หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

3. ศีลมหาสนิทในแผนการแห่งความรอด

เครื่องหมายแห่งปังและเหล้าองุ่น

1333ศูนย์กลางของการฉลองศีลมหาสนิทคือปังและเหล้าองุ่น ซึ่งกลายเป็นพระกายและพระ-โลหิตของพระคริสตเจ้า โดยทางพระวาจาของพระคริสตเจ้าและการอ้อนวอนพระจิตเจ้า  พระศาสนจักรที่ซื่อสัตย์ต่อคำบัญชาขององค์พระผู้เป็นเจ้ายังคงทำต่อเนื่อง ซึ่งพระองค์ได้ทรงกระทำก่อนวันที่ทรงรับทรมาน เพื่อรำลึกถึงพระองค์จนกว่าพระองค์จะเสด็จกลับมาด้วยพระสิริ "พระองค์ทรงหยิบปัง..." "พระองค์ทรงหยิบถ้วยเหล้าองุ่น..." เครื่องหมายแห่งปังและเหล้าองุ่นยังคงต่อเนื่องที่จะมีความหมายถึงความดีของการสร้างด้วย โดยที่กลายเป็นพระกายและพระโลหิตของพระคริสตเจ้าโดยวิธีที่เหนือความเข้าใจของเรา ดังนี้ ตอนถวายเครื่องบูชา เราขอบพระคุณพระผู้สร้างเพราะปังและเหล้าองุ่นนั้น "น้ำพัก- น้ำแรง" แต่ก่อนหน้านั้นเป็น "ผลของแผ่นดิน" และ "ของเถาองุ่น" พระพรของพระผู้-สร้าง ในกิริยาท่าทางของเมลคีเซเดค กษัตริย์และสงฆ์ซึ่ง "ถวายปังและเหล้าองุ่น" (ปฐก. 14:18) พระศาสนจักรแลเห็นรูปแบบล่วงหน้าของเครื่องถวายบูชาของตนเอง

1334ในพันธสัญญาเดิม ปังและเหล้าองุ่นได้รับการถวายในเครื่องบูชาท่ามกลางผลแรกของแผ่นดิน เป็นเครื่องหมายถึงการยอมรับและโมทนาคุณพระผู้สร้าง แต่ก็ได้รับความหมายใหม่ด้วย ในบริบทของหนังสืออพยพ ขนมปังไร้เชื้อซึ่งชาวอิสราเอลกินทุกปีตอนปัสกา ระลึกถึงการรีบออกจากประเทศอียิปต์ในฐานะได้รับการปลดปล่อยให้เป็นอิสระ เป็นการระลึกถึงมานาในทะเลทราย เรียกร้องให้ชาวอิสราเอลจำไว้เสมอว่าเขาดำเนินชีวิตด้วยพระวาจาของพระเจ้า ท้ายสุด อาหารประจำวันนั้นเป็นผลของดินแดนพระสัญญา สิ่งมัดจำแห่งความสัตย์ซื่อของพระเจ้าต่อพระสัญญาของพระองค์ "ถ้วยถวายพระพร"    (1คร.10:16) ในตอนท้ายของอาหารปัสกาชาวยิว มีการฉลองเหล้าองุ่นอันเป็นมิติของข้อความจริงเหตุการณ์สุดท้าย คือมิติแห่งการรอคอยพระเมสสิยาห์ที่จะฟื้นฟูกรุงเยรูซาเล็ม เมื่อพระเยซูเจ้าได้ทรงตั้งศีลมหาสนิท พระองค์ทรงให้ความหมายใหม่ และแน่นอนต่อการอวยพรเสกปังและเหล้าองุ่น

1335อัศจรรย์การทวีขนมปังขณะที่องค์พระผู้เป็นเจ้าตรัสถวายพร บิปังและแจกจ่ายไปทางสาวกของพระองค์เพื่อดับความหิวของฝูงชน เป็นรูปแบบล่วงหน้าถึงความสมบูรณ์ของปังอันเดียวกันนี้ ซึ่งเป็นการกล่าวขอบคุณของพระองค์ เครื่องหมายของน้ำที่กลายเป็นเหล้าองุ่นที่คานา ประกาศแล้วถึงวาระแห่งพระสิริของพระเยซูเจ้า ซึ่งสำแดงความสำเร็จสมบูรณ์ของงานเลี้ยงการแต่งงานในพระราชอาณาจักรของพระบิดา ที่ซึ่งบรรดาผู้มีความเชื่อจะดื่มเหล้าองุ่นใหม่ ที่กลายเป็นพระโลหิตของพระคริสตเจ้า (เทียบ ยน.2:11)

