ธรรมประเพณีทางพิธีกรรมและความเป็นสากลของพระศาสนจักร
1200คริสตจักรของพระเจ้า ผู้สัตย์ซื่อต่อความเชื่อของอัครธรรมทูตฉลองธรรมล้ำลึกปัสกาเดียวกันในทุกสถานที่
ตั้งแต่ชุมชนแรกที่กรุงเยรูซาเล็มจนถึงการเสด็จกลับมาของพระคริสตเจ้าอย่างรุ่งโรจน์ (Parousia) ในพิธีกรรมนั้นเราจึงฉลองธรรมล้ำลึกของปัสกาหนึ่งเดียวแต่ด้วยรูปแบบหลากหลาย
1201ธรรมล้ำลึกของพระคริสตเจ้ามีคุณสมบัติมากมาย จนกระทั่งเราไม่สามารถแสดงทางธรรมประเพณีทางพิธีอันใดอันหนึ่งได้หมด
ประวัติศาสตร์ของการแสดงออกและการพัฒนาของจารีตพิธีเหล่านี้ ก็มีความหมายที่เข้ากันได้อย่างน่าอัศจรรย์
เมื่อคริสตจักรได้ดำเนินชีวิตธรรมประเพณีตามพิธีกรรมเหล่านี้ร่วมเป็นหนึ่งเดียวในความเชื่อและในศีล-ศักดิ์สิทธิ์ของความเชื่อ เป็นการแลกเปลี่ยนทรัพย์สมบัติซึ่งกันและกัน
เจริญเติบโตในความสัตย์ซื่อต่อธรรมประเพณีจากบรรดาอัครสาวก และภารกิจร่วมกันกับพระศาสนจักรทั้งมวล (เทียบ การประกาศพระวรสารในโลกปัจจุบัน ข้อ 63-64)
1202ธรรมประเพณีทางพิธีกรรมที่แตกต่างกันหลายอย่างมีที่มาจากการทำหน้าที่ภารกิจของพระศาสนจักร
คริสตจักรต่างๆ ตามพื้นที่เดียวกันทางภูมิศาสตร์และวัฒนธรรมเข้าถึงการฉลองธรรมล้ำลึกแห่งพระคริสตเจ้าด้วยการแสดงออกในแบบพิเศษ ที่สอดคล้องกับลักษณะทางวัฒนธรรม ในธรรมประเพณีการ "ส่งมอบความเชื่อ" (2ทธ.1:14) ในสัญลักษณ์ทางพิธีกรรม ในการจัดการใช้ชีวิตร่วมกันของพี่น้อง ในความเข้าใจทางเทววิทยาของธรรมล้ำลึกและความศักดิ์สิทธิ์ในรูปแบบต่างๆ ในลักษณะนี้ สำแดงโดยทางชีวิตพิธีกรรมของคริสตจักรท้องถิ่น พระคริสตเจ้า แสงสว่างและความรอดของประชาชนทั้งปวงทรงประจักษ์ต่อประชาชน และต่อวัฒนธรรมซึ่งได้รับเชิญและซึ่งได้หยั่งรากลึกลงไป พระศาสนจักรนั้นสากลจึงสามารถรวมลักษณะต่างๆ ของวัฒนธรรมไว้ในความเป็นหนึ่งเดียวและชำระให้บริสุทธิ์ (เทียบ พระศาสนจักร ข้อ 23)ถ
1203ธรรมประเพณีทางพิธีกรรม หรือพิธีที่ใช้ในพระศาสนจักรจริงนั้นเป็นพิธีลาติน
(จารีตโรมันโดยส่วนใหญ่แต่ยังมีจารีตของบางคริสตจักรท้องถิ่น เช่น จารีตอัมโบรส หรือของคณะนักบวชบางคณะ) และจารีตบิซันไทน์ อเล็กซานเดรีย หรือคอบโต ซีเรีย อารเมเนีย และคาลเดีย "สภาสังคายนาขอแถลงว่า พระศาสนจักรมารดาศักดิ์สิทธิ์ถือว่า จารีตทุกแบบที่ได้รับการรับรองถูกต้องแล้ว มีสิทธิ์และศักดิ์ศรีเท่ากันหมด ในภายหน้า พระศาสนจักรใคร่จะรักษาไว้ และส่งเสริมจารีตต่างๆ ได้โดยทุกวิถีทาง" (พิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ ข้อ 4 สากลสัมพันธภาพ ข้อ 4)
พิธีกรรมและวัฒนธรรม
1204ดังนั้น การฉลองพิธีกรรมต้องสอดคล้องกับลักษณะพิเศษ และวัฒนธรรมของประชาชนที่แตกต่างกัน (เทียบ พิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ ข้อ 37-40) เพื่อว่าธรรมล้ำลึกของพระคริสตเจ้า
"ได้เปิดเผยให้ปรากฏแล้ว... เพื่อจะได้นำพวกเขามายอมรับความเชื่อ" (รม.16:26) ต้องมีการประกาศเฉลิมฉลองและดำเนินชีวิตในทุกวัฒนธรรมวัฒนธรรมต่างๆ ไม่ถูกลบล้าง
แต่รับคืนมาใช้และนำไปสู่ความสมบูรณ์อันเนื่องมาจากพระพรนั้น (เทียบ การสอนคำสอนในยุคปัจจุบัน ข้อ 53)
อันที่จริง ลูกๆ ของพระเจ้าจำนวนมากได้เข้าหาพระบิดาเจ้าเพื่อถวายพระสิริแด่พระองค์ในพระจิตองค์เดียว พร้อมกับและโดยทางวัฒนธรรมของมนุษย์ของตนที่พระคริสตเจ้านำมาใช้และดัดแปลง
1205"มีส่วนที่ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ในพิธีกรรม และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในพิธีกรรมของศีล-ศักดิ์สิทธิ์ เพราะเกี่ยวกับสถาบันของพระเจ้าซึ่งพระศาสนจักรเป็นผู้เฝ้ารักษา
และมีบางส่วนที่ยอมรับให้เปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งพระศาสนจักรมีอำนาจและบางครั้งยังมีภาระหน้าที่ที่จะปรับให้เข้ากับวัฒนธรรมของประชาชนที่เพิ่งได้รับการประกาศพระวรสารเมื่อไม่นานมานี้" (พระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2, เทียบ พิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ ข้อ 21)
1206"ความแตกต่างกันทางพิธีกรรมสามารถเป็นบ่อเกิดของแผนการ
แต่ก็สามารถก่อความตึงเครียดได้ ความไม่เข้าใจต่อกัน จนกระทั่งถึงการแตกแยกจากกันได้ เป็นที่แน่ชัดในสาขานี้ว่า ความแตกต่างกันต้องไม่ทำร้ายต่อความเป็นหนึ่งเดียวกัน พิธีกรรมไม่สามารถแสดงออกอย่างอื่นได้ นอกจากความสัตย์ซื่อต่อความเชื่อร่วมกันต่อเครื่องหมายของศีล-ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งพระศาสนจักรได้รับจากพระคริสตเจ้าและต่อชีวิตร่วมกันของพระ-ฐานานุกรม การปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมต่างๆ นั้นเรียกร้องการกลับใจ และถ้าจำเป็น การแตกหักกับความเคยชินแบบโบราณที่เข้ากันไม่ได้กับความเชื่อคาทอลิก" (พระสันตะปาปา ยอห์น ปอล ที่ 2)
|