47/9 ม.3 ต.บ้านฉาง
อ.เมือง จ.ปทุมธานี   12000
---------------------------------------------------------

 0-2975-8198 ถึง 9

ตารางมิสซา

 0-2975-8208

แผนที่การเดินทาง

รูปวัด   800x600   /   1024 x768

บาทหลวงยอแซฟ อนุชา ชาวแพรกน้อย


ประมาณปี พ.ศ.2486-2489 (ค.ศ.1943-1945)มีคริสตชนชาวจีนแผ่นดินใหญ่จากตระกูล“เฮ้ง”จำนวนหกครอบครัวพากันมาประกอบอาชีพทำสวนผัก อยู่ที่คลองบางโพธิ์ใต้ อ.เมือง จ.ปทุมธานี

ในปี พ.ศ.2491(ค.ศ.1948) นางหมุยงิ้ม ภรรยาของนายยี่ซินซึ่งเป็นหนึ่งในหกครอบครัวที่อพยพมาอยู่ที่คลองบางโพธิ์ใต้แห่งนี้ได้เสียชีวิต จึงมีคนนำศพไปทำพิธีที่วัดกัลหว่าร์ ทำให้ทางวัดกัลหว่าร์รู้ว่ายังมีกลุ่มคริสตชนเหล่านี้อยู่บริเวณคลองบางโพธิ์ใต้ ดัง นั้นคุณพ่อเจ้าอาวาสวัดกัลหว่าร์ตอนนั้นเข้าใจว่าเป็นคุณพ่อโอลีเอร์ ได้เข้ามาทำมิสซาเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2492 ที่บ้านนายเปโตรยี่ชิน แซ่เฮ้ง เลขที่ 45 หมู่ 3 ต.บางเดื่อ อ.เมือง จ.ปทุมธานี (คลองบางโพธิ์ใต้)

หลังจากนั้นเป็นต้นมาทางวัดกัลหว่าร์ได้ส่งพระสงฆ์หลายองค์ให้มาดูแล สัตบุรุษที่คลองบางโพธิ์ใต้ เช่น คุณพ่อเสวียง ศุระศรางค์ คุณพ่อซัลดูเบียร์ เป็นต้น เวลานั้นการเดินทางเป็นไปอย่างลำบากมาก เพราะยังไม่มีถนน ต้องเดินทางโดยทางเรือ ทำให้ไม่สามารถเดิ นทางไปกลับได้ภายในวันเดียว จึงจำเป็นต้องนอนค้างตามบ้านที่คุณพ่อไปทำมิสซา และยังมีความไม่สะดวกในอีกหลายๆ ด้าน การถวายมิสซาในสมัยนั้นจึงมีไม่บ่อยนัก ประมาณปีละ 1-2 ครั้ง ต่อมานายเตียว ซินแซ กับนางสาวซุนฟอง ซึ่งเป็นครูคำสอนภาษาจีนของวัดกัลหว่าร์ ได้มาอยู่ช่วยสอนคำสอนภาษาจีนใต้ให้เด็กและเยาวชนตามบ้านสัตบุรุษเป็นครั้งคราว เป็นเช่นนี้หลายปี ทำให้มีเด็กและเยาวชนได้รับศีลกำลังหลายคน โดยให้ไปรับที่วัดกัลหว่าร์

ประมาณปี พ.ศ.2502 (ค.ศ.1959) คุณพ่อเปเรย์ได้เริ่มเดินทางมาดูแล สัตบุรุษเป็นประจำ คุณพ่อพยายามทำมิสซาให้กับสัตบุรุษเกือบทุกเดือน ด้วยความเสียสละและอดทน ในระหว่างปี พ.ศ.2504-2509 (ค.ศ.1961–1966) มีหลายครอบครัวได้ย้ายเข้ามาเช่าที่ทำสวนอยู่ริมคลองบางหลวง ต.บ้านฉาง อ.เมือง จ.ปทุมธานี แต่ยังมีประมาณสองถึงสามครอบครัวที่ยังคงทำสวนอยู่ที่คลอง บางโพธิใต้ ดังนั้นคุณพ่อเปเรย์จึงได้หมุนเวียนไปทำมิสซาที่บางหลวงบ้าง บางโพธิ์ใต้บ้าง ในช่วงนี้การเดินทางสะดวกมากขึ้น จึงสามารถเดิ นทางไปกลับภายในวันเดียวได้ โดยไม่ต้องอยู่ค้างตามบ้านของสัตบุรุษอีกต่อไป