1336การประกาศครั้งแรกของศีลมหาสนิททำให้บรรดาศิษย์แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้ก่อให้เกิดความสับสนท่ามกลางบรรดาสาวกอย่างไร การประกาศถึงพระมหาทรมานก็ได้ทำให้สาวกสะดุดใจอย่างนั้น "ถ้อยคำนี้ขัดหูจริง ใครจะฟังได้" (ยน.6:60) ศีลมหาสนิทและกางเขนเป็นศิลามุมเอก เกี่ยวข้องกับธรรมล้ำลึกอันเดียวกัน และข้อล้ำลึกนั้นไม่หยุดที่จะเป็นโอกาสแห่งการแตกแยก "ท่านทั้งหลายอยากจะไปด้วยหรือ" (ยน.6:67) คำถามขององค์พระผู้เป็นเจ้านี้ยังคงดังก้องต่อเนื่องกันมาตลอด เสมือนเป็นคำเชิญแห่งความรักของพระองค์ที่จะค้นพบว่าเป็นพระองค์เท่านั้นที่มี "พระวาจาแห่งชีวิตนิรันดร" (ยน.6:68) และให้พบว่า การรับพระพรแห่งศีลมหาสนิทในความเชื่อนั้นเป็นการรับพระองค์เอง

การตั้งศีลมหาสนิท

1337พระเยซูเจ้าทรงรักสาวกของพระองค์และทรงรักเขาจนถึงที่สุด พระองค์ทรงทราบว่า วาระของพระองค์ที่จะผ่านโลกนี้ไปหาพระบิดาเจ้ามาถึงแล้ว ขณะที่รับประทานอาหารค่ำอยู่นั้น พระองค์ทรงล้างเท้าสาวกและทรงประทานพระบัญญัติแห่งความรักแก่เขา (เทียบ ยน.13:1-17) เพื่อมอบสัญญาแห่งความรักนี้แก่เขา เพื่อไม่ให้เหินห่างจากเขาเลย และทำให้เขามีส่วนในปัสกาของพระองค์ พระองค์จึงได้ตั้งศีลมหาสนิทเพื่อระลึกถึงการสิ้นพระชนม์และการกลับเป็นขึ้นมาของพระองค์ และได้ทรงบัญชาสาวกให้ฉลองศีลมหาสนิทนี้จนถึงวันที่พระองค์ทรงกลับมา ได้ทรงตั้งเขาเป็น "พระสงฆ์แห่งพันธสัญญาใหม่ในขณะนั้นเอง" (สังคายนาเมืองเตร็นท์ 1562 : DS 1740)

1338พระวรสารของมัทธิว มาระโก ลูกาและนักบุญเปาโล ได้ถ่ายทอดเรื่องการตั้งศีลมหาสนิทให้เราฟัง   นักบุญยอห์นอ้างถึงถ้อยคำของพระเยซูเจ้าในศาลาธรรมที่คาเปอรนาอุม   ที่ทรงกล่าวถึงการตั้งศีล-มหาสนิท พระคริสตเจ้าได้รับคำจำกัดความว่าเป็นปังทรงชีวิต ที่เสด็จลงมาจากสวรรค์ (เทียบ ยน.6)

1339พระเยซูเจ้าทรงเลือกเวลาปัสกาเพื่อกระทำสิ่งซึ่งได้ทรงประกาศที่คาเปอรนาอุม คือการมอบพระกายและพระโลหิตของพระองค์แก่สาวกของพระองค์

ก่อนจะถึงเทศกาลกินขนมปังไร้เชื้อ ที่ต้องฆ่าลูกแกะปัสกา พระเยซูเจ้าตรัสใช้เปโตรและยอห์นว่า"จงไปจัดเตรียมการเลี้ยงปัสกาให้เราเถิด" ...พวกเขาก็ไป และตระเตรียมปัสกา เมื่อถึงเวลา พระเยซูเจ้าทรงเข้านั่งโต๊ะพร้อมกับบรรดาอัครสาวก พระองค์ตรัสกับเขาว่า "เราปรารถนาอย่างยิ่งที่จะกินปัสกาครั้งนี้ร่วมกับท่านก่อนจะรับทรมาน เราบอกท่านทั้งหลายว่า เราจะไม่กินปัสกาอีกจนกว่าปัสกานี้จะเป็นความจริงในพระอาณาจักรของพระเจ้า" ...พระองค์ทรงหยิบขนมปัง ทรงขอบพระคุณ ทรงบิขนมปังประทานให้บรรดาศิษย์ ตรัสว่า "นี่เป็นกายของเราที่ถูกมอบเพื่อท่านทั้งหลาย จงทำดังนี้เพื่อระลึกถึงเราเถิด" ในทำนองเดียวกัน เมื่อรับประทานอาหารเสร็จแล้ว พระองค์ทรงหยิบถ้วยตรัสว่า "ถ้วยนี้เป็นพันธ-สัญญาใหม่ในโลหิตของเราซึ่งถูกหลั่งเพื่อท่านทั้งหลาย" (ลก.22:7-20)

