หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

6. งานเลี้ยงปัสกา

 1382บูชามิสซาเป็นเครื่องบูชาระลึกถึงเครื่องบูชาบนกางเขนเสมอ และในเวลาเดียวกันเป็นงานเลี้ยงศักดิ์สิทธิ์แห่งความสนิทสัมพันธ์ที่รับพระกายและพระโลหิตขององค์พระผู้เป็นเจ้า แต่การประกอบพิธีบูชามิสซานั้น มุ่งถึงความผูกพันใกล้ชิดของบรรดาผู้มีความเชื่อกับพระคริสตเจ้าโดยทางการรับศีลมหาสนิท การรับศีลมหาสนิทเป็นการรับพระคริสตเจ้าเอง ซึ่งทรงถวายตนเองเพื่อเรา

1383พระแท่น ซึ่งพระศาสนจักรร่วมชุมนุมกันรอบพระแท่นในเวลาประกอบพิธีมิสซา เป็นเครื่องหมายถึงธรรมล้ำลึกข้อหนึ่งที่มีสองมุมมองคือ พระแท่นแห่งเครื่องบูชาและโต๊ะ-อาหารขององค์พระผู้เป็นเจ้า และสิ่งนี้เป็นสัญลักษณ์ของพระคริสตเจ้าเองที่ประทับอยู่ท่ามกลางที่ชุมนุมของบรรดาผู้มีความเชื่อ  ในความหมายที่มากกว่าเป็นพระแท่นของคริสตชนไม่ว่าจะเป็นเหยื่อที่ถูกถวายเพื่อการคืนดีของเรา และเป็นอาหารจากสวรรค์ซึ่งประทานแก่เรา นักบุญอัมโบรส กล่าวว่า "พระแท่นของพระคริสตเจ้าคืออะไรถ้าไม่ใช่ภาพลักษณ์ของพระกายพระคริสตเจ้า?" และท่านยังกล่าวอีกที่หนึ่ง "พระแท่นเป็นเครื่องหมายของพระกายพระคริสตเจ้า และพระกายพระคริสตเจ้าประทับอยู่บนพระแท่นนั้น" พิธีกรรมแสดงถึงความเป็นหนึ่งเดียวกันของเครื่องบูชา และความสัมพันธ์ในการอธิษฐานมากมาย ดังนั้น พระศาสนจักรจึงอธิษฐานในบทสร้อยดังนี้

ข้าแต่พระเป็นเจ้าผู้ทรงสรรพฤทธิ์ ข้าพเจ้าทั้งหลายอ้อนวอนพระองค์  โปรดให้เทวดานำของถวายนี้ไปบนพระแท่นในสวรรค์ ต่อพระพักตร์พระมหิทธิศักดิ์ของพระองค์ เพื่อให้ข้าพเจ้าทั้งหลายเมื่อรับพระกายและพระโลหิตของพระบุตรของพระองค์ ณ พระแท่นนี้แล้ว ข้าพเจ้าทั้งหลายจะได้รับพระหรรษทานจากสวรรค์ด้วยเถิด (มิสซาโรมัน, EP 1)

การรับศีลมหาสนิท : จงรับและกินให้ทั่วกันเถิด

1384องค์พระผู้เป็นเจ้าทรงเชื้อเชิญเราให้รับพระองค์ในศีลมหาสนิท "เราบอกความจริงแก่ท่านทั้งหลายว่า ถ้าท่านไม่กินเนื้อของบุตรแห่งมนุษย์และไม่ดื่มโลหิตของเขา ท่านจะไม่มีชีวิตในตนเอง" (ยน.6:53)

