หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

ประวัติคริสตศาสนา:
ประวัติแห่งความรอดเมื่อพระเยซูคริสตเจ้าเสด็จมาแล้ว

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ที่มา : แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

24.เมื่อพระศาสนจักรแรกตั้งขึ้นนั้น คริสตชนทุกคนเป็นสักขีพยานและเป็นผู้ประกาศพระ คริสตเจ้า ภายในเวลาไม่กี่ปี เพราะการประกาศของคริสตชนหมู่แรกนี้ ความเชื่อถึงพระคริสตเจ้าได้แพร่ขยายจากประเทศปาเลสไตน์เข้าไปในอาณาเขตรอบทะเลเมดิเตอร์เรเนีย น ในทวีปเอเชีย ยุโรปและแอฟริกา ยิ่งกว่านั้น ยังเริ่มแพร่เข้าไปยังเขตภายในของทวีปเหล่านี้อีกด้วย

อัครสาวกเปโตรไปประกาศพระธรรมในประเทศซีเรียกับที่กรุงโรม และได้สิ้นชีวิตเป็นศาส นสักขีที่นครนี้ อัครธรรมทูตเปาโลได้ไปแพร่ธรรมทั่วดินแดนของชาวกรีกและโรมัน อัครสาวกยอห์นและโทมัสไปประกาศพระวรสารในภูมิภาคตะวันตกของทวีปเอเชีย ส่วนอัครสาว กยากอบจัดระเบียบพระศาสนจักร ในหมู่ชาวยิวที่กลับใจในกรุงเยรูซาเล็ม ดังนี้ จึงเป็นอันสำเร็จไปตามคำทำนายของท่านอิสยาห์ที่กล่าวถึงกรุงเยรูซาเล็มเมื่อหลายศตวรรษก่อนว่า “ชนชาติที่ไม่รู้จักเจ้าจะรีบเร่งมาหาเจ้า” (อสย.55.5)

25.ถึงแม้จะลังเลใจอยู่บ้าง แต่เพราะอำนาจที่ได้รับจากพระจิต พวกอัครธรรมทูตก็ได้ประกาศว่า พระคุณความรอดนั้น ใครๆก็มีสิทธิ์รับได้ โดยไม่เลือกว่าเป็นชาติใด หรือถือกำเนิดมาจากที่ใด เพื่อรับพระคุณนี้เพียงแ ต่เชื่อถึงพระคริสตเจ้าและนำพระโอวาทของพระองค์มาปฏิบัติก็พอแล้ว แต่ละบุคคลแต่ละชาติต่างก็ได้รับเรียกให้มาถือพระวรสาร ทั้งๆที่ยังมีคุณสมบัติทางฝ่ายกายและใจของแต่ละคน หรือแต่ละชาติอยู่ เพราะเหตุนี้แหละ อัครธรรมทูตเปาโลจึงทำตัว “เป็ นยิวกับคนยิว เป็นชาวกรีกกับชาวกรีก” และประกาศบ่อยๆว่า ไม่มีคนต่างด้าว ไม่มีชาวยิว ไม่มีทาส ไม่มีนาย ต่อหน้าพระเป็นเจ้าแต่ทุกคนรวมกันเป็นครอบครัวเดียวในพระคริสตเจ้าเทียบ (1คร.12.13)

ท่านยังกล่าวอีกว่า “มีแต่พระเจ้าเดียว ความเชื่อเดียว ศีลล้างบาปเดียว พระเจ้าเดียวซึ่งเป็นพระบิดาของทุกคน อยู่เหนือทุกคน เพื่อทุกคนและในทุกคน” ความแตกต่างเกี่ยวกับชาติและวัฒนธรรม มิใช่แต่ไม่ถูกกำจัดให้สูญไปเท่านั้น ตรงกันข้ามกลับได้รับการสนับสนุนให้เจริญงอกงามอย่างเต็มที่ในพระศาสนจักรด้วย

26. ดังนี้ ตั้งแต่สมัยแรกเริ่มของพระศาสนจักร ความแตกต่างกันหลายอย่างได้มีอยู่ภายในคริสตชนหมู่เดียว ซึ่งชุมนุมอยู่ที่กรุ งเยรูซาเล็มและกรุงโรม ที่เมืองเอเฟซัสและโครินธ์ ในหมู่ชาวเมืองอันทิโอกและชาวเมืองอเล็กซานเดรีย ทุกแห่งที่รับสารของ พระคริสตเจ้า สารนั้นก็ประสานเข้ากับคุณสมบัติฝ่ายจิตที่มีอยู่ก่อนแล้ว สิ่งอันมีคุณค่าฝ่ายศาสนาและฝ่ายมนุษย์ของชนทุกชาติได้นำมาชำระและยกให้สูงขึ้นในพระคริสตเจ้า ตามวาทะของนักบุญเปาโลว่า “ทุกอย่างเป็นของท่าน ท่านเป็นของพระคริสตเจ้ า และพระคริสตเจ้าเป็นของพระเป็นเจ้า” (1 คร.3.22-23)

