วัดราชินีแห่งสันติสุข ซอย 101

4/1 ตรอก ปุณณวิถี (วัดซอย 101)
แขวงบางจาก เขตพระโขนง
จ. กรุงเทพฯ  10260
----------------------------------------------------------------

0-2741-8520, 0-2741-8521

ตารางมิสซา

0-2741-8522

แผนที่การเดินทาง

รูปวัด   800x600   /   1024 x768

บาทหลวงเปาโล พจนารถ นิรมลทินวงศ


 
             ที่มาและที่ไปของประวัติวัดราชินีแห่งสันติสุข (วัดซอย 101) อยู่ในกระแสวงจรความคิดข้างต้นของผู้รวบรวมเขียนคำนำ ความสืบเนื่อง เพื่อโยงความคิดเมื่อ 40 ปีที่ผ่านไป ในขณะที่ดินสถานที่ตั้งวัดปัจจุบันยังมีสภาพสวนและท้องร่องน้ำ มีผู้พักอาศัยไม่มากนัก และซิสเตอร์คณะพระกุมารเยซู เป็นเจ้าของพื้นที่นี้โดยให้บริการด้านการศึกษาแก่เยาวชนหญิง เน้นภาษาอังกฤษเป็นสื่อการเรียนการสอน ส่งผลทำให้นักเรียนทุกคนเมื่อจบการศึกษา สามารถทำงานในบริษัทห้างร้านต่างๆ ของชาวต่างประเทศที่เปิดที่ทำการค้าขายในกรุงเทพฯ ได้อย่างดีโดยเฉพาะในหน้าที่เลขานุการของบริษัทหรือองค์การต่างๆ
 

       ตามบันทึกของซิสเตอร์ โดยเฉพาะคุณแม่ ปอล บานาล (Mother Paul Banal) ในฐานะรองเจ้าคณะ-อธิการิณีประจำภาคเอเชีย ค.ศ. 1957 สมาชิกของคณะฯ ได้กลับเข้ามาในประเทศไทยเป็นครั้งที่ 2 หลังจากที่เคยเข้ามาตามคำเชิญของคุณพ่อหลุยส์ เวย์ อุปสังฆราชมิสซังไทย (สยาม)   

       ในปี ค.ศ. 1885 (และต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็นพระสังฆราช) ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ประมาณ 22 ปี แล้วต้ องกลับไปที่เมืองอิโป ประเทศมาเลเซียในปี ค.ศ. 1907 โดยชื่อคุ้นเคยของคณะฯ ครั้งนั้น คือ ซิสเตอร์คณะแซงค์มอร์

             การเข้ามาในครั้งที่ 2 ในปี ค.ศ.1957 ตามคำเชิญของพระสังฆราช ฟรังซิส สงวน สุวรรณศรี ประมุขมิสซังจันทบุรีขณะนั้น พระสังฆราชสงวน ประสงค์ให้คณะซิสเตอร์ช่วยสอนภาษา อังกฤษให้เยาวชนไทย ที่จังหวัดชลบุรีและดำเนินการบริหารโรงเรียนที่มีชื่อ “เมรี่ อิมมาคุเลต คอนแวนต์” (Mary Immaculate Convent)
 
               แต่มีเหตุการณ์ผันแปรนิดหน่อยกล่าวคือ อาคารเรียนที่จังหวัดชลบุรียังไม่พร้อม คณะซิสเตอร์ต้องพักที่วัดพระมหาไถ่ ซอมร่วมฤดี ในขณะที่สงฆ์คณะพระมหาไถ่ก็มีความประสงค์เปิดโรงเรียนทีนั่นด้วย เพื่อสอนทั้งเด็กไทยและเด็กต่างชาติที่ผู้ปกครองทำงานในประเทศไทยจึงนับเป็นพระญาณสอดส่องของพระผู้เป็นเจ้าพอดี การร่วมงานของซิสเตอร์ที่วัดพระมหาไถ่และค ณะสงฆ์มหาไถ่ ดำเนินไปด้วยดีจนภายหลังมีความเข้าใจผิดคิดว่า ซิสเตอร์พระกุมารเยซู เป็น  ซิสเตอร์คณะพระมหาไถ่ไปเลย !
 
สงฆ์คณะพระมหาไถ่กับโรงเรียนพระกุมารเยซูวิทยา พระโขนง
             กิจการของซิสเตอร์ดำเนินไปด้วยดี ผู้ปกครองจำนวนมาก นิยมส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโรงเรียนที่คณะซิสเตอร์ดูแลทั้งที่ซอยร่วมฤดี และจังหวัดชลบุรี ผู้ใหญ่ของคณะซิสเตอร์ จึงปรึกษาหารือเพื่อขยับขยายกิจการด้านการศึกษา ออกไปชานเมืองกรุ งเทพฯ หลังจากสำรวจพื้นที่แล้วเห็นสมควรให้ซื้อที่ดินจำนวนหนึ่งบริเวณอำเภอพระโขนง สุขุมวิทซอย 101 ในราคาที่เหมาะสมในขณะนั้น
 