1385เพื่อตอบคำเชื้อเชิญนี้ เราต้องเตรียมตัวเราต่อโอกาสที่ยิ่งใหญ่และศักดิ์สิทธิ์นี้ นักบุญ เปาโล เตือนเราให้พิจารณามโนธรรมว่า "ใครที่กินปังหรือดื่มจากถ้วยขององค์พระผู้เป็น-เจ้าอย่างไม่สมควร ก็ผิดต่อพระกายและผิดต่อพระโลหิตขององค์พระผู้เป็นเจ้า แต่ละคนจงพิจารณาตนเอง แล้วจึงรับประทานปังและดื่มจากถ้วย เพราะใครที่รับประทานและดื่มโดยไม่ยอมรับรู้พระกายก็รับประทานและดื่มการตัดสินลงโทษตนเอง" (1คร.11:27-29) ใครที่รู้ตัวว่าได้กระทำบาปหนักต้องรับศีลแห่งการคืนดี (ศีลอภัยบาป) ก่อนเข้าไปรับศีล-มหาสนิท

1386ต่อหน้าความยิ่งใหญ่ของศีลศักดิ์สิทธิ์นี้ คริสตชนสามารถสะท้อนคำพูดของนายร้อย ด้วยความสุภาพและเปี่ยมด้วยความเชื่อว่า "พระเจ้าข้า ข้าพเจ้าไม่สมควรจะรับเสด็จมาในตัวข้าพเจ้า แต่ขอตรัสเพียงพระวาจาเดียวแล้วจิตใจข้าพเจ้าก็จะบริสุทธิ์" (มิสซาโรมัน พิธี-รับศีล เทียบ มธ.8:8) และในพิธีกรรมของนักบุญยอห์นคริสโซสโตม บรรดาสัตบุรุษอธิษฐานด้วยจิตตารมณ์เดียวกันว่า

โอ พระบุตรแห่งพระเจ้า โปรดทำให้ข้าพเจ้ามีส่วนร่วมในอาหารล้ำลึกของพระองค์ในวันนี้ ข้าพเจ้าจะไม่เปิดเผยความลับให้ศัตรูของพระองค์รู้  และจะไม่จุมพิตพระองค์ด้วยจูบของยูดาส แต่ข้าพเจ้าขอกล่าวกับพระองค์เหมือนโจรที่สำนึกผิดคนนั้นว่า พระเยซูเจ้าข้า โปรดระลึกถึงข้าพเจ้าด้วย เมื่อพระองค์อยู่ในพระอาณาจักรของพระองค์

1387เพื่อที่จะเตรียมรับศีลมหาสนิทอย่างเหมาะสม สัตบุรุษจะต้องอดอาหารตามข้อกำหนดของพระศาสนจักร (เทียบ กฎหมายพระศาสนจักร ข้อ 919) ท่าทีทางร่างกาย (ได้แก่ กิริยาท่าทาง การแต่งกาย) ต้องแสดงถึงความเคารพ สง่างาม และความชื่นชมยินดีในเวลาที่พระ- คริสตเจ้ากลายเป็นแขกรับเชิญของเรา

1388ศีลมหาสนิทมีความหมายอย่างมากที่สัตบุรุษ ถ้าพวกเขาเตรียมตัวอย่างสมควรรับศีล-มหาสนิทเมื่อร่วมมิสซา (เทียบ กฎหมาย ม.917) สัตบุรุษสามารถรับศีลมหาสนิทครั้งที่สองได้ในวันเดียวกัน ตามที่สังคายนาวาติกันที่ 2 กล่าวว่า "ขอกำชับอย่างแข็งขัน ให้สัตบุรุษมีส่วนร่วมในมิสซา ในแบบที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยรับพระกายของพระคริสตเจ้าด้วยปังที่เสกในมิสซาเดียวกัน" (พิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ ข้อ 55)

1389พระศาสนจักรกำหนดให้สัตบุรุษ "ร่วมมิสซาในวันอาทิตย์และวันฉลอง" และเมื่อได้เตรียมตัวมาโดยศีลแห่งการคืนดีแล้ว ให้รับศีลมหาสนิทอย่างน้อยปีละครั้ง ถ้าเป็นไปได้ ในระหว่างเทศกาลปัสกา (เทียบ กฎหมายม.920) แต่พระศาสนจักรแนะนำอย่างแข็งขันให้สัตบุรุษรับศีลมหาสนิทในวันอาทิตย์และวันฉลอง รับบ่อยๆ หรือทุกวันยิ่งดี

