หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

4. การประกอบพิธีมิสซา

มิสซาทุกสมัย

1345เรามีหลักฐานของนักบุญจัสตินมรณสักขี เกี่ยวกับลำดับของการถวายมิสซาตั้งแต่ศตวรรษที่สอง แนวทางเหล่านั้นยังคงเหมือนเดิมจนถึงทุกวันนี้ในทุกกลุ่มพิธีกรรมสำคัญๆ นักบุญจัสตินได้เขียนไว้ราวปี ค.ศ. 155 เพื่ออธิบายสิ่งที่บรรดาชาวคริสต์ทำอยู่ให้จักรพรรดิ์ อันโตนีโอ ปีโอ จักรพรรดิต่างศาสนาฟัง (138-161) ว่า

ในวันที่เรียกว่า "วันอาทิตย์" เราทุกคนผู้ที่อาศัยอยู่ในเมืองหรือในชนบทชุมนุมอยู่ด้วยกัน มีการอ่านบันทึกความจำของบรรดาอัครสาวกและข้อเขียนของประกาศก เท่าที่เวลาอำนวยเมื่ออ่านจบ ประธานในพิธีตักเตือนและเชื้อเชิญเราให้เลียนแบบอย่างที่งดงามเหล่านี้ต่อจากนั้น เราทุกคนก็ยืนขึ้นและอธิษฐาน เพื่อตนเอง... เพื่อคนอื่นทุกคนในทุกหนแห่งที่ได้พบ เพื่อให้เราสมควรได้เป็นพลเมืองที่ดี ด้วยชีวิตและกิจการ เป็นผู้ซื่อสัตย์ต่อพระบัญญัติ เพื่อที่จะได้รับความรอดนิรันดร

เมื่ออธิษฐานเสร็จ เราสรุปทักทายกันด้วยการแสดงความเป็นมิตรต่อกัน (exchange the kiss)

ต่อจากนั้นมีการนำขนมปัง น้ำและเหล้าองุ่นผสมกันไปให้ประธานพิธีของพี่น้อง

ประธานพิธีก็หยิบชูขึ้นกล่าวสรรเสริญและถวายเกียรติแด่พระบิดาแห่งจักรวาลในนามของพระบุตรและพระจิต และกล่าวขอบพระคุณ (ในภาษากรีกใช้คำ eucharistian) เพื่อทำให้ของถวายเหล่านี้เป็นที่เหมาะสม

เมื่อประธานอธิษฐานสรุปและได้กล่าวขอบพระคุณ ผู้ร่วมพิธีทั้งหมดตอบ "อาแมน"

ภายหลังจากที่ประธานได้กล่าวขอบพระคุณและผู้ร่วมพิธีตอบไปแล้ว สังฆานุกรก็แจกจ่ายปัง เหล้าองุ่น และน้ำที่ให้กับผู้ที่มาร่วมพิธี และนำไปให้แก่ผู้ที่ไม่มาร่วมพิธีด้วย (น.จัสติน Apol.1,65-67: PG 6,428-429)

1346พิธีมิสซาปฏิบัติกันตามโครงสร้างพื้นฐานซึ่งมีการรักษาไว้ตลอดระยะเวลาเป็นศตวรรษ จนถึงสมัยของเรา พิธีกรรมนั้นกำหนดไว้เป็นสองภาคหลักๆ ซึ่งมีรูปแบบเป็นหนึ่งเดียวกันมาแต่ดั้งเดิม คือ

* ภาควจนพิธีกรรม ประกอบด้วย บทอ่านจากพระคัมภีร์ การเทศน์และบทภาวนาเพื่อมวลชน

* ภาคบูชาขอบพระคุณ มีการถวายปังและเหล้าองุ่น บทภาวนาเสกศีลและการรับศีลมหาสนิท

วจนพิธีกรรมและพิธีกรรมขอบพระคุณตั้งขึ้นเป็น "กิจการเดียว" (พิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ ข้อ 56) โต๊ะที่เตรียมไว้ให้เราในการรับศีลมหาสนิท อันที่จริงก็เป็นโต๊ะฟังพระวาจาและการรับพระกายของพระคริสตเจ้า (เทียบ ลก.24:13-35)

1347นี่ไม่ใช่กระบวนการเดียวกันเหมือนการรับประทานปัสกาที่พระเยซูเจ้าผู้กลับคืนพระชนม-ชีพกับบรรดาสาวกของพระองค์ หรือขณะกำลังเดินทางกับพวกเขา พระองค์ทรงอธิบายพระคัมภีร์แก่พวกเขา แล้วได้นั่งโต๊ะอาหารกับเขา "ทรงหยิบปัง กล่าวอำนวยพระพร ทรงหักปังและยื่นให้เขา" (เทียบ ลก.24:13-25)

