วัดธรรมาสน์นักบุญเปโตร

84 ม.3 ถ.จรัลสนิทวงศ์ 13
แขวงคลองขวาง เขตภาษีเจริญ
จ. กรุงเทพฯ  10160
-------------------------------------------------------------------

02-865-2371-5

ตารางมิสซา

02-865-2372

แผนที่การเดินทาง

รูปวัด   800x600 1024 x768

บาทหลวงยอห์น วิชชุกรณ์ เกตุภาพ

 

      ประวัติวัดธรรมาสน์นักบุญเปโตรเท่าที่ผมพยายามค้นหาตามหนังสือเก่าๆ รวมทั้งที่มีผู้รู้บางท่านได้จัดทำขึ้น ผมพบว่าในหนั งสือสารคาทอลิก (Newsletter) ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ.1967 ได้มีผู้ที่ใช้นามปากกาว่า "ผู้ใกล้ชิด" ได้เขียนประวัติย่อของวัดนี้ไว้เป็นครั้งแรกอีก 12 ปี ต่อมาคือในปี ค.ศ.1979 ในหนังสืออุดมศานต์ปีที่ 59 ฉบับที่ 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1979 โอกาสสมโภช 25 ปีของวัดหลังปัจจุบันนับตั้งแต่สร้างขึ้นมาในปี ค.ศ.1954 ก็ได้มีผู้ที่ใช้นามปากกาว่า "ลูกวัดบางเชือกหนัง" รวบรวมประวัติวัดนี้ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง คำนำของประวัติย่อทั้งสองนี้ได้พูดในทำนองเดี ยวกันว่าเอกสารในการเขียนประวัติวัดนี้ไม่มี จึงต้องอาศัยทะเบียนศีลล้างบาปบ้าง หรือไม่ก็สอบถามผู้อาวุโสของวัดบ้าง ต่อมาคุณพ่อวิกตอร์ ลาร์เก ได้พยายามรวบรวมเอกสารทั้งที่เป็นภาษาไทยและต่างประเทศ พร้อมทั้งได้ตรวจสอบทะเบียนศีลล้างบาปและนำมาเขียนประวัติย่อๆ ของวัดนี้ขึ้นในหลักฐานเล่มที่ 10 ที่มีชื่อว่าวัดต่างๆ
 
 
           ในอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ หนึ่งในชุดหลักฐาน 10 เล่ม ที่คุณพ่อและคณะได้ทำ ขึ้นมา รวมทั้งได้ทำตารางบอกถึงรายชื่อพระสงฆ์ต่างๆ และระยะเวลาที่เคยมาดูแล มาประจำ และมาช่วยที่วัดนี้จนถึงสมัยที่มีเจ้าอาวาสประจำโบสถ์ ตั้งแต่องค์แรกจนถึงองค์ปัจจุบัน เมื่อผมได้ตรวจสอบประวัติทั้ง 3 ประวัตินี้แล้ว ก็พบว่ามีบางตอนที่สมควรจะเพิ่มเติม และบางตอนที่สมควรจะตัดทิ้งไป เพราะเหตุผลที่ว่าไม่ตรงกับความเป็นจริง เวลาเดียวกันก็นำเอาหลักฐานเท่าที่มีมาเรียบเรียงเสียใหม่ เพื่อให้ประวัตินี้สมบูรณ์และถูกต้องมากที่สุด การสอบถามผู้อาวุโสบางท่านก็เป็นสิ่งจำเป็นที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
 
 
           อย่างไรก็ตามก็คงมีบางสิ่งที่อาจผิดพลาดได้ เพราะประวัติศาสตร์ไม่อาจหวนกลับมาได้อีก ปัญหาเกิดจากการขาดการบันทึก และขาดเอกสารที่เพียงพอ ผมจึงยึดถือประวัติที่คุณพ่อลาร์เกเขียนเป็นหลัก เพราะท่านได้ใช้เอกสารเป็นแนวทางในการเขียน ผมต้องขออภัยไว้ล่วงหน้าหากจะมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นในประวัตินี้ โปรดสังเกตด้วยว่าในการเขียนประวัติวัดธรรมาสน์นักบุญเปโตรคร ั้งนี้ ผมเขียนในรูปแบบบรรยายเหตุการณ์และเรื่องราวตามลำดับเวลา ไม่ใช่เป็นการตีความหลังศึกษาประวัติศาสตร์ ทั้งนี้เพื่อจะได้มีประโยชน์ในการศึกษาต่อไป ผมขอแบ่งประวัติวัดนี้ออกเป็น 2 สมัย ดังนี้
 
สมัยที่อยู่ภายใต้การดูแลของวัดอื่น
สมัยที่ปกครองตนเอง
 
1. สมัยที่อยู่ภายใต้การดูแลของวัดอื่น (ค.ศ.1885 – ค.ศ.1952

 คุณพ่อแดส์ซาลส์ (Desalles) เจ้าอาวาสวัดกาลหว่าร์ในสมัยนั้นได้เริ่มส่งคุณพ่อปลัดของวัดมาบุกเบิกกลุ่มคริสตชนที่บางเชือกน ี้เป็นคนแรก จากรายงานประจำปีของพระสงฆ์คณะ มิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีสปี ค.ศ.1889 หน้า187 ได้รายงานว่า "ที่บางเชือกหนังในเขตของกรุงเทพฯ คุณพ่อแดส์ซาลส์กำลังสร้างวัดไม้ขึ้นมาหลังหนึ่ง" ซึ่งจนถึงตอนนั้นที่บางเชือกหนังมีแต่เพียงโรงสวดทำด้วยไม้ไผ่ ซึ่งแสดงว่าในระหว่างปี ค.ศ.1885-1888 ได้มีโรงสวดไม้ไผ่อยู่แล้ว วัดหลังแรกจึงถูกสร้างขึ้นโดยคุณพ่อแดส์ซาลส์นี้เอง สร้างเสร็จใช้งานได้ในปี ค.ศ.1890 ในระหว่างปี ค.ศ.1888-1890 ปลัดวัดกาลหว่าร์อีกองค์หนึ่งได้แก่ คุณพ่อกิโยม กิ๊นด า  ครู้ส พระสงฆ์ลูกครึ่งไทย-โปรตุเกส เป็นผู้มาดูแลรักษาการณ์ที่วัดนี้ เพราะเหตุว่าคุณพ่อกียู ถูกย้ายไปประจำที่วัดบางปลาสร้อย วัดหลังแรกนี้ถูกยกถวายแด่ "พระตรีเอกภาพ" วัดที่บางเชือกหนังนี้จึงได้ชื่อว่า "วัดพระตรีเอกานุภาพ" ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา นอกจากนี้คุณพ่อแดส์ซาลส์ ยังได้สร้างบ้านพักพระสงฆ์ขึ้นมาด้วย วัดพระตรีเอกานุภาพนี้จึงอยู่ภายใต้การดูแลของวัดกาลหว่าร์ พระสงฆ์จากวัดกาลหว่าร์ก็สับเปลี่ยนกันมาดูแลวัดนี้
 
 
             จนมาถึงปี ค.ศ.1902 เราทราบแต่เพียงว่ามีพระสงฆ์องค์หนึ่งชื่อ คุณพ่อยอแซฟ เป็นพระสงฆ์ชาวจีนประจำอยู่ที่นี่ เพราะเหตุว่ามีบันทึกอยู่ในประวัติของคุณพ่อดือรังด์และคุณพ่อฟูยาต์ว่า "พระคุณเจ้าเวย์ ประมุขมิสซัง ส่งท่านไปที่วัดแม่พระลูกประคำ เพื่อเรียนภาษาจีนแคระพร้อมกับคุณพ่อฟูยาต์ เจ้าอาวาสส่งท่านทั้งสองไปอยู่วัดสาขาที่บางเชือกหนัง คุณพ่อยอแซฟ พระสงฆ์ชาวจีน เป็นอาจารย์สอนท่าน"
 
         เราไม่ทราบว่าคุณพ่อยอแซฟผู้นี้เป็นใคร เพราะไม่มีที่ใดบันทึกเรื่องราวของท่านมากไปกว่านี้แต่ท่านคงได้ประจำอยู่ที่วัดนี้ เพราะต้องดูแลสัตบุรุษชาวจีนที่อาศัยอยู่ที่บางเชือกหนัง ระหว่างที่คุณพ่อฟูยาต์และคุณพ่อดือรังด์มาเรียนภาษาจีนที่วัดบางเชือกหนัง ก็ได้ช่วยงานที่วัดนี้ไปด้วย อย่างไรก็ตามคุณพ่อทั้งสองก็ได้อยู่เรียนภาษาจีนที่นี่เพียง 1 ปี เพราะในปี ค.ศ.1903 คุณพ่อฟูยาต์ก็ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดกาลหว่าร์ และคุณพ่อดือรังด์ไปเป็นปลัดวัดเพลง

