หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

6. ศีลอภัยบาปและการคืนดี

1440บาปเป็นการทำเคืองพระทัยพระเจ้า เป็นการแยกตัวออกจากการมีส่วนร่วมชีวิตกับพระองค์ ในเวลาเดียวกันยังทำลายการมีส่วนร่วมกับพระศาสนจักร เพราะเหตุนี้   การกลับใจนำมาซึ่งการอภัยของพระเจ้าและการคืนดีกับพระศาสนจักร ซึ่งถูกแสดงออกและทำให้สำเร็จทางพิธีกรรม โดยอาศัยศีลล้างบาปและการคืนดี (เทียบพระศาสนจักร ข้อ 11)

พระเจ้าเท่านั้นทรงอภัยบาป

1441พระเจ้าเท่านั้นทรงอภัยบาป (เทียบ มก.2:7)   เนื่องจากพระเยซูเจ้าทรงเป็นพระบุตรของพระเจ้า พระองค์ทรงกล่าวถึงพระองค์เองว่า "บุตรแห่งมนุษย์มีอำนาจอภัยบาปได้บนแผ่นดินนี้" (มก.2:10) และทรงใช้อำนาจนี้ของพระเจ้า "บาปของเจ้าได้รับการอภัยแล้ว" (มก.2:5; ลก.7:48) ยิ่งกว่านั้น พระองค์ทรงประทานอำนาจเช่นนั้นให้มนุษย์ เพื่อให้ใช้ในนามของพระองค์ (เทียบ ยน.20:21-23)

1442พระคริสตเจ้าทรงพระประสงค์ให้คำภาวนา ชีวิต และกิจการทั้งหมดของพระศาสนจักรเป็นเครื่องหมายและเครื่องมือแห่งการอภัยบาปและการคืนดี ซึ่งพระองค์ได้รับอำนาจที่จะประทานให้โดยหลั่งพระโลหิตของพระองค์ อย่างไรก็ตาม พระองค์ได้ทรงมอบการใช้อำนาจที่จะยกบาปนี้แก่ภารกิจด้านธรรมทูต ซึ่งพระองค์บรรจุไว้กับ "ภารกิจการคืนดี" (2คร.5:18) อัครสาวกได้ถูกส่งไปเป็นทูตแทนพระคริสตเจ้า ประหนึ่งว่าพระเจ้าทรงใช้เราให้เชิญชวนท่านทั้งหลาย เราจึงขอร้องแทนพระคริสตเจ้าว่า "จงยอมคืนดีกับพระเจ้าเถิด" (2คร.5:20)

การคืนดีกับพระศาสนจักร

1443ระหว่างพระชนมชีพเปิดเผยนั้น พระเยซูเจ้าไม่ทรงเพียงให้อภัยบาปเท่านั้น พระองค์ยังได้ทรงชี้แจงผลของการให้อภัยบาปนี้ด้วย   พระองค์ยังได้ทรงนำบรรดาคนบาปที่ได้รับการอภัยนั้นไว้ในกลุ่มประชากรของพระเจ้าด้วย ซึ่งบาปได้ทำให้เขาเหินห่างออกไป หรือตัดขาดจากกัน   เครื่องหมายที่สำคัญสิ่งนี้คือข้อเท็จจริงที่ว่า พระเยซูเจ้าทรงยอมรับคนบาปให้ร่วมโต๊ะอาหารกับพระองค์ พระองค์เองทรงนั่งที่โต๊ะอาหารของเขา เป็นท่าทีซึ่งแสดงถึงการอภัยบาปของพระเจ้า ในลักษณะที่กลับหน้ามือเป็นหลังมือ และในเวลาเดียวกันเป็นการกลับมาอยู่ในอ้อมกอดแห่งประชากรของพระเจ้า (เทียบ ลก.15; 19:9)

