หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

7. กิจการของผู้สารภาพบาป

1450"การเป็นทุกข์กลับใจเรียกร้องคนบาปให้พร้อมที่จะทนความทุกข์ทุกชนิดด้วยน้ำใจดี มีความรู้สึกเสียใจที่กระทำผิดในหัวใจของเขา มีการสารภาพบาปจากปากของเขา มีความถ่อมตนสุภาพและการชดเชยอย่างอุดม" (คำสอนโรมัน II ข้อ 5,21)

ความรู้สึกเป็นทุกข์เสียใจที่กระทำผิด

1451ความเป็นทุกข์ถึงบาปมาเป็นอันดับหนึ่ง ท่ามกลางบรรดากิจการของผู้สารภาพบาป ความเป็นทุกข์ถึงบาปที่กระทำผิดนั้นเป็น "ความทุกข์ของใจและการปฏิเสธที่จะทำบาป ความตั้งใจจะไม่ทำบาปอีกในอนาคต" (เทียบ สังคายนาแห่งเตรนท์ (1551) DS 1676)

1452ความรู้สึกเสียใจที่กระทำผิดนั้นเป็นทุกข์ "สมบูรณ์" (เป็นความรู้สึกเสียใจเพราะความรัก) เมื่อมาจากความรักพระเจ้าที่รักเหนือสิ่งอื่นใด ความรู้สึกเสียใจเช่นนั้นยกบาปเบา ยังได้รับการอภัยบาปหนักด้วยในกรณีที่ก่อให้เกิดความตั้งใจแน่วแน่ที่จะสารภาพบาปทางศีล-ศักดิ์สิทธิ์เมื่อมีโอกาส (เทียบ DS 1677)

1453ความรู้สึกเสียใจที่กระทำผิดเรียกกันว่า "ไม่สมบูรณ์" (หรือความทุกข์ที่เกิดจากความกลัวถูกทำโทษ) เป็นพระพรของพระเจ้าเช่นกัน เป็นแรงกระตุ้นของพระจิตเจ้า และยังเกิดจากการพิจารณาความน่าเกลียดของบาป หรือความกลัวจากการลงทัณฑ์ถาวรและการถูกลงโทษอื่นๆ ซึ่งการข่มขู่นั้นอยู่ใกล้คนบาปแค่เอื้อม (ความรู้สึกเสียใจที่ได้กระทำผิดเพราะความเกรงกลัว) เมื่อมโนธรรมได้รับการก่อกวนเช่นนั้น ก็สามารถมีการริเริ่มกระบวนการภายใน  ซึ่งจะนำไปสู่ความสมบูรณ์ด้วยการรับอภัยบาปทางศีลศักดิ์สิทธิ์ภายใต้การปฏิบัติการของพระหรรษทาน อย่างไรก็ตาม ความรู้สึกเสียใจที่กระทำผิดที่ไม่สมบูรณ์แต่เพียงอย่างเดียวนั้นไม่ได้รับการอภัยบาปหนัก แต่เตรียมพร้อมที่จะรับการอภัยบาปในศีลอภัยบาป

1454เป็นการดีที่จะเตรียมตัวรับศีลศักดิ์สิทธิ์นี้ ด้วยการพิจารณามโนธรรมโดยกระทำจากความเข้าใจในพระวาจาของพระเจ้า ข้อความที่เหมาะสมที่สุดกับเป้าหมายนี้เราพบในพระบัญญัติ 10 ประการ  คำสอนศีลธรรมของพระวรสารและบทจดหมายของบรรดาอัครสาวก เช่น บทเทศน์บนภูเขา คำสั่ง-สอนของบรรดาอัครสาวก (เทียบ มธ.5-7, รม.12-15, 1คร.12-13, กท.5, อฟ.4-6)

การสารภาพบาป

1455การสารภาพบาป (การกล่าวโทษ) ทำให้เราเป็นอิสระ โดยมองจากทัศนะความเป็นมนุษย์แบบธรรมดาและเอื้อต่อการคืนดีกับผู้อื่น มนุษย์พิจารณาบาปต่อหน้าซึ่งกล่าวหาตนว่ามีความผิดด้วยการกล่าวโทษ ได้มีการยอมรับผิดชอบและเปิดตนเองสู่พระเจ้า และการมีชีวิตร่วมกันกับพระศาสนจักรถึงขนาดมีจุดหมายที่จะทำให้อนาคตใหม่เป็นไปได้

