หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

อวน
(มธ 13:47-50)

คำอธิบาย

                   ในนิทานเปรียบเทียบเรื่องนี้ พระเยซูเจ้ามีพระประสงค์จะสอนว่า  อาณาจักรสวรรค์ข องพระเป็นเจ้าประกอบด้วยคนดีและคนชั่วที่คละปนกันไป  แต่ว่าในนิทานเปรียบเทียบเรื่องข้าวสาลีและหญ้าร้ายนั้น  พระองค์ต้องการเน้นให้เห็นว่า  คนดีนั้นจำเป็นจะต้องอดทน  พากเพียรรอเวลา ที่พระเป็นเจ้าจะเสด็จมาตัดสิน  ส่วนในนิทานเปรียบเทียบเรื่องอวนจับปลานี้พระองค์ต้องการเน้นถึงชะตากรรมที่รอคอยคนชั่ว

                   ในสายตาของคนทั่วๆ ไป คนชั่วนั้นดูๆ ก็เหมือนกับคนดี  ยิ่งกว่านั้นอีกคนชั่วอาจจะ อวดด้วยว่าพวกเขามีความสนุกสุขสบายมากกว่าคนดีมีธรรมเสียอีก  แต่ว่าวันหนึ่งจะมาถึง คือ  วันที่พระเป็นเจ้าจะทรงตัดสินมนุษย์ตามบาปบุญคุณโทษ
(47) อวนที่ขึงในทะเล ชาวยิวที่ฟังพระเยซูเจ้าคงจะเข้าใจนิทานเปรียบเทียบเรื่องนี้ดี เพราะการจับปลาเป็นอาชีพที่ชาวเมืองทำกันมาก เป็นต้น  คนที่อาศัยตามริมทะเลสาบกาลิลี อัครสาวกหลา ยองค์ก็เคยเป็นชาวประมงมาแล้ว เช่น เปโตร  ยากอบ ฯลฯ
                   อวนที่กล่าวถึงนั้นเป็นอวนลาก มีความยาวตั้งแต่ 100 เมตร  จนถึง 700 เมตร  ส่วนความกว้างนั้น ก็สุดแต่ว่าน้ำลึกเท่ าไร  ในที่ที่เขาจะตีอวนนั้น  ทางตีอวนเขาใช้ตะกั่วหรือหินถ่วงไว้  ส่วนทางด้านบนเขาใช้ไม้เบาๆ ทำเป็นทุ่นลอยอยู่เหนือน้ำ  เวลาจะ ตีอวนเขาใช้วิธีล้อมเอา และรวมปลายทั้งสองข้างเข้าหากัน แล้วก็ลากขึ้นฝั่ง
ปลาทุกชนิด ปลาที่ติดอวนมานั้นมีหลายชนิดด้วยกัน  บางชนิดดีมากและราคาแพง  บางชนิดเป็นปลาไม่สู้ดี  และบางชนิดใช้รับประท านไม่ได้ด้วยซ้ำไป  เนื่องจากกฎหมายของโมเสสได้ห้ามไว้ คือปลาที่ไม่มีครีบ และไม่มีเกร็ด  เพราะเป็นปลาที่มีมลทิน  ปลาบางชนิดใช้รับประทานไม่ได้เพราะมีพิษ

                   (48) ปลาที่ไม่ดีเขาก็เหวี่ยงทิ้ง เมื่อลากอวนขึ้นฝั่งแล้ว  เขาก็เลือกปลาชนิดดีใช้รับประทานได้  เขาก็เอาใส่ตะกร้า หรื อใส่ข้องเพื่อนำไปรับประทานหรือขายที่ตลาด ส่วนปลาที่ไม่มีประโยชน์เขาก็จะโยนทิ้งให้เน่าที่ชายทะเล หรือให้เป็นอาหารของนก

                   (49) เหตุการณ์จะเป็นเช่นนี้ด้วยในวันสิ้นพิภพ พระเยซูเจ้าใช้คำเปรียบเทียบซื่อๆ เพื่ออธิบายความจริงทางด้านวิญญา ณ  อวนนั้นหมายถึงอาณาจักรสวรรค์ที่พระองค์สถาปนาไว้ในโลก  กล่าวคือ  พระศาสนจักร ท้องทะเลเปรียบเหมือนกับโลก ส่วนปลา นั้นก็หมายถึงคนดีและคนชั่วในพระศาสนจักร  ชาวประมงก็คือพระเยซูคริสตเจ้าเอง  และบรรดาอัครสาวก  และผู้สืบแทนตำแหน่งอัค รสาวก  ซึ่งพยายามนำข่าวดีไปให้แก่ทุกคน แต่ว่าในจำนวนคนมากมายที่เข้ามาในอวน  หรือพระศาสนจักรนั้นหรือผู้ที่รับพระวรสารนั้น  จะมีหลายคนที่ทำตัวไม่เหมาะสมกับอาณาจักรสวรรค์

                   ในวันสิ้นพิภพ  เทวดาจะลงมาแยกคนอธรรมออกจากผู้ใคร่ธรรม  ชาวประมงเลือกปลาเลวออกจากปลาดีฉันใด เทวดา ก็จะแยกคนอธรรมออกจากผู้ใคร่ธรรมฉันนั้น ในวันสิ้นพิภพ (เทียบ มธ 13:41-43) พระเยซูคริสตเจ้าเอง เคยตรัสไว้ในวันพิพากษาว่า พระองค์จะเสด็จมาพร้อมกับบรรดาเทวดาเพื่อแยกคนดีออกจากคนชั่ว (มธ 25:32)

