หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

2. คารวกิจหรือพิธีแสดงคารวะต่อพระนางพรหมจารีมารีอา

971"มนุษย์ทุกสมัย จะเรียกข้าพเจ้าว่าผู้มีบุญ" (ลก.1:48) "ความศรัทธาของพระศาสนจักรต่อพระนางพรหมจารีมารีอา เป็นสิ่งที่อยู่ในเนื้อแท้แห่งพิธีคารวะบูชาของคริสตศาสนา" (MC 56) แม่พระ "ได้รับการยกย่องให้เกียรติอย่างสมควรจากพระศาสนจักร ในพิธีคารวะที่จัดขึ้นเป็นพิเศษ และแท้จริงแล้ว ตั้งแต่ยุคสมัยก่อนโน้น แม่พระก็ได้รับเกียรติให้ได้รับตำแหน่ง "พระมารดาของพระเจ้า" สัตบุรุษพากันไปหลบอยู่ภายใต้การคุ้มครองของพระแม่ วิงวอนขอให้พระแม่ช่วยเมื่อตกอยู่ในอันตราย หรือเมื่อขาดแคลนสิ่งใด.. พิธีคารวะพระมารดานี้... แม้ว่าจะมีลักษณะไม่ซ้ำแบบใคร แต่ก็แตกต่างในสาระสำคัญอยู่มิใช่น้อย จากพิธีนมัสการบูชาที่ถวายแด่พระวจนาตถ์ผู้รับธรรมชาติมนุษย์ รวมทั้งพระบิดาและพระจิต เป็นพิธีที่เหมาะสม อย่างยิ่งยวดแก่การรับใช้พระวจนาตถ์" (พระศาสนจักรข้อ 66) มีการแสดงออกอยู่ในงานฉลองทางพิธีกรรมที่จัดถวายแด่พระมารดาของพระเจ้าและในบทภาวนาถวายแม่พระ เช่น การสวดสายประคำ "อันเป็นบทย่อของพระวรสารทั้งครบ" (เทียบ MC 42, พิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ ข้อ 103)