ในปี พ.ศ.2515-2516 (ค.ศ.1972–1973) ครอบครัวคริสตชนที่คลองบางโพธิ์ใต้ ได้ย้ายมาอยู่คลองบางหลวงเกือบหมด เหลือเพียงครอบครัวของนายซุนฮวด(บุตรนายไหน่ทิศ) เพียงครอบครัวเดียวในปัจจุบันนี้

ตั้งแต่ปี พ.ศ.2516-2522 (ค.ศ.1973–1979) คุณพ่อที่วัดบางบัวทองได้ช่วยมาดูแลและถวายมิสซาให้กับสัตบุรุษที่คลองบางหลวง เ ช่น คุณพ่อวิจิตร ลิขิตธรรม คุณพ่อสานิจ สถะวีระวงส์ คุณพ่อถาวร กิจสกุล นอกนั้นยังมีคุณพ่ออื่นๆ อีกหลายองค์ที่ซิสเตอร์กิมลุ้ย (สมาชิกคณะพลมารี ) ได้ติดต่อเชิญมาถวายมิสซาให้กับสัตบุรุษ ได้แก่ คุณพ่อดาเนียล วงศ์พานิช คุณพ่อสมศักดิ์ นามกร อธิการบ้านเณรแสงธรรม คุณพ่อปิงกิโอเน และเพื่อนคณะซาเลเซียนที่อยู่ประจำบ้านคนตาบอดปากเกร็ด นนทบุรี คุณพ่อตูร์กาโต คณะคามิเลียนยังได้ช่วยบริจาคเสาและกระเบื้องจำนวนหนึ่ง

ในปี พ.ศ.2522 (ค.ศ.1979) คุณพ่อไพบูลย์ เหลืองสร้อยทอง จิตตาธิการพลมารีเปรสิเดียมพระมารดาพระผู้ไถ่แห่งวัดอัสสัมชัญ ได้ติดตามการทำงานของสมาชิกพลมารีได้ทราบเกี่ยวกับคริสตังค์ริมคลองบางหลวง จึงเริ่มเข้ามารับงานกับดูแลสัตบุรุษและมาถวายมิสซาเป็นประจำตามบ้าน

ในเดือนกันยายน ปีเดียวกัน ได้มีการคิดและวางแผนจะสร้างวัดขึ้น จึงหาที่ดิน โดยคุณยุบล กาญจนาคมานันท์ ลูกสาวของน้าสมบัติไ ด้ซื้อที่ถวาย 1 ไร่ เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายนได้เริ่มลงมือตอกเสาเข็มสร้างเป็นบ้านครึ่งตึกครึ่งไม้ ลักษณะเป็นบ้านเดี่ยว ชั้นบนเป็นวัด กว้าง 12 เมตร ยาว 12 เมตร แบ่งเป็นพื้นที่วัดและด้านหลังเป็นห้องเก็บศาสนภัณฑ์และใช้เป็นที่พักได้ มีห้องน้ำภายใน มีระเบียงรอบด้าน กว้าง 1 เมตร ด้านหน้ามีหอระฆังและบันไดหน้าวัด ชั้นล่างเป็นพื้นที่โล่งเทด้วยคอนกรีต ชั้นล่างมีห้องว่าง 1 ห้อง และกั้นรั้วลวดหนามโดยรอบพื้นที่ 1 ไร่ พร้อมประตูเหล็กเข้าออก ด้านหน้าและด้านหลังของรั้วลวดหนาม ได้สร้างห้องน้ำและห้องส้วม ไว้บริเวณด้านหลังริมรั้ว 4 ห้อง

