หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

ตอนที่สอง
การประกาศยืนยันความเชื่อของคริสตชน

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

สัญลักษณ์แห่งความเชื่อ

185ผู้ใดพูดว่า "ข้าพเจ้าเชื่อ" ก็เท่ากับพูดว่า  "ข้าพเจ้ายึดมั่นในสิ่งที่เราทั้งหลายเชื่อ"  การมีจิตใจเป็นหนึ่งเดียวกันในความเชื่อ จำเป็นต้องมีภาษาของความเชื่อร่วมกัน เป็นเกณฑ์บรรทัดฐานสำหรับทุกคน และรวมเข้าเป็นหนึ่งเดียวในการประกาศยืนยันความเชื่อเดียวกัน

186นับแต่แรกเริ่มเดิมทีมาแล้ว พระศาสนจักรที่สืบจากอัครสาวกได้แสดงออก และถ่ายทอดความเชื่อของตนออกเป็นถ้อยคำสั้นๆ และเป็นเกณฑ์บรรทัดฐานสำหรับทุกคน (เทียบ รม.10:9; 1คร.15:3-5) แต่ - ตั้งแต่ตอนต้นๆ เลยทีเดียว - พระศาสนจักรก็ต้องการเช่นกันที่จะเก็บสาระสำคัญแห่งความเชื่อของตนไว้ในบทย่อที่มาจากแหล่งกำเนิดดั้งเดิมและชัดแจ้ง ซึ่งรวบรวมขึ้นไว้โดยเฉพาะสำหรับผู้ที่สมัครรับศีลล้างบาป

การสังเคราะห์ความเชื่อนี้ มิได้ทำขึ้นตามความคิดเห็นของมนุษย์ แต่ได้มีการเก็บรวบรวมสิ่งที่สำคัญที่สุดขึ้นมาจากพระคัมภีร์ทั้งหมด เพื่อให้คำสั่งสอนที่มีอยู่เพียงหนึ่งเดียวเกี่ยวกับความเชื่อเป็นไปอย่างสมบูรณ์ และทำนองเดียวกับที่พืชพันธุ์มัสตาร์ดมีกิ่งก้านจำนวนมากมายอยู่ในเมล็ดเล็กๆ เมล็ดเดียว บทสรุปย่อเรื่องความเชื่อ ในถ้อยคำไม่กี่คำ ก็รวมเอาสรรพความรู้เกี่ยวกับศรัทธาที่แท้จริง ซึ่งมีอยู่ในพระคัมภีร์พันธสัญญาเดิมและพันธสัญญาใหม่ไว้ทั้งหมด (น.ซีริล แห่งเยรูซาเล็ม)

187เราเรียกการสังเคราะห์ความเชื่อเช่นนี้ว่า "การประกาศยืนยันความเชื่อ" เพราะเป็นการสรุปย่อข้อความเชื่อ ซึ่งคริสตชนทั้งหลายประกาศยืนยัน เราเรียกข้อความเชื่อเหล่านั้นว่า "ข้าพเจ้าเชื่อ" ด้วยเหตุผลที่ว่า โดยปกติแล้วนั่นคือถ้อยคำแรก คือ "ข้าพเจ้าเชื่อ" อีกชื่อหนึ่งที่เรียกกันก็คือ "สัญลักษณ์แห่งความเชื่อ"

188คำภาษากรีก symbolon หมายถึงครึ่งหนึ่งของสิ่งที่แตกออกจากกัน (เช่น ตราเครื่องหมายที่ประทับบนครั่ง หรือบนกระดาษ) ซึ่งผู้คนมอบให้แก่กันเป็นเครื่องหมายให้จำกันได้ ส่วนที่แตกออกไปจากกัน จะถูกนำมาต่อกันเพื่อพิสูจน์ว่าผู้ถือคือบุคคลตัวจริง สัญลักษณ์แห่งความเชื่อจึงเป็นเครื่องหมายของการรู้ว่าใครเป็นใคร และเป็นเครื่องหมายของความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ระหว่างผู้มีความเชื่อทั้งหลาย ต่อมา  คำว่า symbolon หมายถึงการรวบรวม การเก็บสะสม หรือบทย่อ สัญลักษณ์แห่งความเชื่อ คือประมวลข้อความจริงที่สำคัญๆ ของความเชื่อ ดังนั้น จึงใช้เป็นจุดอ้างอิงจุดแรกและเป็นจุดพื้นฐานของการสอนคำสอน

