หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

 ผู้หว่าน
(มธ 13:1-9; 18-23 เทียบ  มก 4:3-9  และ 8:5-8)

คำอธิบาย

ในบทที่ 13 นี้ มธ รวบรวมเรื่องเปรียบเทียบของพระองค์ทั้ง 7 เรื่องเข้าไว้ด้ว ยกัน เราไม่จำเป็นต้องเชื่อว่าพระเยซูเจ้าเล่าเรื่องเปรียบเทียบทั้ง 7 เรื่องนี้ในโอกาสเดียวกัน

ในวันนั้น เขาไม่ทราบว่าเป็นวันไหนแน่ คงจะเป็นระหว่างปีที่สองที่พระองค์ออกเทศนาสั่งสอน ฝูงชนที่ติดตามพระองค์  ส่วนพวกฟาริสียิ่งทียิ่งตั้งตัวเป็นศัตรูกับพระองค์ เพราะฉะนั้ นจำเป็นที่พระองค์จะต้องอธิบายว่า อาณาจักรที่พระองค์กำลังสถาปนาขึ้นนั้นเป็นอะไรกันแน่

เสด็จออกจากบ้าน  คงจะเป็นบ้านของนักบุญเปโตรที่เมืองคาเปอร์นาอุม  ซึ่งเป็นศูนย์กลางแพร่ธรรมของพระองค์ในแคว้นกาลิลี

พระองค์จึงเสด็จประทับบนเรือ เมืองคาเปอร์นาอุมตั้งอยู่บนฝั่งทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือของทะเลสาบกาลิลี  ในขณะนั้นมฝูงช นมากมายต่างก็เบียดเสียดอยากฟังพระวาจาของพระองค์ใกล้ๆ พระองค์จึงต้องเลือกหาที่ที่เหมาะๆ เพื่อประชาชนจะได้เห็นและได้ฟัง พระองค์จึงประทับในเรือจอดอยู่ไม่ห่างจากชายฝั่งเท่าไร

ชายคนหนึ่งออกไปหว่านเมล็ดพืช โดยปกติเรื่องเปรียบเทียบที่พระองค์เล่ามักจะเล่ามาจากเรื่องที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของชา ติยิว  อาจเป็นไปได้ที่พระองค์เห็นกำลังหว่านข้าว  แล้วพระองค์ก็เล่าเรื่องเปรียบเทียบให้พวกเขาฟัง  ที่จริงตามริมทะเลสาปก็มีพื้ นดินดี และอาจใช้ทำนาปลูกข้าวสาลีได้ แต่โดยทั่วๆ ไป แผ่นดินส่วนใหญ่ในประเทศปาเลสไตน์เป็นดินที่มีหินปนอยู่มาก ผิวดินก็ไม่หนา และหลายๆ แห่งมักจะมีหญ้าหนามขึ้น มีทางเดินแคบๆ ผ่านไปตามท้องทุ่ง

ขณะที่เขากำลังหว่าน ชาวนาใช้ผ้ากระสอบหรือผ้าหยาบๆ คาดเอง ใช้มือซ้ายรวบชายผ้าข้างล่างทั้งสองขึ้น และใส่เมล็ดข้าวในนั้ น ขณะที่เดินไปเขาก็หว่านเมล็ดข้าวไปทางขวาและซ้าย ข้างละประมาณ 1 เมตร (ปกติในปาเลสไตน์  ชาวนาหว่านข้าวหลังจากเริ่มฤดูฝน  ซึ่งเริ่มในเดือนพฤศจิกายน)

บางเมล็ดตกอยู่ริมทางเดิน บางทีเราอาจจะคิดว่าผู้หว่านซุ่มซ่ามไม่หว่านดีๆ ทำให้เสียข้าวโดยไร้ประโยชน์  แต่ขอให้เราเข้าใจว่ าในประเทศปาเลสไตน์นั้นเขาหว่านก่อนไถ ไม่เหมือนกับทางบ้านเรา เขาหว่านแล้วไถกลบและแน่นจนเขาต้องไถทางเดินด้วย แต่เมล็ดเหล่านี้ไม่สู้จะงอก  ก็เพราะถูกคนผ่านไปผ่านมาเหยียบ  หรือเพราะถูกนกจิกกินเสีย

