หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

มาตรา 4"พระเยซูคริสตเจ้าได้ทรงรับทรมานสมัยปอนทิอัส ปีลาต

ทรงถูกตรึงกางเขน ตาย และฝังไว้"

571ธรรมล้ำลึกแห่งปัสกาเกี่ยวกับการถูกตรึงกางเขนและการฟื้นคืนพระชนมชีพของพระคริสต-เจ้า มีความสำคัญระดับศูนย์กลางแห่งข่าวดี ซึ่งบรรดาอัครสาวก -และพระศาสนจักรในระยะต่อมา- จักต้องประกาศให้โลกได้ทราบ แผนการของพระเจ้าในการช่วยมนุษย์ให้รอดได้สำเร็จไป "ในครั้งนั้นเพียงครั้งเดียว" (ฮบ.9:26) ด้วยการสิ้นพระชนม์เพื่อการไถ่บาปมนุษย์ขององค์พระบุตรคือพระคริสตเยซู

572พระศาสนจักรยังคงซื่อตรงต่อ "การตีความหมายของพระธรรมคัมภีร์ทั้งหมด" ซึ่งพระเยซูเจ้าได้ประทานไว้ด้วยพระองค์เอง ทั้งก่อนและหลังปัสกาของพระองค์ "พระคริสตเจ้าจำเป็นต้องทนทรมานเช่นนี้ เพื่อจะเข้าไปรับพระสิริรุ่งโรจน์ของพระองค์มิใช่หรือ?" (ลก.24:26-27,44-45) การรับทรมานของพระเยซูมีรูปลักษณ์เป็นประวัติศาสตร์ในเชิงรูปธรรม จากข้อเท็จจริงที่ว่าพระองค์ได้ถูก "บรรดาผู้อาวุโส มหาสมณะและธรรมาจารย์ปฏิเสธไม่ยอมรับ" ผู้ที่มอบพระองค์ "ให้คนต่างชาติสบประมาทเยาะเย้ย โบยตี และนำไปตรึงกางเขน" (มก.8:31 มธ.20:19)

573ความเชื่อจึงควรจะพยายามเพ่งพิจารณาเหตุการณ์ในการสิ้นพระชนม์ของพระเยซู ซึ่งถ่ายทอดมาอย่างสัตย์ซื่อโดยพระวรสาร (เทียบ การเผยของพระเป็นเจ้า ข้อ 19) และได้รับการอธิบายให้กระจ่างจากแหล่งที่มาอื่นๆ เชิงประวัติศาสตร์ เพื่อให้เข้าใจความหมายของการไถ่กู้ให้ดีขึ้น