189"การประกาศยืนยันความเชื่อ" ครั้งแรก กระทำในพิธีศีลล้างบาป"สัญลักษณ์แห่งความเชื่อ" จึงเป็นสัญลักษณ์แห่งศีลล้างบาปก่อนอื่น  ในเมื่อศีลล้างบาปนั้นโปรด "ในพระนามของพระบิดา และพระบุตร และพระจิต" (มธ.28:19) ข้อความจริงแห่งความเชื่อที่ประกาศยืนยันในพิธีศีลล้างบาป จึงกล่าวออกมาชัดเจน โดยอ้างถึงทั้งสามพระบุคคลในพระตรีเอกภาพ

190สัญลักษณ์แห่งความเชื่อจึงแบ่งออกเป็น 3 ตอน "แรกทีเดียว มีการพูดถึงพระบุคคลแรกที่เป็นพระเจ้า และกิจการอันน่าชื่นชมแห่งการสร้างสรรค์ ต่อมา เป็นการพูดถึงพระบุคคลที่สองผู้เป็นพระเจ้า และธรรมล้ำลึกแห่งการไถ่กู้มนุษย์ สุดท้าย เป็นการพูดถึงพระบุคคลที่สามผู้เป็นพระเจ้า บ่อเกิดและหลักใหญ่ที่ทำให้ตัวเราศักดิ์สิทธิ์" (คำสอนโรมัน I 1,3) นี่คือ "ภาคทั้งสามแห่งตรา (ศีลล้างบาป) ของเรา" (น.อีเรเน)

191"ทั้งสามส่วนนี้แตกต่างกัน แม้ว่าจะผูกพันอยู่ระหว่างกัน จากการเปรียบเทียบซึ่งบรรดาปิตาจารย์ใช้อยู่เนืองๆ เราจึงเรียกส่วนเหล่านี้ว่า "ข้อ" (articles) ในทำนองเดียวกับที่ในอวัยวะแขนขาของเรา มีข้อต่อบางข้อที่ทำให้ส่วนต่างๆ แตกต่างกัน และแบ่งแยกส่วนเหล่านี้ออกจากกัน ในการประกาศความเชื่อก็เช่นเดียวกัน เราได้ใช้คำว่า "ข้อ" อย่างถูกต้องและสมเหตุสมผลสำหรับข้อความเชื่อซึ่งเราจะต้องเชื่อเป็นพิเศษและอย่างชัดเจน" (คำสอนโรมัน I 1,4) ตามธรรมประเพณีโบราณ ซึ่งยืนยันโดยนักบุญอัมโบรส เรายังมีธรรมเนียมนับบท "ข้าพเจ้าเชื่อ" ว่ามี 12 ข้อ โดยใช้จำนวนของอัครสาวกซึ่งมีอยู่ 12 คน เป็นสัญลักษณ์แห่งความเชื่อของอัครสาวกเป็นส่วนรวม (เทียบ น.อัมโบรส)

192ตลอดเวลาหลายศตวรรษมานี้ เพื่อตอบสนองความต้องการของยุคต่างๆ การประกาศยืนยันความเชื่อ หรือสัญลักษณ์แห่งความเชื่อมีอยู่หลายสำนวน เช่น สัญลักษณ์ของพระศาสนจักรโบราณต่างๆ ที่สืบทอดมาจากอัครสาวก (เทียบ DS 1-64) สัญลักษณ์ "Quicumque" หรือสัญลักษณ์ของนักบุญอาธานาเซีย (เทียบ DS 75-76) การประกาศยืนยันความเชื่อของสภาสังคายนาสากลบางสภา (โตเลโด) ลาเตรัน ลีออง เตรนท์ (เทียบ DS 525-541;800-802;851-861;1862-1870) หรือของพระสันตะปาปาบางองค์ เช่น Fides Damasi(เทียบ DS 71-72) หรือ "บทข้าพเจ้าเชื่อของประชากรพระเจ้า" ของพระสันตะปาปา เปาโล ที่ 6 (1968)

