หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

2. เราเรียกศีลศักดิ์สิทธิ์ประการนี้ว่าอะไรบ้าง?

1328ความครบครันอันไม่อาจหยั่งถึงได้ของศีลศักดิ์สิทธิ์นี้ แสดงออกโดยทางชื่อเรียกที่แตกต่างกันที่เราตั้งให้ แต่ละชื่อแสดงแง่มุมเฉพาะพิเศษ เราเรียกศีลนี้ว่า

EUCHARIST (ยูคารีส) เพราะว่า เป็นการขอบพระคุณพระเจ้า ในภาษากรีก คำว่า "eucharistein" (โมทนาคุณ) (เทียบ ลก.22:19; 1คร.11:24) และ "eulogein" (ถวายพระพร) (มธ.2:26; เทียบ มธ.26:26; มก.14:22) หมายถึงการอำนวยพรของชาวฮีบรู - โดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างมื้ออาหาร - ประกาศถึงผลงานของพระเจ้า  ได้แก่ การสร้างโลก การไถ่บาปและการทำให้ศักดิ์สิทธิ์

1329อาหารค่ำขององค์พระผู้เป็นเจ้า เพราะว่า เกี่ยวข้องกับอาหารมื้อค่ำซึ่งพระเยซูเจ้าได้ทรงรับประทานร่วมกับบรรดาสาวกในวันก่อนพระมหาทรมานของพระองค์ และเป็นการร่วมงานวิวาห์ของพระชุมพา ในกรุงเยรูซาเล็มแห่งสวรรค์ (เทียบ 1คร.11:20; วว.19:9)

การบิปัง เพราะว่าพระเยซูเจ้าใช้พิธีนี้ ซึ่งเป็นรูปแบบอาหารมื้อค่ำของชาวฮีบรู เมื่ออยู่ในฐานะเจ้าภาพ พระเยซูเจ้าทรงอวยพรและแจกจ่ายขนมปัง (เทียบ มธ.14:19; 15:36; มก.8:6;19) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ระหว่างอาหารค่ำมื้อสุดท้าย (เทียบ มธ.26:26; 1คร.11:24) จากกิริยาท่าทางนี้บรรดาสาวกจะจำพระองค์ได้ภายหลังการกลับเป็นขึ้นมา (เทียบ ลก.24:13-35) และบรรดาคริสตชนรุ่นแรกได้ตั้งชื่อการชุมนุมศีลมหาสนิทด้วยสำนวนเช่นนั้น (เทียบ กจ. 2:42,46; 20:7,11) ในวิธีการนั้นเขามีความตั้งใจให้หมายความว่า  ทุกคนที่กินปังเดียวกับที่พระคริสตเจ้าบิ จะเข้าสู่การมีชีวิตร่วมกันกับพระองค์และเป็นกายเดียวกันในพระองค์ (เทียบ 1คร.10:16-17)

การชุมนุมศีลมหาสนิท (synaxis) เพราะว่า ชาวคริสต์ประกอบพิธีศีลมหาสนิทในที่ชุมนุม เป็นการแสดงออกที่แลเห็นประจักษ์ของพระศาสนจักร (เทียบ 1คร.11:17-34)

1330การรำลึกถึงพระมหาทรมานและการกลับเป็นขึ้นมาของพระเยซูเจ้า

การบูชาศักดิ์สิทธิ์ เพราะว่าทำให้การบูชาครั้งเดียวของพระคริสตเจ้า พระมหาไถ่เป็นปัจจุบันและรวมถึงเครื่องถวายบูชาของพระศาสนจักรด้วย  หรือยังใช้คำว่าเครื่อง-บูชาศักดิ์สิทธิ์ของมิสซา "เครื่องบูชาแห่งคำสรรเสริญ" เครื่องบูชาฝ่ายจิตใจ เครื่องบูชาบริสุทธิ์ (ฮบ.13:15 เทียบ 1ปต.2:5; สดด.116:13,17; มลค.1:11) เนื่องจากว่า เครื่องบูชานี้ทำให้สมบูรณ์และอยู่เหนือเครื่องบูชาทั้งปวงของพันธสัญญาเดิม

พิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์และเป็นของพระเจ้า เพราะว่าพิธีกรรมทั้งมวลของพระ-ศาสนจักรพบศูนย์กลางและการแสดงออกที่เข้มข้นที่สุดในการประกอบศีลศักดิ์สิทธิ์นี้ ในความหมายเดียวกันที่เราเรียกการฉลองนี้ว่าธรรมล้ำลึกศักดิ์สิทธิ์ เราเรียกว่าศีลศักดิ์สิทธิ์ที่สุด  เพราะเป็นศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งศีลศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย และแผ่นศีลที่เก็บไว้ในตู้ศีลก็ยังเรียกศีลมหาสนิท

1331ศีลมหาสนิท เพราะว่า เรารวมเป็นหนึ่งเดียวกับพระคริสตเจ้าโดยทางศีลศักดิ์สิทธิ์นี้ ทำให้เรามีส่วนในพระกายและพระโลหิตของพระองค์เพื่อสร้างเป็นพระกายเดียวกัน (เทียบ 1คร.10:16-17) นอกจากนี้ ยังเรียกกันว่า สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ("ta hagia; sancta") - เป็นความหมายดั้งเดิมของสำนวน "สหพันธ์นักบุญ" ซึ่งในบทสัญลักษณ์ของอัครสาวกกล่าวถึง - ปังเทวดา ปังทิพย์จากสวรรค์ ยาอมฤต ศีลเสบียง...

1332เป็นมิสซา เพราะว่า พิธีกรรมซึ่งธรรมล้ำลึกแห่งความรอดได้ทำเสร็จสมบูรณ์ รวมทั้งมีการส่งผู้มีความเชื่อ ("missio") ออกไปเพื่อกระทำตามน้ำพระทัยของพระเจ้าในชีวิตประจำวันของเขา