27. ต่อไปนี้เป็นการเล่าประวัติพระคริสตศาสนาโดยสังเขป ภายในสี่ศตวรรษแรก พระคริสตศาสนาได้แพร่เข้าไปในภูมิภาครอบ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนในจักรวรรดิโรมัน และได้เลยเข้าไปในทวีปแอฟริกา แคว้นเมโสโปเตเมียและประเทศเปอร์เซีย ในขณะนั้น ชาวโรมันบังคับให้นับถือศาสนาของรัฐ ดังนั้นการนับถือพระเจ้าองค์เดียวกับพระเยซูคริสตเจ้า พระบุตรของพระองค์ จึงถู กข่มเหงเรื่อยมา จนถึงวันที่พลเมืองทุกคนในจักรวรรดิได้รับเสรีภาพในการนับถือศาสนา

ในศตวรรษที่ 5 เมื่อจักรวรรดิโรมันเริ่มจะเสื่อมโทรมลง พระศาสนจักรได้ตั้งมั่นอยู่ในเขตวัฒนธรรมใหญ่ๆสามแห่งแล้วคือ เข ตตะวันตกของชาวลาติน ภายใต้อิทธิพลของกรุงโรม ซึ่งในเขตนี้ผู้สืบตำแหน่งต่อจากนักบุญเปโตร “ทำการปกครองหมู่คริสตชนทั่วไปทั้งหมด” (ตามจดหมายของนักบุญอิกญาซีโอถึงชาวโรมัน) และถือว่า “เปโตรยังมีชีวิตและยังพูดอยู่ในตัวบรรดาผู้สืบต ำแหน่งต่อจากท่าน” ต่อไปเป็น เขตตะวันออกของชาวกรีก ภายใต้อิทธิพลของกรุงบีซันส์ กับ เขตของชาวซีเรีย ภายใต้อิทธิพลของเมืองอันทิโอกและเอเดสซา ในเขตทั้งสามนี้ พระคริสตศาสนาได้เจริญรุ่งเรืองตามแบบฉบับของแต่ละชาติที่รับศาสนาไว้ กล่าวคือ ชาวโรมันเป็นผู้ชำนาญในเรื่องสัจธรรม ชาวกรีกเป็นผู้เชี่ยวชาญในทางปรัชญา ส่วนชาวซีเรียเป็นผู้เคร่งครัดในทางบำเพ็ญพรต

ในระหว่างนั้น ทั้งสามเขตนี้ได้พยายามแพร่พระคริสตศาสนาให้ขยายออกไปรอบข้างอย่างสงบ พระศาสนจักรที่กรุงโรม ได้ส่งธรรมทูตไปประกาศศาสนาแก่ชาวฟรังก์ ชาวแซลติก ชาวแองโกลแซ็กซัน ชาวสลัฟ ชาวฮังการีและ ชาวสแกนดีเนเวีย
พระศาสนจักรที่กรุงบีซันส์ ได้เผยแพร่ความเชื่อเข้าไปในหมู่ชนชาติที่อยู่ภาคตะวันออกของทวีปยุโรป

พระศาสนจักรที่เมืองอันทิโอกกับเอเดสซา ได้นำพระวรสารไปประกาศในแคว้นเมโสโปเตเมีย และเปอร์เซีย และจากนั้น พระ คริสตศาสนาได้แพร่จนถึงประเทศอินเดีย ประเทศจีน และจนถึงมหาสมุทรแปซิฟิก ในขณะเดียวกัน พระคริสตศาสนาได้แพร่จากเมืองอเล็กซานเดรีย และภาคแอฟริกาเหนือเข้าไปในประเทศเอธิโอเปีย และดินแดนอื่นๆในทวีปแอฟริกา