         ในระหว่างปี ค.ศ.1907-1910 คุณพ่อเอเตียน หรือที่เรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า แอสเตวัง เหวี้ยน โชติผล เป็นพระสงฆ์จากจันทบุรี ได้รับแต่งตั้งเป็นปลัดวัดกาลหว่าร์และเป็นผู้ดูแลวัดบางเชือกหนังและวัดหัวตะเข้ คุณพ่อจึงเดินทางไปๆ มาๆ เพื่อดูแลทั้ง 2 วัดนี้ และตั้งแต่ปี ค.ศ.1910 จนถึงปี ค.ศ.1912 คุณพ่อเอเตียนได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ดูแลประจำที่วัดบางเชือกหนัง เราจะพบว่าบัญชีศีลล้างบาปของวัดบางเชือกหนังนี้เริ่มต้นในสมัยของคุณพ่อผู้นี้ในปี ค.ศ.1910

         การมาประจำอยู่ที่วัดเช่นนี้ ยังมิใช่หมายความว่าวัดบางเชือกหนังเป็นอิสระจากวัด กาลหว่าร์ เพราะยังคงต้องอยู่ภายใต้การดูแลของวัดกาลหว่าร์อยู่ดี ในระหว่างนี้เองคุณพ่อ เอเตียน ก็มีพระสงฆ์ผู้ช่วยองค์หนึ่งอยู่ด้วย ได้แก่ คุณพ่อดาเนียลองค์เก่า มาอยู่ช่วยในฐานะปลัด ในปี ค.ศ.1912 คุณพ่อเอเตียนได้รับมอบหมายให้ไปแพร่ธรรมที่โคราช คุณพ่อดาเนียลจึงได้รับมอบหมายใ ห้เป็นผู้ดูแลวัดนี้ประจำต่อไป โดยมีคุณพ่อแบลามี (Bellamy) เป็นผู้ช่วย ซึ่งคุณพ่อแบลามีก็อยู่ช่วยได้เพียงไม่กี่เดือนก็ต้องย้ายไปช่วยดูแลวัดปากลัด และเนื่องจากการแพร่พระวรสารสมัยนั้นกำลังขยายตัวออกอย่างรวดเร็วพระสงฆ์มิชชันนารี และพระสงฆ์พื้นเมืองก็มีไม่เพียงพอ ในระหว่างปี ค.ศ.1916 และ ปี ค.ศ.1917 คุณพ่อดาเนียลก็ต้องไปช่วยงานที่วัดปากลัดและวัดปากน้ำด้วย
 
 
         ดังที่กล่าวแล้ว เนื่องจากงานแพร่ธรรมมีมากขึ้นเรื่อยๆ ตามสถานที่ต่างๆ ขาดแคลนพระสงฆ์ที่จะไปทำงาน คุณพ่อดาเนียลเองก็ต้องไปทำงานที่อื่น ดังนั้นในระหว่างปี ค.ศ.1917-1918 คุณพ่อกีย ูซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดกาลหว่าร์ จึงต้องเป็นผู้มาดูแลวัดบางเชือกหนังนี้ด้วยตนเอง ในระหว่างระยะเวลานี้เองที่สงครามโลกครั้งที่1 ได้เกิดขึ้นในภาคพื้นยุโรป บรรดามิชชันนารีหลายองค์จำต้องกลับประเทศฝรั่งเศส เพื่อช่วยเหลือประเทศชาติตามกฎ หมายของเขา เหตุนี้เองงานแพร่ธรรมในประเทศสยามจ ึงมีความยากลำบากมากขึ้นเป็นหลายเท่าหลังจากที่พวกมิชชันนารีฝรั่งเศสเข้าเกณฑ์ทำสงครามกลับมาแล้ว วัดคอนเซปชัญก็ยังขาดเจ้าอาวาส คุณพ่อกาบริแอล-อัลฟรองซ์ ฮุย (Houille) ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดคอนเซป ชัญ โดยพ่วงวัดบางเชือกหนังเข้าไปด้วย
 
         ในประวัติของคุณพ่อฮุยซึ่งจัดทำขึ้นโดยคณะสงฆ์มิสซังต่างประเทศเขียนไว้ว่า "กลุ่มคริสตังนี้อยู่ริมคลอง ห่างจากเมืองหลว งไม่กี่กิโลเมตร ดังนั้น ท่าน (คุณพ่อฮุย) จึงเป็นเจ้าอาวาสในเมืองบ้าง เจ้าอาวาสในชนบทบ้าง ท่านรู้สึกชอบบางเชือกหนังมากกว่า เพราะทำให้ท่านคิดถึงวัดหวายเหนียวของท่านในสมัยก่อน ท่านรู้สึกสบายใจอยู่กับชาวชนบทมากกว่าอยู่กับชาวเมือง ซึ่งหลายคนมีตำแหน่งสำคัญที่ต้องทำงานถึงในพระราชสำนักของพระเจ้าแผ่นดินสยาม"
 
 
         ด้วยเหตุนี้เองจึงเป็นการเริ่มต้นความสัมพันธ์ระหว่างวัดบางเชือกหนัง และวัดคอน เซปชัญเป็นครั้งแรก แต่ก็ยังไม่ได้หมายความว่าวัดบางเชือกหนังอยู่ภายใต้การดูแลของวัดคอนเซปชัญอย่างเด็ดขาด ดังจะเห็นต่อไป คุณพ่อฮุยได้ดูแลวัดบางเชือกหนังเป็นเวลานานถึง 10 ปี จะสังเกตได้ว่าระยะเวลาที่ผ่านมานั้น พระสงฆ์ที่มาดูแลวัดบางเชือกหนังจะดูแลอยู่ได้นานเพียง 2-3 เดือน หรืออย่างมากก็ 2-3 ปี มีเพียงคุณพ่อดาเนียลองค์เก่าเท่านั้นที่อยู่นานถึง 5 ปี ด้วยเหตุนี้เองตลอดระยะเวลา 10 ปี ที่บางเชือกหนัง คุณพ่อฮุยได้สร้างความเจริญก้าวหน้าให้แก่วัดบางเชือกหนังมิใช่น้อยเลย
 
 
         นอกจากดูแลวัดและอภิบาลสัตบุรุษเป็นอย่างดีแล้ว ท่านเห็นว่าจำนวนเด็กๆ ในหมู่บ้านทวีมากขึ้นเรื่อยๆ การศึกษาเป็นเรื่องสำคัญ ท่านจึงได้สร้างโรงเรียนขึ้นหลังหนึ่ง และตั้งชื่อโรงเรียนว่า "โรงเรียนพระตรีเอกานุภาพ" สอนถึงชั้นประถม โรงเรียนหลังนี้พระสังฆราช   เรอเนแปร์รอส ได้ทำพิธีเสกในโอกาส ที่มาโปรดศีลกำลัง คุณพ่อฮุยดูแลวัดบางเชือกหนังตั้งแต่ปี ค.ศ.1918-1928 ความรู้ทางด้านภาษาไทยและการเทศน์ของท่านมีชื่อเสียงไปทั่ว ท่านป่วยด้วยโรคหัวใจ และสิ้นใจที่โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ในวันที่ 24 กรกฎาคม ค.ศ.1928 หลังจากที่พระได้ยกคุณพ่อฮุยไปแล้ว คุณพ่อกียูและคุณพ่อยออากิม เทพวันท์ ประกอบกิจ ซึ่งเป็นปลัดอยู่ที่วัดกาลหว่าร์ ก็ผลัดกันมาดูแลวัดบางเชือกหนังเป็นเวลา 1 ปี คุณพ่อยออากิมผู้นี้ยังต้องไปช่วยดูแลวัดหัวตะเข้และวัดท่าจีนด้วย ในที่สุดพระคุณเจ้าแปร์รอสก็ได้แต่งตั้งคุ ณพ่อปาสกัล (ฟิลิป ลิฟ) เป็นผู้มาดูแลประจำที่วัดบางเชือกหนัง โดยย้ายมาจากวัดโคกวัด จะสังเกตเห็นว่าการมาดูแลวัด บางเชือกหนังครั้งนี้ค่อนข้างจะเป็นอิสระจากวัดกาลหว่าร์ แต่ขณะเดียวกันก็มาขึ้นอยู่กับวัดซางตาครู้สแทน ตอนนั้นคุณพ่อกิ๊น ดาครู้ส ซึ่งเคยดูแลวัดบางเชือกหนังมาก่อนเป็นเจ้าอาวาสอยู่ ท่านก็สนับสนุนงานของคุณพ่อปาสกัลเป็นอย่างดี ในปี ค.ศ.1933 คุณพ่อปาสกัลล้มป่วยบ่อยครั้ง จนไม่สามารถทำหน้าที่ได้

