หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

2. ศีลศักดิ์สิทธิ์ของพระศาสนจักร

1117พระศาสนจักรได้ยอมรับรู้ทีละเล็กทีละน้อยถึงสมบัติล้ำค่าที่ได้รับจากพระคริสตเจ้า โดยอาศัยพระจิต "พระองค์จะสอนอัตถ์ความจริงแก่ท่าน" (ยน.16:13) และได้กำหนดแน่ชัดที่จะทำการแจกจ่าย ตามที่พระศาสนจักรได้กำหนดระบบพระคัมภีร์และข้อความเชื่อ ในฐานะเป็นผู้จัดการที่สัตย์ซื่อในการบริหารธรรมล้ำลึกของพระเจ้า ดังนี้ พระศาสนจักรได้แยกแยะในช่วงเวลาเป็นศตวรรษว่า มีศีลศักดิ์สิทธิ์ 7 ประการ ที่องค์พระผู้เป็นเจ้าทรงตั้งขึ้นตามความหมายของคำที่ใช้ท่ามกลางบรรดาการฉลองทางพิธีกรรมต่างๆ

1118ศีลศักดิ์สิทธิ์เป็นของพระศาสนจักรในความหมายสองชั้นคือ  ศีลศักดิ์สิทธิ์นั้นมาจากพระศาสนจักรและเพื่อพระศาสนจักร ศีลศักดิ์สิทธิ์มาจากพระศาสนจักรเพราะข้อเท็จจริงที่ว่า      นี่คือเครื่องหมายและเครื่องมือของกิจการของพระคริสตเจ้าผู้ปฏิบัติการในพระศาสนจักรโดยอาศัยพันธกิจของพระจิตเจ้า  และเป็นศีลศักดิ์สิทธิ์เพื่อพระศาสนจักร นั่นคือ "ศีลศักดิ์สิทธิ์ซึ่งทำให้เป็นพระศาสนจักร" (นักบุญออกัสติน PL 41,779) ในแง่ที่สำแดงและสื่อสารให้มนุษย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในศีลมหาสนิท ธรรมล้ำลึกของการมีชีวิตร่วมกันกับพระเจ้าผู้เป็นองค์ความรัก พระเจ้าหนึ่งเดียวในสามพระบุคคล ถ

1119พร้อมกับพระคริสตเจ้าผู้เป็นหัวหน้าผู้ทรงเป็น "สงฆ์สูงสุดแต่เพียงผู้เดียว" พระ-ศาสนจักรปฏิบัติพันธกิจในศีลศักดิ์สิทธิ์เสมือนเป็น "ชุมชนสงฆ์" ที่ "จัดโครงสร้างอย่างเป็นระบบ" (พระศาสนจักร ข้อ 11) ประชากรผู้เป็นสงฆ์ โดยการรับศีลล้างบาปและศีลกำลังก็สามารถฉลองพิธีกรรมได้ ขณะที่ได้รับแต่งตั้งให้บำรุงเลี้ยงพระศาสนจักรด้วยพระวาจาและพระหรรษทาน (พระศาสนจักร ข้อ 11.2)

1120หน้าที่ที่ได้รับโดยการบวช หรือฐานะพระสงฆ์เป็นศาสนบริกรนั้น มีหน้าที่ให้บริการแก่ผู้ที่เป็นสงฆ์โดยรับศีลล้างบาป (พระศาสนจักร ข้อ 10.2) สังฆภาพจากศีลบวชนี้ให้ประกันว่า เป็นพระคริสตเจ้าผู้ปฏิบัติการในศีลศักดิ์สิทธิ์โดยอาศัยพระจิตเจ้าเพื่อพระศาสนจักร   พันธกิจแห่งการไถ่กู้ที่พระบิดามอบหมายให้พระบุตรที่บังเกิดเป็นมนุษย์นั้น ได้มอบหมายต่อให้บรรดาอัครสาวกและผู้สืบต่อจากพวกเขา คนเหล่านี้รับพระจิตของพระเยซูเจ้าเพื่อปฏิบัติงานในนามและในพระบุคคลของพระองค์ (เทียบ ยน.20:21-23; ลก.24:47; มธ.28:18-20)  ดังนั้น ศาสนบริกรที่ได้รับศีลบวชนั้นเป็นการผูกพันทางศีลศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเชื่อมกิจการทางพิธีกรรมกับสิ่งซึ่งบรรดาอัครสาวกได้พูดและได้กระทำและโดยทางพวกเขาก็เชื่อมกับสิ่งซึ่งพระคริสตเจ้า ผู้ทรงเป็นท่อธารและพื้นฐานของศีลศักดิ์สิทธิ์ได้ตรัสและปฏิบัติ

1121ศีลศักดิ์สิทธิ์ 3 ประการ คือศีลล้างบาป ศีลกำลัง และศีลบรรพชา   นอกเหนือจากให้พระหรรษทานแล้ว ยังประทับตราลักษณะของศีลศักดิ์สิทธิ์ หรือ "ตราประทับ" ซึ่งโดยตราประทับนี้    คริสตชนมีส่วนร่วมกับความเป็นพระสงฆ์ของพระคริสตเจ้า และเป็นสมาชิกของพระศาสนจักรตามสถานภาพและหน้าที่ที่แตกต่างกันไป การมีรูปแบบตาม พระคริสตเจ้าและพระศาสนจักรนี้พระจิตเจ้าได้ทรงทำให้เป็นจริง เป็นสิ่งลบล้างไม่ได้   (สังคายนาแห่งเตรนท์ 1547 DS 1609) รูปแบบนี้ยังคงติดอยู่ในตัวคริสตชนตลอดไป เสมือนความพร้อมรับพระหรรษทาน เสมือนคำสัญญาและการรับประกันการปกป้องของพระเจ้า และเสมือนกระแสเรียกไปสู่การถวายบูชาของพระเจ้า และการบริการรับใช้ของพระ-ศาสนจักร ดังนั้น ศีลศักดิ์สิทธิ์ทั้งสามประการจึงไม่สามารถรับซ้ำอีก