หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

5. ศาสนบริกรของศีลกำลัง

 1312 ศาสนบริกรตามปกติของศีลกำลัง คือ พระสังฆราช (เทียบ พระศาสนจักร ข้อ 26)

ทางตะวันออก โดยปกติเป็นพระสงฆ์ซึ่งโปรดศีลล้างบาปก็จะโปรดศีลกำลังให้ทันทีในการฉลองครั้งเดียวกันแต่พระสงฆ์ทำการโปรดศีลกำลังด้วยการเจิมน้ำมันคริสมาศักดิ์สิทธิ์ สังฆบิดร (Patriarch) หรือพระสังฆราชทำพิธีเสก สิ่งนี้แสดงถึงเอกภาพที่สืบจากอัครสาวกของพระศาสนจักร ซึ่งสายสัมพันธ์นี้ได้รับการทำให้เข้มแข็งโดยศีลกำลัง ในพระศาสนจักรลาตินนั้นได้มีระเบียบปฏิบัติเช่นเดียวกับเวลาโปรดในศีลล้างบาปแก่ผู้ใหญ่ หรือเมื่อมีการอนุญาตให้ผู้รับศีลล้างบาปจากชาวคริสต์นิกายอื่นที่ไม่มีพิธีศีลกำลัง มาเป็นหนึ่งเดียวกับพระศาสนจักรคาทอลิก (เทียบ กฎหมายพระศาสนจักร ม.883 ข้อ 2)

1313ในจารีตพิธีลาตินนั้น ศาสนบริกรตามปกติของศีลกำลังคือ พระสังฆราช (เทียบ กฎหมาย  ม.882) ถ้ามีเหตุผลที่จำเป็น พระสังฆราชสามารถให้พระสงฆ์จัดการโปรดศีลกำลังได้ (เทียบ กฎหมาย ม.884 ข้อ 2) อย่างไรก็ตาม เป็นการเหมาะสมที่พระสังฆราชโปรดศีลกำลังนั้นเพราะความหมายของศีลศักดิ์สิทธิ์นี้ โดยไม่ลืมว่าการฉลองศีลกำลังนั้นได้แยกออกจากศีลล้าง-บาปชั่วคราวเพราะเหตุผลนี้ พระสังฆราชเป็นผู้สืบตำแหน่งของบรรดาอัครสาวก ท่านได้รับความครบครันแห่งศีลบรรพชาขั้นสมบูรณ์ การที่พระสังฆราชโปรดศีลกำลัง แสดงให้เห็นชัดเจนว่าผลของศีลกำลังเป็นการรวมผู้รับศีลกำลังให้เป็นหนึ่งเดียวกับพระศาสนจักรอย่างแนบแน่น อันสืบเนื่องจากอัครสาวกและภารกิจที่จะเป็นประจักษ์พยานถึงพระ-  คริสตเจ้า

1314ถ้าคริสตชนคนหนึ่งพบว่าอยู่ในอันตรายใกล้เสียชีวิต พระสงฆ์องค์ใดก็ได้สามารถโปรดศีลกำลังให้เขา (เทียบ กฎหมาย ม.883 ข้อ 3) อันที่จริง พระศาสนจักรไม่ต้องการให้ใครเลยที่เป็นลูกๆ ของตน แม้อายุจะยังน้อยอยู่จากโลกนี้ไปโดยปราศจากการประทับอย่างสมบูรณ์ของพระจิตเจ้า พร้อมกับพระพรแห่งความครบครันของพระคริสตเจ้า