         ในช่วงเวลาสั้นๆ นี้เอง ที่วัดบางเชือกหนังได้รับเกียรติที่มีคุณพ่อผู้ศักดิ์สิทธิ์องค์หนึ่งคือ คุณพ่อนิโคลาส ชุนกิม กฤษบำรุง หรือ บุญเกิด กฤษบำรุง มาดูแลแทนคุณพ่อปาสกัล ประจวบเหมาะกับในปี ค.ศ.1933 นี้เอง สมเด็จพระสันตะปาปาปีโอ ที่ 11 ได้ประกาศให้เป็นปีศักดิ์สิทธิ์ มอบพระคุณการุณย์ครบบริบูรณ์แก่คริสตังทั่วโลก ในสมัยนั้นยังคงเรียกว่าพระคุณยูบีเลว คริสตังวัดบางเ ชือกหนังจึงได้รับพระคุณนี้ด้วยความเอาใจใส่ของคุณพ่อนิโคลาส แต่คุณพ่อนิโคลาสก็ไม่สามารถอยู่ดูแลวัดนี้ได้นานนัก เนื่องจากคุณพ่อต้องรับผิดชอบงานแพร่ธรรมทางเชียงใหม่และลำปาง คุณพ่อปาสกัลเสียชีวิตต่อมาอีก 2 ปีคือในปี ค.ศ. 1935

         ในสมัยนั้นวัดกาลหว่าร์มีขอบเขตในการดูแล มีความรับผิดชอบต่อวัดหลายๆ วัดด้วย กัน แต่จำนวนพระสงฆ์นั้นมีไม่เพียงพอ ประกอบกับวัดบางเชือกหนังก็เคยอยู่ภายใต้การเอาใจใส่ของวัดคอนเซปชัญมาก่อน พระคุณเจ้าแปร์รอสจึงมอบวัดบางเชือกหนังให้ อยู่ภายใต้การดูแลของวัดคอนเซปชัญ ดังนั้นต่อจากคุณพ่อปาสกัล คุณพ่ออังเดร พลอย โรจนเสน ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดคอนเซปชัญ ก็เป็นผู้มาดูแลวัดนี้ ในระยะนี้เองที่การปกครองวัดนี้ค่อนข้างจะหละหลวม เพราะเหตุว่าคุณพ่ออังเดร พลอย มีงานมาก คุณพ่อจึงต้องส่งปลัดของท่านมาช่วยดูแล จะเห็นว่าในปี ค.ศ.1935 นี้เอง มีคุณพ่อถึง 4 องค์ ผลัดกันมาดูแลวัดบางเชือกหนังนี้ ได้แก่ คุณพ่อเฟรเดริก วิศิษฏ์ อุ่น จิตต์ชอบค้า, คุณพ่ออัมบรอซิโอ กิ๊น มิลลุกูล หรือที่เรียกกันว่าพ่อเตี้ย, คุณพ่อเซแลสติโน และคุณพ่อร าฟาแอล บุญมี รักสงบ การเปลี่ยนแปลงเช่นนี้คงไม่ดีแน่สำหรับสัตบุรุษบางเชือกหนัง ดังนั้นในเดือนมิถุนายน ค.ศ.1935 ทางมิสซังจึงแต่งตั้ง คุณพ่อเฟรเดริก อุ่น จิตต์ชอบค้า ซึ่งเวลานั้นอยู่ที่วัดคอนเซปชัญให้เป็นผู้ดูแลประจำที่วัดบางเชือกหนัง คุณพ่อเฟรเดริก อุ่น อยู่ประจำที่วัดนี้ตั้งแต่ปี ค.ศ.1935 จนถึงปี ค.ศ.1951 รวมทั้งสิ้น 16 ปี นับเป็นพระสงฆ์ที่อยู่ประจำที่วัดนี้นานที่สุด คุณพ่อได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนของวัดใหม่ให้ชื่อว่า "โรงเรียนตรีจิตวิทยา" สอนทั้งภาษาไทยและจีนโดยมีนายจอก จิตต์ชอบค้า เ ป็นผู้จัดการ และนายสง่า เอกบุสย์ เป็นครูใหญ่ ในสมัยของคุณพ่อเฟรเดริก อุ่น นี้เอง ทางวัดบางเชือกหนังได้มีโอกาสสมโภชวัดครบรอบ 50 ปี ในปี ค.ศ.1940 จากการสอบถามผู้อาวุโสของวัด เราทราบว่ามีการจัดงานใหญ่โตมาก มีทั้งการแสดงและการละเล่นต่างๆ เป็นที่จดจำของทุกคนที่มาร่วมฉลอง มีน้อยคนแล้วที่ยังคงมีชีวิตอยู่เพื่อที่จะร่วมสมโภชวัดโอกาสครบรอบ 100 ปี
 
 
         เนื่องจากสุขภาพของคุณพ่อเฟรเดริก อุ่น ไม่แข็งแรง ป่วยบ่อยๆ ในระหว่างปี ค.ศ.1948-1949 คุณพ่อมาร์แซล จงสวัสดิ์ อารีอร่าม อาวาสวัดคอนเซปชัญเวลานั้น จึงมาช่วยงานที่วัดบางเชือกหนัง นอกจากนี้ในระหว่างเดือนมีนาคมจนถึงเดือนสิงหาคม ค.ศ.1951 คุณพ่อเฟรเดริกก็ล้มป่วยลงอีก คุณพ่อบอนิฟาสจึงมารักษาการณ์แทน
         ในเดือนสิงหาคม ค.ศ.1951 พระสังฆราชหลุยส์ โชแรง ประมุขมิสซัง ได้สั่งให้ปิดวัดบางเชือกหนัง จะเป็นด้วยเหตุผลประกา รใดนั้น ไม่ปรากฏในหลักฐานแน่ชัด ในประวัติวัดธรรมาสน์นักบุญเปโตรที่คุณพ่อลาร์เกเขียน ได้ให้ข้อสันนิษฐานไว้ว่า คงจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับที่ดินของวัด เป็นอันว่าวัดบางเชือกหนังนี้ไม่อาจใช้เป็นสถานที่ประกอบศาสนพิธีกรรม พร้อมทั้งไม่มีพระสงฆ์มาประจำด้วยเป็นเวลา 2 เดือน แค่นี้ก็อาจเป็นเครื่องหมายที่ดีสำหรับสัตบุรุษวัดบางเชือกหนังด้วย พระญาณสอดส่องของพระได้จัดเตรียมสิ่งที่ดีกว่าเสมอสำหรับผู้ที่รักพระองค์ เพราะจุดนี้เอง นับเป็นจุดเริ่มต้นของสมัยที่สองของวัด นั่นคือสมัยที่วัดนี้จ ะปกครองตนเองโดยไม่ขึ้นกับวัดใดอีกต่อไป.
 



2. สมัยปกครองตนเอง (ค.ศ.1952-ปัจจุบัน)

           เราอาจพูดได้ว่าสมัยนี้เป็นสมัยของการเปลี่ยนแปลง เพราะเหตุว่าในมิสซังกรุงเทพฯ มีการเปลี่ยนแปลงอยู่หลายประการด้วยกันฯพณฯ โชแรง เป็นประมุขมิสซังสืบต่อจาก ฯพณฯ แปร์รอส ตั้งแต่ปี ค.ศ.1947 ประกอบกับในมิสซังมีวัดต่างๆ มาก รวมทั้งมี มิชชันนารีและพระสงฆ์พื้นเมืองเพิ่มขึ้นมามากพอสมควร การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้นับว่าเป็นผลดีต่อพระศาสนาจักรทั้งสิ้น รวมทั้งเป็นผลดีต่อวัดบางเชือกหนังด้วย
         หลังจากวัดถูกปิดมาเป็นเวลา 2 เดือนในปี ค.ศ.1951 ฯพณฯ โชแรง เห็นว่าถึงเวลาอันสมควรที่จะต้องเปิดวัดเพื่อเห็นแก่ความเชื่อของสัตบุรุษวัดนี้ จึงได้แต่งตั้งคุณพ่อวิกตอร์ลาร์เก ให้มาเปิดวัดพร้อมทั้งเตรียมต้อนรับเจ้าวัดใหม่ด้วย ทั้งนี้เป็นเพราะ ว่า ฯพณฯ โชแรง มิใช่เพียงแต่เล็งเห็นว่าถึงเวลาจะเปิดวัดใหม่เท่านั้น แต่ยังสมควรยกระดับวัดนี้ให้อยู่ในฐานะปกครองตนเอง โดยมีเจ้าอาวาสของตนเอง และไม่ต้องขึ้นหรือพึ่งพาความช่วยเหลือจากวัดใดวัดหนึ่งอีกต่อไปด้วย
 