 
             สงฆ์คณะพระมหาไถ่ได้เดินทางไปให้บริการเกี่ยวกับศีลศักดิ์สิทธิ์ และพิธีมิสซาให้สมาชิกคณะซิสเตอร์อย่างต่อเนื่อง ในโอกาสนี้ผู้เขียนและเรียบเรียงขอขอบคุณคณะซิสเตอร์พระกุมารเยซูที่อนุญาตให้อ่านเอ กสารที่บันทึกไว้ของคณะ ทั้งภาษาฝรั่งเศสและภาษาอังกฤษ โดยเฉพาะเหตุการณ์ที่เกี่ยวโยงกับการกำเนิดวัดราชินีแห่งสันติสุข และการแบ่งพื้นที่ในครอบ ครองให้เป็นประโยชน์แก่ชุมชนความเชื่อปัจจุบันเป็นจำนวน 8 ไร่




ศาสนบริการที่โรงเรียนพระกุมารเยซู
             ในบันทึกของซิสเตอร์พระกุมารเยซู หลังจากเปิดสถานศึกษาในเขตอำเภอพระโขนงชื่อภาษาอังกฤษ Convent of the Holy Jesus Commercial School หรือชื่อภาษาไทย โรงเรียนพระแม่กุมารเยซูวิทยา แต่คนทั่วไปมักได้ยินพูดชื่อย่อเป็นภาษาอังกฤษว่า “โรงเรียนพระกุมารเยซู”
             ประมาณปี ค.ศ. 1965 คณะซิสเตอร์ได้สร้างบ้านชื่อ Nazareth (นาซาเรท) เปรียบเป็นบ้านคุณแม่อธิการิณีใกล้โรงเรียนพระกุมารเยซูด้วย กระนั้นก็ดี สมาชิกของคณะฯ ยังเดินทางไปร่วมพิธีมิสซาที่วัดพระมหาไถ่ ซอยร่วมฤดีเช่นเคย เมื่อเวลาผ่ามาระย ะหนึ่ง สมาชิกชาวไทยของคณะซิสเตอร์มีมากขึ้น สงฆ์คณะพระมหาไถ่จึงปรึกษาหารือและมีมติอำนวยความสะดวกให้สมาชิกของคณะฯ โดยจัดพระสงฆ์อำนวยศาสนบริการให้ถึงที่โรงเรียนพระกุมานเยซู
 
 
             ขณะนั้นในบริเวณที่ไม่ไกลจากโรงเรียนพระกุมารเยซู (ปัจจุบันคือ สุขุมวิท 105)  ก็มีนักบวชคณะลาซาลได้มาเปิดสถานศึกษาสายสามัญ เพื่อช่วยเหลือผู้ปกครองและนักเรียนในบริเวณใกล้เคียง ลดความกังวลใจในการหาสถานศึกษาโดยเฉพาะนักเรียน ที่เป็นคาทอลิกพระสงฆ์คณะพระมหาไถ่จึงรับหน้าที่ริการด้านศาสนพิธีให้ด้วย รวมถึง “โรงเรียนเซนต์โยเซฟ บางนา” ที่เซอร์คณะเซนต์ปอลขยายสถานศึกษาจากในกรุงเทพฯ  ออกมาชานเมืองที่ซอยแบริ่ง (ปัจจุบันคือ สุขุมวิท 107)  ในเวลาไล่เลี่ยกันโดยมีเซอร์พักประจำอยู่
 
 
             ดังนั้นในปี ค.ศ. 1967 สงฆ์คณะพระมหาไถ่จึงแต่งตั้งพระสงฆ์ไปปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นทางการให้ศาสนบริการแก่ คณะ นักบวชทั้ง 3 คณะ โดยให้เช่าบ้านพักบริเวณบางนา-สำโรง  เพื่อไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปกลับทุกวันและให้บริการศีลศักดิ์สิทธิ์อย่างสม่ำเสมอ

     ปีค.ศ. 1969 มีบันทึกในเอกสารของคณะซิสเตอร์พระกุมารเยซูลงนามโดยคุณแม่ปอล บานาลเป็นภาษาฝรั่งเศสว่า (ใช้สำเนา)
     “...Dimanche 14 December’69(1969) A partie d’aulourd’hui le hall di l’ecole deviant “eglise paroissiale” Le Reverend Pere Robert Wells C.Ss.R., notre cure, y dit la premiere massa...”
แปลเป็นไทยความว่า  “วันอาทิตย์ที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 1969 นับจากวันนี้เป็นต้นไปคุณพ่อโรเบิร์ต (บ๊อบ) เวลส์ สงฆ์คณะพระมหาไถ่ คุณพ่อจิตตาภิบาล/คุณพ่อเจ้าอาวาสของเรา ได้ถวายมิสซาเป็นทางการครั้งแรกในห้องประชุมของโรงเรียน ซึ่งถือเป็นวัดของชุมชนแล้ว”
 
 
           หลังจากโรงเรียนพระกุมารเยซูได้สร้างอาคารเรียนหลังใหม่เสร็จสิ้นแล้วก็มีบริการศาสนบริการศีลศักดิ์สิทธิ์แก่สัตบุร ุษในบริเวณใกล้เคียง เช่น พระโขนง บางนา สำโรง บางพลี เทพารักษ์ อ่อนนุช ฯลฯ คริสตชนเหล่านี้ ส่วนหนึ่งย้ายถิ่นฐานจากกรุงเทพฯ ชั้นใน เพื่อหาบ้านพักอาศัยแถบชานเมืองการพัฒนาที่ดินมีมากขึ้น อีกส่วนหนึ่งอพยพย้ายถิ่นมาจากจังหวัดต่างๆ แถบตะวันออกเฉียงเหนือ (อิสาน) ไม่สามารถหาวัดที่จะร่วมพิธีมิสซาได้สะดวก ซึ่งต่างจากกลุ่มแรกที่เดินทางไป-กลับวัดเดิมได้ เช่น วัดอัสสัมชัญ, วัดกัลหว่าร์, วัดราฟาแอล, วัดดอน บอสโก, วัดกุฎีจีน หรือวัดพระมหาไถ่
 
