หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

บทผนวก : ครงร่างภายนอกของพระศาสนจักรคาทอลิก
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ที่มา : แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

1.พระศาสนจักรคาทอลิกมีโครงร่างแบบง่ายๆ แต่เกี่ยวเนื่องกันซึ่งเราจะเห็นได้เกือบทั่วโลก โครงร่างนั้นสร้างขึ้นสำหรับใช้ส่งเสริมความเชื่อและความรัก ทำให้จุดหมายสำคัญ ของพระศาสนจักรสำเร็จไปได้ง่ายขึ้น จุดหมายของพระศาสนจักรก็คือ พระเกียรติมงคลพระเป็นเจ้าและความรอดของมนุษย์

2.ประมุขของพระศาสนจักรคือพระสันตะปาปา พระสันตะปาปามีหน้าที่ปกครอง พระศาสนจักร อีกทั้งป้องกันและส่งเสริมสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่พระศาสนจักร พระสันตะปาปาประทับอยู่ที่กรุงโรม ดูแลเอาใจใส่ประโยชน์ส่วนรวม สันติสุขและความสามัคคีในห มู่มนุษย์ อำนาจของพระองค์ไม่ใช่อำนาจทางการเมือง ผู้ทำงานใกล้ชิดช่วยพระสันตะปาปา คือ พระคาร์ดินัลซึ่งพระองค์เป็นผู้แต่งตั้งกับศูนย์การบริหารพระศาสนจักร (Roman Curia) ซึ่งประกอบด้วยสมณกระทรวง สำนักงานและศาลต่างๆ พระองค์มีอำนาจอธิปไตยเหนือนครวาติกัน ซึ่งเป็นดินแดนส่วนน้อย เหลือจากดินแดนอันกว้างใหญ่ไพศาลของพระสันตะปาปาในครั้งกระโน้นอาศัยอำนาจอธิปไตยที่กล่าวนี้ พระสันตะปาปาสามารถปฏิบัติ ภาระหน้าที่ได้อย่างเป็นอิสระเต็มที่ กับส่งผู้แทนไปยังชาติต่างๆ ทั้งที่เป็นและไม่เป็นคาทอลิกสำหรับทำงานเพื่อสันติภาพและเพื่อประโยชน์ของชาวคาทอลิกในประเทศเหล่านั้น

3.พระสันตะปาปาแบ่งหน้าที่ปกครองพระศาสนจักรกับบรรดาพระสังฆราช พระสังฆราชเหล่านี้เป็นผู้สืบตำแหน่งต่อจากคณะอัครสาวก ที่พระเยซูคริสตเจ้าได้เลือกแต่ก่อนนี้ พระสังฆราชแต่ละองค์ซึ่งร่วมสนิททางพระฐานานุกรมกั บพระสันตะปาปานั้นปกครองดินแดนที่มอบกับท่านและเรียกว่าสังฆมณฑล นอกจากนั้นพระสังฆราชทุกองค์มีส่วนร่วมกับพระสันตะปาปาในการปกครองพระศาสนจักรสากล โดยอาศัยสมัชชาสังฆราช (Synod of Bishops) แต่ละสังฆมณฑลมีกา รปกครองเหมือนพระศาสนจักรสากล คือมีผู้ช่วยงานพระสังฆราชซึ่งได้แก่คณะสงฆ์ผู้ได้รับมอบให้ดูแลส่วนต่างๆที่แบ่งจากสังฆมณฑลอีกชั้นหนึ่ง เรียกว่าสังฆตำบล แต่ละสังฆมณฑลมีจุดสำคัญเรียกว่า “อาสนวิหาร” ฉันใดแต่ละสังฆตำบลก็มีวัดข องตนเองสำหรับให้สัตบุรุษบำเพ็ญศาสนกิจฉันนั้น

4.ชาวคาทอลิกถือว่าคณะนักบวชต่างๆ
เช่น คณะเยสุอิต คณะเบเนดิกติน คณะฟรันซิสกัน คณะดอมีนิกัน ฯลฯ ทั้งที่เป็ นชายและหญิง ทั้งที่เป็นสงฆ์และฆราวาส มีความสำคัญอย่างยิ่งคณะเหล่านี้ บางคณะก็ทำการเพ่งพินิจรำพึง บางคณะก็ทำงานแพร่ธรรมในโลก ได้ตั้งขึ้นในเวลาต่างๆกันโดยบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ และโดยมากมักเป็นนักบุญ คณะเหล่านนี้ ทำงานในกิจการแขนงต่างๆ เช่น โรงเรียน โรงพยาบาล งานอบรมเยาวชน งานเมตตาจิต งานธรรมทูต ฯลฯ และขึ้นกับอธิการใหญ่ แล้วแต่วินัยของแต่ละคณะ และแล้วแต่ประโยชน์ทั่วไปของพระศาสนจักร

5.เนื่องจากมีลักษณะไม่เลือกถือชาติ พระศาสนจักรส่งเจ้าหน้าที่ของตนไปยังทุกชาติที่พระศาสนจักรตั้งอยู่ และให้ถือวัฒนธรรมกับการใช้ภาษาของเขา ดังนั้น ทุกวันนี้ พิธีศาสนาของพระศาสนจักรทำเป็นเป็นภาษาต่างๆ กว่า 250 ภาษา ในภาษาเหล่านี้ ภาษาลาตินได้รับการยกย่องเป็นพิเศษ เพราะเป็นภาษาที่ใช้ ณ กรุงโรมและมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ ถ้าพิจารณาในบางแง่อาจถือได้ว่าภาษาลาตินเป็นภาษาเอกของพระศาสนจักรเป็นต้น ในการประกอบพิธีมิสซ า ถ้าใช้ภาษาลาติน พระสงฆ์สามารถเข้าใจกันและภาวนาร่วมกันได้ ไม่ว่าที่ใดในโลก

6.เพื่อสามารถดำรงและปฏิบัติงานได้ปรกติเรียบร้อยในสังคม ตั้งแต่แรกเริ่ม พระศาสนจักรได้ตั้งบัญญัติต่างๆชุดห นึ่งขึ้น คอยแก้ไขให้ทันสมัยอยู่เสมอ และทุกวันนี้รวมเข้าไว้ในประมวลบัญญัติแห่งพระศาสนจักร บัญญัติเหล่านั้นกำหนดกฎเกณฑ์ภายนอกว่า ต้องถือชีวิตคริสตชนอย่างไร ระบุว่าคริสตชนมีสิทธิ์อะไร มีหน้าที่อะไร และจะถูกลงโทษอย่างไรถ้าทำผิ ด นอกจากนั้น ยังวางระเบียบเกี่ยวกับการติดต่อในระหว่างพระฐานานุกรม คณะนักบวชและสัตบุรุษตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างพระศาสนจักรกับรัฐต่างๆด้วย

7.การสมัครใจบริจาคทรัพย์ของสัตบุรุษเป็นรายได้ทางเดียวเท่านั้น สำหรับจุนเจือความต้องการทางวัตถุของพระฐานานุกรมและการงานของสังฆตำบล สังฆมณฑล คณะนักบวช และแม้แต่องค์พระสันตะปาปาเอง การบริจาคทรัพย์นั้นสัตบุรุษพึงท ำตามสติกำลังและตามการดลใจของพระจิต ดังนี้ ก็เห็นได้ว่าพระศาสนจักรคาทอลิกมิใช่มหาอำนาจทางเศรษฐกิจและทางวัตถุแต่หวังพึ่งพระจิตของพระเป็นเจ้าแต่อย่างเดียว