 
         คุณพ่อลาร์เก มาเตรียมตัวต้อนรับเจ้าวัดใหม่ที่บางเชือกหนังประมาณ 3 เดือนในระหว่างระยะเวลาอันสั้นนี้ เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม ค.ศ.1951 ได้มีการทำพระคุณยูบีเลวที่วัดบางเชือกหนัง เช่นเดียวกับที่วัดอื่นๆ ในสมัยนั้น คุณพ่อลาร์เกและคุณพ่ออาแ มสตอย ได้เป็นผู้เทศน์ในการทำพระคุณยูบีเลวครั้งนี้ ตลอดเวลา 4 วัน ทั้งเช้าและค่ำ วัดเนืองแน่นไปด้วยสัตบุรุษซึ่งมาฟังเทศน์และสวดภาวนาให้คนบาปกลับใจ เช้าวันอาทิตย์ได้มีสัตบุรุษมารับศีลมหาสนิทเป็นจำนวนถึง 400 คน ในหนังสือสารสาสน์ ฉบับวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1952 หน้า 78 ได้บรรยายเรื่องนี้ไว้อย่างละเอียด พร้อมทั้งได้ลงรูปถ่ายที่น่าสนใจมากไว้ด้วย เวลาเย็นของวันอาทิตย์นั้นเอง ทุกคนต่างปลื้มปิติยิ่งขึ้นไปอีก เมื่อพระรูปแม่พระฟาติมาเสด็จมาถึงเวลาตอนเย็น ทำให้ทุกคนตื่นเต้นอย่างถึงขนาดส ัตบุรุษได้พร้อมใจกันอดนอนสวดภาวนาตลอดทั้งคืน รุ่งขึ้นวันจันทร์เวลา 9.00 น. เรือลำหนึ่งได้มาเทียบท่าหน้าวัด นำพระสงฆ์มาจนเต็มลำเรือ แล้วจึงเริ่มมิสซาขับเป็นมิสซาโมทนาพระคุณ วัดบางเชือกหนังเล็กเกินไปสำหรับผู้คนที่มาวัดในวันนั้น บางเชือกหนังกลับสงบเงียบตามเดิมเมื่อพระรูปแม่พระฟาติมาเสด็จกลับแล้ว นับเป็นเกียรติประวัติและเป็นบุญของชาวบางเชือกหนัง ที่ได้มีโอกาสต้อนรับแม่พระฟาติมาอย่างใกล้ชิดในครั้งนั้น
 
 
         ความศรัทธาอย่างแรงกล้าของสัตบุรุษบางเชือกหนังเช่นนี้เอง คงทำให้พระสังฆราช โชแรง เห็นสมควรที่จะให้วัดนี้ปกครองตนเองเสียที ในที่สุดในเดือนมกราคม ค.ศ.1952 คุณพ่อลาร์เกและสัตบุรุษบางเชือกหนัง จึงได้จัดพิธีต้อนรับคุณพ่อเจ้าอาวาสองค์แรกอย่างเป็นทางการขึ้นได้แก่ คุณพ่อวิลเลียม ตัน ซึ่งเป็นพระสงฆ์พื้นเมือง และจบการศึกษามาจากกรุงโรม แต่เป็นที่น่าเสียใจท ี่คุณพ่ออยู่กับชาวบางเชือกหนังเป็นเวลาเพียง 1 ปีครึ่งเท่านั้น อย่างไรก็ตามงานที่คุณพ่อได้ทำไว้ที่วัดนี้มิได้น้อยเหมือนกับเวลาเลย
         งานแรกที่คุณพ่อวิลเลียมทำได้แก่ ต่อระเบียงวัดสองข้าง ปรับปรุงภายในวัดให้สวยงาม ที่หน้าวัดมีสะพานข้ามคลอง เป็นสะพานไม้อยู่ในสภาพทรุดโทรม คุณพ่อจึงบอกบุญชาวบ้านท่านได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี

             แม้จากคนต่างศาสนาก็ให้ความร่วมมือ คุณจุลศิริ กาญจนพิบูลย์ สมาชิกสภาตำบลในขณะนั้น กับคุณโปกั๊ก แซ่ลี้ เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการบอกบุญครั้งนั้น ด้วยเหตุนี้ภายในปีแรกที่คุณพ่อวิลเลียมอยู่ที่นี่ ก็มีงานฉลองเปิดสะพานใหม่กันอย่างมโหฬาร ทราบว่าคุณพ่อองค์หนึ่งซึ่งเป็นเพื่อนเก่าของคุณพ่อวิลเลียม ได้ส่งภาพยนตร์เรื่องโคว-วา-ดีส ฉายในงาน

 นอกจากนี้ คุณพ่อวิลเลียม ยังได้สร้างโรงเรียนเพิ่มอีกหลังหนึ่ง เพราะมีเด็กเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ คุณพ่อได้ส่งเสริมการเลี้ยงไก่เลี้ยงหมู ทั้งยังได้เลี้ยงเป็นแบบอย่างด้วย และแล้วในเดือนกันยายน ค.ศ.1953 คุณพ่อก็ต้องย้ายไปรับหน้าที่ใหม่ที่วัดอัสสัมชัญ ในขณะที่วัดบางเชือกหนังได้มีคุณพ่อเจ้าอาวาสองค์ที่ 2 ได้แก่ คุณพ่อยัง ปืแอร์ เปรดาญ (Prdagne) มิชชันนารีหนุ่มจากคณะสงฆ์ M.E.P. โครงการที่สำคัญโครงการหนึ่งของคุณพ่อวิลเลียม ตัน ได้แก่ โครงการสร้างวัดใหม่แทนวัดหลังเก่าที่ทรุดโทรมไปตามกาลเว ลา ความดำริของคุณพ่อวิลเลียม ตัน ถูกทำให้เป็นจริงเป็นจังขึ้นมาในสมัยของคุณพ่อเปรดาญนี้เอง

         เป็นที่น่าสังเกตว่า แม้คุณพ่อเปรดาญจะเป็นสงฆ์มิชชันนารีใหม่ เพิ่งเดินทางเข้ามาในประเทศไทย ประสบการณ์ในประเทศไทยยังมีน้อยแต่ก็ได้รับการแต่งตั้งมาปกครองดูแลวัดเก่าแก่ ซึ่งคงต้องมีการงานมากพอสมควรโดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับที่ดิน คุณพ่อคงต้องใช้ความกล้าหาญมิใช่น้อยที่เมื่อมาถึงวัดบางเชือกหนัง คุณพ่อก็เริ่มวางแผนสร้างวัดใหม่ทันที เราทราบจากการดูระยะเ วลาที่คุณพ่อเริ่มมาประจำที่วัดบางเชือกหนัง ซึ่งได้แก่เดือนตุลาคม ค.ศ.1953 และระยะเวลาที่ใช้ในการสร้างวัดใหม่นี้ซึ่งใช้เวลาทั้งสิ้น 1 ปี นั่นหมายความว่าวัดหลังใหม่สร้างเสร็จในปี ค.ศ.1954 คุณพ่อเปรดาญพร้อมกับผู้หลักผู้ใหญ่ของวัดหลายคน ได้ร่วมมือร่วมใจกันอย่างเต็มที่ต้องเดินทางบ่อยๆ ทั้งเข้ามาที่ศูนย์กลางของมิสซัง ทั้งต้องสืบเสาะหาซื้อไม้ในราคาถูกๆ ซึ่งบังเอิญผู้หลักผู้ใหญ่บางคนของวัดรู้จักกับเจ้าของโรงไม้อรัญประเทศ

         คุณพ่อจึงไปซื้อไม้ถึงที่นั่น บรรทุกเรือมากรุงเทพฯ หลังตรุษจีนปี ค.ศ.1953 ก็ลงมือขุดหลุมตีเข็มวัดใหม่ การสร้างวัดใหม่ครั้งนี้ คุณพ่อเปรดาญได้ดำเนินงานอย่างรอบคอบ ได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่ง
 

 ทั้งจากพวกพระสงฆ์ด้วยกันที่ให้คำปรึกษาหารือ ทั้งจากสัตบุรุษชาวบางเชือกหนังเองที่ออกกำลังกายกำลังทรัพย์ช่วยกัน ก๋งบัวผู้เป็นบิดาของพระสังฆราชมิแชล มงคล ประคองจิต ออกแบบและควบคุมการก่อสร้างวัดโดยตลอด สิ้นค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างวัด นี้ประมาณ 130,000 บาท ไม่นับค่าอาหาร ค่าแรง เพราะไม่เสีย เนื่องจากสัตบุรุษบางเชือกหนังร่วมมือร่วมใจกันดังกล่าวแล้ว การสร้างวัดใหม่นี้ใช้เวลาทั้งสิ้นในการก่อสร้างประมาณ 10 เดือน ก็แล้วเสร็จ และเพื่อเป็นเกียรติแด่คุณพ่อผู้ซึ่งมีนามนักบุญเปโตร วัดนี้จึงได้รับชื่อใหม่ว่าวัดนักบุญ  เปโตร แต่เพื่อมิให้ชื่อไปซ้ำซ้อนกับชื่อของวัดอื่นที่มีนามนักบุญเปโตร จึงยกถวายแด่นักบุญ เปโตรนั่งบัลลังก์ นามวัดใหม่จึงเป็น "วัดธรรมาสน์นักบุญเปโตร" ซึ่งก็เป็นโอกาสเหมาะทีเดียว เพราะการฉลองธรรมาสน์นักบุญเ ปโตรตรงกับวันที่ 18 มกราคม ของทุกปีอยู่แล้วการเสกวัดใหม่และการโปรดศีลกำลังจึงถูกกำหนดขึ้นเป็นวันที่ 18 มกราคม ค.ศ.1955 สารสาสน์เดือนมีนาคม ค.ศ.1955 ได้อธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับการฉลองและเสกวัดคราวนี้ไว้อีกว่า "นอกจากบรรดาสัตบุรุษช่วยกันบริจาคแล้ว ชาวพระนครหลายท่านที่เคยหลบภัยสงครามไปอยู่บางเชือกหนัง ก็ได้ช่วยกันสมทบทุน"
 