1444องค์พระผู้เป็นเจ้ายังได้ทรงประทานอำนาจอภัยบาป และมีส่วนที่จะทำให้คนบาปคืนดีกับพระศาสนจักรแก่อัครธรรมทูตด้วย มิติเช่นนั้นของพระศาสนจักรที่ทำหน้าที่ศาสนบริกรในการแสดงออกที่ชัดเจนที่สุด ในถ้อยคำอันสง่าของพระคริสตเจ้าที่ทรงตรัสกับ ซีมอน เปโตรว่า "เราจะมอบกุญแจอาณาจักรสวรรค์ให้ ทุกสิ่งที่ท่านจะผูกบนแผ่นดินนี้จะผูกไว้ในสวรรค์ด้วย ทุกสิ่งที่ท่านจะแก้บนแผ่นดินนี้ ก็จะแก้ในสวรรค์ด้วย" (มธ.16:19)"อำนาจในการผูกและการแก้ ซึ่งนักบุญเปโตรได้รับมอบนั้น อัครธรรมทูตร่วมกับประมุขของตนก็ได้รับมอบเช่นกัน" (พระศาสนจักร ข้อ 22.2)

1445คำว่า การผูกและการแก้ หมายความว่า ผู้ใดที่ท่านจะตัดออกจากการมีชีวิตร่วมกันก็จะถูกตัดออกจากการมีชีวิตร่วมกันกับพระเจ้า ผู้ใดที่ท่านจะรับเข้าไว้ใหม่ในการมีชีวิตร่วมกัน พระเจ้าก็จะทรงรับไว้เช่นเดียวกัน การคืนดีกับพระศาสนจักรไม่อาจแยกออกจากการคืนดีกับพระเจ้าได้

ศีลแห่งการให้อภัย

1446พระคริสตเจ้าทรงตั้งศีลแห่งการใช้โทษบาปเพื่อสมาชิกที่ทำบาปทุกคนของพระศาสนจักร โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับบรรดาผู้ที่ตกในบาปหนักภายหลังศีลล้างบาป และได้สูญเสียพระหรรษทานแห่งศีลล้างบาปไป ได้ก่อให้เกิดบาดแผลต่อการมีชีวิตร่วมกันของพระ-ศาสนจักร ศีลอภัยบาปมีไว้สำหรับคนเหล่านี้ เป็นโอกาสใหม่ที่จะกลับใจและรับพระ-หรรษทานที่ทำให้เป็นคนชอบธรรมกลับคืนมาให้กับบุคคลเหล่านั้น บรรดาปิตาจารย์ของพระศาสนจักรเสนอศีลศักดิ์สิทธิ์นี้เป็นเสมือน "แผนความรอดชั้นที่สองภายหลังการอับปางของพระหรรษทานที่สูญเสียไป" (แตร์ตูเลียน)

1447ตลอดระยะเวลาเป็นศตวรรษๆ รูปแบบที่เป็นรูปธรรมซึ่งพระศาสนจักรได้ใช้อำนาจนี้ที่ได้รับจากองค์พระผู้เป็นเจ้ามีการเปลี่ยนแปลงพอสมควร ระหว่างช่วงศตวรรษแรก การคืนดีของบรรดาคริสตชนซึ่งได้กระทำบาปหนักโดยเฉพาะอย่างยิ่งภายหลังรับศีลล้างบาป (ยกตัวอย่างเช่น การนับถือรูปปฏิมา การฆ่าคนหรือการล่วงประเวณี) ได้เชื่อมโยงกับระเบียบวินัยที่เข้มงวดมาก ซึ่งผู้ทำการใช้โทษบาปต้องกระทำการใช้โทษบาปของเขาอย่างเปิดเผย เป็นระยะเวลาเป็นปีๆ บ่อยๆ ก่อนที่จะได้รับการคืนดี ไม่มีการอนุญาตให้กับ "กฎระเบียบของผู้ทำการใช้โทษบาปนี้" (ซึ่งพิจารณาเฉพาะบาปหนักบาง-ประการ) นอกจากนานๆ ครั้งด้วยเหตุผลบางประการให้เพียงครั้งเดียวชั่วชีวิต ในศตวรรษที่ 7 บรรดาธรรมทูตชาวไอร์แลนด์ ได้รับการบันดาลใจโดยธรรมประเพณีจากคณะนักบวชในพระศาสนจักรตะวันออก นำการปฏิบัติ "ส่วนตัว" ของการใช้โทษบาปในยุโรป ซึ่งไม่เรียกร้องการกระทำให้สำเร็จในที่ชุมชนและกระทำผลงานการใช้โทษบาปต่อเนื่องก่อนได้รับการคืนดีกับพระศาสนจักร ตั้งแต่นั้นมา ศีลศักดิ์สิทธิ์นี้ได้กระทำกันในลักษณะส่วนตัวระหว่างผู้สารภาพบาปและพระสงฆ์ การปฏิบัติแบบใหม่นี้เห็นว่าเป็นไปได้ที่จะรับหลายครั้ง และเปิดโอกาสให้มารีบศีลนี้บ่อยๆ การปฏิบัติแบบใหม่นี้อนุญาตให้มารวมการอภัยบาปหนักและบาปเบาด้วย สิ่งนี้เป็นรูปแบบการใช้โทษบาปซึ่งพระศาสนจักรปฏิบัติมาจนถึงทุกวันนี้