1390เนื่องจากพระคริสตเจ้าประทับอยู่ในศีลศักดิ์สิทธิ์ภายใต้รูปปรากฏทั้งสอง การรับศีลมหา-สนิทภายใต้รูปปรากฏของปังอย่างเดียวก็ให้รับผลทั้งมวลแห่งพระหรรษทานของศีลมหาสนิท ด้วยเหตุผลด้านการอภิบาล วิธีการให้รับศีลมหาสนิทนี้เราได้กำหนดขึ้นมาถูกต้อง เป็นแบบที่คุ้นเคยที่สุดในจารีตพิธีลาติน อย่างไรก็ตาม "เครื่องหมายของการรับศีลมหาสนิทจะสมบูรณ์ยิ่งขึ้นเมื่อได้รับทั้งสองประเภท กล่าวคือเครื่องหมายแห่งงานเลี้ยงศีลมหาสนิทนั้นมีผลเห็นประจักษ์ยิ่งขึ้นนั่นเอง" (หลักและแนวการใช้หนังสือมิสซาโรมัน 240) นี่เป็นรูปแบบปกติของการรับศีลมหาสนิทในจารีตพิธีทางตะวันออก

ผลของการรับศีลมหาสนิท

1391ศีลมหาสนิททำให้ความเป็นหนึ่งเดียวแน่นแฟ้นยิ่งขึ้นกับพระคริสตเจ้าเจริญงอมงามขึ้น ผลสำคัญการรับศีลมหาสนิทนั้นก่อให้เกิดความผูกพันใกล้ชิดกับพระคริสตเจ้า อันที่จริง พระเยซูเจ้าตรัสว่า "ผู้กินเนื้อของเราและดื่มโลหิตของเราก็ดำรงอยู่ในเรา และเราก็ดำรงอยู่ในเขา" (ยน.6:56) ชีวิตในพระคริสตเจ้านั้นมีพื้นฐานในงานเลี้ยงศีลมหาสนิท "เรามีชีวิตเพราะพระบิดาฉันใด ผู้ที่กินเนื้อของเราก็จะมีชีวิตเพราะเราฉันนั้น" (ยน.6:57)  

เมื่อสัตบุรุษรับพระกายของพระบุตร ในวันฉลองขององค์พระผู้เป็นเจ้านั้น เขาก็ประกาศข่าวดี  ซึ่งได้ให้ไว้เป็นมัดจำแห่งชีวิตให้กันและกันเหมือนเมื่อเทวดาได้กล่าวแก่มารีอา มักดาลา ว่า "พระคริสตเจ้าได้ทรงกลับเป็นขึ้นมาแล้ว" บัดนี้ พระเจ้าประทานชีวิตและการกลับคืนชีพแก่ผู้ซึ่งรับพระคริสตเจ้า (พิธีซีเรีย ที่อันติโอก)

1392สิ่งซึ่งอาหารฝ่ายเนื้อหนังเกิดผลในชีวิตฝ่ายกายของเราฉันใด  การรับศีลทำให้สิ่งนั้นเป็นจริงในชีวิตฝ่ายจิตในวิธีน่าพิศวงฉันนั้น การมีส่วนร่วมกับพระกายของพระคริสตเจ้าที่ได้กลับเป็นขึ้นมานั้น "พระจิตเจ้าได้ทรงชุบชีวิตขึ้นมาและเป็นผู้ที่ทำให้มีชีวิต" (การอบรมพระสงฆ์ ข้อ 5) ช่วยรักษา เพิ่มเติม และฟื้นฟูชีวิตแห่งพระหรรษทานที่ได้รับจากศีลล้างบาป การเจริญเติบโตของชีวิตคริสตชนนั้นเรียกร้องให้ได้รับการบำรุงเลี้ยงโดยศีลมหาสนิท ปังของการเดินทางจาริกแสวงบุญของเรา จนถึงตอนสิ้นใจเมื่อเราจะได้รับเป็นศีลเสบียง