193สัญลักษณ์ทั้งหลายที่ใช้อยู่ในขั้นต่างๆ แห่งชีวิตพระศาสนจักรนั้น ไม่มีสัญลักษณ์ใดเลยที่ถือได้ว่าเป็นสิ่งล้าสมัยและไร้ประโยชน์ สัญลักษณ์เหล่านี้ช่วยเราในปัจจุบัน ให้ขึ้นถึงและเข้าใจความเชื่อ ซึ่งดำรงคงอยู่มาตลอดกาลอย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น โดยอาศัยข้อสรุปย่อหลากหลายซึ่งมีผู้ทำขึ้นไว้

ในบรรดาสัญลักษณ์แห่งความเชื่อ มีอยู่สองสำนวนซึ่งมีตำแหน่งสำคัญเป็นพิเศษในชีวิตของพระศาสนจักร คือ

194สัญลักษณ์แห่งอัครสาวก ที่มีชื่อดังนี้ เพราะได้รับการพินิจอย่างถูกต้องแล้วว่าเป็นบทสรุปย่อที่ซื่อตรงแห่งความเชื่อของบรรดาอัครสาวก สำนวนนี้เป็นสัญลักษณ์เก่าแก่ที่ใช้ในพิธีโปรดศีลล้างบาปของพระศาสนจักรแห่งโรม อำนาจยิ่งใหญ่ของ "สัญลักษณ์"บทนี้มาจากข้อเท็จจริงที่ว่า "สัญลักษณ์แห่งอัครสาวกบทนี้ เป็นสัญลักษณ์ซึ่งพระศาสนจักรโรมันรักษาไว้ พระศาสนจักรโรมันอันเป็นแหล่งที่นักบุญเปโตร อัครสาวกคนแรก ดำรงตำแหน่งอยู่ และได้เป็นผู้ตัดสินชี้ขาดในเรื่องถ้อยคำที่จะต้องใช้ร่วมกัน" (น.อัมโบรส Expl. symb.7: PL 17,1196)

195สัญลักษณ์ที่มีชื่อว่า แห่งนิเช-คอนสแตนติโนเปิล อำนาจยิ่งใหญ่ของสัญลักษณ์นี้มาจากการที่สัญลักษณ์นี้เป็นผลจากการประชุมสภาสังคายนาสากลสองครั้งแรก (325 และ 381) เป็นสัญลักษณ์ซึ่ง - แม้กระทั่งทุกวันนี้ - ก็ยังใช้ร่วมกันอยู่ในพระศาสนจักรใหญ่ๆ ทุกแห่ง ทั้งในภาคตะวันออกและตะวันตก

196อรรถาธิบายเรื่องความเชื่อของเราจะถือเอา "สัญลักษณ์แห่งอัครสาวก" เป็นหลักซึ่งกล่าวได้ว่าประกอบกันขึ้นเป็น "คำสอนที่เก่าแก่ที่สุดของพระศาสนจักรโรมัน" อย่างไรก็ดี คำอธิบายจะได้รับการต่อเติมให้สมบูรณ์  โดยการอ้างอิงเนืองๆ ถึงสัญลักษณ์แห่งนิเช  ซึ่งบ่อยครั้งมักจะชัดเจนกว่า และมีรายละเอียดมากกว่า

197เช่นเดียวกับในวันที่เรารับศีลล้างบาป เมื่อชีวิตทั้งชีวิตของเราได้มอบหมายไว้แล้วแก่ "กฎเกณฑ์แห่งหลักคำสอน" (รม.6:17) ให้เราต้อนรับสัญลักษณ์แห่งความเชื่อของเราซึ่งก่อให้เกิดชีวิต การสวดบท "ข้าพเจ้าเชื่อ" ด้วยความเชื่อ คือการเข้าร่วมสนิทเป็นหนึ่งเดียวกับพระเป็นเจ้า พระบิดา พระบุตร และพระจิต เป็นการเข้าร่วมสนิทเป็นหนึ่งเดียวเช่นกันกับพระศาสนจักรทั้งมวล ซึ่งเป็นผู้ถ่ายทอดความเชื่อมายังเรา และเรามีความเชื่ออยู่ในอ้อมอกแห่งพระศาสนจักรนั้น