บางเมล็ดตกลงในพงหนาม ให้เราคิดว่าเขาหว่านข้าวลงไปในกอหนามนี้ที่เหี่ยวแห้ง  หรือมิฉะนั้นก็ในที่ที่มีซากกอหนามอยู่หนาแ น่น  เมื่อเขาไถก็ยังไม่สามารถจะเอารากมันขึ้นมาได้  ภายหลังทั้งข้าวและกอหนามก็โตขึ้นพร้อมกัน  แต่กอหนามนั้นแข็งแรงกว่า  ก็แย่งน้ำเลี้ยงและอากาศและแสงแดด  ต้นข้าวอ่อนๆ สู้ไม่ได้ก็เฉาไป

บางเมล็ดตกบนพื้นหินที่มีดินเล็กน้อย หน้าพื้นดินในประเทศปาเลสไตน์บางแห่งบางมาก  มีหินอยู่ข้างล่าง เนื่องจากความร้อนจา กดวงอาทิตย์  และจากก้อนหินมันงอกขึ้นมาทันที  แต่ไม่ช้าก็เฉาไปเพราะขาดความชุ่มชื้น  และไม่สามารถที่จะหยั่งรากได้

บางเมล็ดตกในที่ดินดี แน่นอนต้นข้าวก็เจริญงอกงามและแข็งแรงและให้ผล 30 เท่าบ้าง 60 เท่าบ้าง  และ 100 เท่าบ้าง (ดินดีหมายถึงผิวดินหนามาก  เก็บสะอาด ไม่มีรากหญ้าหนาม  ดินอ่อน ร่วน มีปุ๋ยและความชุ่มชื้น)

ใครมีหู ก็จงฟังเถิด พระองค์ทรงทราบว่าผู้ฟังบางคนมีใจแข็งกระด้างเพราะความจองหอง หรือเพราะไม่ยินดียินร้ายในเรื่องศาสน า  แต่พระองค์ก็ได้ทำหน้าที่ของพระองค์แล้ว  เป็นหน้าที่ของพวกยิวที่จะต้องพิจารณาและพยายามเข้าใจความหมายที่พระองค์สั่งสอน


เพราะฉะนั้น จงฟังความหมายของอุปมาเราโชคดีที่อัครสาวกขอให้พระองค์ทรงอธิบายเรื่องเปรียบเทียบนี้  เพื่อเราจะได้เข้าใจค วามหมายอย่างแท้จริง  และเพื่อจะได้ใช้เป็นตัวอย่างในการเข้าใจคำเปรียบเทียบเรื่องอื่นๆ ของพระองค์

พระวาจาเกี่ยวกับอาณาจักร เมล็ดพืชที่ผู้หว่านหว่านนั้นคือพระวรสาร (ข่าวดีที่ยังความรอดให้แก่เรา) ที่พระเยซูคริสตเจ้าทรงนำมามอบให้แก่มนุษย์ทุกคน 

พระองค์เองเป็นผู้หว่านที่สำคัญ
ภายหลังอัครสาวก และผู้สืบตำแหน่งอัครสาวกในพระ-ศาสนจักรก็เป็นผู้หว่านด้วย

เมล็ดที่ตกริมทาง คนที่รู้สึกเฉยๆ ต่อเรื่องที่เกี่ยวกับวิญญาณ คนนี้เอาใจใส่แต่ของฝ่ายโลก แม้เขาจะฟังพระวาจาของพระเป็นเจ้าเพราะความมักรู้มักเห็นหรือเพราะอคติเพื่อจับผิด ฯลฯ เขาจะไม่รู้จักค่าของมัน

มารร้าย ปีศาจไม่รู้จักว่าลำบากอย่างไร  ในการที่จะให้เขาลืมพระวาจานั้นเหมือนกับนกที่บินผ่านมา และจิกเมล็ดบนข้างทางเสีย

เมล็ดที่ตกบนพื้นหินที่มีดินเล็กน้อย คำอธิบายของพระองค์ชัดเจนดีอยู่แล้ว พระองค์หมายถึงผู้ที่ปฏิบัติศาสนาอย่าง ผิวเผิน  ศาสนาไม่ได้ฝังรากลึกอยู่ในตัวเขา  เขาอาจจะรู้คำสอนบ้าง  แต่ก็ค่อยๆ ลืมไปทีละเล็กละน้อย  เขาไม่รู้แจ้ งเห็นจริงในคำสอน และไม่ได้ปฏิบัติศาสนาอย่างจริงจัง  พอถูกเบียดเบียนข่มเหงหรือขาดผลประโยชน์ส่วนตัว เขาก็เริ่มลังเลใจแล้ว  และเขาจะทิ้งคำสอนของพระองค์ง่ายๆ เขาต้องการเป็นคริสตังเฉพาะเมื่อคอยเขาอยู่บนภูเขา ทาบอร์ ไม่ใช่บนภูเขากัลวารีโอ เขาต้องการมงกุฎโดยไม่ต้องการกางเขน