พิธีการต่างๆ ของบูชามิสซา

1348ทุกคนร่วมชุมนุมกัน บรรดาคริสตชนมารวมในสถานที่เดียวกันเพื่อร่วมชุมนุมศีลมหาสนิท   พระคริสตเจ้าเองซึ่งทรงเป็นผู้กระทำหลักของศีลมหาสนิททรงเป็นประธาน พระองค์ทรงเป็นมหาปุโรหิตแห่งพันธสัญญาใหม่ เป็นพระองค์เองผู้เป็นประธานการประกอบพิธีมิสซาทุกครั้งในลักษณะที่แลไม่เห็น พระสังฆราชหรือพระสงฆ์เป็นผู้แทนของพระองค์ ปฏิบัติหน้าที่ในนามของพระคริสตเจ้าผู้เป็นศีรษะ เป็นประธานในที่ชุมนุม พูดหลังการอ่าน พระคัมภีร์ รับของถวายและสวดบทบูชาโมทนาพระคุณ ทุกคนมีส่วนร่วมแบบกระตือ-รือร้นในพิธีมิสซานั้น แต่ละคนตามบทบาทของตน เช่น ผู้อ่านพระคัมภีร์ ผู้ถวายเครื่อง-บูชา บรรดาผู้ที่แจกศีลและผู้ร่วมพิธีทั้งหมดซึ่งแสดงการมีส่วนร่วมโดยการตอบ "อาแมน"

1349ภาควจนพิธีกรรม ประกอบด้วย "บทอ่านของบรรดาประกาศก" ในพันธสัญญาเดิม และ "บันทึกความจำของบรรดาประกาศก" (คือ บทจดหมายต่างๆ และพระวรสาร) บทเทศน์ซึ่งเตือนใจให้รับพระวาจาในฐานะเป็นพระวาจาของพระเจ้าจริงๆ (เทียบ 1ธส.2:13) และนำไปปฏิบัติ   ต่อด้วยบทภาวนาเพื่อมวลชนสำหรับทุกคน ตามถ้อยคำของนักบุญเปาโลอัครสาวก "ในเบื้องต้นนี้ ข้าพเจ้าขอร้องให้มีการวอนขอการอธิษฐาน การอ้อน-วอนแทนและการขอบคุณพระเจ้าเพื่อมนุษย์ทุกคน" (1ทธ.2:1-2)

1350การถวายเครื่องบูชา (ภาคถวาย) บางครั้งมีจัดเดินเป็นขบวนถวายปังและเหล้าองุ่น ซึ่งพระสงฆ์จะถวายในนามของพระคริสตเจ้าในพิธีบูชาศีลมหาสนิท ซึ่งปังและเหล้าองุ่นจะกลายเป็นพระกายและพระโลหิตของพระองค์ พิธีนี้เป็นกิจการนั้นเองของพระคริสตเจ้าในอาหารค่ำมื้อสุดท้าย "เมื่อทรงหยิบปังและถ้วยกาลิกษ์" "พระศาสนจักรเท่านั้นสามารถถวายของถวายบริสุทธิ์นี้แด่พระผู้สร้าง โดยมอบให้พร้อมกับการขอบพระคุณสิ่งซึ่งมาจากการสร้างของพระองค์" (น.อีเรเน Adv. haeres. 4,18.4 : PG 7/1,1027; เทียบ มลค.1:11) การนำของถวายมาที่แท่นบูชานี้เป็นการรื้อฟื้นการกระทำของเมลคีเซเดค และเป็นการมอบของประทานของพระผู้สร้างไว้ในพระหัตถ์ของพระคริสตเจ้า   ผู้ทรงนำความพยายามทั้งหมดของมนุษย์ที่จะถวายเครื่องบูชาไปสู่ความสมบูรณ์ โดยอาศัยบูชาของพระองค์

1351ตั้งแต่สมัยเริ่มแรก บรรดาคริสตชนนำของขวัญของเขามาถวายพร้อมกับปังและเหล้าองุ่นสำหรับพิธีโมทนาคุณนี้ เพื่อแบ่งปันกับบรรดาผู้ซึ่งขาดแคลน ประเพณีการเรี่ยไร (collection) นี้ เป็นสิ่งเหมาะสม ซึ่งได้รับการดลใจจากแบบฉบับของพระคริสตเจ้าผู้ทรงยอมยากจนเพื่อให้เรามั่งมี (เทียบ 1คร.16:1; 2คร.8:9)

บรรดาคนมั่งมีและผู้มีความปรารถนาให้สิ่งที่จำเป็นกับแต่ละคนอย่างอิสระ สิ่งซึ่งรวบรวมมาได้ก็มอบให้ประธานพิธี นำไปช่วยเด็กกำพร้าและแม่หม้าย ผู้ป่วยหรือเพราะเหตุอื่นๆ และบรรดาผู้ต้องขังและผู้อพยพ และโดยสรุปคือทุกคนที่ขัดสน (นักบุญจัสติน)