และการเปลี่ยนชื่อวัดใหม่จากวัดพระตรีเอกานุภาพ มาเป็นวัดธรรมาสน์นักบุญเปโตรนี้ก็เหมาะสมอย่างยิ่ง เพราะปกติวันฉลองพระตร ีเอกานุภาพตกเป็นวันสิ้นกำหนดปาสกา พระสงฆ์จะไปร่วมฉลองต่างก็ติดภาระที่วัดของตน อนึ่งในฤดูนั้นน้ำในคลองมีน้อย เรือเข้าออกไม่สะดวก การคมนาคมทางอื่นก็ยังไม่มี
 

 นอกจากนี้เรายังทราบว่าในปีที่เสกวัดใหม่นี้มีสัตบุรุษอยู่ราว 800 คน เนื่องในโอกาสเสกวัดใหม่ครั้งนั้น มีความหมายต่อสัตบุรุษชาวบางเชือกหนังเป็นอย่างยิ่ง เพราะวัดนี้มาจากน้ำพักน้ำแรงของชาวบางเชือกหนังโดยแท้ ผมจึงขอนำรายละเอียดมากล่าวไว้ ณ ที่นี้เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งความทรงจำสืบต่อไป ก่อนการฉลองวัดก็มีพระสงฆ์หลายองค์ล่วงหน้าไปช่วยเตรียมสัตบุรุษ เช่น ในการเทศน์เข้าเงียบ และฟังแก้บาป เช้าวันที่ 18 มกราคม ค.ศ.1955 ทางวัดจัดเรือไปรับ ฯพณฯ พระสังฆราชหลุยส์ โชแรง ที่ท่าน้ำหน้าวัดอัสสัมชัญ มีพระสงฆ์และสัตบุรุษติดตามไปด้วยหลายท่าน วงดนตรีของโรงเรียนอัสสัมชัญก็ได้ไปร่วมส่งเสริมงาน  มหกรรมนี้ด้วย พอถึงหน้าวัดกาลหว่าร์ก็ได้หยุดรับพระสงฆ์และสัตบุรุษสมทบขบวนอีกพวกหนึ่ง ในจำนวนพระสงฆ์ที่ไป มีองค์หนึ่งที่น่าสังเ กตคือคุณพ่อตาปีเพราะท่านเพิ่งจะไป บางเชือกหนังเป็นครั้งแรก
 
ทั้งๆ ที่ท่านก็ได้ฉลองสุวรรณสมโภชแล้ว เรือแล่นเรื่อยไปจนถึงวัดอรุณฯ แล้วเลี้ยวเข้าคลองบ่ายหน้าไปสู่จุดหมาย เวลา 8.15 น. ได้ยินเสียงกลองระฆังดังขรม ที่ท่าน้ำหน้าวัดมีเจ้าอาวาส พระสงฆ์ และสัตบุรุษ มารอรับพระสังฆราชอยู่เนืองแน่น ต่างฝ่ายต่างแสดงความปลาบปลื้มจนเห็นได้ถนัดชัดเจนจากใบหน้า แลไปก็เห็นวัดใหม่สวยงามตระหง่าน เห็นวัดไม้เทรากคอนกรีต หลังคามุงกระเบ ื้องสีเขียว ต่างคนต่างชมความมานะพยายามของ  คุณพ่อเจ้าอาวาส และสัตบุรุษวัดบางเชือกหนังที่ทำงานชิ้นนี้เป็นผลสำเร็จ เวลา 8.30 น. พระสังฆราช หลุยส์ โชแรง เริ่มพิธีเสกวัด สัตบุรุษชุมนุมสวดที่หน้าวัด เสกแล้วแห่รอบวัด พระสังฆราช หลุยส์ โชแรง ถวายมิสซามโหฬาร โดยมีคุณพ่อตาปี คุณพ่อวิลเลียม คุณพ่อบริสซองเป็นผู้ช่วย คริสตังค์ทุกคนช่วยกันขับร้องสุดความสามารถ แต่เสียงที่แหลมกว่าใครคือเสียงคุณพ่ออาแมสตอย และคุณพ่อซัลดือเบแฮร์ แห่งวัดกาลหว่าร์ทั้งสององค์ คุณพ่อบุญไทยแสดงพระธรรมเทศ นาอย่างจับใจทั้งภาษาจีนและภาษาไทย เสร็จพิธีในวัดแล้ว วงดนตรีก็เริ่มบรรเลงอย่างสุดฝีไม้ลายมือ ทั้งสัตบุรุษและแขกต่างวัดต่างจับกลุ่มฟังด้วยความเพลิดเพลิน ต่างชมเชยศิลป์ของผู้เล่นที่พยายามใช้ศิลป์นั้นมาส่งเสริมงานของพระเป็นเจ้า
          

ตอนบ่ายเริ่มพิธีด้วยการโปรดศีลกำลังและอวยพรตามปกติ แล้วก็ถึงพิธีแห่พระสังฆราช หลุยส์ โชแรง เป็นประธานในขบวน วงแตรบร รเลงเพลงคริสตังค์นำขบวน ยังความปลาบปลื้มเป็นล้นพ้นแก่ผู้ที่เข้าร่วมขบวนแห่และชาวบ้านที่มาชม เวลา 16.30 น. บรรดาแขกผู้มีเกียรติต่างก็ทยอยกันกลับด้วยความอาลัย วงแตรได้ถือโอกาสบรรเลงเพลงต่างๆ ระหว่างขากลับด้วยไม่มีใครจะเชื่อเลยว่าคุณพ่อเปรดาญ ได้รับการผ่าตัดที่โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ โดยคุณหมอ Girod เพียงไม่กี่วันก่อนวันฉลองอันสำคัญนี้ (Trait D'Union ปี ค.ศ.1955, หน้า 48)
        
         งานฉลองวัดปีต่อมาคือปี ค.ศ.1956 วัดธรรมาสน์นักบุญเปโตรก็ได้รับเกียรติเป็นพิเศษ เพราะว่า ฯพณฯ บาเยต์ ประมุขแห่งมิสซังอุบลฯ เดินทางมาถึงกรุงเทพฯ เพื่อเตรียมตัวไปประชุมเคารพศีลมหาสนิทที่ประเทศพม่า พร้อมกับพระสงฆ์อีกหลายองค์ ได้ถือโอกาสมาร่วมฉลองวัดบางเชือกหนังด้วย ฯพณฯ ได้เป็นประธานในพิธีรื้อฟื้นคำปฏิญาณแห่งศีลล้างบาปของผู้รับศีลสง่า และเป็นประธานการอวยพรศีลมหาสนิท และพิธีแห่พระรูปองค์อุปถัมภ์ นำความปลาบปลื้มมาสู่คุณพ่อเจ้าอาวาสและสัตบุรุษโดยมิได้คาดฝั นเลย (สารสาสน์ ฉบับที่ 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1956)
 
หลังจากสร้างวัดเสร็จได้เพียง 2 ปีเศษ คุณพ่อเปรดาญก็สามารถสร้างบ้านพักพระสงฆ์เสร็จอีก ในหนังสือ Trait D'Union ปี ค.ศ.1957 หน้า 136 ได้กล่าวชมเชยคุณพ่อเปรดาญว่า "บ้านพักพระสงฆ์หลังนี้มีความสวยงามมาก" บ้านพักพระสงฆ์หลังเดิมเก่าแก่มาก คุณพ่อจึงสร้างใหม่โดยย้ายจากที่เดิมมาสร้างไว้หลังวัดใหม่ สิ้นค่าใช้จ่าย 40,000 บาท มุงกระเบื้องฟูกสีขาว เป็นบ้านสองช ั้นมีมุขด้านหน้า แต่การก่อสร้างของคุณพ่อมิได้หยุดแต่เพียงเท่านี้ คุณพ่อยังมองโรงเรียนด้วยความห่วงใย เพราะมีผู้ปกครองซึ่งเป็นคนต่างศาสนา ขอฝากลูกเข้าเรียนในโรงเรียนของวัดมากขึ้น ดังนั้นคุณพ่อจึงได้จัดสร้างโรงเรียน 2 ชั้น ยาว 24 เมตร กว้าง 9 เมตร โดยใช้ไม้และวัสดุจากวัดเก่าและซื้อเพิ่มเติมบางส่วน คุณพ่อยังได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนตรีจิตวิทยา เป็นโรงเรียนตรีมิตวิทยา
 