เมล็ดที่ตกในพงหนาม ขึ้นดีกว่าพวกที่ตกตาทางและตามดินหินเล็กน้อย แต่ที่สุดก็อับเฉาอีกเหมือนกัน  เพราะความกังวลฝ่ายโล กและความผูกพันกับทรัพย์สมบัติ เขาเชื่อในพระวาจาของพระเยซูเจ้า  เขารู้จักคุณค่าของมัน เขาอยากติดตามพระองค์ และป ฏิบัติตามคำสอนของพระองค์เหมือนกัน  แต่ขณะเดียวกันเขาก็ไม่สามารถจะละทิ้งในโลกได้  เขาจับคันไถแล้ว แต่ยังเหลียวหลัง (หนุ่มเศรษฐี) เขาต้องการความสุขสบายในโลกนี้  และความสุขในโลกหน้าด้วย เขาต้องการรับใช้นายสองคน แต่พระเยซูเจ้าเค ยตรัสไว้ว่า เจ้าจะรับใช้พระเป็นเจ้าและเงินทองในเวลาเดียวกันไม่ได้ (มธ 6:24) ความจริงทรัพย์สมบัติเป็นพระพรของพระ  (เป็ นต้นในพันธสัญญาเดิม) พระองค์ไม่เคยต่อต้านคนรวย แต่พระองค์ต้องการประณามวิธีใช้เงินทองในทางที่ผิด แต่ถ้าเขาใช้อย่างดีและถูกต้องก็เป็นโอกาสให้เขาได้ใกล้ชิดพระองค์  (เช่น ทำบุญทำทานช่วยเหลือคนยากจน   ฯลฯ)

บางเมล็ดตกในที่ดินดี ก็เจริญเติบโตงอกงามและผลิตผลมาก เปรียบเหมือนวิญญาณที่เตรียมพร้อมที่จะรับพระโอ วาทของพระเป็นเจ้า  และปฏิบัติตามด้วยใจเสียสละ  ด้วยความยินดี และด้วยความพากเพียร  (เทียบ  ลก 8:15) เขาพร้อมจะร่วมมือกับพระเป็นเจ้าในทุกสิ่งทุกอย่าง นี่แหละเขาเข้าใจพระวาจา  เขาต้อนรับพระวาจา

คำสอน


เราอาจประยุกต์นิทานเปรียบเทียบนี้กับคนสองจำพวก คือ

ก. ผู้ฟังพระวาจาของพระเป็นเจ้า
ข. ผู้ประกาศพระวาจาพระเป็นเจ้า

ก. ถ้าหากเราประยุกต์นิทานเปรียบเทียบนี้กับผู้ฟังพระวาจาของพระเยซูเจ้า  เราจะเห็นว่าพระองค์ต้องการเตือนผู้ฟัง และผู้ฟังนั้นอาจจะฟังพระวาจาของพระองค์ในแบบต่างๆ กัน และผลที่ได้รับก็ย่อมแตกต่างกันด้วย พูดง่ายๆ ก็คือ ผลนั้นขึ้นอยู่กับผู้ฟัง (เรื่องจะขำขึ้นอยู่กับว่าเราเล่าให้ใครฟัง ถ้าหากผู้ฟังมีอารมณ์ไม่ดีหรือไม่เคยยิ้มเลย เรื่องก็ไม่ขำ  เมื่อเขาเล่าให้คนที่มีอารมณ์ขันและพร้อมที่จะหัวเราะหรือยิ้ม)

ในนิทานเปรียบเทียบนั้นผู้ฟังเป็นใครนัก
พวกแรก
คือ พวกที่ปิดประตูไม่ยอมรับความจริงเลย เป็นต้นทางด้านวิญญาณ เพราะฉะนั้น  คำพูดใดๆ ก็ตามไม่สามารถผ่านเข้าไปในความนึกคิดของเขา คล้ายๆ กับเมล็ดข้าวที่ตกลงบนทางเท้าที่แข็ง เพราะถูกคนเหยียบย่ำและข้าวไม่สามารถหยั่งรากได้ เพราะใจแข็ง  สาเหตุมีอยู่หลายประการ  เช่น