วัดก่อสร้างเสร็จเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ.2523 (ค.ศ.1980) ค่าก่อสร้างทั้งสิ้นประมาณ 550,000.- บาท คุณพ่อไพบูลย์ เหลืองสร้อยทอง เป็นผู้ดำเนินการทุกอย่างจนสร้างวัดเสร็จเรียบร้อย และพระอัครสังฆราชมีคาแอล มีชัย กิจบุญชู เป็นผู้ตั้งชื่อวัดนี้ว่า “วัดนักบุญมาร์โก” พระคุณเจ้าต้องการให้มีวัดสี่แห่งของ อัครสังฆมณฑลกรุงเทพกรุงเทพมีนักบุญผู้นิพนธ์พระวรสารเป็นองค์อุปถัมภ์ ซึ่งก่อนหน้านั้นก็มีวัดน้อยเซนต์จอห์น อยู่ที่โรงเรียนเซนต์จอห์น กรุงเทพ แล้ว

ต่อมาทางอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ได้มอบหมายวัดที่สร้างเสร็จใหม่ล่าสุดนี้ให้อยู่ในความดูแลรับผิดชอบของพระสงฆ์วัดเซนต์ฟรังซิสเซเวียร์ สามเสน

วันเสาร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ.2523 (ค.ศ.1980) คุณพ่อคมทวน มุ่งสมหมาย เจ้าอาวาสวัดเซนต์ฟรังซิสเซเวียร์ สามเสน คุณพ่อเปโตร อูร์บานี และคุณพ่อ สมสุข แดงเดช ผู้ช่วยเจ้าอาวาสได้มาที่วัดนักบุญมาร์โกเพื่อรับมอบงานวัดจาก คุณพ่อไพบูลย์ และมอบงานอภิบาลคริสตชนที่คลองบางหลวงนี้อย่างเป็นทางการ ในวันอาทิตย์ที่ 7 กันยายน พระสงฆ์จากวัดสามเสนเริ่มมาถวายมิสซาให้กับสัตบุรุษเ ป็นครั้งแรก

คุณพ่อสมสุข แดงเดช ดูแลรับผิดชอบกลุ่มคริสตชนวัดนักบุญมาร์โก ตั้งแต่เริ่มงาน จนถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2526 (ค.ศ.1983)

วันเสาร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ.2525 (ค.ศ.1982) ได้ทำพิธีเสกวัดวัดนักบุญมาร์โก โดยพระอัครสังฆราชมีคาแอล มีชัย กิจบุญชู เป็นประธาน

ในเดือนกรกฎาคม ต่อมาคุณสุวิช สุวรุจิพร บริจาคที่ดิน 1 ไร่ ด้านทิศตะวันตกของวัดนักบุญมาร์โก ในปี พ.ศ.2526 (ค.ศ.1983) ทางวัดได้ซื้อที่เพิ่มขึ้นอีก 1 ไร่ คือเนื้อที่ด้านตะวันออกของตัววัด โดยมีสัตบุรุษใจศรัทธาช่วยบริจาคเงินสมทบทุน

ในเดือนเมษายน พ.ศ.2526 (ค.ศ.1983) คุณพ่อสมสุข แดงเดช ได้ย้ายไปเป็นเจ้าอาวาสวัดแม่พระประจักษ์ (สองพี่น้อง) ทางสังฆมณฑลกรุงเทพฯ จึงได้ให้วัดนักบุญมาร์โกอยู่ในความดูแลของพระสงฆ์วัดพระคริสตประจักษ์ (เกาะใหญ่) โดยในขณะนั้นคุณพ่อสำรวย กิจสำเร็จ เป็นเจ้าอาวาสประจำอยู่

ในปีต่อมาเดือนมีนาคม คุณพ่อสำรวยได้มอบหมายให้สัตบุรุษที่วัดหาช่างไม้มาสร้างห้องประชุมที่ใต้ถุนวัดซึ่งเดิมมีแต่โครงห้องเท่านั้น การสร้างห้องประชุมใช้เวลาประมาณสองอาทิตย์จึงแล้วเสร็จ