1393การรับศีลมหาสนิทแยกเราจากบาป พระกายของพระคริสตเจ้าซึ่งเรารับในศีลมหาสนิทนั้นได้ "ให้ไว้เพื่อเรา" และโลหิตซึ่งเราดื่มนั้นได้ "หลั่งออกมาเพื่อยกบาปมนุษย์ทุกคน" เหตุฉะนั้น ศีลมหาสนิทไม่สามารถรวมเราไว้กับพระคริสตเจ้าโดยไม่ชำระเราให้บริสุทธิ์จากบาปที่ทำในเวลาเดียวกัน และคงรักษาเราไว้จากบาปในอนาคต

"ทุกครั้งที่เรารับศีลเราก็ประกาศการสิ้นพระชนม์ขององค์พระผู้เป็นเจ้า" ถ้าเราประกาศการสิ้นพระชนม์ขององค์พระผู้เป็นเจ้าเราก็ประกาศถึงการอภัยบาป ถ้าทุกครั้งที่โลหิตของพระองค์หลั่งออกมาก็หลั่งออกมาเพื่ออภัยบาป ฉะนั้น ทุกครั้งที่ข้าพเจ้ารับศีล การรับศีลนั้นจึงทำให้ข้าพเจ้ารับการยกบาป เพราะข้าพเจ้าทำบาป ข้าพเจ้าควรจะไปรับยาเสมอ นักบุญอัมโบ

1394อาหารฝ่ายกายช่วยซ่อมแซมพลังที่สูญเสียไปอย่างไร ศีลมหาสนิทก็ทำให้ความรักซึ่งมีแนวโน้มที่จะอ่อนแอลงในชีวิตประจำวันให้เข้มแข็งขึ้น ความรักที่มีชีวิตชีวานี้ชำระบาปเบาได้ (DS 1638) พระคริสตเจ้าได้ทรงทำให้ความรักของเราชุ่มชื่นขึ้น และทำให้เราสามารถตัดจากการเกาะติดใจอย่างผิดๆ กับสิ่งสร้างและช่วยเราให้หยั่งรากลึกในพระองค์ถ
พระคริสตเจ้าทรงสิ้นพระชนม์เพื่อเราเพราะความรัก เหตุฉะนี้ เมื่อเราร่วมพิธีมิสซา เราร้องขอพระพรแห่งความรัก อาศัยการเสด็จมาของพระจิตเจ้า การอธิษฐานของเราเรียกร้องความรักจากพระคริสตเจ้าผู้ยอมถ่อมองค์ลงมาถูกตรึงกางเขนเพื่อเรา เราก็เช่นเดียวกัน โดยอาศัยพระหรรษทานของพระจิตเจ้าเราสามารถถูกตรึงกางเขนไว้ต่อโลกและโลกถูกตรึงไว้กับเรา หลังจากได้รับพระพรแห่งความรักนั้นเราก็ตายจากบาปและดำเนินชีวิตเพื่อพระเจ้า (St. Fulgentius of Ruspe, Contra Fab, 28,16-19 : CCL 19A, 813-814)

1395โดยความรักเดียวกันนี้ ซึ่งจุดประกายในตัวเรา ศีลมหาสนิทรักษาเราไว้จากบาปหนักในอนาคตด้วย ยิ่งเรามีส่วนร่วมกับชีวิตของพระคริสตเจ้ามากเท่าไร เราก็ก้าวหน้าในมิตรภาพของพระองค์และเราก็ยากที่จะแยกจากพระองค์ด้วยบาปหนัก ศีลมหาสนิทไม่ได้จัดตั้งไว้เพื่อยกโทษบาปหนัก เรื่องนี้เป็นหน้าที่ของศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งการคืนดี ตรงข้าม หน้าที่ของศีลมหาสนิทนั้นคือเป็นศีลศักดิ์สิทธิ์ของผู้ที่อยู่ในความสัมพันธ์อย่างเต็มเปี่ยมกับพระศาสนจักร