อคติ ซึ่งทำให้มนุษย์เราตาบอด  และไม่อยากเห็นความจริง  และไม่ยอมรับความจริง  ซึ่งมีสาเหตุมาจากความจองหองก็ได้ (นาธานาแอล บาร์โธโลมิว) “นาซาแร็ธจะมีอะไรดีเล่า” ตอบฟิลิป เมื่อฟิลิปบอกว่าได้พบพระเมสสิยาห์แล้ว  คือพระเยซูเจ้า  ชาวนาซาแร็ธ  (ยน 1:45-46) ซึ่งไม่ยอมรู้สิ่งที่ควรจะต้องรู้ หรืออาจจะเกิดมาจากความกลัวของใหม่  และไม่อยากคิดถึงเรื่องใหม่ๆ เพราะกลัวว่าตัวจะต้องเปลี่ยนความคิดเก่าๆ หรืออาจจะเกิดจากความประพฤติไม่ดีของเราก็ได้  เมื่อได้ยินคำเทศน์ คำตักเตือนก็ไม่อยากฟัง

พวกที่สอง คือ พวกที่ไม่คิดอะไรจริงๆ จังๆ เป็นคนคิดตื้นๆ ผิวเผินคล้ายๆ กับเมล็ดข้าวที่ร่วงบนดินที่ไม่ลึกอะไร เขาพร้อมที่จะฟังพระวาจาแต่เมื่อฟังแล้วก็ไม่ได้เก็บมาคิดไตร่ตรองหาความจริง  จากนั้นเขามักจะชอบเปลี่ยนง่ายเรื่อย ๆ ทำโน่นทำนี่ประเดี๋ยวเดียวก็เบื่อ และก็อยากเปลี่ยนงานเรื่อยๆ เขาทำงานจับจด เขาเริ่มแต่ไม่เคยทำอะไรสำเร็จสักอย่าง  เพราะไม่กล้าสู้อุปสรรค

พวกที่สาม คือ พวกที่มีความสนใจและฝักใฝ่แต่ของฝ่ายโลก จนกระทั่งลืมสิ่งที่สำคัญที่สุด เพราะปล่อยให้ความชุลมุนวุ่นวายครอบงำสิ่งที่สำคัญเสีย เหมือนกับเมล็ดข้าวที่งอกขึ้นในกอหนาม

นี่แหละเป็นสภาพชีวิตในปัจจุบัน ชีวิตที่วุ่นวายสับสน เขาไม่มีเวลาที่จะภาวนาหรือเรียนคำสอน หรือหาความรู้ทางด้านศาสนา  เพราะเขาต้องติดธุระหลายอย่าง  ต้องทำมาหากินเพื่อเลี้ยงดูครอบครัว  ถ้าหากเขาอยู่ในโลก  ถ้าหากเขาเป็นนักบวชเขาจะแก้ตัวว่าเขาต้องทำงานสารพัด  อย่างเช่น แปลคำสอน ประชุม ติดต่อกับคนภายนอก  จัดงานโน่นงานนี่  ที่สุดเขาจะไม่มีเวลาภาวนา หรือรำพึง  หรือทำกิจศรัทธาที่จำเป็นสำหรับชีวิตฝ่ายวิญญาณของเขา

ขอให้เราสังเกตด้วยว่า  ไม่ใช่อะไรที่เลว  หรือไม่ดีดอกที่เป็นภัย  แต่หลายๆ ครั้ง  สิ่งดีๆนั่นแหละอันตรายยิ่ง  (การแสดงความรักต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกิจการภายนอกเป็นสิ่งที่ดีงาม น่าชม  แต่จะมีประโยชน์อะไรถ้าหากเราหาเวลาภาวนา หรือทำกิจศรัทธาไม่ได้ และเป็นเช่นนี้ทุกวัน)