เดือนกรกฎาคม พ.ศ.2527 (ค.ศ.1984) คุณพ่อเอกพงษ์ พงษ์สูงเนิน ได้มารับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดพระคริสตประจักษ์ (เกาะใหญ่) และดูแลคริสตชนวัดนักบุญมาร์โกแทนคุณพ่อสำรวยซึ่งไปศึกษาต่อที่กรุงโรม คุณพ่อได้สร้างหลายสิ่งหลายอย่างเพื่อคริสตชนวัดนักบุญมาร์โก เช่น ถมดินที่วัดให้สูงขึ้น จัดทำม้านั่งในวัด ติดมุ้งลวดห้องประชุมเดิมข้างล่างวัดเพื่อพักอาศัยได้ และสร้างห้องประชุมใหม่ต่อจากห้องประชุมเดิม สร้างตู้ศีลใหม่ ฯลฯ คุณพ่อได้ดูแลวัดนักบุญมาร์โกจนกระทั่งเดือนเมษายน พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989)

ต่อมา ทางสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ได้มอบหมายให้วัดนักบุญมาร์โกอยู่ในความดูแลของวัดพระแม่มหาการุณย์ นนทบุรี ซึ่งมีคุณพ่อเปโตร อูร์บานี เป็น คุณพ่อเจ้าอาวาส และมีคุณพ่ออาเดรียอาโนเป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาส หลังจากประกาศโยกย้ายแล้ว คุณพ่ออูร์บานีได้มาเยี่ยมเยียนสัตบุรุษและถวายมิสซาให้สัตบุรุษครั้งแรกในวันที่ 9 เมษายน พ.ศ.2532 (ค.ศ.1989) และในวันที่ 29 ของเดือนเดียวกันนี้ ทางวัดนักบุญมาร์โกได้จัดงานฉลองวัดขึ้น โดยมีพระอัครสังฆราช มีคาแอล มีชัย กิจบุญชู เป็นประธานในพิธี และในโอกาสนี้ ทางวัดได้จัดให้มีการต้อนรับคุณพ่ออูร์บานีอย่างเป็นทางการ โดยมีคุณพ่อเอกพงษ์ พงษ์สูงเนิน มอบกุญแจสวรรค์(วัด )ให้พระคุณเจ้านำมอบให้แก่คุณพ่อเปโตร อูร์บานี เป็นผู้ดูแลลูกแกะของพระเป็นเจ้าต่อไป

ในปี พ.ศ.2533 (ค.ศ.1990) เดือนกุมภาพันธ์ ซ่อมแซมวัดจนเสร็จ ก่อนพิธีฉลองวัดในวันที่ 28 เมษายน

ในปี พ.ศ.2536 (ค.ศ.1993) เดือนตุลาคม จัดตั้งกลุ่มเยาวชนขึ้น โดยมีคุณนิตยา เกษตรบริบูรณ์ เป็นประธานเยาวชน

ในปีต่อมา พ.ศ.2537 (ค.ศ. 1994) เดือนมิถุนายน จัดตั้งคณะกรรมการสภาอภิบาลวัดขึ้น โดยมีคุณขจร ปรัชญกุล เป็นผู้อำนวยการสภาฯ คุณประสิทธิ์ เกษตรบริบูรณ์ เป็นรองผู้อำนวยการสภาฯ คุณวรรณี เวียงชัย เหรัญญิก คุณธีระเดช กุลอนุสภาพร กรรมการ คุณชัยชาญ เกษตรรุ่งเรือง กรรมการ คุณลัดดาวัลย์ เกษตรบริบูรณ์ กรรมการ และคุณสุปราณี รุ่งโรจน์เกษตร กรรมการ

ในปี พ.ศ.2538 (ค.ศ.1995) เดือนตุลาคม สัตบุรุษวัดนักบุญมาร์โกประสบอุทกภัยครั้งใหญ่ น้ำท่วมสูงประมาณครึ่งหนึ่งของชั้นล่า ง และได้รับความช่วยเหลือจากวัดในเขต 2 เป็นจำนวนเงิน 180,000.- บาท