ชีวิตของนักบุญบางองค์ได้แสดงให้เห็นประจักษ์ว่า พระศาสนจักรในสมัยนั้นมีความเข้มแข็งและปฏิบัติถูกต้องตามความต้องการฝ่ายวิญญาณในยุคนั้น ชีวิตของนักบุญเหล่านั้นยังสะท้อนให้เห็นคุณสมบัติทางฝ่ายวิญญาณในสมัยนั้น ซึ่งมีมากมายหลายปร ะการ เช่น นักบุญเอากุสตีโนซึ่งเป็นชาวแอฟริกานั้นเป็นนักเทวศาสตร์ที่ใจเร่าร้อนและชั้นเยี่ยมยอด นักบุญยอห์น คริสซอสโตม ซึ่งเป็นชาวเอเชียน้อย เป็นนักเทศน์และนักบำเพ็ญพรต นักบุญเบเนดิกต์ ซึ่งเป็นชาวโรมัน เป็นคนชอบสวดมนต์ภาวนาและทำ งาน และเป็นบิดาของการถือพรตในภาคตะวันตกด้วย รวมความแล้ว บุคคลสำคัญเหล่านี้ดูคล้ายจะเป็นประวัติของวัฒนธรรมภาคตะวันตก ไปทีเดียวก็ว่าได้

28.แต่น่าเสียดายที่ในระหว่างหลายศตวรรษ ความรักบูชาชาติและความไม่เข้าใจกันต่างๆได้ก่อให้เกิดความบาดหมางและแตกแยกขึ้นในหมู่คริสตชน ความผิดมีอยู่ด้วยกันทั้งสองฝ่าย เมื่อคริสตชนหลายกลุ่มใหญ่แตกแยกจากสหพันธ์และเอกภาพของ พระศาสนจักรคาทอลิก

ระหว่างศตวรรษที่ 5 กับศตวรรษที่ 10 พระศาสนจักรตะวันออกกับพระศาสนจักรแห่งกรุงโรมได้แตกแยกกันอย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้นใ นระยะเวลาเดียวกันนั้น ประชาคมคริสตชนทางภาคตะวันตก ต้องเผชิญกับการขยายตัวอย่างรวดเร็วของศาสนาอิสลามในทวีปเอเชียแอฟริกาและยุโรป

พวกคริสตชนทางภาคตะวันออกและตะวันตกต้องป้องกันความเป็นเอกราชของตน และเนื่องจากปัญหาความเชื่อกับปัญหาการเมืองในขณะนั้นเกี่ยวโยงกันกันอย่างใกล้ชิด จึงมิใช่แต่เกิดการรบราฆ่าฟันกันเท่านั้น ซ้ำยังเกิดการโต้แย้งกันทางลัทธิควา มเชื่อถือ ทำให้ทั้งสองฝ่ายเข้าใจกันอีกไม่ได้ คริสตชนยังต้องป้องกันตัวต่อสู้กับชาวมองโกล ซึ่งในศตวรรษที่ 13 ได้รุกมาจนถึงใจกลางทวีปยุโรปหลังจากที่ได้ทำลายทุกสิ่งที่เป็นของคริสตชนในเอเชียแล้ว

อย่างไรก็ดีในสมัยเดียวกันนี้เอง พระศาสนจักรได้เป็นกำลังสำคัญทำให้สังคมในภาคตะวันตกเปลี่ยนแปลงไป ความเชื่อของคริสตชนได้ทำให้เกิดการพัฒนาทางสังคมและบำเพ็ญฌาณอย่างกว้างขวาง กับทำให้เกิดขบวนการและงานศิลปกรรมชั้นเยี่ยมยอ ดอย่างแท้จริง นักบุญฟรังซิสโก แห่งอัสซีซี ได้ถือความร่าเริงและความยากจนตามที่พระวรสารสอน เป็นแบบอย่างแก่คนในสมัยเดียวกับท่าน นักบุญโทมัส อไควนัส ได้สังเคราะห์ความจริง เท่าที่พระเป็นเจ้าเผยแสดงและมนุษย์คิดหาเหตุผลได้

29.ตอนปลายสมัยกลางและตอนต้นสมัยใหม่  พระศาสนจักรในยุโรปรู้สึกว่าจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงแก้ไข คือ ต้องฟื้นฟูศีลธรรมปรับปรุงจิตใจและปฏิบัติให้สอดคล้องกับปรัชญาในสมัยนั้น

นักพรตชาวเยอรมันผู้หนึ่ง ชื่อลูเธอร์ ได้เป็นผู้ริเริ่มการปฏิรูปศาสนา และพวกเจ้านายชาวเยอรมันได้สนับสนุน การปฏิรูปนั้นเลยกลายเป็น “การคัดค้าน” (5) ทำให้บรรดาประชาคมคริสตชนทางภาคเหนือของยุโรปแตกแยกออกจากพระศาสนจักรโรมันคา ทอลิกภายในพระศาสนจักรแห่งกรุงโรม บรรดาพระสันตะปาปาและพระสังฆราชได้เรียกร้องให้มีการปฏิรูปอย่างจริงจัง และการปฏิรูปนั้นก็ได้อุบัติในการประชุมสังคายนาที่เมืองเตรนโต ในการประชุมสังคายนาครั้งนี้ข้อสำคัญแห่งคำสอนคริสตชนเกี่ยวกับ มนุษย์ก็ดี เกี่ยวกับเรื่องความรอดมีลักษณะแท้จริงภายในเป็นอย่างไรก็ดี ตลอดจนโครงร่างพระฐานานุกรมแห่งพระศาสนจักรก็ดี (ซึ่งพวกโปรเตสเตนท์ปฏิเสธไม่ยอมรับ) ได้รับการนิยามอย่างแจ่มแจ้ง