1340พระเยซูเจ้าได้ทรงให้ความหมายแน่นอนถึงปัสกาของชาวฮีบรู  โดยทรงรับประทานอาหารค่ำมื้อสุดท้ายกับบรรดาสาวกของพระองค์ระหว่างงานเลี้ยงปัสกา อันที่จริง การที่พระเยซูเจ้าผ่านข้ามไปหาพระบิดาเป็นปัสกาใหม่ การสิ้นพระชนม์และการกลับคืนชีพ พระองค์ได้กระทำล่วงหน้าในมื้ออาหารค่ำ และมีการฉลองในศีลมหาสนิท ซึ่งนำปัสกาของชาวฮีบรูไปสู่ความสมบูรณ์ และฉลองปัสกาสุดท้ายของพระศาสนจักรในพระสิริแห่งราชอาณาจักรล่วงหน้า

"จงทำดังนี้เพื่อระลึกถึงเราเถิด"

1341เมื่อพระเยซูเจ้าทรงบัญชาให้ทำซ้ำกิจการและถ้อยคำของพระองค์ "จนกว่าพระองค์จะเสด็จมา" (1คร.11:26) ไม่เพียงแต่ทรงเรียกร้องประกอบให้เราระลึกถึงพระเยซูเจ้าและถึงสิ่งซึ่งพระองค์ได้ทรงกระทำเท่านั้น    พระองค์ทรงมุ่งถึงการประกอบพิธีกรรมระลึกถึงพระคริสตเจ้า ชีวิตของพระองค์ การสิ้นพระชนม์และการกลับคืนพระชนมชีพของพระองค์ และการที่พระองค์เข้ามาช่วยเหลือเราให้อยู่ใกล้พระบิดา (เทียบ 1คร.11:26) โดยอาศัยบรรดาอัครสาวกและผู้สืบตำแหน่งต่อๆ กันมา

1342พระศาสนจักรได้สัตย์ซื่อต่อคำบัญชาของพระเยซูเจ้าตั้งแต่ตอนเริ่มแรก ได้มีการกล่าวถึงพระศาสนจักรที่กรุงเยรูซาเล็มว่า

คนเหล่านั้นประชุมกันอย่างสม่ำเสมอ  ฟังคำสั่งสอนของบรรดาอัครสาวก  ดำเนินชีวิตร่วมกันฉันพี่น้อง ร่วมพิธีบิขนมปังและอธิษฐานภาวนา เขาพร้อมใจกันไปที่พระวิหาร และไปตามบ้านเพื่อทำพิธีบิขนมปัง ร่วมรับประทานอาหารด้วยความชื่นชมยินดีและเข้าใจกัน (กจ.2:42,46)

1343โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "วันแรกของสัปดาห์" นั่นคือ วันอาทิตย์ วันกลับคืนพระชนมชีพของพระเยซูเจ้า บรรดาคริสตชนร่วมชุมนุมกัน "เพื่อทำพิธีบิปัง" (กจ.20:7) จากยุคนั้น การประกอบพิธีศีลมหาสนิทมีการกระทำอยู่สม่ำเสมอจนกระทั่งถึงสมัยของเรา จนว่าทุกวันนี้ เราก็พบการประกอบพิธีนั้นทั่วๆ ไปในพระศาสนจักร พร้อมด้วยโครงสร้างพื้นฐานเดียวกัน โครงสร้างนั้นศีลมหาสนิทยังเป็นศูนย์กลางชีวิตของพระศาสนจักร

1344ดังนี้ จากการฉลองหนึ่งสู่อีกการฉลองหนึ่ง ประชากรของพระเจ้ามุ่งเดินหน้าต่อไป "ตามทางประตูแคบแห่งกางเขน" (งานธรรมทูตแห่งพระศาสนจักร ข้อ 1) สู่งานเลี้ยงแห่งสวรรค์ เมื่อผู้ได้รับเลือกสรรทุกคนจะนั่งลงที่โต๊ะอาหารแห่งพระอาณาจักรทำการเฉลิมฉลอง โดยประกาศธรรมล้ำลึกแห่งปัสกาของพระเยซูเจ้า "จนกว่าพระองค์จะเสด็จมา" (1คร.11:26)