 
 
             สัตบุรุษที่เข้าร่วมพิธีที่โรงเรียนพระกุมารเยซู มีเพิ่มขึ้นตามลำดับ เมื่อผู้คนที่ศรัทธาในศาสนายังเดินทางไปพบพระเพื่อนมัสการพระองค์ทุกวันอาทิตย์ ในผู้ศรัทธามีสัตบุรุษท่านหนึ่ง ชื่อ มาสเตอร์ราฟาเอล มานิต บุญคั้นผล  ผู้ดำเนินกิจการโรงเรียนชื่อ สหะพาณิชย์ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณศาลาแดง สวนลุมพินีแต่เพราะพื้นที่เดิมคับแคบ ประกอบกับคู่ชีวิตของมาสเตอร์มีที่ดินใกล้โ รงเรียนพระกุมารเยซูห่างประมาณ 600 เมตร จึงย้ายกิจการโรงเรียนสหะพาณิชย์มาเพื่อขยายกิจการในปี ค.ศ. 1965 มาสเตอร์มานิต เป็นผู้ขยันขันแข็ง
             เมื่อเห็นผู้เข้าร่วมมิสซามากขึ้นจึงปรึกษาหารือคุณพ่อทอม กริฟฟิต (Thomas Griffith) ที่ดูแลกลุ่มคริสตชนต่อจากคุณพ่อรุ่นแรกเพื่อหาทางสร้างวัดใหม่เป็นเอกเทศ ให้บริการแก่สัตบุรุษมากขึ้น เพราะจะช่วยลดภาวะโรงเรียนพระกุมารเยซูในการใ ช้สถานที่ด้วย แต่ความคิดคงเป็นแค่ความคิดปรึกษาหารือระดับมนุษย์ พระญาณสอดส่องหรือสัพพัญญูขอพระเจ้าจะจัดให้อย่างดีภายหลัง

           ช่วงเวลาที่พระสงฆ์พระมหาไถ่ดูแลมีคุณพ่อ 3 องค์ผลัดกันดูแลให้ ศาสนบริการดำเนินไปอย่างต่อเนื่องนอกจากคุณพ่อโรเบิร์ต เวลส์ ( Robert Wells) ยังมีคุณพ่อเอ็ดเวิร์ด เคน (Edward Kane) และคุณพ่อจอห์น บูเช (John Boucher) แต่คุณพ่อทั้งสามยังไม่คิดแยกวัดเป็นเอกเทศ เป็นการเริ่มคิดและเตรียมการในสมัยคุณพ่อทอม กริฟฟิต ในย่อหน้าข้างบนนี้
 
 
คุณพ่อโทมัส (ทอม) กริฟฟิต C.Ss.R. 
ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสองค์แรก ปี ค.ศ.1969-1981

 

       คุณพ่อรุ่นบุกเบิกศาสนบริการจำนวน 3 องค์ ได้เปลี่ยนแปลงหน้าที่ในคณะตามกำหนดไว้ คุณพ่อเอ็ดเวิร์ด เคน ได้รับเลือกให้เป็นเจ้าคณะแขวงพระมหาไถ่องค์ใหม่ ในวันที่ 5 มกราคม ค.ศ.1972 มีที่ปรึกษาชุดใหม่ด้วย
       ในบันทึกของคุณแม่ ปอล บานาล (Mother Paul Banal) ระบุว่า วันพุธที่ 23 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1972 คุณพ่อโทมัส (ทอม) กริฟฟิต สงฆ์คณะพระมหาไถ่ถวายมิสซาเวลา 07.00 น. แทนคุณพ่อโรเบิร์ต เวลส์ ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ไปทำหน้าที่ในวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อิสาน) โดยคุณพ่อทอม กริฟฟิต รับหน้าที่จิตตาภิบาลของโรงเรียนและเจ้าอาวาสชุมชนวัดนี้ด้วย โดยคุณพ่อยังคงพำนักที่บ้านเช่าบางนาต่อไป
 
คุณพ่อทอม กริฟฟิต ได้ปฏิบัติหน้าที่เพิ่มเติมด้านศาสนบริการให้โรงเรียนลาซาลและโรงเรียนเซนต์โยเซฟแบริ่ง (บางนา) ด้วย เมื่อโรงเรียนทั้งสองได้ขยายกิจการมาอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียง สะดวกที่คุณพ่อจะให้บริการศีลศักดิ์สิทธิ์ได้ จึงได้รับการขอร้องมาให้ช่วยเหลือบุคลา กรของทั้งสองแห่งตลอดถึง ภราดา และซิสเตอร์ (เซอร์) ภายหลังคุณพ่อกริฟฟิตได้พบบ้านเช่าหลังใหม่ในซอยปุณณวิถี 1 สุขุมวิท 101 ใกล้โรงเรียนพระกุมารเยซู เป็นลักษณะบ้านไม้สองชั้น