1352คำภาวนาโมทนาคุณ (anaphora) เรามาถึงหัวใจและจุดสุดยอดของการฉลอง ประกอบด้วย บทขอบพระคุณและบทเสกศีล รวมทั้งคำภาวนาแห่งศีลมหาสนิท

ในบทนำ พระศาสนจักรขอบคุณพระบิดาโดยอาศัยพระคริสตเจ้าและในพระจิตเจ้าสำหรับผลงานทั้งปวงของพระองค์ สำหรับการสร้างโลก การไถ่บาปและการทำให้ศักดิ์สิทธิ์ ในลักษณะนี้ชุมชนทั้งหมดรวมใจกันกล่าวสรรเสริญอย่างไม่หยุดหย่อน     พระศาสนจักรบนฟ้าสวรรค์ บรรดาเทวดาและนักบุญทั้งหลายต่างร้องเพลงสรรเสริญพระเจ้าสามครั้งว่า  ศักดิ์สิทธิ์...

1353บทวอนขอพระจิต (epiclesis) พระศาสนจักรอธิษฐานขอพระบิดาให้ส่งพระจิตเจ้า (อานุภาพแห่งพระพรของพระองค์) เหนือปังและเหล้าองุ่น เพื่อให้กลายเป็นพระกายและพระโลหิตของพระเยซู- คริสตเจ้า เพราะพระอานุภาพของพระองค์   และเพื่อให้บรรดาผู้ซึ่งมีส่วนร่วมในศีลมหาสนิทเป็นกายเดียวและใจเดียวกัน(ธรรมประเพณีพิธีกรรมบางแห่งใส่บทวอนขอพระจิตไว้หลังบทระลึกถึง anamnesis)

ในการบรรยายถึงการตั้งศีลมหาสนิท อานุภาพของพระวาจาและกิจการของพระคริสตเจ้า และอานุภาพของพระจิตเจ้าทำให้พระกายและพระโลหิตของพระคริสตเจ้า ประทับอยู่ทางศีลศักดิ์สิทธิ์ภายใต้รูปปรากฏของปังและเหล้าองุ่น เป็นเครื่องบูชาของพระองค์ที่ถวายบนไม้กางเขนครั้งเดียวสำหรับทุกคนตลอดกาล

1354ในบทรำลึกถึง (anamnesis) ซึ่งตามมา พระศาสนจักรทำการระลึกถึงพระมหาทรมาน การกลับคืนพระชนมชีพและการเสด็จกลับมาด้วยพระสิริรุ่งโรจน์ของพระเยซูคริสตเจ้า    พระศาสนจักรนำของถวายของพระบุตรของพระองค์ซึ่งได้ทำให้เราคืนดีกับพระองค์แด่พระบิดา

บทภาวนาเพื่อมวลชน พระศาสนจักรสำแดงว่ามีการฉลองศีลมหาสนิทร่วมเป็นหนึ่งเดียวกันทั้งพระศาสนจักรในฟ้าสวรรค์และบนแผ่นดินโลก ทั้งผู้ที่มีชีวิตและผู้ล่วงลับไปแล้ว และในความ-เป็นหนึ่งเดียวกับบรรดาผู้อภิบาลของพระศาสนจักร พระสันตะปาปา พระสังฆราชแห่งสังฆมณฑล คณะสงฆ์และบรรดาสังฆานุกร และพระสังฆราชทุกองค์ทั่วโลกพร้อมคริสตจักรทั้งหลาย

1355รับศีลมหาสนิท (communion) เริ่มด้วยบทข้าแต่พระบิดาและบิปัง บรรดาผู้มีความเชื่อก็รับ "ปังจากฟ้าสวรรค์" และ "ถ้วยกาลิกษ์แห่งความรอด" พระกายและพระโลหิตของพระคริสตเจ้าผู้ได้มอบพระองค์เองให้ไว้ "เพื่อให้โลกมีชีวิต" (ยน.6:51)

เนื่องจากว่า ปังและเหล้าองุ่นนี้ได้รับ "การขอบพระคุณ" ตามที่กล่าวไว้ตามธรรมประเพณีโบราณว่า "เราเรียกอาหารนี้ว่า ศีลมหาสนิท และไม่มีใครมีสิทธิเข้าร่วมได้ ถ้าไม่ใช่ผู้ที่เชื่อว่าคำสอนของเราเป็นจริง ได้รับการชำระบาปด้วยศีลล้างบาป... เกิดใหม่และดำเนินชีวิตตามที่พระคริสตเจ้าได้ทรงสั่งสอน" (นักบุญจัสติน)