พวกที่สี่ เปรียบเหมือนเมล็ดข้าวที่ตกอยู่บนพื้นที่ดีอุดมสมบูรณ์ จิตใจของเขาพร้อมที่จะรับความจริงอยู่เสมอ เขาพร้อมที่จะศึกษาเล่าเรียน  พร้อมที่จะฟังเป็นต้นเรื่องเกี่ยวกับศาสนา  เขาจะไม่จองหองคิดว่าตัวเองรู้สารพัด เขาจะพยายามหาเวลาเพื่อเอาใจใส่ชีวิตฝ่ายวิญญาณของเขา และพร้อมที่จะพยายามเข้าใจคำพูดที่ฉลาดหรือคำสอนของผู้อื่น โดยพยายามหาเหตุผล  เพื่อให้เกิดความจริงที่เขาเข้าใจและเห็นชัดแล้ว คนชนิดนี้จะเก็บผลประโยชน์มากมายจากพระวาจาของพระเป็นเจ้า

ข. ถ้าหากเราประยุกต์นิทานเปรียบเทียบกับผู้ประกาศพระวาจาของพระเป็นเจ้า  กล่าวคือกับพวกอัครธรรมทูต และสานุศิษย์ของพระเยซูเจ้า  เราจะพบว่าพระเยซูเจ้ามีพระประสงค์จะให้กำลังใจพวกเขา อย่าให้เขาต้องท้อแท้ใจในการประกาศพระวาจาสำหรับอัครธรรมทูต พระเยซูเจ้าเป็นสาร เป็นผู้ที่ฉลาดปราดเปรื่องที่สุด เป็นผู้ที่น่าพิศวงที่สุด แต่ถ้ามองอีกด้านหนึ่ง  พวกพระสงฆ์และพวกคัมภีราจารย์เป็นปฏิปักษ์กับพระองค์  หาทางจะกำจัดพระองค์เมื่อสบโอกาส เป็นความจริงที่ประชาชนเป็นอันมากมาฟังพระวาจาของพระองค์ แต่ส่วนใหญ่ไม่ได้กลับใจหรือเปลี่ยนวิถีดำเนินชีวิตให้ใกล้ชิดกับพระมากยิ่งขึ้น หลายๆ คนติดตามพระองค์เพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว เช่น เพื่อให้พระองค์รักษาพวกเขาให้พ้นจากโรคภัยไข้เจ็บและอำนาจของปีศาจ และเมื่อได้รับพระคุณแล้วก็ลืมพระองค์เลย พวกเรารู้สึกว่ายิ่งทีพระองค์ยิ่งสร้างศัตรูมากขึ้น  และพวกเขารู้สึกผิดหวังมาก (ศิษย์ที่ไปเอมมาอุส)

แต่พระองค์ต้องการเตือนพวกเขาในการเล่านิทานเปรียบเทียบว่า ไม่ต้องกลัว เพราะการประกาศพระวาจานั้นจะเกิดผลแน่นอน  แม้จะมีอุปสรรคจากพวกฟาริสี จะมีเมล็ดข้าวที่จะตกลงในเนื้อดินดี และจะให้ผลอย่างอุดมสมบูรณ์ แม้จะต้องสูญเสียเมล็ดข้าวที่ตกลงตามข้างทางบ้าง  ในที่มีดินน้อยหรือในกอหนามบ้างก็ตาม ไม่มีชาวนาคนไหนดอกที่คิดว่าตัวจะได้รับผลประโยชน์จากเมล็ดข้าวทุกเมล็ดที่หว่านลงไป  แต่ถึงกระนั้นเขาก็คงหว่านอยู่ดี ทั้งๆ ที่รู้ว่าเขาจะไม่ได้รับผลเต็มหน่วย แต่เขาก็หวังว่าจะได้รับผลประโยชน์บ้างอย่างแน่นอน ไม่มีพ่อค้าคนไหนที่คิดว่าถ้าหากไม่ได้กำไรมากๆ เขาก็ไม่ค้าขาย ทุกคนคิดว่าขอให้มีกำไรเถอะ น้อยหรือมากก็ช่าง  เขาจะลงมือค้าขายอยู่เอง ยิ่งกว่านั้นแม้เขาจะต้องเสี่ยงบ้าง เขาก็ยอมเสี่ยงด้วย