                   (50) และทิ้งความชั่วลงในขุมไฟ  คนอธรรมนั้นจะได้รับโทษถึงสองประการ  คือ พวกเขาจะต้องจากผู้ใคร่ธรรม ต้องสู ญเสียพระเป็นเจ้าซึ่งเป็นองค์คุณงามความดีทุกประการ  ซึ่งพวกเขาจะทราบอย่างแจ่มแจ้ง อนึ่ง  พวกเขาจะต้องทนทุกข์แสนสาหัส พระเยซูเจ้าทรงใช้คำเปรียบเทียบว่า  พวกเขาจะต้องอยู่ในขุมไฟตลอดทั้งวันชั่วนิรันดร แน่นอน คงไม่ใช่ไฟธรรมชาติ เพราะปีศาจ หรือเทวดาขบถไม่มีร่างกายที่จะรับทนทรมานจากไฟธรรมชาติที่เราเห็นอยู่ในโลกได้ ที่นั่นจะมีแต่การร้องไห้และขบฟันด้วยความขุ่ นเคือง ซึ่งเป็นปฏิกิริยาต่อความสูญเสียขุมทรัพย์อันประเสริฐที่สุด  กล่าวคือ  พระเป็นเจ้าและความบรมสุขในสวรรค์

คำสอน


                   ตามปกติไม่มีใครชอบรำพึงหรือคิดถึงการทนทุกข์ตลอดทั้งชั่วนิรันดรในนรก  ถึงกระนั้นก็ดี  สำหรับคนอ่อนแอ  และคนที่จะพลาดตกในบาปบ่อยๆ ง่ายๆ  การรำพึงถึงนรกก็มีประโยชน์มาก พระจิตเจ้าแนะนำเราทางหนังสือ เอกเกลซีอาสตีกูล (บุตรสิรา) (7,40) ว่า “จงคิดถึงวาระสุดท้ายของเจ้า  และเจ้าจะไม่ทำบาปเลย” ฉะนั้น  นิทานเปรียบเทียบเรื่องนี้ เตือนเราให้คิดถึงโศกนาฏกรรมที่รอคอยเราอยู่  ถ้าหากว่าเราไม่อยู่ในจำนวนผู้เลือกสรรในวันพิพากษาพร้อมกัน

                   เราอาจจะได้เคยฟังพระวรสาร  เราอาจจะเป็นคริสตชน เป็นศิษย์ของพระเยซูเจ้า  แต่นั่นไม่หมายความว่าาเราจะบรรลุถึงความสุขทั้งชั่วนิรันดรโดยอัติโนมัติ ในวันพิพากษาพร้อมกันจะมีหลายคนที่ได้รับศีลล้างบาป  ได้รับความเชื่อ ได้รีบศีลศักดิ์สิทธิ์อื่น  และพระหรรษทานมากมาย แต่จะต้องโทษนรกตลอดทั้งชั่วนิรันดร นี่แหละเป็นความคิดที่น่าสะดุ้งกลัว

แม้ว่าสำหรับพวกดำรงชีพอย่างศักดิ์สิทธิ์  พระดำรัสของพระเยซูเจ้าที่ว่า “ณ ที่นั้นจะมีแต่ความคร่ำครวญและการขบฟันด้วยความขุ่นเคือง” นั่นไม่ใช่เป็นการพูดเกินความจริง พระองค์ทรงทราบดีว่าพระองค์กำลังพูดอะไรออกไป และพระองค์ตั้งใจพูดอย่างนั้นจริงๆ ทั้งนี้  เพราะพระองค์ทรงทราบดีว่ามหาทรมานและความสูญหายนั้นเป็นใหญ่หลวงจริง พระองค์ยอมถ่อมตนลงมาเป็นมนุษย์ ทนทุกข์ทรมานและสิ้นพระชนม์บนกางเขนเพื่อจะช่วยพวกเราให้พ้นภัยพิบัติประการนั้น

                   เป็นความจริงที่ว่า  พระเป็นเจ้าผู้ทรงพระทัยเมตตากรุณาได้ตักเตือนคนบาปอยู่เสมอ “ไม่ใช่เป็นน้ำใจของเราเลย การที่คนบาปต้องพินาศไป  แต่ว่าให้เขากลับใจและมีชีวิต” (อสค 18:23) อย่างไรก็ตาม  การปฏิเสธหรือการไม่ยอมฟังคำตักเตือนของพระเป็นเจ้าบ่อยๆ อาจทำให้มโนธรรมของคนบาปตายด้าน และในที่สุดก็ไม่รู้ว่านั่นเป็นการตักเตือนของพระเป็นเจ้า

                   สิ่งที่เกิดขึ้นกับคนมากมายไปแล้วก็อาจเกิดขึ้นกับเราได้ เราพยายามตั้งใจรำพึงถึงนิทานเปรียบเทียบเรื่องนี้ เราอาจจะอยู่ในทางที่ปลอดภัย  เพราะเราเป็นสมาชิกของพระศาสนจักรและเราพยายามดำรงชีพตามหลักพระวรสาร  แต่เป็นไปได้ที่เราอาจจะเป็นปลาที่ใช้การไม่ได้ และไม่มีประโยชน์ในอวนนั้น  และเทวดาก็กำลังจะโยนเราทิ้ง แต่เรายังเวลากลับใจและเราอาจจะเป็นคนหนึ่งในท่ามกลางผู้ที่พระเป็นเจ้าทรงเลือกสรร  และรักใคร่และจะอยู่ในท่ามกลางปลาที่มีประโยชน์
 

ที่มา : แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