ต่อมาในปี พ.ศ.2540 (ค.ศ.1997) ทางสภาอภิบาลวัดตระหนักถึงความสำคัญของกลุ่มคริสตชนวัดนักบุญมาร์โก ซึ่งได้อยู่รวมตัวกันมาเป็นเวลา 50 ปี ตั้งแต่ที่ริมคลองบางโพธิ์ใต้ จึงมีมติเป็นเอกฉันท์ว่าจะสร้างศาลาอเนกประสงค์เพื่อเป็นอนุสรณ์และใช้ประโยชน์ในกิจการต่างๆของวัด และให้ชื่ออาคารนี้ว่า “ศาลาอเนกประสงค์คริสตชน 50 ปี นักบุญมาร์โก”

ในวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ.2540 (ค.ศ.1997) ได้เริ่มการก่อสร้างศาลาอเนกประสงค์ โดยใช้ระยะเวลาในการสร้างประมาณ 4 เดือน ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม รวมค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างอาคารทั้งสิ้นเป็นจำนวนเงิน 1,018,072.- บาท ทั้งนี้งบประมาณและค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างได้รับการสนับสนุนจากสังฆมณฑลและผู้มีจิตศรัทธาทุกท่าน

ในปี พ.ศ.2541(ค.ศ.1998) เดือนมกราคมถึงมีนาคม ได้ทำการปรับปรุงภายในวัดนักบุญมาร์โก เช่น เปลี่ยนพระแท่นมิสซา พื้นฉากห ลังพระแท่น ธรรมาสน์ ทำตู้ศีลใหม่ ฐานตั้งนักบุญมาร์โก ปรับปรุงรอบๆ บริเวณวัด ฯลฯ

นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2532 จนกระทั่งปัจจุบันนี้ได้มีพระสงฆ์คณะปีเม โดยการนำของคุณพ่ออูร์บานีได้ดูแลกลุ่มคริสตชนที่วัดนักบุญมาร์โกนี้ ซึ่งในปัจจุบันมีสมาชิกจำนวน 22 ครอบครัว ซึ่งเป็นผลมาจากน้ำพักน้ำแรงและการดูแลเอาใจใส่ของพระสงฆ์หลายๆ ท่าน ซึ่งแบบฉบับที่ดีเหล่านี้ได้หยั่งรากลึกลงในจิตใจของบรรดาคริสตชนที่นี่และผลของแบบอย่างที่ดีเหล่านั้น ได้ทำให้มีผู้สมัครใจดำเ นินตามในชีวิตของผู้เสียสละเพื่อรับใช้พระเป็นเจ้าในกิจการความรักของพระองค์จำนวน 5 คนโดยมีพระสงฆ์ 1 องค์ มาเซอร์คณะเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร์ 3 ท่าน บราเดอร์คณะพระมหาไถ่ 1 ท่าน มีผู้ทำงานแพร่ธรรม 1 ท่าน และครูคำสอน 1 ท่าน พวกลูกๆ คริสตชนวัดนักบุญมาร์โกระลึกถึงน้ำพระทัยของพระเป็นเจ้า และขอพระองค์โปรดประทานพระพร และพระหรรษทานตอบแทนทุกท่านด้วยชีวิตนิรันดรเทอญ

ต่อมา เมื่อมีคำการประกาศโยกย้ายพระสงฆ์ประจำปี 2001 ในเดือนเมษายน โดยพระคาร์ดินัลมีชัย กิจบุญชู ให้คุณพ่อยอแซฟสุระน ันท์ กวยมงคล เป็นเจ้าอาวาส ซึ่งถือเป็นองค์แรกที่มีตำแหน่งในหน้าที่เป็นเจ้าอาวาส คุณพ่อได้เริ่มงานอภิบาลสอนคำสอน โปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ และถวายมิสซาเป็นประจำ โดยเริ่มมิสซาวันศุกร์ต้นเดือนเพื่อเชิญชวนให้สัตบุรุษมีความศรัทธาต่อดวงหทัยของพระเยซูเจ้า คุณพ่อได้ริเริ่มมุมหนังสือในห้องประชุมเพื่อให้เด็กๆรู้จักการอ่านหนังสือศรัทธา เรือนเพาะชำซุ้มการเวก แต่คุณพ่ออยู่ได้เพียงหนึ่งปี พระคาร์ดินัลได้ส่งคุณพ่อไปช่วย สังฆมณฑลตามข้อตกลงระหว่างกรุงเทพกับนครสวรรค์และได้แต่งตั้งคุณพ่อ ยวงบัปติสตา ชา ญชัย ทิวไผ่งาม เป็นเจ้าอาวาส เมื่อวันที่ 19 เมษายน ปี ค.ศ.2002 และในวันฉลองวัดประจำปีวันอาทิตย์ที่ 4 พฤษภาคม 2002 พระคาร์ดินัลมีชัย กิจบุญชู มาเป็นประธานในพิธีและมอบหมายงานระหว่างเจ้าอาวาสเก่าและใหม่ในวันเดียวกัน วันนั้นฝนตกหนักจนไม่สามารถแห่รูปท่านนักบุญมาร์โกได้