 (สันนิษฐานว่าเป็นบ้านเช่าของคุณพ่อทอม กริฟฟิต และคุณพ่อแพทิน พักก่อนจะเข้าบ้านพระสงฆ์หลังปัจจุบัน อยู่ที่ปุณณวิถี ซอย 1)
 
             นอกจากให้ศาสนบริการตามปกติแล้ว บันทึกเหตุการณ์ยังระบุว่า คุณพ่อทอม กริฟฟิต ได้ปฏิบัติหน้าที่อื่นในช่วงเวลาขณะนั้นด้วย กล่าวคือ
 
ร่วมกับโรงเรียนพระกุมารเยซูและคณะซิสเตอร์ ต้อนรับรูปพระแม่แห่งฟาติมาที่เสด็จเยี่ย มประเทศไทยโดย รับรูปต่อจากโรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนแวนต์ กรุงเทพฯ ในวันพฤหัสบดีที่ 9 มีนาคม ค.ศ.1972 มีพิธีการต้อนรับ คือ มิสซา ตั้งศีลมหาสนิท สวดสายประคำ ฯลฯ รุ่งขึ้นวันศุกร์ที่ 10 มีนาคม ได้อัญเชิญ พระรูปไปวัดนักบุญยอเซฟ ตรอกจันทน์ เป็นประธานพิธีมิสซาและพิธีปฏิญาณตนของซิสเตอร์ใหม่ รับคำรื้อฟื้นคำปฏิญาณของซอสเตอร์ และถวายมิสซาให้นักเรียนคาทอลิก

เสกรถยนต์คันใหม่ของซิสเตอร์ เป็น Ford Escort
เทศน์อบรมฟื้นฟูจิตใจในแต่ละเดือน คณะซิสเตอร์เชิญพระสงฆ์องค์อื่นมาแบ่งปันในบางครั้งด้วย เพื่อปรับจินตทัศน์ให้ทันกับ คำสอนของพระศาสนจักรที่อยู่ช่วงหลังพระสังคายนาวาติกันที่2 มีเอกสารหลายอย่างต้องศึกษาและปรับความเข้าใจ ซึ่งต้องการผู้รู้และมีประสบการณ์มาแบ่งปันด้วย

เป็นจิตตาภิบาลในการให้คำแนะนำ และรับปรึกษาบางเหตุการณ์จำเป็นของคณะซิสเตอร์ นับจากปี ค.ศ.1972 เป็นต้นมา คุณพ่อกริฟฟิตได้แสดงความเอาใจใส่งานอภิบาลแบบเข้มข้น นอกจากจะทำหน้าที่จิตตาภิบาลให้คณะซิสเตอร์แล้วคุณพ่อยังเดินทางเสาะหาติ ดตามคริสตชนที่เข้าร่วมมิสซาในวันอาทิตย์ จัดเอกสารทำแบบกรอกประวัติครอบครัวและวัดสังกัดเดิมของแต่ละครอบครัวพร้อมสมาชิกอีกทั้งที่พักปัจจุบันของทุกคน ทั้งนี้จะทราบจำนวนคริสตชน และจัดส่งรายงานให้สำนักเลขาธิการของอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯต่อไป
             บรรดาคริสตชนต่างดีใจที่คุณพ่อเดินทางไปเยี่ยม และพร้อมจะกลับไปเยี่ยมคุณพ่อในทุกวันอาทิตย์ เมื่อคุณพ่อถวายมิสซ าในห้องประชุมของโรงเรียนพระกุมารเยซู ลูกหลานของแต่ละครอบครัวที่อพยพย้ายถิ่นยังได้โอกาสเรียนคำสอนหลังจบมิสซาแล้ว เด็กเหล่านี้มาจากโรงเรียนวัดพุทธ โรงเรียนรัฐบาลและโรงเรียนเอกชนอื่นที่ไม่มีคำสอนระหว่างเรียนวิชาปกติ

             เมื่อมีภาระงานเพิ่มขึ้นเพราะมีคริสตชนจำนวนมากเกินกำลังจะทำงานเพียงลำพัง คุณพ่อเจ้าคณะพระมหาไถ่พร้อมที่ปรึกษาจึงมีมติ จัดหาพระสงฆ์เพิ่มเป็นครั้งคราวเป็นต้นในวันอาทิตย์ พร้อมกันนี้ก็จัดให้สามเณรของคณะที่สามพรานเดินทางวันเส าร์-อาทิตย์ไปช่วยงานในส่วนของเยาวชนและเตรียมการร้องเพลงศักดิ์สิทธิ์ในมิสซาเป็นการฝึกงานอภิบาลไปด้วย

             ดำริเรื่องการสร้างวัดใหม่แยกจากใช้บริการห้องประชุมของโรงเรียนพระกุมารเยซูยังคงอยู่ในความคิดของคุณพ่อกริฟฟิตปะกอบกับมาสเตอร์ราฟาเอล มานิต บุญคั้นผล เป็นกำลังสำคัญในการสนับสนุนพร้อมให้ความช่วยเหลืออุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆ สม่ำเสมอ ทั้งยังมีคริสตชนที่สามารถมีประสบการณ์และมีกำลังทรัพย์พอจะทำให้ฝันเป็นจริงได้