สัญลักษณ์นี้คือตราประทับจิตวิญญาณ เป็นการรำพึงในใจของเรา และคอยรักษาการรำพึงนั้นให้ปรากฏอยู่เสมอ เป็นสมบัติอันล้ำค่าแห่งวิญญาณของเราอย่างแท้จริง (น.อัมโบรส)

บทข้าพเจ้าเชื่อ

บทสัญสักษณ์ของอัครสาวกบทข้าพเจ้าเชื่อจากสังคายนานิเช-คอนสแตนติโนเปิล

ข้าพเจ้าเชื่อถึงพระเป็นเจ้าข้าพเจ้าเชื่อว่าพระเป็นเจ้าทรงเป็นหนึ่งเดียว

พระบิดาทรงสรรพานุภาพพระบิดาผู้ทรงสรรพานุภาพ

สร้างฟ้าดินเนรมิตฟ้าดิน ทั้งสิ่งที่เห็นได้และเห็นไม่ได้

เชื่อถึงพระเอกบุตรเยซูคริสต์ข้าพเจ้าเชื่อว่าพระเยซูคริสตเจ้า

สวามีของเราทรงเป็นพระบุตรองค์เดียวของพระเป็นเจ้า

ทรงบังเกิดจากพระบิดา ก่อนกัปก่อนกัลป์

เป็นพระเป็นเจ้าจากพระเป็นเจ้า

เป็นองค์ความสว่างจากองค์ความสว่าง

เป็นพระเป็นเจ้าแท้จากพระเป็นเจ้าแท้

มิได้ถูกสร้าง แต่ทรงบังเกิดร่วมพระธรรมชาติเดียวกับพระบิดา

อาศัยพระบุตรนี้ ทุกสิ่งได้เนรมิตขึ้นมา

เพราะเห็นแก่เรามนุษย์ เพื่อช่วยให้เรารอดพ้น

พระองค์จึงเสด็จจากสวรรค์

ปฏิสนธิเดชะพระจิตพระองค์ทรงรับเอากายจากพระนางมารีย์พรหมจารี

บังเกิดจากพระนางมารีอาพรหมจารีด้วยพระอานุภาพของพระจิต มาเกิดเป็นมนุษย์

รับทรมานสมัยปอนซีโอปีลาโตสมัยปอนทิอัสปิลาต พระองค์ทรงถูกตรึงกางเขนเพื่อเรา

ถูกตรึงกางเขน ตาย และฝังไว้ทรงรับทรมานและถูกฝังไว้

เสด็จลงใต้บาดาลทรงคืนชีพในวันที่สาม

วันที่สามกลับคืนชีพจากบรรดาผู้ตายตามความในพระคัมภีร์

เสด็จขึ้นสวรรค์เสด็จขึ้นสวรรค์

ประทับเบื้องขวาพระเป็นเจ้า พระบิดา ประทับเบื้องขวาพระบิดา

ทรงสรรพานุภาพพระองค์จะเสด็จมาอีกด้วยพระสิริรุ่งโรจน์

แล้วจะเสด็จมาพิพากษาผู้เป็นและผู้ตายเพื่อพิพากษาผู้เป็นและผู้ตาย

รัชสมัยของพระองค์จะไม่มีสิ้นสุด

ข้าพเจ้าเชื่อถึงพระจิตข้าพเจ้าเชื่อว่าพระจิตทรงเป็นพระเจ้า ผู้บันดาลชีวิต

ทรงเนื่องมาจากพระบิดาและพระบุตร

ทรงรับสักการะและพระสิริรุ่งโรจน์

ร่วมกับพระบิดาและพระบุตร

พระองค์ดำรัสทางประกาศก

พระศาสนจักรศักดิ์สิทธิ์สากลข้าพเจ้าเชื่อว่าพระศาสนจักร

สหพันธ์นักบุญเป็นหนึ่งเดียว ศักดิ์สิทธิ์ สากล และสืบจากอัครสาวก

ข้าพเจ้าประกาศยืนยันว่ามีศีลล้างบาปหนึ่งเดียว

การยกบาปเพื่อยกบาป

การคืนชีพของเนื้อหนังข้าพเจ้ารอวันที่ผู้ตายจะคืนชีพ

และชีวิตนิรันดรและคอยชีวิตในภพหน้า

อาแมน