดความสามารถที่จะฟังการสารภาพบาป สามารถยกบาปใดๆ และจากการตัดขาดใดๆ จากพระศาสนจักร (เทียบ กฎหมายพระศาสนจักร ม.976)

1464บรรดาพระสงฆ์ต้องให้กำลังใจผู้มีความเชื่อให้ไปรับศีลอภัยบาป และต้องแสดงว่ามีความพร้อมที่จะฟังแก้บาปทุกครั้งที่คริสตชนทำการขอร้องให้สมเหตุสมผล (เทียบ กฎหมายพระศาสน-จักร ม.986)

1465พระสงฆ์กระทำหน้าที่ศาสนบริกรของนายชุมพาบาลที่ดี ซึ่งแสวงหาแกะที่หายไป ดังชาวสะมาเรียผู้ใจดีซึ่งให้การรักษาบาดแผล หรือบิดาซึ่งรอคอยลูกล้างผลาญและต้อนรับการกลับมาของเขา และเป็นเหมือนผู้พิพากษายุติธรรมซึ่งไม่ลำเอียง และซึ่งการตัดสินนั้นยุติธรรมและเมตตากรุณา กล่าวโดยสรุป พระสงฆ์เป็นเครื่องหมายและเครื่องมือของความรักเมตตากรุณาของพระเจ้าต่อคนบาป

1466ผู้ฟังแก้บาปไม่ใช่เจ้านาย แต่เป็นผู้รับใช้การให้อภัยของพระเจ้า ศาสนบริกรของศีล-ศักดิ์สิทธิ์นี้ต้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับ "ความตั้งใจและความรักของพระคริสตเจ้า" (การปฏิบัติงานและชีวิตสงฆ์ ข้อ 13) ต้องมีความรู้ถ่องแท้ถึงพฤติกรรมคริสตชน ที่ได้รับการทดสอบมาแล้ว ประสบการณ์ของกิจการจริงของมนุษย์ ต้องมีความเคารพนับถือ และความละเอียดอ่อนในการเผชิญกับผู้ที่ตกอยู่ในบาป ต้องรักความจริง  ต้องสัตย์ซื่อต่อคำสั่งสอนของพระศาสนจักรและปฏิบัติต่อผู้ใช้โทษบาปด้วยความอดทน นำไปสู่การรักษาเยียวยาและความเป็นผู้ใหญ่เต็มตัว ศาสนบริกรต้องสวดอธิษฐานและทำการพลีกรรมเพื่อเขา และมอบเขาไว้กับพระเมตตากรุณาขององค์พระผู้เป็นเจ้า

1467เมื่อกำหนดความละเอียดอ่อนและความยิ่งใหญ่ของศาสนบริการ และความเคารพนับถือที่ต้องให้กับตัวบุคคล พระศาสนจักรประกาศว่า พระสงฆ์ทุกองค์ซึ่งฟังการสารภาพบาปนั้นต้องรักษาความลับเด็ดขาดเกี่ยวกับบาปที่ผู้ใช้โทษบาปได้สารภาพ หากละเมิดมีโทษรุนแรงมาก ไม่อนุญาตให้พระสงฆ์ผู้ฟังแก้บาปพูดในแง่ที่ได้รู้มาโดยทางการสารภาพบาปเกี่ยวกับชีวิตของผู้สารภาพบาป (เทียบ กฎหมายพระศาสนจักร ม.1388 ข้อ 1) ความลับที่ไม่มีข้อยก-เว้นนี้เรียกกันว่า "ตราแห่งศีลศักดิ์สิทธิ์"  เนื่องจากว่า สิ่งซึ่งผู้ใช้โทษบาปได้แสดงแก่พระสงฆ์นั้นยังคง "ถูกประทับตราไว้" โดยศีลศักดิ์สิทธิ์นี้