             คุณพ่อกริฟฟิตจึงเขียนจดหมายขออนุญาตพระอัครสังฆราช ยวง นิตโย ประกอบพิธีมิสซาเป็นทางการให้คริสตชนกลุ่มนี้ ในห้องประชุมของโรงเรียนพะกุมารเยซูเพราะมีข่าวความไม่เข้าใจของพระสงฆ์บางองค์เกี่ยวกับหน้าที่จิตตาภิบาลนี้

             ในปี ค.ศ. 1969  ทางคณะพระมหาไถ่ได้คิดว่าควรจะมีบ้านพัก เจ้าคณะจึงได้ขออนุญาตจากพระอัครสังฆราช ที่จะตั้ง บ้านพักอยู่ที่สำโรง สมุทรปราการ และเมื่อเห็นว่ามีคริสตังค์หลายคนตั้งบ้านอยู่บริเวณนั้น คุณพ่อเคยได้ปรึกษาพระอัครสังฆราช และขอให้คุณพ่อแวลส์ทำหน้าที่แทนพ่อเจ้าวัด โดยมีจุดประสงค์ที่จะตั้งวัดใหม่ในอนาคตทั้งนี้ก็สุดแล้วแต่พระอัครสังฆราช และคณะปรึกษาจะเห็นด้วย
 
 
             วันที่ 3 มกราคม ค.ศ. 1970 พระอัครสังฆราชได้อนุญาตให้คุณพ่อแวลส์โปรดศีลล้างบาปและศีลกล่าวที่โรงเรียนพระกุมารเยซู ซอย 101 สุขุมวิท ซึ่งต้องใช้ห้องประชุมของโรงเรียนแทนวัด

             วันที่ 29 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1972  คุณพ่อทอม กริฟฟิตได้ย้ายจากหนองคายมารับหน้าที่แทนคุณพ่อแวลส์ ส่วนเรื่องที่เกี่ยวกับบ้านพักนั้นทางคณะได้เลิกเช่าบ้านพักแล้วเพราะราคาเช่าแพงเกินไป คุณพ่อทอมจึงได้ตัดสินใจเช่าบ้านพักหลังใหม่ซึ่งราคาเช่าถูกกว่ามาก บ้านพักหลังใหม่นี้ตั้งอยู่ในซอย 101 ใกล้โรงเรียนที่เคยใช้แทนวัด พระอัครสังฆราชได้ให้สิทธิ์ผมทำหน้าที่เหมือนเป็นพ่อเจ้าวัด.

             ตลอดปีที่แล้วได้ทำการสำรวจ และพบว่าตั้งแต่สะพานพระโขนงไปจนถึงสมุทรปราการมีสัตบุรุษคริสตังค์อาศัยอยู่ในบริเวณดังกล่าวหลายร้อยครอบครัว การไปวัดของสัตบุรุษเหล่านี้ต้องลำบากมาก บางคนก็ไปฟังมิสซาที่วัดปากน้ำ หรือวัดมหาไถ่ หรือที่คลองเตย หรือ ที่ดอนบอสโก หรือที่เซ็นต์หลุยส์ และวัดอัสสัมชัญ และก็ยังมีอีกหลายคนที่ไม่สามารถไปวัดได้เพราะเนื่องด้วยความยากลำบากต่างๆ หลายประการ ตามความคิดของผมถ้าไม่มีวัดในบริเวณนั้นแล้วคริสตังค์ต้องเสียหลายคน และเป็นเหตุให้ผม ต้องวิ่งเต้นไปโน่นมานี่ทำให้เสียเวลาไปโดย เปล่าประโยชน์ ผลของการสำรวจปรากฏว่ามีสัตบุรุษที่เป็นคริสตังค์ไทยประมาณ 300 กว่าครอบครัว ซึ่งผมคิดว่าต้องมีมากกว่านี้อย่างแน่นอนทีเดียว และนอกจากนี้ยังมีคนได้ถวายที่ดินสำหรับสร้างวัดแล้ว และได้ทำการโอนเป็นกรรมสิทธิ์ของทางคณะเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จำนวน 5 ไร่ อยู่ที่ ก.ม.8 ถนนสายใหม่บางนา-ตราด อันที่จริงถ้าจะสร้างวัดบริเวณนี้ก็ไกลไปแต่ก็หาที่เหมาะกว่านี้อีกไม่ได้แล้ว เพราะราคาที่ดินแถวสุขุมวิทจะตกราวๆ 1,100,000 บาท ต่อ 1 ไร่ ซึ่งเป็ นราคาที่ถูกที่สุดแล้ว ผมคิดว่าควรอย่างยิ่งที่จะมีที่ทำมิสซาที่สุขุมวิท และสำโรงแต่ขณะนี้ไม่รู้จะทำประการใดดี...จนปัญญาจริงๆ จะให้เช่าห้องแถวหรือ? เดี๋ยวนี้ก็มีความคิดเช่นนั้นทั้งนี้ก็เพื่อความสะดวกแก่พวกคริสตังค์ที่ยากจนและลำบาก.
 