นอกจากนั้นคุณพ่อยังสร้างห้องให้ครูพักโดยไม่เสียค่าเช่า เป็นการช่วยสวัสดิการแก่ครูด้วย คุณพ่อเปรดาญได้ทำงานมากมายให้แ ก่วัดบางเชือกหนัง คุณพ่อประจำอยู่ที่วัดนี้จนถึงปี ค.ศ.1959 เพราะราวๆ ต้นปีนี้เองคือในเดือนมกราคม ค.ศ.1959 คุณพ่อก็เดินทางกลับประเทศฝรั่งเศส
 
         คุณพ่อลออ สังขรัตน์ ย้ายจากวัดนักบุญเทเรซา หนองจอก มารับหน้าที่เจ้าอาวาสแทนงานชิ้นแรกของคุณพ่อก็คือทำม้านั่งในวัด แล้วติดพัดลมในวัดเพื่อให้บรรยากาศในวัด ช่วยให้ผู้มาวัดสำรวมใจง่ายขึ้น บริเวณติดกับวัดด้านตะวันตกเป็นที่ฝังศพ (ป่าช้ า) แลดูเกะกะตา คุณพ่อจึงเริ่มขุดกระดูกในเดือนมีนาคม ค.ศ.1960 แล้วเสร็จในปีรุ่งขึ้น ขุดกระดูกคราวนี้ต้องเสียค่าใช้จ่าย ปัญหานี้กรรมการของวัดก็วิตกอยู่ไม่น้อย พอมีข่าวว่าทางวัดจะขุดกระดูกย้ายไปไว้ในซองที่สร้างใหม่ ก็มีสัปเหร่อจริงและสัปเหร่อกิตติมศักดิ์มาเสนอราคาเป็นการใหญ่ มีตั้งแต่หลุมละ 200 บาท 100 บาท ลงไปถึง 70 บาท เป็นขั้นต่ำ แต่ปัญหาหนักใจผ่านไปด้วยดี เนื่องจากชาวบางเชือกหนังชำนาญบรรจุศพของญาติได้เรียบร้อย เขาก็ชำนาญในการขุดกระดูกได้เรียบร้อยเช่นกัน
 
        
           สำหรับงานด้านจิตวิญญาณ โอกาสฉลองนักบุญทั้งหลายเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน ค.ศ.1959 ซึ่งนับเป็นปีแรกที่คุณพ่อมาประจำที่วัดนี้ คุณพ่อก็ได้จัดให้มีการแห่แม่พระทางน้ำขึ้น ซึ่งเป็นที่กล่าวขานและจดจำมาจนถึงทุกวันนี้ว่า เป็นการแห่ที่สง่างามสมเกียรติแด่พระแม่เจ้าอย่างแท้จริง ในหนังสืออุดมพันธุ์ฉบับที่ 33 วันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ.1959 ได้บรรยายเรื่องการแห่นี้ไว้อย่างน่าฟัง ผมขอคัดมาเล่าไว้เป็นอนุสรณ์สืบไปดังนี้
           เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายนศกนี้ ซึ่งตรงกับวันฉลองนักบุญทั้งหลาย วัดบางเชือกหนังได้มีการฉลองเป็นพิเศษ กล่าวคือ ตอนเช้า 8.00 น. มิสซาขับร้องประกอบพิธีโดยคุณพ่อยาโกเบ กิ๊น บุญเจือ พร้อมทั้งแสดงธรรมเทศนาอย่างจับใจ

         ตอนบ่าย 13.30 น. เข้าวัดสวดลูกประคำ อวยพรศีลมหาสนิท เริ่มแห่เวลา 14.00 น. บรรดาธิดาแม่พระได้อัญเชิญแม่พระลงเ รือ ซึ่งขบวนยาวเหยียด นำด้วยเรือเร็วของคุณอุดม 4 ลำ เรือหางยาว 12 ลำ เรือฉล่า 6 ลำ เรือแตรวงใหญ่ของ ร.ร.ดอนบอสโก 70 คน และติดตามด้วยเรือประทุนและเรืออื่นๆ ประมาณ 60 ลำ กระบานแห่ผ่านตามลำคลองบางเชือกหนังอันคดเคี้ยว ประกอบด้วยทิวทัศน์อันร่มรื่น เสียงแตรวงกระหึ่ม เสียงสวดภาษาต่างๆไม่ขาดระยะเป็นที่สะดุดใจและเตือนความศรัทธาของผู้พบเห็นเป็นอย่างยิ่ง ตามหมู่บ้านคาทอลิกได้จัดตั้งแท่นบูชาประดับประดาด้วยเชิงเทียนดอกไม้ และรูปแม่พระเรียงรายไปตลอดทาง กระบวนแห่เวียนจบ กินเวลา 2 ชั่วโมงเต็ม การแห่ครั้งนี้นับว่าเป็นการแห่ครั้งแรกทางน้ำของวัดบางเชือกหนัง จัดขบวนแห่ได้เรียบร้อยน่าชมเชย คณะกรรมการทุกท่านต่างเหงื่อไหลไปตามๆ กัน แต่ใบหน้ายิ้มแย้มตลอดเวลา
         ด้านสัตบุรุษที่มาแห่กันในวันนั้น ถึงแม้จะไม่มากนัก แต่ก็ทำให้วัดบางเชือกหนังแคบไปถึงกับล้นออกมาหน้าวัด ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่าทางวัดมิได้ประกาศทั่วถึงกัน ทางวัดก็มิได้นิ่งนอนใจ ได้จัดเจ้าหน้าที่พร้อมทั้งเรือยนต์ 4 ลำ ไปคอยรับที่ท่าน้ำ หน้าวัด เวลาเที่ยงได้จัดเลี้ยงทุกคนที่มาด้วยอาหารกลางวัน มีแกงเผ็ดไก่ เป็ดเปรี้ยวหวาน แกงจืด และอะไรอีกจำไม่ได้เพราะมากอย่างและอร่อยไปทั่งนั้น ซึ่งอาหารดังกล่าว ชาวบางเชือกหนังต่างมีจิตศรัทธาร่วมกันจัดหามา ทุกคนต่างว่า "แหมวันนี้เจริญ อาหารดีแท้" เมื่อเสร็จพิธีแห่แล้ว ทางวัดยังจัดอาหารว่าง มีขนม ผลไม้ น้ำอัดลม และข้าวต้มมาบริการ เพื่อรองท้องในการเดินทางกลับ ผู้เขียนอดที่จะชมเจ้าหน้าที่ทุกท่านตลอดจนท่านเจ้าอาวาสมิได้ ที่ให้การต้อนรับทุกๆ คนอย่างเป็นกันเอง

         ผู้เขียนได้มีโอกาสพบกับท่านผู้เฒ่าผู้หนึ่งสัตบุรุษวัดบางเชือกหนัง เดินโขยกเขยกเป็นอัมพาตอายุราว 70 ปี ซึ่งพยายามพยุงกายมาร่วมแห่กับเขาด้วย กับผู้เขียนผู้เฒ่าได้บอกว่า "ดิฉันชื่อ ถนอม เสนะวีณิน อยู่ที่นี่มาตั้ง 40 กว่าปีแล้ว เพิ่งจะได้มีบุญแห่พระแม่เจ้าทางน้ำในครั้งนี้แหละคุณ อ๋อเรื่องราวการแห่ครั้งนี้หรือค่ะ" เขาเสริมต่อ "ไม่มีอะไรมากนักดอกค่ะ คือดูโน่นซิค ะ ต้นก้ามปูมหึมานั่นไง อายุราว 70 ปี ตามปกติต้นไม้ต้นนี้เอนมาทางวัด และแน่เหลือเกินเมื่อโค่นเองจะต้องทับวัดไม่มีปัญหา แต่คืนนั้นดูเหมือนวันที่ 16 ตุลาคม ราว 23.00 น. ชาวบ้านกำลังหลับแล้ว มีเสียงดังครืนใหญ่ ทุกคนที่อยู่ใกล้เคียงวัดต่างวิ่งมาดูปรากฏว่าต้นก้ามปูต้นนี้โค่น ทีแรกทุกคนตกใจ นึกว่าต้องซ่อมวัดกันอีกแล้ว แต่ที่ไหนได้การกลับตรงกันข้าม เจ้าต้นก้ามปูล้มนอนอย่างสบายตรงกันข้ามกับที่คุณเห็นอยู่นี่แหละค่ะเป็นเรื่องน่าขบคิดไม่ใช่น้อย จากวันนั้นมา พวกเราต่างเห็นพ้องกันที่จะต้อ งจัดการแห่เพื่อโมทนาคุณแม่พระ จึงพากันไปปรึกษากับคุณพ่อเจ้าอาวาส ขอแห่ทางน้ำให้ใหญ่ยิ่งสักทีเรื่องก็มีเพียงเท่าที่เล่ามานี้เอง และก็อีกอย่างหนึ่ง หากพวกเราชาวบางเชือกหนังมีอะไรบกพร่อง ก็ช่วยอภัยด้วยนะคะ และหวังใจว่าในโอกาสฉลองวัดต่อๆ ไป ขอเชิญพวกคุณๆ มากันอีกนะคะ" สาเหตุการแห่แม่พระของวัดบางเชือกหนังโดยทางน้ำก็มีเพียงเท่านี้.
 