1448ได้มีการแยกแยะโครงสร้างพื้นฐานเดียวกันนี้โดยทางการเปลี่ยนแปลง ซึ่งกฎระเบียบและการรับศีลศักดิ์สิทธิ์นี้ได้รู้จักในช่วงเวลาเป็นศตวรรษๆ โครงสร้างนี้ประกอบด้วยสององค์ประกอบที่สำคัญเท่าเทียมกันคือ ด้านหนึ่ง เป็นการกระทำของมนุษย์ที่มีการกลับใจภายใต้การปฏิบัติการของพระจิตเจ้า กล่าวคือ ความรู้สึกเสียใจที่ได้กระทำผิด การสารภาพบาปและการใช้โทษบาป อีกด้านหนึ่ง การปฏิบัติการของพระเจ้าโดยทางการเข้ามีส่วนของพระศาสนจักร พระศาสนจักรซึ่งให้อภัยบาปในนามของพระเยซูคริสตเจ้าโดยทางพระสังฆราชและคณะสงฆ์และสร้างวิธีการที่ทำให้เกิดความพึงพอใจ ยังได้สวดอธิษฐานเพื่อคนบาปและทำการใช้โทษบาปให้ด้วยดังนี้คนบาปจึงได้รับการเยียวยารักษาและตั้งหลักมั่นคงอีกครั้งหนึ่งในชีวิตร่วมกันของพระศาสนจักร

1449สูตรการยกบาปที่ใช้อยู่ในพระศาสนจักรลาติน แสดงองค์ประกอบสำคัญของศีลศักดิ์สิทธิ์นี้คือ พระบิดาผู้ทรงพระเมตตากรุณาทรงเป็นแหล่งท่อธารแห่งการอภัยบาปทุกชนิด พระองค์ทรงทำให้การคืนดีของคนบาปเป็นจริงโดยทางปัสกาของพระบุตรของพระองค์ และพระพรของพระจิตเจ้าโดยทางการสวดอธิษฐานและหน้าที่ศาสนบริกรของพระ-ศาสนจักร

ข้าแต่พระเจ้า พระบิดาผู้ทรงพระเมตตากรุณา ซึ่งได้ทรงทำให้โลกคืนดีกับพระองค์โดยทางการสิ้นพระชนม์และการกลับเป็นขึ้นมาของพระบุตรของพระองค์ และทรงส่งพระจิตมาประทับอยู่ท่ามกลางเรา เพื่อพระเจ้าจะได้ประทานการอภัยบาปและสันติสุขโดยทางศาสน-บริกรของพระศาสนจักร และข้าพเจ้ายกบาปท่านในนามของพระบิดา พระบุตรและพระจิต (หนังสือพิธีกรรมโรมัน พิธีการใช้โทษบาป แบบการอภัยบาป)