นักบุญจำนวนมากมาย ไม่ว่าพวกที่เพ่งพินิจรำพึง เช่น นักบุญเทเรซาแห่งเมืองอาวีลา กับนักบุญยวงแห่งกางเขนหรือพวกที่ปฏิบัติงาน เช่น นักบุญอิกญาซีโอ โลโยลา นักบุญชาร์ล บอร์โรเมโอ นักบุญฟรันซีส เดอซาลส์ กับพวกริเริ่มตั้งขบวนการเมตตาจิ ตและสังคมสงเคราะห์อีกเป็นอันมาก ได้ปฏิบัติตามที่สภาสังคายนาที่เมืองเตรนท์สอน ในขณะเดียวกันความร้อนรนในงานธรรมทูตได้กลับเข้มแข็งขึ้นในพระศาสนจักร และพระวรสารได้ถูกนำไปประกาศจนถึงภูมิภาคต่างๆในทวีปเอเชีย แอฟริกาและอเ มริกาซึ่งชาวยุโรปเพิ่งจะค้นพบ

30.ทุกวันนี้ในโลกซึ่งมนุษย์กระหายอิสรภาพและความเจริญก้าวหน้า แต่ภายในใจมีความกระวนกระวายทุกข์ร้อนนั้น พระศาส นจักรคาทอลิกพยายามเสนอพระวรสาร ซึ่งมีอานุภาพจะช่วยให้พ้นทุกข์ได้หมดสิ้น พระศาสนจักรสำนึกถึงขอบเขตความอ่อนแอ ซึ่งทำให้การประกาศเทศน์สอนของตนมีประสิทธิภาพน้อยลง จึงทำการฟื้นฟูจิตใจและปรับปรุงตนให้ทันต่อเหตุการณ์ เพื่อให้ สอดคล้องกับจิตตารมณ์ของพระคริสตเจ้าและความต้องการของมนุษย์ในสมัยนี้มากที่สุด พระศาสนจักรปรารถนาอย่างร้อนแรงยิ่งขึ้น ที่จะสร้างเอกภาพอย่างสมบูรณ์ขึ้นใหม่ระหว่างคริสตชนภาคตะวันออกกับภาคตะวันตกหลังจากได้แตกแยกกันมานานนัก หนาแล้ว พระศาสนจักรยังมีน้ำใจเผื่อแผ่หันไปหาผู้ที่มิใช่คริสตชนเป็นจำนวนล้านๆคนและมีสาส์นพิเศษซึ่งจะทำให้เขาบรรลุถึงชีวิต

การประชุมสังคายนาวาติกันที่ 2 แสดงให้เห็นว่า พระศาสนจักรได้พยายามอย่างยิ่ง ที่จะปฏิบัติภารกิจต่อมนุษย์ทุกคน ตามที่พร ะคริสตเจ้าทรงฝากไว้ ในเรื่องนี้ พระศาสนจักรหวังพึ่งพระคริสตเจ้าที่ยังสถิตอยู่กับตน ยิ่งกว่าจะคิดพึ่งความสามารถของมนุษย์ เพราะก่อนที่จะจากไป พระองค์ได้ตรัสแก่เขาว่า “เราจะอยู่กับพวกท่านจนสิ้นพิภพ” (มธ.28.20) การสวดภาวนาและพันธะทุกอย่างของคริสตชนก็เกิดจากความเชื่อนี้แหละ “เพื่อให้พระวาจาของพระเป็นเจ้าได้รับการยกย่องและแพร่ไปทั่วพิภพ” (2ธ ส.3.1) และเพื่อให้มนุษย์ที่มีน้ำใจดีทุกคน รวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับพระบิดาในพระศาสนจักรสากล ตามที่มีกล่าวในพระคัมภีร์ว่า “และพระเป็นเจ้าจะสถิตกับมนุษย์ และมนุษย์จะเป็นประชากรของพระเป็นเจ้า พระองค์จะเช็ดน้ำตาทุกหยดให้แห้งจากต า จะไม่มีความตาย จะไม่มีการร้องไห้ เสียงร้องและความทุกข์ เพราะโลกเก่าได้ผ่านพ้นไปแล้ว” (วว.21.3-4)