1456การสารภาพบาปต่อพระสงฆ์ถือเป็นส่วนสำคัญของศีลอภัยบาป  "มีความจำเป็นที่ผู้ทำการใช้โทษบาปสารภาพบาปหนักทุกข้อในการสารภาพบาป ซึ่งมีการรู้ตัวภายหลังการพิจารณามโนธรรมอย่างถี่ถ้วน ถ้าเกี่ยวข้องกับบาปที่ลึกลับที่สุดและกระทำลงไปขัดต่อพระบัญญัติสิบประการสองข้อสุดท้าย เพราะว่ามักทำร้ายวิญญาณอย่างหนักที่สุด และได้มีการไขแสดงว่าเป็นอันตรายที่สุดท่ามกลางบรรดาบาปที่กระทำไปอย่างเปิดเผย" (สังคายนาแห่งเตร็นท์ DS 1680 เทียบ อพย.20:17; มธ.5:28)

คริสตชนที่พยายามสารภาพบาปทุกข้อซึ่งนึกได้  ก็ปล่อยบาปทั้งหมดไว้เบื้องพระพักตร์พระเมตตากรุณาของพระเจ้าโดยไม่ต้องมีข้อสงสัยเพื่อให้พระองค์อภัยบาปให้ ตรงข้าม ผู้ซึ่งกระทำตรงข้ามและนิ่งเงียบไม่สารภาพบาปบางข้อโดยรู้ตัว ก็เหมือนกับว่าไม่ได้วางสิ่งนั้นไว้ต่อความดีของพระเจ้า เพื่อให้ได้รับการอภัยบาปโดยทางพระสงฆ์ "อันที่จริงถ้าคนป่วยละอายใจที่จะแสดงบาดแผลให้แพทย์ตรวจ นายแพทย์ก็ไม่สามารถรักษาสิ่งซึ่งไม่ทราบ" (DS 1680)

1457ตามคำสอนของพระศาสนจักร "สัตบุรุษทุกคนเมื่อบรรลุถึงอายุที่สามารถรู้ผิดชอบต้องสารภาพบาปหนักของตนอย่างสัตย์ซื่ออย่างน้อยปีละครั้ง" (กฎหมายพระศาสนจักร ข้อ 989) ผู้ซึ่งรู้ตัวว่าได้กระทำบาปหนักต้องไม่รับศีลมหาสนิท แม้จะรู้สึกว่าเสียใจมากที่กระทำผิดไปโดยไม่ได้รับการยกบาปทางศีลอภัยบาปก่อน ยกเว้นแต่ว่ามีเหตุร้ายแรงไม่สามารถที่จะติดต่อหรือไม่สามารถที่จะไปหาผู้รับฟังแก้บาปได้ เด็กๆ ต้องไปรับศีลอภัยบาปก่อนรับศีลมหาสนิทเป็นครั้งแรก (เทียบ กฎหมาย ม.914)

1458แม้ว่าไม่น่าจำเป็น การสารภาพความผิดประจำวัน (บาปเบา) ก็ได้รับคำแนะนำให้ทำอย่างจริงจังจากพระศาสนจักร อันที่จริง การสารภาพบาปเบาเป็นประจำช่วยเราสร้างมโนธรรมให้ต่อสู้กับความโน้มเอียงไปทางชั่ว ให้พระคริสตเจ้าทรงเยียวยารักษา ให้ก้าว-หน้าในชีวิตฝ่ายจิต เราได้รับการกระตุ้นให้เป็นคนมีเมตตากรุณาเหมือนพระบิดา โดยการรับพระพรแห่งความเมตตากรุณาของพระบิดาค่อนข้างบ่อยโดยทางศีลศักดิ์สิทธิ์นี้ (เทียบลก.6:36)

ผู้ซึ่งยอมรับบาปของตนและทำการประณามก็ย่อมเห็นด้วยกับพระเจ้า พระเจ้าทรงประณามบาปของท่าน และถ้าท่านประณามมันด้วยท่านก็เป็นหนึ่งเดียวกับพระเจ้า มนุษย์และคน-บาปนั้นเป็นสองสิ่งที่แยกแตกต่างกัน มนุษย์เป็นผลงานของพระเจ้า คนบาปเป็นผลงานของท่าน โอ มนุษย์เอ๋ย จงทำลายสิ่งซึ่งท่านได้สร้างขึ้นมาจนกว่าพระองค์จะช่วยสิ่งที่พระองค์ได้ทรงกระทำให้รอด เมื่อท่านเริ่มไม่พอใจสิ่งซึ่งท่านได้ทำลงไปแล้วนั้น ผลงานที่ดีๆ ของท่านก็เริ่มขึ้นเพราะว่าท่านประณามผลงานที่เลวๆ ของท่าน ผลงานที่ดีเริ่มด้วยการยอมรับผลงานที่เลว จงปฏิบัติการแห่งความจริงแล้วท่านก็จะบรรลุถึงความสว่าง (น.ออกัสติน)

