หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

การเตรียมพร้อมเมื่อนายกลับมา
ลก 12:35-38

คำอธิบาย

ในนิทานเปรียบเทียบเรื่องเศรษฐีที่โง่เขลา พระเยซูคริสตเจ้าทรงมีพระประสงค์จะสอนเรา ว่า  ช่างเป็นการโฉดเขลาเบาปัญญาจริง ๆ ที่การที่เศรษฐีผู้นั้นได้สละทั้งกำลังกายและทุ่มเทเวลาทั้งหมดเพื่อแสวงหาทรัพย์สมบัติฝ่ายโลก แต่ไม่ได้สนใจที่จะสะสมทรัพย์สมบัติฝ่าย สวรรค์ พระเยซูเจ้าได้ทรงตักเตือนผู้ที่สมัครใจติดตามพระองค์ว่า เราขอบอกท่านว่า  อย่าสาละวนแต่ชีวิตของท่านว่า ท่านจะกินอะไร  หรือวิตกกังวลเกี่ยวกับร่างกายของท่านว่า ท่า นจะเอาอะไรมานุ่งห่ม  ชีวิตนั้นสำคัญมากกว่าเนื้อ (อาหาร) และร่างกายก็มีค่ามากกว่าเครื่องนุ่งห่ม (ลก12:22-23)

หลังจากนั้นพระองค์ก็ได้ทรงเล่านิทานเปรียบเทียบอีกสามเรื่องเพื่อชี้ให้บรรดาสานุศิษย์เห็ นความจำเป็นในการตื่นเฝ้าระมัดระวัง เพื่อว่าเขาจะได้เตรียมพร้อมในวันพิพากษา  เนื่องจากนิทานเปรียบเทียบทั้งสองเรื่องแรกนี้ สอนเรื่องเดียวกัน  เราจะศึกษาทั้งสองบทควบคู่กันไป

จงคาดเอว เสื้อผ้าที่ชาวยิวทั้งชายหญิงสวมใส่สมัยพระเยซูคริสตเจ้า และแม้กระทั่งสมัยนี้ เราก็ยังพบที่ประเทศปาเลสไตน์ และปร ะทศอาหรับว่าเป็นเสื้อยาวจรดพื้น  และปล่อยไว้รุ่มร่าม ถ้าหากเขาต้องการทำงานหรือออกเดินทาง  เขาก็ถลกชายเสื้อขึ้นมาผู้ไว้รอ บเอว และใช้เข็มขัด (1) คาดอีกทีหนึ่ง  เพื่อให้ทะมัดทะแมงและไม่รุ่มร่ามในการทำงานหรือออกเดินทาง  แต่ถ้าหากเขาอยู่ในบ้า นและไม่ได้ทำอะไร   เขาก็ปล่อยชายเสื้อตามสบายและไม่ได้คาดเข็มขัด  เพราะฉะนั้น ความหมายของคำสั่งก็คือ “ให้เตรียมพร้อมที่จะทำงานเสมอ”

ตะเกียงที่ลุกอยู่  สมัยนั้นไม่มีไฟฟ้า  ชาวบ้านต้องใช้ตะเกียงจุดเพื่อให้มีแสงสว่าง  ปกติเป็นตะเกียงเล็กๆ ใช้น้ำมันพืช ไส้ตะเกียงท ำด้วยด้าย  บ้านคนที่มีเงินมักจะมีตะเกียงหลายดวง  และต้องเอาใจใส่เวลาจุดไว้ด้วย เพราะอาจดับได้ เนื่องจากไส้ตะเกียงไม่สู้ดี

และท่านเองก็เป็นเหมือนกับคนที่รอนาย  เมื่อกลับจากงานวิวาห์ เมื่อหายไปในงานแต่งงาน พวกคนใช้ก็ต้องรอคอยนายว่าจะกลับม าเมื่อไร จะได้เตรียมตัวเปิดประตูให้ การแต่งงานหลาย ๆ ครั้งยืดเยื้อไปจนถึงดึกดื่นหรือเลยเที่ยงคืนไปอีก  ฉะนั้น  นายจึงไม่สามา รถจะบอกล่วงหน้าว่าตัวจะกลับเมื่อไร เพราะสุดแล้วแต่เหตุการณ์ ฉะนั้น คนใช้จะต้องเตรียมพร้อมอยู่เสมอ

เป็นบุญของคนใช้ซึ่งเมื่อนายกลับมาจะพบเขากำลังตื่นเฝ้าอยู่  คนใช้ที่เตรียมพร้อมอยู่เสมอจะได้รับคำขอบใจ  คำสร รเสริญจากนาย และมากกว่านั้นอีก

เขาจะคาดสะเอวและรับใช้พวกเขา แทนที่นายจะสั่งให้คนใช้ปรนนิบัติเขา  เขาจะให้พวกคนใช้นั่งโต๊ะรับประทานอาหาร  เพื่อเป็นการแสดงความขอบคุณต่อคนใช้

เจ้านายในโลกนี้อาจจะไม่ทำตามที่พระองค์ทรงเล่านิทานเปรียบเทียบนี้ แต่ว่าพระบิดาเจ้าสวรรค์จะทำต่อคนใช้  ข้ารับใช้พระองค์  ถ้าหากพระองค์ทรงเห็นว่าพวกเขาพร้อมที่จะปรนนิบัติพระองค์อยู่เสมอ  และถ้าหากนายจะมาในยามที่สองหรือในยามที่สาม  พระอง ค์จะทรงเชื้อเชิญให้เขาได้เข้าไปทานเลี้ยงในอาณาจักรสวรรค์ และพระองค์จะทรงเป็นเจ้าภาพ นายจะมาถึงในเวลาใดไม่แน่ ฉะนั้ น  พระองค์ต้องการเน้น “ความไม่แน่นอน” ในการกลับมาของนาย  แต่าคนใช้จะต้องตื่นเฝ้า “ไม่ง่วงนอน” (มก 13:36) และเขาจะเ ป็นผู้มีโชค  ชาวโรมันแบ่งกลางคืนออกเป็น 4 ยาม  และแต่ละยามยาว 3 ซม. และชาวปาเลสไตน์ก็ได้ใช้วิธีนับแบบนี้ด้วยในสมัยพระเยซูคริสตเจ้า

นักบุญมาระโก บอกว่า นายจะกลับมาถึงในเวลาใดก็ได้  ส่วนนักบุญลูกา  บอกว่า  นายอาจจะกลับมาเวลาสองยามหรือสามยามก็ได้ คือระหว่าง 21.00 น. จนถึงตีสามเช้ามืด  เวลาระหว่าง 9 โมงกลางคืนจนถึงตี 3 เป็นเวลาที่เรามักจะง่วงนอนง่าย ๆ ฉะนั้น พระอ งค์จึงมีพระประสงค์ต้องการจะเน้น “การตื่นเฝ้า” และคุณงามความดีของคนใช้ที่ตื่นเฝ้าอยู่เสมอ

ที่มา : แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