 
             ผมได้ยินคุณพ่อเจ้าวัดมหาไถ่พูดว่า มีพระสงฆ์บางองค์ของอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ..“งง”.. ถึงเรื่องที่ว่าพ่อกริฟฟิต ทำอะไรที่พระโขนง ผมจึงขอให้พระอัครสังฆราช และคณะปรึกษาพิจารณาตั้งให้เป็นวัดที่แท้และถาวรไป และประกาศให้คนทั้งหลายรู้ว่านี่เป็นวัดที่ถูกต้องตามกฎหมายทุกประการ ผมคิดว่าถ้าทำเช่นนั้นจำนวนสัตบุรุษคริสตังค์ที่มาวัดจะยิ่งมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งผลอันนี้จะเป็นประโยชน์แก่พระศาสนจักรของเราในกรุงเทพฯ เป็นอันมาก ฉะนั้นผมคิดว่าอยากให้พระคุณเจ้าและคณะปรึกษาตั้งให้เป็นวัดโดยถูกต้องตามกฎหมาย และทำการประกาศเพื่อขจัดความสงสัยและความไม่เข้าใจให้หมดสิ้นไป แน่นอน พวกสัตบุรุษคริสต ังค์ที่ไปวัดที่ซอย 101 อยากให้มีวัดที่ถาวร เดี๋ยวนี้มีมิสซาในวันเสาร์แทนวันอาทิตย์หนึ่งมิสซา และยังมีมิสซาในวันอาทิตย์อีกสามมิสซา มีสัตบุรุษที่ไปวัดฟังมิสซาเป็นประจำราวๆ 300-400 คน และนอก เหนือจากจำนวนดังกล่าวแล้ว ยังมีสัตบุรุษคริสตังค์ไทยไปฟังมิสซาที่โรงเรียนลาซาล และที่โรงเรียนเซ็นต์โยเซฟอีกด้วย.
 
 
             ฉะนั้นผมขอให้พระอัครสังฆราชและคณะปรึกษาพิจารณาเรื่องนี้ในที่ประชุม และถ้าเห็นด้วยกับการประกาศว่า “วัดแม่พร ะราชินีแห่งสันติภาพ” พระโขนงเป็นวัดที่ถูกต้องตามกฎหมาย ผมขอขอบพระคุณพระอัครสังฆราชและคณะเป็นอย่างยิ่ง
 
 

         พระอัครสังฆราช ยวง ได้พิจารณาพร้อมคณะที่ปรึกษาของอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ และอนุมัติให้คุณพ่อจัดงานอภิบาลนี้ได้อย่างถูกต้อง และประกาศรับรองว่า คุณพ่อทอม  กริฟฟิต เป็นผู้ดูแลสัตบุรุ ษในย่านสำโรง และมีสิทธิ์อย่างเจ้าอาวาสถูกต้องตามกฎหมาย และให้ใช้วัดน้อยของโรงเรียนพระกุมารเยซูเป็นแหล่งปฏิบัติงานชั่วคราวได้

         ภายหลัง พระอัครสังฆราช ยวง ได้พ้นหน้าที่ปกครองอัครสังฆมณฑลในปี ค.ศ.1973 พระอัครสังฆราช ไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู  สมณประมุของค์ใหม่ได้ดำเนินการต่อเนื่องเรื่องการสร้างวัดราชินีฯ เพื่อประโยชน์ของชุมชนความเชื่อที่กำลังเติบโตอย่างมาก
 
            ขั้นตอนแรกคือการเจรจาขอซื้อที่ดินว่างด้านหลังของโรงเรียนพระกุมารเยซู จำนวน 8 ไร่ พระอัครสังฆราชมีชัย และคุณแม่เจ้าคณะ คือ คุณแม่มารี ม.ร.ว. ฟูผล ชมพูนุท และที่ปรึกษา   มีมติยอมมอบที่ดินจำนวนดังกล่าวโดยยินดีรับค่าตอบแทนที่ดินมีมูลค่ามิตรภาพจำนวนหนึ่งไว้

             คุณพ่อทอม กริฟฟิต   มีคณะกรรมการวัดช่วยเหลือในการควบคุมตรวจสอบและติดต่อราชการ เพ ื่อขออนุญาตก่อสร้างวัด ติดต่อหาผู้รับเหมาถมดิน ทั้งนี้ อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ เป็นธุระจัดหาผู้รับเหมาก่อสร้าง และจัดหาเงินสมทบ พร้อมตรวจสอบค่าใช้จ่ายตามงวดก่อสร้าง
 
คณะกรรมการมีรายชื่อ-สกุล ดังนี้
 
           1. นายฟูเกียรติ จงเนื่องปริญญา (วศวกร)
             2. นายสุเทพ ชมพูทวีป (สถาปนิก)
             3. นายสมบูรณ์ พลับขาว (ผู้รับเหมาก่อสร้างรั้ววัด)
             4. Bro. Cornelius Ryan c.Ss.R.  หรือบราเดอร์ ดอร์นี่

                 คณะกรรมการชุดนี้มีหน้าที่และอำนาจในการตรวจงาน ทุกเวลาให้คำแนะนำแก้ไขต้นแบบก่อสร้าง เพื่อควบคุมให้ถูกต้องตามแบบ อีกทั้งสามารถยับยั้งหรืออนุมัติวัสดุที่เปลี่ยน แปลงตามแบบด้วย
             ขณะเดียวกันคุณพ่อกริฟฟิต ได้แต่งตั้งกรรมการตรวจงานทั่วไปอีก 8 ท่านเปรียบเสมือนกรรมการวัดชุดก่อตั้งชุดแรก ดังที่รายชื่อ-สกุล ดังนี้