 
         ในโอกาสฉลองวัดปี ค.ศ.1960 เมื่อวันที่ 18 มกราคมนี้เอง ทางวัดได้รับเกียรติต้อนรับสมณทูต องค์ผู้แทนของสมเด็จพระสันตะปาปาเป็นครั้งแรก และก็เป็นสมัยคุณพ่อลออนี้เองที่ได้เปลี่ยนกำหนดฉลองวัดจากเดิมวันที่ 18 มกราคม มาเป็นวันที่ 22 กุมภาพันธ์ เพราะเหตุว่าพระศาสนาจักรได้ยกเลิกการฉลองธรรมาสน์นักบุญเปโตร ณ กรุงโรม เหลือแต่ฉลองธรรมาสน์นักบุญเปโตรที่เมืองอันติโอเกียเพียงวันเดียว วันที่ 6 พฤศจิกายน ค.ศ.1960 คุณพ่อลออก็ได้จัดให้มีพิธีแห่ทางเรืออีกครั้งหนึ่ง นำความปลาบปลื้ มมาสู่ชาวบางเชือกหนังทั้งคริสตังค์และคนต่างศาสนาเป็นอย่างมาก

             โรงเรียนของวัดไม่มีที่พอรับเด็ก เมื่อคุณพ่อมาประจำอยู่ใหม่ๆ มีนักเรียน 150 คนเศษก่อนท่านย้ายไปมีเกือบ 400 คน คุณพ่อจึงต่อโรงเรียนยาวอีก 12 เมตร ทางด้านตะวันตกตรงที่เดิมซึ่งเป็นป่าช้าเก่าย้ายกระดูกแล้ว แต่ยังมีที่ว่างอยู่ คุณพ่อจึงสร้างอาคารไม้ยาว 40 เมตร ใช้เป็นห้องเรียนเด็กอนุบาล ห้องอาหาร เวทีแสดงในงานของวัดและของโรงเรียน อาคารหลังนี้สำเร็จไ ด้เพราะพี่น้องคาทอลิกในกรุงเทพฯ ช่วยกันชมภาพยนตร์เรื่อง "ทางสงบ" ที่คุณพ่อจัดฉายที่หอประชุมโรงเรียนอัสสัมชัญ ในการนี้คุณพ่อได้รับการช่วยเหลือจากสมาคมคาทอลิกโดยคุณแสวง เตียวไพบูลย์ อดีตนายกของสมาคม และคณะกรรมการเป็นอย่างดีเลิศ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ก็มีส่วนช่วยอยู่มาก ในปี ค.ศ.1961 กระทรวงศึกษาธิการรับรองวิทยฐานะโรงเรียนของวัดถึงประถมปีที่ 4 สามปีต่อมาคือปี ค.ศ.1964 กระทรวงก็รับรองถึงประถมปีที่ 7
         ศาลาหน้าวัดเป็นไม้ ทรุดโทรมไปตามสภาพ คุณพ่อทำใหม่เป็นคอนกรีตพร้อมกับทำเขื่อนปูนที่หน้าวัดเพื่อป้องกันดินพัง ในการนี้คุณพ่อได้รับความช่วยเหลือจาก พ.อ. ปิ่น มุทุกันฑ์ อธิบดีกรมการศาสนาเป็นเงิน 18,000 บาท ขออนุโมทนาไว้ด้วย
 
เดือนมีนาคม ค.ศ.1965 คุณพ่อติดต่อกับคุณหลวงสัมฤทธิ์ วิศวกรรม ผู้ว่าการไฟฟ้าแห่งประเทศไทย ขอไฟฟ้าหลวงมาที่วัดและสำหรับประชาชนในตำบลคลองขวาง-บางแวกกับบางเชือกหนัง ทางการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้ในเดือนสิงหาคมปีเดียวกัน นอกนั้นคุณพ่อย ังต่อบ้านพักภคินีสำหรับเป็นที่พักของเด็กประจำ และทาสีวัดทั้งภายนอกและภายใน
 
  วันที่ 12 กันยายน ค.ศ.1966 คุณพ่อย้ายจากบางเชือกหนังไปเป็นเจ้าอาวาสวัดแม่พระ อำเภอพระประแดง และคุณพ่อปอล ถาวร กิจสกุล มารับตำแหน่งแทนในวันที่ 15 เดือนเดียวกัน
      
  คุณพ่อถาวรเริ่มงานปรับปรุงวัด โรงเรียน พัฒนาจิตใจของชาวบางเชือกหนังในทุกด้าน คุณพ่อถาวรเป็นพระสงฆ์ที่มีจิตใจดี สัตบ ุรุษรักท่านมาก มุ่งเน้นด้านจิตใจเป็นสำคัญ ในโอกาสหิรัญสมโภชศีลบรรพชาของคุณพ่อ สัตบุรุษวัดบางเชือกหนังจึงร่วมใจกันจัดฉลองให้แด่คุณพ่ออย่างสมเกียรติ คุณพ่อถาวรประจำอยู่ที่วัดนี้ตั้งแต่เดือนกันยายน ค.ศ.1966 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ.1973 รวมเวลาทั้งสิ้น 7 ปี จึงย้ายไปเป็นเจ้าอาวาสวัดซางตาครู้ส ต่อจากคุณพ่อถาวรแล้ว วัดบางเชือกหนังก็ได้รับเจ้าอาวาสใหม่ทุกปี คือ คุณพ่อเสวียง ศุระศรางค์, คุณพ่อประมวล พุฒตาลศรี, คุณพ่อสานิจ สถะวีระวงส์ คุณพ่อทุกท่านก็ได้พยายามเน้นด้านจิตใจของชาวบางเชือกหนังอย่างสม่ำเสมอ
 

คุณพ่อยัง ฮาแบสโตร เป็นพระสงฆ์คณะ O.M.I. องค์แรกและองค์เดียวที่เคยมาประจำอยู่วัดนี้ คุณพ่ออยู่ได้ 3 ปี แต่เนื่องจากคุณพ่อมีภาระกิจมาก รวมทั้งแนวทางการปกครองก็แตกต่างจากพระสงฆ์คนไทย จึงเกิดความไม่เข้าใจกันขึ้นระหว่างคุณพ่อและสัตบุรุษชาวบางเชือกหนัง ในที่สุดเหตุการณ์ก็รุนแรงมากขึ้น จนกระทั่งพระคุณเจ้ามีชัย กิจบุญชู พระอัครสังฆราชแห่งอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ได้สั่งให้ปิดวัดชั่วคราวเพื่อมิให้สถานการณ์บานปลายต่อไปพระคุณเจ้าได้แต่งตั้งคุณพ่อสุเทพ พงษ์วิรัชไชย ให้มาเป็นเ จ้าอาวาส ซึ่งคุณพ่อได้ประจำอยู่ที่วัดนี้รวมทั้งสิ้น 4 ปี คือตั้งแต่ปี ค.ศ.1979 จนกระทั่งถึงปี ค.ศ.1983 คุณพ่อได้จัดทำระเบียบการเช่าที่ดินของวัด รวมทั้งได้เป็นผู้ริเริ่มมูลนิธิตรีมิตรวิทยา เพื่อช่วยเหลือเด็กนักเรียนที่ยากจน ซึ่งมีผลงานมาจนกระทั่งปัจจุบันนี้ คุณพ่อบัณฑิต ปรีชาวุฒิ ได้รับแต่งตั้งมาเป็นเจ้าอาวาสองค์ที่ 10 ของวัดนี้เป็นเวลา 2 ปี คุณพ่อเอาใจใส่งานด้านสอนคำสอนและการกลับในของสัตบุรุษอย่างเต็มที่ โดยมีสังฆานุกรสุขุม กิจสงวน และต่อมามีคุณพ่อศรีปราชญ์ ผิวเกลี้ยงมาช่วยทำงานด้วย ค ุณพ่อศรีปราชญ์จึงแบ่งเบางานด้านที่ดินของวัด ได้ทำแผนผังและจัดทำรังวัดที่เช่าต่างๆ อย่างละเอียด
 