1396ความเป็นหนึ่งเดียวของพระกายทิพย์ ศีลมหาสนิทสร้างพระศาสนจักร  บรรดาผู้ซึ่งรับศีลมหาสนิทนั้นรวมเป็นหนึ่งเดียวกันกับพระคริสตเจ้าอย่างใกล้ชิด โดยอาศัยการรับศีลมหาสนิท พระคริสตเจ้าทรงรวมเขาเหล่านั้นกับผู้มีความเชื่อทั้งปวงให้เป็นกายเดียวคือพระศาสนจักร การรับศีลมหาสนิทฟื้นฟู ทำให้เข้มแข็ง ทำให้การเข้าสังกัดกับพระ-ศาสนจักรลึกซึ้ง ซึ่งทำให้เป็นจริงขึ้นแล้วโดยทางศีลล้างบาป ในศีลล้างบาปนั้นเรารวมเข้าเป็นกายเดียวกัน (เทียบ 1คร.12:13)  ศีลมหาสนิททำให้การเรียกนี้เป็นจริง กล่าวคือ "ถ้วยถวายพระพรซึ่งเราใช้ขอบพระคุณพระเจ้านั้น มิได้ทำให้เรามีส่วนร่วมในพระโลหิตของพระคริสตเจ้าหรือ? และปังที่เราบินั้นมิได้ทำให้เรามีส่วนร่วมในพระกายของพระ- คริสตเจ้าหรือ? เพราะมีปังก้อนเดียว พวกเราแม้ว่าจะมีหลายคนก็เป็นกายเดียวกัน เราทุกคนมีส่วนร่วมรับประทานปังก้อนเดียวกัน" (1คร.10:16-17)  

นักบุญออกัสติน กล่าวว่า ถ้าท่านเป็นกายและสมาชิกของพระคริสตเจ้า สิ่งที่ท่านตั้งไว้บนพระแท่น คือศีลศักดิ์สิทธิ์เพื่อท่าน จงรับศีลศักดิ์สิทธิ์ที่มีไว้เพื่อท่าน ท่านก็ตอบสิ่งที่ท่านเป็นว่า อาแมน (ใช่... เป็นจริง) และเมื่อตอบไปแล้วก็ยอมรับ อันที่จริงมีการกล่าวกับท่านว่า "พระกายของพระคริสตเจ้า" และท่านก็ตอบว่า "อาแมน" ท่านเป็นสมาชิกแห่งพระกายพระคริสตเจ้า ท่านพูดได้ถูกต้องกับการตอบ อาแมน (น.ออกัสติน Sermo 272: PL 38,1247)

1397ศีลมหาสนิททำให้เราอุทิศตนช่วยคนยากไร้ ในความจริงการรับพระกายและพระโลหิตของพระคริสตเจ้าที่ทรงมอบให้เรา เราต้องรับรู้พระคริสตเจ้าในบรรดาผู้ยากไร้ที่สุดว่าเป็นพี่น้องของพระองค์

ท่านได้ดื่มพระโลหิตขององค์พระผู้เป็นเจ้าและยังไม่ยอมรับพี่น้องของท่าน...ท่านไม่ให้เกียรติโต๊ะอาหารเดียวกันนี้ โดยที่ตัดสินว่าไม่เหมาะสมที่จะแบ่งปันอาหารของท่านให้กับผู้อื่น ที่จะมีส่วนร่วมรับประทานโต๊ะเดียวกันนี้... ท่านก็กำลังตัดสินตนเองว่าไม่สมควรด้วย พระเจ้าได้ทรงปลดปล่อยท่านเป็นอิสระจากบาปของท่านทุกประการ และได้เชิญท่านมางานเลี้ยงนี้ แต่ท่านไม่ได้กลายเป็นผู้มีความเมตตากรุณามากขึ้น (นักบุญยอห์น คริสโซสโตม)