เนื่องจากสมัยคุณพ่อเปโตรอูร์บานี เป็นเจ้าอาวาส ได้เคยดำริและเสนอต่อสังฆมณฑลให้หาทางสร้างรั้วเพื่อทำให้วัดเป็นสัดส่วนเรียบ ร้อยและแนวป้องกันน้ำท่วม พระคาร์ดินัลอนุมัติให้ทำรั้วคอนกรีตครึ่งทึบครึ่งโปร่ง และปรับบริเวณพื้นที่วัดรอบๆวัดให้เรียบร้อย พร้อมกับเปลี่ยนย้ายประตูเข้าออก มีถนนหินคลุกบดอัดและสนามหญ้าให้สวยงาม ซึ่งขณะนั้นน้ำได้ท่วมถนนริมคลองจึงได้ปรับแนวพื้นให้สูงพอพ้นน้ำได้

คุณพ่อยังได้ขออนุญาตปรับพื้นชั้นล่างโดยปูกระเบื้อง ปรับห้องชั้นล่างให้เป็นที่ทำงานของพระสงฆ์และเป็นที่พัก ส่วนห้องโถงให ญ่แบ่งเป็นสองช่วง ช่วงด้านหน้าใช้เป็นวัดน้อยทำมิสซาในเย็นวันเสาร์เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้สูงอายุและจำนวนสัตบุรุษที่ไม่มาก ช่วงด้านหลังทำเป็นห้องอาหารและพักผ่อนของพระสงฆ์และสามเณรที่มาช่วยงาน โดยนำวัสดุอุปกรณ์ที่ทางสังฆมณฑลรื้อจากที่อื่นๆมาใช้ใหม่ เช่น วงกบประตูหน้าต่าง บานเกล็ด ม้านั่งโบราณของวัดเก่าๆ และแอร์จาก โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ ปูพื้นด้วยตัวหนอนรอบวัดเพื่อใช้เดินแห่รอบวัดโดยเอามาจากวัดเซนต์หลุยส์และวัดอัสสัมชัญ และช่วยให้เดินได้ในหน้าฝน

ในขณะเดียวกันได้ซ่อมแซมที่จอดรถให้แข็งแรง และสร้างห้องพักคนงานและที่เก็บของ เพิ่มห้องสุขาด้านหลังศาลาอเนกประสงค์ กับแก้ไขระบบน้ำประปาและน้ำรดต้นไม้

วันฉลองวัดประจำปี 2003 ตรงกับวันเสาร์ที่ 26 เมษายน คุณพ่อยอแซฟจำเนียร กิจเจริญ อุปสังฆราชมาเป็นประธานและโปรดศีลกำลังเขตสอง มีสัตบุรุษมามากพอสมควร ได้ใช้ศาลาอเนกประสงค์ของวัดเป็นที่ประกอบพิธีเพื่อความสะดวกและจำนวนสัตบุรุษจุได้มากกว่า ส่วนวันก่อนฉลองทางวัดได้จัดให้สัตบุรุษได้เตรียมตัวฉลองภายในและมีการแห่รูปท่านักบุญมาร์โกจากวัดไปรั้วหน้าวัดหน ึ่งรอบแล้ว ในวันฉลองจึงไม่มีการแห่อีกแต่มีการถวายช่อดอกไม้แทน หลังพิธีขณะรับประทานอาหารฝนตกหนักมาก ทำให้สัตบุรุษหลายคนต้องรีบเอารถออกจากที่จอดรถซึ่งเป็นดิน เกรงว่าจะติดหล่ม แต่ก็ผ่านไปได้ไม่ลำบากมากนัก