การชดเชยบาป

1459บาปหลายประการเป็นการทำร้ายต่อเพื่อนบ้านจำนวนมาก จำเป็นต้องชดใช้เท่าที่ทำได้ เพื่อซ่อมแซมส่วนที่เสียหายนั้น (เช่น คืนของที่ขโมย ทำให้ชื่อเสียงของคนที่เสียหายกลับคืนมา ทำให้บาดแผลได้รับการบำบัดรักษา) ความชอบธรรมตามปกติเรียกร้องให้คืนมา แต่ยิ่งกว่านั้น บาปนั้นทำร้ายและทำให้คนบาปอ่อนแอ ดังเช่นความสัมพันธ์ของเขากับพระเจ้าและกับเพื่อนมนุษย์ การยกบาปนั้นยกเอาบาปออกไปแต่ไม่นำการบำบัดรักษาความไร้ระเบียบทั้งปวงที่บาปได้ก่อให้เกิดขึ้น เมื่อได้รับการยกบาปแล้ว คนบาปยังต้องซ่อมแซมสุขภาพฝ่ายใจให้สมบูรณ์ด้วย ดังนั้นจึงต้องทำบางสิ่งเพื่อซ่อมแซมความผิดของตน ต้อง "ทำการชดเชยบาป" ในลักษณะที่เพียงพอ หรือ "ดับ ลบล้าง" บาปของตน การทำให้พอใจนี้ยังเรียกว่า "การใช้โทษบาป" ด้วย

1460กิจใช้โทษบาปซึ่งผู้ฟังแก้บาปกำหนดไว้ต้องคำนึงถึงสถานการณ์ส่วนตัวของผู้ใช้โทษบาป และมุ่งแสวงหาความดีฝ่ายจิตของเขา กิจใช้โทษบาปนั้นต้องสอดคล้องกับความหนักและสภาพของบาปที่กระทำเท่าที่สามารถจะเป็นไปได้ สามารถเป็นการสวดอธิษฐาน การบริจาค ทำกิจเมตตา การรับใช้ผู้อื่น การเสียสละโดยเต็มใจ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการยอมรับกางเขนด้วยความอดทนซึ่งเราต้องแบก การใช้โทษบาปเช่นนั้นช่วยเราให้ละม้ายคล้ายพระคริสตเจ้าซึ่งได้ทรงลบล้างบาปของเราเพียงครั้งเดียวตลอดไป การใช้โทษบาปนั้นอนุญาตเราให้กลายเป็นผู้ร่วมรับมรดกของพระคริสตเจ้า ผู้ทรงกลับเป็นขึ้นมา จากขณะซึ่ง "เราร่วมรับการทรมานกับพระองค์" (รม.8:17; 3:25; 1ยน.2:1-2 เทียบ DS 1690)

แต่การชดเชยซึ่งเรากระทำเพราะบาปของเรามิใช่ของเราและจะมีขึ้นไม่ได้ ถ้ามิได้อาศัยพระเยซูคริสตเจ้า อันที่จริง เราไม่สามารถทำอะไรได้โดยตัวเราเอง เราสามารถทำทุกสิ่งด้วยความช่วยเหลือของพระองค์ ในพระองค์ซึ่งประทานพละกำลังแก่เรา ดังนั้น มนุษย์ไม่มีอะไรที่จะให้เกียรติแก่ตนเองแต่ความภาคภูมิใจทั้งหมดของเราได้มอบไว้ในพระคริสตเจ้าซึ่ง... เราถวายความพึงพอใจโดยทำ "ตนให้สมกับที่ได้กลับใจ" (ลก.3:8) ซึ่งดึงคุณค่าจากพระองค์ และได้รับการถวายแด่พระบิดาโดยพระองค์และพระบิดาได้ทรงรับอันเนื่องมาจากพระองค์ (สังคายนาแห่งเตร็นท์ เทียบ ฟป.4:13; 1คร.1:31)