1398ศีลมหาสนิทและความเป็นหนึ่งเดียวของบรรดาคริสตชน นักบุญออกัสติน ได้ร้องออกมาต่อหน้าความยิ่งใหญ่ของธรรมล้ำลึกนี้ว่า "โอ ศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งความศรัทธาภักดี!    โอ เครื่องหมายแห่งความเป็นหนึ่งเดียวโอ สายสัมพันธ์แห่งความรัก" (เทียบ พิธีกรรม ข้อ 47) ประสบการณ์แห่งการแตกแยกของนิกายต่างๆ ในพระศาสนจักร ซึ่งขัดขวางการเข้ามีส่วนร่วมโต๊ะอาหารขององค์พระผู้เป็นเจ้าทำให้เกิดความรู้สึกเจ็บปวดเพียงใด การอธิษฐานต่อองค์พระผู้เป็นเจ้าเพื่อให้วันแห่งความเป็นหนึ่งเดียวอย่างเต็มเปี่ยมของทุกคนที่เชื่อในพระองค์ให้กลับมายิ่งเป็นเรื่องด่วนเพียงนั้น

1399คริสตจักรตะวันออกซึ่งยังไม่รวมเป็นหนึ่งเดียวกับพระศาสนจักรคาทอลิก ประกอบพิธีมิสซาด้วยความรักยิ่งใหญ่ "คริสตจักรเหล่านั้นแม้ว่าแยกออกไปจากเรา แต่เพราะสืบต่อมาจากอัครสาวก ก็ยังมีศีลศักดิ์สิทธิ์แท้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งศีลบวชและศีลมหาสนิท ซึ่งให้คริสตจักรเหล่านี้สนิทเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับเราอย่างใกล้ชิด" "การประกอบคารวกิจร่วมกันบางอย่างในโอกาสเหมาะ" ดังในศีลมหา-สนิท "โดยได้รับอนุมัติเห็นชอบจากผู้มีอำนาจในพระศาสนจักร จึงมิใช่สิ่งที่ทำได้เท่านั้น แต่ยังเป็นสิ่งที่ควรกำชับให้ทำด้วย" (สากลสัมพันธภาพ ข้อ 15 เทียบ กฎหมายพระศาสนจักร ม.844,3)

1400คริสตจักรที่เกิดขึ้นจากการปฏิรูปและแยกตัวออกจากพระศาสนจักรคาทอลิก "เราเชื่อว่าเขาไม่ได้รักษาแก่นแท้ของธรรมล้ำลึกเรื่องศีลมหาสนิทอย่างสมบูรณ์ เพราะเหตุสำคัญคือเขาไม่มีศีลบวช" (สากลสัมพันธภาพ ข้อ 22,3) และเพราะเหตุผลนี้ สำหรับพระศาสนจักรคาทอลิก การมีส่วนร่วมกันในพิธีศีลมหาสนิทกับชุมชนเหล่านี้ไม่อาจเป็นไปได้ อย่างไรก็ตามชุมชนคริสตชนเหล่านี้ "เมื่อเขาประกอบพิธีระลึกถึงการสิ้นพระชนม์และการกลับคืนพระชนมชีพของพระเยซูคริสตเจ้า เขาประกาศว่าชีวิตคือการอยู่ร่วมสนิทกับพระคริสตเจ้าในมื้อศักดิ์สิทธิ์นั้น และเขาคอยการกลับมาอย่างรุ่งโรจน์ของพระองค์" (สากลสัมพันธภาพ ข้อ 22,3)

1401เมื่ออยู่ในภาวะจำเป็น โดยการตัดสินใจของพระสังฆราช ศาสนบริกรคาทอลิกสามารถโปรดศีลมหา-สนิท ศีลแก้บาป ศีลเจิมคนไข้ ให้กับคริสตชนอื่นๆ ซึ่งไม่ได้เป็นคาทอลิก โดยที่พวกเขาสมัครใจขอรับเอง ในกรณีนี้จำเป็นที่จะให้เขาสำแดงความเชื่อคาทอลิกที่เกี่ยวกับศีลศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ เหล่านี้และมีความพร้อมตามที่กำหนดไว้ (เทียบ กฎหมายพระศาสนจักร ม.844 ข้อ 4)