อนึ่ง ในการประกาศพระวาจานั้น ส่วนใหญ่เราไม่เห็นผลและเราไม่สามารถตามผลได้  หลายครั้งเราทำความดีโดยไม่รู้ตัว  ไม่ว่าด้วยวาจาหรือกิจการของเรา บางคนเปลี่ยนแนวทางชีวิตเพราะเห็นตัวอย่างหรือได้ยินคำพูดของเรา  แต่เราไม่เคยทราบ
ที่สุด เมื่อชาวนาหว่านเมล็ดข้าว เขาไม่ได้หวังผลทันที เขาต้องรอเป็นเวลาหลายเดือนกว่าข้าวจะเจริญเติบโตจนออกรวงได้ เช่นเดียวกัน  คำเทศน์ของเราใช่ว่าจะบังเกิดผลในจิตใจผู้ฟังทันทีทันใด หลายๆ ครั้ง  เราเคยอบรมสั่งสอนเด็ก แต่ว่ากว่าจะเห็นผลบางทีเขาเป็นผู้ใหญ่แล้ว

เรามักจะใจร้อน เมื่อทำอะไรแล้วอยากเห็นผลเร็วๆ พอไม่เห็นผลเราก็ท้อแท้ใจ  แต่พระอาจารย์ของเราสอนให้เรารอคอยด้วยความพากเพียร บางคนพอเริ่มฝึกหัดฤทธิ์กุศล  ก็อยากจะให้บรรลุถึงความศักดิ์สิทธิ์เร็วๆ ครั้นเห็นว่าตัวยังมีข้อบกพร่องและไม่สู้ก้าวหน้าเท่าไร  ก็ท้อถอยหมดกำลังใจ
 

พระวรสาร


1.
มธ 13:1-9 นิทานเปรียบเทียบนี้ยังสอนด้วยว่าไม่ใช่คนที่อยู่นอกพระศาสนจักรเท่านั้นที่เอาตัวรอดได้ยาก  แต่แม้คนที่อยู่ในพระศาสนจักร  แม้คนที่ฟังพระวาจาของพระเป็นเจ้า  ถ้าหากไม่ประพฤติตามก็ไม่อาจเอาตัวรอดได้ (เมล็ดที่ตกข้างทาง ตกบนดินน้อย  และบนกอหนาม) ไม่ใช่ทุกคนที่กล่าวกับเราว่า พระเจ้าข้า พระเจ้าข้า จะเข้าในอาณาจักรสวรรค์ แต่ผู้ที่ปฏิบัติตามน้ำพระทัยของพระบิดาเจ้าในสวรรค์ต่างหาก (มธ 7:21)

2. มธ 13:10 (Garofals) ปกติจุดประสงค์ของการเล่านิทานเปรียบเทียบ  เพื่อยกตัวอย่างและอธิบายให้เห็นแล้ว เช่น (ลก 10:25-37) ชาวสะมาเรียผู้ใจดี) แต่ในที่นี้พระองค์เล่านิทานเปรียบเทียบที่ไม่มีใครเข้าใจเท่าไร  ทั้งนี้ก็เพราะว่า

ก. การพูดถึงอาณาจักรพระเจ้าในแคว้นกาลิลี เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน ต้องใช้ความระมัดระวังมาก เพราะอาจจะเป็นการยุยงชาวกาลิลีที่มีเลือดรักชาติให้ก่อการกบฏขึ้นได้  เพราะเขาต้องการสลัดแอกจากชาวโรมัน และเขาอาจเข้าใจว่า เวลาที่อาณาจักรพระเจ้ามาถึงแล้ว อาณาจักรสวรรค์ทางโลก

ข. แต่พระองค์ก็ยังอยากพูดถึงเรื่องอาณาจักรสวรรค์ เพราะเป็นเรื่องที่สำคัญมาก จุดประสงค์ของการเสด็จมาของพระองค์ก็เพื่อประกาศอาณาจักรสวรรค์นี่เอง


ผู้ฟังที่อยากเข้าใจ เนื่องจากนิทานเปรียบเทียบมีใจความคลุมเครือก็เข้ามาหาให้พระองค์อธิบาย ส่วนพวกที่ไม่สนใจก็จากพระองค์ไปโดยที่ไม่เข้าใจเท่าไร หรืออาจจะเข้าใจผิด พวกเขาขาดความสุภาพ

3. อาณาจักรสวรรค์ของพระเป็นเจ้าเน้นเรื่องที่สำคัญที่สุด (Central Themes) ในนิทานเปรียบเทียบอาณาจักรสวรรค์จะมาถึง (พระเป็นเจ้าจะครอบครองดวงใจมนุษย์) แม้จะมีอุปสรรคใดๆ ก็ตาม  เปรียบเทียบผลการเก็บเกียวอย่างแน่นอน  แม้ว่าจะมีอุปสรรคจะเนื้อดินชนิดต่างๆ
 

ที่มา : แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