กลางปีค.ศ.2004 พระคาร์ดินัลอนุมัติให้ทางวัด ซื้อที่เพิ่มเติมจากคุณสุวิช สุวรุจิพร เจ้าของที่ดินติดกับวัดทางด้านทิศตะวันตกไปสุดริมคลองเนื้อที่ประมาณสามไร่ ซึ่งครั้งหนึ่งคุณสุวิชก็ได้มอบที่ดินให้กับวัดหนึ่งไร่มาแล้ว ในครั้งนี้คุณสุวิชและลูกชายผู้เป็นเจ้า ของที่ดินยินดีและไม่ขัดข้อง ทำให้วัดมีที่ดินทั้งหมดประมาณหกไร่ ซึ่งก็เพียงพอสำหรับกิจการของวัดในปัจจุบันนี้

ในระหว่างปีการศึกษา เนื่องจากบรรดาเด็กๆซึ่งเป็นลูกหลานไม่ได้เรียนในโรงเรียนของวัดคาทอลิก โอกาสเรียนคำสอนจึงมีน้อย คุณพ่อได้ขอให้มาเซอร์จากโรงเรียนเซนต์โยเซฟ กรุงเทพ มาช่วยสอนในวันอาทิตย์หลังมิสซา และระหว่างปิดเทอมฤดูร้อนได้มีเณรใหญ่มาฝึกงานอภิบาลและช่วยสอนคำสอนให้กับเด็กๆ ทำให้วัดมีชีวิตชีวาเพิ่มมากขึ้น

วัดนักบุญมาร์โกเป็นวัดเล็กๆ ที่มีอายุยาวนาน หากนับวันที่เริ่มมีกลุ่ม คริสตชนที่นี่ก็มีอายุห้าสิบกว่าปี แต่ถ้านับปีที่เริ่มมีการสร้างวัดและเสก ก็ยี่สิบสามปีพอดีในปีนี้(พ.ศ.2548) จำนวนคริสตชนที่นี่ค่อยๆ เพิ่มขึ้น มีคริสตชนจากวัดอื่นย้ายเข้ามาในหมู่บ้าน จัดสรรใกล้วัดมากขึ้น ประกอบกับสภาพที่อยู่อาศัยของสัตบุรุษเริ่มมีความมั่นคงมากขึ้น วัดนักบุญมาร์โกน่าจะเป็นวัดหนึ่งของอัครสังฆมณฑลกรุงเทพที่จะเป็นบ่อเกิดของกระแสเรียกจากครอบครัวที่ดีต่อๆไป

ปัจจุบันนี้มีสัตบุรุษประมาณ 300 คน จากจำนวนสามสิบกว่าครอบครัว มีมิสซาบูชาขอบพระคุณประจำวันเสาร์เวลา 19.00 น.และวันอาทิตย์เวลา 09.00 น. ในเวลาระหว่างปีหลังมิสซาแล้วมีมาเซอร์จากโรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนแวนท์ กรุงเทพ มาช่วยสอนคำสอนให้ ส่วนในตอนปิดเทอมภาคฤดูร้อนมีเณรใหญ่และเณรกลางมาฝึกงานอภิบาลสัตบุรุษได้ช่วยสอนคำสอนและฝึกเด็กและเยาวชนได้ช่วยพิธีกรรม อ่านบทอ่าน และขับร้องบทเพลงในพิธี ทำให้วัดมีชีวิตชีวาเรื่อยมาจนถึงทุกวันนี้

เนื่องจากวัดไม่มีกิจการอะไรอื่น นอกจากมีมิสซาบางโอกาสพิเศษแล้ว ยังมีกิจกรรมตามนโยบายของสังฆมณฑล เช่น สภาอภิบาลของวัด เด็กช่วยมิสซา ผู้อ่านพระคัมภีร์ พ่อบ้านแม่บ้านและเยาวชนของวัด ซึ่งกิจกรรมเรานี้ได้ช่วยให้วัดเข้มแข็งและสามารถช่วยเหลือดูแลวัดได้เป็นอย่างดี