         ต่อจากคุณพ่อบัณฑิต คุณพ่อสุทศ ประมวลพร้อม ก็รับแต่งตั้งมาเป็นเจ้าอาวาสองค์ที่ 11 ในปี ค.ศ 1985 ตลอดเวลา 4 ปี ที่คุณพ่อเป็นเจ้าอาวาส งานพัฒนาจิตใจควบคู่ไปกับงานพัฒนาท้องที่ก็เริ่มต้นขึ้นใหม่อย่างจริงจัง การปกครองเดินไปด้วยความเด็ดขาด เด็ดเดี่ยวแต่เวลาเดียวกันก็ประกอบไปด้วยความเมตตา และความรักที่คุณพ่อได้มอบให้แก่สัตบุรุษวัดนี้ด้วยความจริงใจ เป็ นที่รักของสัตบุรุษเป็นอันมาก คุณพ่อได้ให้ความหมายและความสำคัญต่อการเป็นคริสตชน เอาใจใส่งานด้านพิธีกรรม การเทศน์ การสอน ระยะนี้เองงานในอัครสังฆมณฑล และงานของพระศาสนาจักรส่วนกลางมีมากขึ้น คุณพ่อจึงต้องรับหน้าที่เป็นจิตตาธิการคณะ พลศีลแห่งประเทศไทยด้วย อย่างไรก็ตามงานที่วัด คุณพ่อก็ได้ให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก ส่วนงานด้านที่ดินนั้น คุณพ่อสุทศได้ทบทวนกฎระเบียบการเช่าที่ดินของวัดเสียใหม่จากนั้นก็บำรุงรักษาเนื้อดินของวัดโดยการสร้างเขื่อนในส่วนที่เห็นว่าเหมาะสม ทั้งน ี้ด้วยความร่วมมือเป็นอย่างดีจากสัตบุรุษ คุณพ่อชัชวาล ศุภลักษณ์ รับแต่งตั้งมาเป็นเจ้าอาวาสในปี ค.ศ.1989 เพียง 1 ปี ที่คุณพ่อประจำที่นี่ ก็ได้พัฒนาหมู่บ้านในหลายด้าน ได้จัดตั้งกลุ่ม อส.ของวัดขึ้นเพื่อดูแลหมู่บ้านและรักษาความปลอกภัยของประชาชน รวมทั้งอาสาสมัครที่จะช่วยพัฒนาหมู่บ้านในทุกด้าน
 
 
         คุณพ่อสุรชัย ชุ่มศรีพันธุ์ ได้รับแต่งตั้งมาเป็นเจ้าอาวาสวัดบางเชือกหนังและเข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันท ี่ 24 มิถุนายน ค.ศ. 1990 งานชิ้นแรกที่คุณพ่อลงมือทำก็คือ สำรวจและรวบรวมเอกสารต่างๆ ของทางวัด ซึ่งมีความสำคัญและเป็นหลักฐานทางด้านประวัติศาสตร์ ช่วงนี้เองที่ทำให้ทราบว่าชุมชนวัดธรรมาสน์นักบุญเปโตรมีอายุครบ 100 ปีแล้ว (อันที่จริงครบ 100 ปี ตั้งแต่ปี ค.ศ.1990 แล้ว แต่เนื่องจากไม่มีใครทราบจึงไม่ได้ทำการฉลอง) คุณพ่อได้เตรียมการเพื่อจัดฉลองครบรอบ 100 ปีของวัด ได้จัดทำหนังสืออนุสรณ์ในโอกาสครบรอบ 100 ปี ขึ้นมาเล่มหนึ่ง ซึ่งได้รับความช่วยเหลือจากสัตบุรุษเป็นอย่างดี โดยเฉพ าะในการมอบภาพถ่ายเก่าๆ ที่เก็บรักษาไว้ นอกจากนี้ยังได้ติดต่อคุณพ่อคุณพ่อโกโธร และคุณพ่อ พิชาญ ใจเสรี พระสงฆ์คณะมหาไถ่ มาเทศน์เพื่อเตรียมจิตใจสัตบุรุษเป็นพิเศษในโอกาสฉลองวัดประจำปี และโอกาสฉลองครบ 100 ปีของกลุ่มคริสตชน การจัดฉลองนี้มีขึ้นวันที่ 3 มีนาคม ค.ศ.1991

             คุณพ่อได้มองเห็นว่าชาวบางเชือกหนังควรจะมีวัดที่ดีกว่าที่เป็นอยู่ เนื่องจากวัดหลังเดิมซึ่งสร้างด้วยไม้นั้น เก่ามากแล ะกำลังผุพังลงไปเรื่อยๆ ตามกาลเวลา จึงได้ปรึกษาหารือกับ พระคาร์ดินัล ซึ่งพระคุณเจ้าได้ให้แนวทางว่าจะต้องเตรียมสถานที่สำหรับการก่อสร้างวัดและโรงเรียนใหม่ด้วย เนื่องจากโรงเรียนตรีมิตรวิทยามีบริเวณพื้นที่คับแคบและไม่เพียงพอที่จะให้บริการทางด้านการศึกษาต่อไป คุณพ่อได้เรียกประชุมชาวบ้านเพื่อชี้แจง ทำความเข้าใจตกลงกันเพื่อเวนคืนที่ดิน และลงมือดำเนินการทันที การปรับสภาพหมู่บ้านครั้งนี้เป็นไปแบบไม่หลงเหลือสภาพเดิมไว้เลย มีการถมดิน ตัดถนน จัดสรรที่ดินให้สัตบุรุษผู้เช่าที่ดินได้จอ งเช่าเพื่อปลูกบ้านเป็นที่พักอาศัย และมีการจัดสาธารณูปโภคที่เหมาะสม
 
             การดำเนินการทุกอย่างเหล่านี้สำเร็จเป็นไปด้วยความเสียสละและน้ำใจดีของบรรดาสัตบุรุษวัดบางเชือกหนังทั้งหมด ที่เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน งานต่างๆ กำลังดำเนินไปได้ด้วยดี คุณพ่อก็ต้องย้ายไปรักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดนักบุญอันนา ท่าจีน ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ.1993

         คุณพ่ออดิศักดิ์ สมแสงสรวง เข้ามารับตำแหน่งเจ้าอาวาสแทน ได้มีการประสานงานที่เริ่มต้นอย่างต่อเนื่อง มีการถมดินในพื้นที่ที่เคยเป็นสวนทั้งหมด เวลาเดียวกันก็จัดสรรที่ให้บรรดาสัตบุรุษเดิมได้มีที่อยู่ คุณพ่อเห็นว่าการที่สัตบุรุษได้มาอยู่รวมกันเป็นสัดส่วน น่าจะมีผลดีต่อบรรดาสัตบุรุษเอง จึงได้ประกาศให้สัตบุรุษที่อยู่ในสวนทุกราย คืนที่ดินซึ่งเช่าทำสวนและย้ายบ้านมาอย ู่ในที่ดินซึ่งทางวัดได้จัดสรรไว้ให้ การปรับพื้นที่และการโยกย้ายสัตบุรุษเป็นไปอย่างเรียบง่าย เพราะทุกคนรู้ตัวล่วงหน้าเป็นเวลานานพอสมควร และรู้ว่าที่ดินผืนนี้จะใช้สำหรับสร้างวัดและโรงเรียนใหม่ ทางอัครสังฆมณฑลฯ ได้ให้บริษัทสันติพิทักษ์เข้ามาดำเนินการ และวางแบบแปลนอาคารต่างๆ เมื่อได้ข้อสรุปชัดเจนแล้ว ก็เริ่มลงมือก่อสร้างด้วยการเสกและวางศิลาฤกษ์วัดใหม่ในบริเวณที่จะดำเนิการก่อสร้างวัด ในวันเสาร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1997 ซึ่งเป็นวันฉลองวัดธรรมาสน์นักบุญเปโตร โดยมีพระคาร์ดินั ล ไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู เป็นประธานประกอบพิธี หลังจากนั้นได้ดำเนินการก่อสร้างทันที โดยในระยะแรกได้เริ่มงานก่อสร้างอาคารเรียนก่อนเพราะเห็นว่ามีความจำเป็นเร่งด่วนมากกว่า ในปีการศึกษาต่อมา จึงได้ย้ายโรงเรียนไปใช้อาคารหลังใหม่ หลังจากนั้นก็ลงมือก่อสร้างวัดอย่างจริงจัง การก่อสร้างสำเร็จสมบูรณ์ มีพิธีเสกและเปิดทั้งวัดและโรงเรียนในวันเสาร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1999.   

         คุณพ่อเรนาตุส  ธีรวัฒน์    เสนางค์นารถ       เป็นเจ้าอาวาส ปี ค.ศ.1999 – 2003
         คุณพ่อ สำรวย กิจสำเร็จ(2003-12 พฤษภาคม 2009 )ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดนักบุญ เปโตร สามพราน จ.นครปฐม
       คุณพ่อวิชชุกรณ์ เกตุภาพ ( 13 พฤษภาคม 2009 - ปัจจุบัน ) คุณพ่อได้รับหน้าที่ อธิการบ้านเณรยอแซฟ สามพรานปัจจุบันได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส องค์ปัจจุบัน

                                                                                                         ข้อมูล / รูปภาพ ห้องเอกสาร อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

    update ข้อมูลวันที่ 29 มกราคม 2010

    หน้าหลักอ่านทั้งหมดหน้ารวม