1. นายประวัติ วรรณประทีป
2. นายสุธา อินทรภักดี
3. นายพันธุ์ วงศ์ธนนันท์
4. นายสุบิน เลิศจิตเทวินท์
5. นายจำลอง อยู่คงพันธุ์
6. ร.อ.สังวาลย์ แสงนิยม
7. นายสุเมธ สมบูรณ์ศิลป์
8. นายประสงค์ อัญญะมณี
 
 
             ผู้รับเหมาก่อสร้างที่อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ เลือกให้ดำเนินการ คือ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ชัยธนากิจ มีนายธวัชชัย (หรือช่างหยู) ชัยมงคลตระกูล เป็นเจ้าของ ตั้งอยู่ที่ 283/9 ซอยเซนต์หลุยส์ 3 ถนนสาทรใต้ แขวงทุ่งวัดดอน เขตยานนาวา กรุงเทพฯ วงเงินก่อสร้าง 6,796,300 บาท (หกล้านเจ็ดแสนเก้าหมื่นหกพันสามร้อยบาทถ้วน) สำหรับอาคาร 2 หลัง คือ วัด (อเนกประสงค์) แล ะบ้านพระสงฆ์ พร้อมสำนักงาน กำหนดดำเนินการก่อสร้างเสร็จภายใน 370 วัน กล่าวคือตั้งแต่วันที่ 10 มีนาคม ค.ศ. 1981 วันลงนามสัญญาถึงวันที่ 15 มีนาคม ค.ศ. 1982
 
             อย่างไรก็ดีเนื่องจากพื้นที่ก่อสร้างเป็นพื้นที่ร่องสวน คุณพ่อกริฟฟิตจึงต้องปรึกษาคณะ กรรมการวัดเพื่อจัดหาเงินอีกจำนวนหนึ่งสำหรับถมที่ โชคดีที่ พระเจ้าและพระแม่เจ้าจัดการให้คุณประวัติ วรรณประทีป ในฐานะครูเก่าของโรงเรียนสารสาสน์ ส าธุประดิษฐ์ได้พบศิษย์คนหนึ่งชื่อ นายวิรัช เอื้อสุนทรพานิช ผู้นี้มีพี่ชายและบิดากำลังรับเหมาขุดดินวางท่อประปาของบริษัท เดอ เกร-มองต์โดยยังมิทราบว่าจะขนดินที่ขุดไปทิ้งได้ใกล้ที่ไหน นายประวัติจึงติดต่อให้นำดินที่ขุดไปถมที่ดินลุ่มของพื้นที่สร้างวัดราคาพอรับได้ ทั้งนี้นายสุธา อิทรภักดี รับอาสาวัดความลึกและขนาดของพื้นที่ถมดินดังกล่าว
 
 
             ภายใต้สัญญากับห้างหุ้นส่วนจำกัด อ. สุนทรพานิช (บริษัทของลูกศิษย์คุณประวัติ)ที่ต้องถมดินปรับดินโดยใช้เครื่องจักรกลย่ำจนแน่น ค่าใช้จ่ายเบื้องต้น 1,400,000 บาท (หนึ่งล้านสี่แสนบาทถ้วน) ต่อมาตกลงกันได้ในราคา 1,100,000 บาท (หนึ่งล้านหนึ่งแสนบาทถ้วน) กำหนดระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1979  ถึงวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1980 รวม 120 วัน เนื้อที่ถมดินทั้งหมด 12,800 ตารางเมตร มีรายนามผู้ร่วมทำสัญญา ดังนี้
             1. บาทหลวง ทอม กริฟฟิตผู้ว่าจ้าง
             2. นายบุญเอื้อ เอื้อสุนทรพานิชผู้รับจ้าง
             3. ซิสเตอร์ แอนมารีพยาน
             4. นายสุธา อินทรภักดีพยาน
             5. นายเมธี เชื้อประเสริฐพยาน
             6. นายประวัติ วรรณประทีปพยาน
             7. ร.อ. สังวาล แสงนิยมพยาน
             8. นายจำลอง อยู่คงพันธุ์พยาน
             9. นายพันธุ์ วงศ์ธนนันท์พยาน
             10. นายสุเมธ สมบูรณ์ศิลป์พยาน
             11. นายสุบิน เลิศจิตเมวินท์พยาน
             12. นางสุนีย์ วรรณประทีป พยาน
             13. นายประสงค์ อัญญะมณีพยาน

             อนึ่งในการถมดินดังกล่าวมีสัตบุรุษท่านหนึ่ง รับราชการเป็นตำรวจชั้นยศขณะนั้นคือ ร.ต.อ. (ร.ต.ท.) ชื่อ ดำรงศักดิ์ นิลคูหา ได้ช่วยติดต่อให้เพื่อนตำรวจในสถานีต่างๆ ช่วยอำนวยความสะดวกในยามที่รถบรรทุกดินต้องวิ่งผ่านจนงานถมดินสำเร็จด้วยดี ขอขอบคุณมาในโอกาสนี้อีกครั้งหนึ่ง