ขอขอบพระคุณคุณพ่อเจ้าวัดและคุณพ่อหลายๆ องค์ที่มาดูแล อภิบาล ถวายมิสซา คณะสงฆ์ปีเม วัดอัสสัมชัญ วัดกาลหว่าร์ วัดสามเสน ว ัดเกาะใหญ่ คณะพลมารี โรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ บ้านเณรใหญ่ บ้านเณรเล็ก และพี่น้อง สัตบุรุษที่มีน้ำใจดี สนับสนุนให้วัดนักบุญมาร์โกเป็นอยู่อย่างที่เห็นทุกวันนี้ ขอพระเป็นเจ้าอวยพรทุกท่านด้วย

(เรียบเรียงจากประวัติกลุ่มคริสตชนวัดในหนังสืออนุสรณ์ 50 ปี กลุ่มคริสตชนและบันทึกเพิ่มเติมก่อนการฉลองวัด 24 เมษายน 2004 โดยคุณพ่อชาญชัย ทิวไผ่งาม)


ในวันที่ 24 เมษายน 1982 วัดนักบุญมารโก ได้ทำพิธีเสกและฉลอง โดยพระอัครสังฆราชมีชัยกิจบุญชู เป็นประธาน   และในวันที่ 8 เมษายน 1983 คุณพ่อคมทวน และคุณพ่อสมสุข ย้ายไปจากวัดสามเสน  พระคาร์ดินัลจึงมอบวัด น.มาร์โก   ให้อยู่ภายใต้การปกครองดูแลของเจ้าอาวาสวัดเกาะใหญ่ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาจนถึงปี 1989

  • พระสงฆ์คณะปีเม (PIME) ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสของวัดนี้สถานะของวัดนี้จึงเป็นวัดทางการ (Parish) 
  • คุณพ่อเปโตร อูร์บานี (1989 – 2000) ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสและดำรงตำแหน่งจนถึงปี 2000
  • คุณพ่อสุรนันท์ กวยมงคล (2001-2002) ดำรงตำแหน่งเจ้า พักประจำอยู่ที่วัดศีลมหาสนิท  ปัจจุบันย้ายไปช่วยสังฆมณฑลนครสวรรค์
  • คุณพ่อชาญชัย ทิวไผ่งาม (2002- 12 พฤษภาคม 2009 ) ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส และได้รับมอบหมายไปเป็นเจ้าอาวาสวัดพร ะบิดาเจ้า( โรงเรียนเซนต์โยเซฟ ทิพวัล )
  • คุณพ่ออนุชา ชาวแพรกน้อย ( 13 พฤษภาคม 2009- ปัจจุบัน ) ย้ายมาจากเจ้าอาวาสวัดแม่พระปฏิสนธินิรมล โรงหมู และได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส  วันที่ 8 เมษายน ปี 2010 ย้ายไปผู้จัดการแผนกอภิบาลผู้เดินทางทะเลและนักท่องเที่ยว
    ผู้ประสานงานด้านผู้ประสบภัยพักประจำและ ช่วยงานอภิบาลวัดแม่พระประัจักษ์เมืองลูร์ด บางสะแก
  • คุณพ่อเอกพงษ์ พงษ์สูงเนิน ย้ายจาก คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อฆราวาส ทำหน้าที่ในสภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทยด้านงานฆราวาส , พักประจำและช่วยงานอภิบาลอาสนวิหารอัสสัมชัญ รับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดนักบุญมาร์โก ตั้งแต่วันที่ 30 เมษษายน 2010 - 2013  1 พฤษภาคม 2013 ย้ายไปช่วยงานสังฆมณฑลเชียงใหม่
  • คุณพ่ออาดรีอาโน เปาโลซิน ( 1 พฤษภาคม 2013 - ปัจจุบัน ) เจ้าอาวาสองค์ปัจุจุบัน
    คุณพ่อรชตะ ประทุมตรี ( TMS ) ( 1 พฤษภาคม 2013 - ปัจจุบัน ) ผู้ช่วยเจ้าอาวส

updateข้อมูลล่าสุด วันที่  28 มกราคม 2010

หน้าหลักอ่านทั้งหมดหน้ารวม