             การก่อสร้างวัดอเนกประสงค์ดำเนินไปตามสัญญาว่าจ้าง พร้อมกับบ้านพระสงฆ์ และสำนักงานของวัดในบ้านพระสงฆ์ ปี ค.ศ. 1983 เดือนตุลาคม คุณพ่อทอม กริฟฟิต ได้ว่าจ้างนายสมบูรณ์ พลับขาว หนึ่งในกรรมการที่ปรึกษาโครงการสร้างวัด ให้สร้างรั้วคอนกรีตล้อมบริเวณพื้นที่วัดทั้งหมด ซึ่งในขณะนั้นมิสซังฯ ให้ครอบครองเพียง 4 ไร่ ส่วนอีก 4 ไร่ เตรียมให้คริสตชนจากวัดอ ื่นมาปลูกบ้านบนพื้นที่ดังกล่าว ต่อมาได้ยกเลิกความคิดนี่ในสมัยคุณพ่อบัญชา ศรีประมงค์  เป็นเจ้าอาวาส ปี ค.ศ. 1994

             สำหรับค่าก่อสร้างรั้วซึ่งสูง 2 เมตร ยาว 312 เมตร เป็นเงินทั้งสิ้น 322,050 บาท (สองแสนสองหมื่นสองพันห้าสิบบาทถ้วน) ถึงวันที่ 4 มกราคม ค.ศ. 1981
             การพัฒนาดำเนินไปตามแผนและขั้นตอนกำหนดไว้กระทั่งเดือนพฤษภาคม ปี ค.ศ. 1981 แม้งานยังไม่เสร็จตามเป้าหมายท ี่ คุณพ่อทอม กริฟฟิต ประสงค์เห็นอาคารทั้งสองในสมัยท่านปกครอง คณะพระมหาไถ่ได้มีมติของคณะที่ปรึกษา ปรับเปลี่ยนหน้าที่ของสมาชิกและแต่งตั้งให้คุณพ่อกริฟฟิต ไปเป็นผู้บุกเบิกสถานศึกษาใหม่ของคณะเขตมีนบุรีและเตรียมให้ย้ายโรงเรียนพระมหาไถ่นานาชาติ (Redemptorist International School หรือ RIS) ซอยร่วมฤดี      ไปอยู่ที่นั่น มั่นใจในศักยภาพของคุณพ่อกริฟฟิต ที่สร้างความมั่นใจให้ผู้ปกครองชาวต่างชาติ   ที่ทำงานในกรุงเทพฯ และต้องการให้สงฆ์คณะพระมหาไถ่เป็นผู้อบรมบ่มเพาะลูกหลานเป็นพิเศษ

             ผู้ใหญ่ที่ปรึกษาของคณะฯจึงมีมติส่งคุณพ่อลอเรนซ์ แพทิน ทำหน้าที่แทนคุณพ่อกริฟฟิตที่วัดราชินีฯ เพื่อสานต่องานก่อสร้างและแผนงานต่างๆ จนสำเร็จและเป็นความภาคภูมิใจของบรรดาคริสตชนที่ร่วมมือช่วยกันเต็มกำลังความสามารถ สานฝันวัดราชินีฯให้เป็นจริง
รวมเวลาทำงานอุทิศตนแบบเต็มกำลังกาย กำลังใจ และกำลังปัญญาของคุณพ่อทอม กริฟฟิต ในการอภิบาลคริสตชนและโรงเรียนพระกุมารเยซูวิทยา ลาซาล และเซนต์โยเซฟ บางนา นานถึง 12 ปี

             บัดนี้คุณพ่อได้จากโลกนี้ไปพบพระ หลังจากปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับหมอบหมายจากมนุษย์ผู้ใหญ่ของคณะและการอุทิศตนให้พระในหน้าที่ต่างๆ แล้วคุณพ่อถวายวิญญาณคืนให้พระเจ้า เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ. 1993 ขอให้วิญญาณของคุณพ่อจงพักผ่อนในสันติสุขของพระเจ้าตลอดไปเทอญ
 
 
สมัยคุณพ่อลอว์เร็นส์ แพทิน C.Ss.R.
   ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสองค์ที่สอง ปี ค.ศ. 1981-1984

 

       คุณพ่อแพทินเดินทางเข้ารับหน้าที่ในวันที่ 10 พฤษภาคม ค.ศ.1981 โดยยังคงพักในบ้านเช่าที่คุณพ่อกริฟฟิตพักอาศัย เป็นบ้านไม้ 2 ชั้น (ปัจจุบันเป็นซอยปุณณวิถี 1) เพราะบ้านพระสงฆ์ยังอยู่ระหว่างก่อสร้าง คุณพ่อใช้เวลาที่บ้านพักนี้ประมาณ 1 ปี 4 เดือน ปฏิบัติศาสนบริการให้คริสตชนและโรงเรียนทั้งสามอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับงานสานต่อก่อสร้างร่วมกับอัครสังฆมณฑลให้สำเร็จตามเป้าหมาย

       อัครสังฆมณฑลกรุงเทพโดยมีผู้ลงอำนาจฝ่ายการเงินและทรัพย์สิน คอยกำชับและมอบให้คุณพ่อชำระค่าจ้างงวดก่อสร้างวัดกับห้างหุ้นส่วนจำกัด ชัย-ธนากิจ งวดแรก 1,000,000 บาท (หนึ่งล้านบาทถ้วน) เป็นเงินสะสมสมทบสมัยคุณพ่อกริฟฟิต 400,000 บาท (สี่แสนบาทถ้วน)

             มีผู้แทนดูแลรับผิดชอบภาคสนามแทนคุณพ่อแพทิน ชื่อ นายบุญส่ง แคล้วเครือ กำหนดอัตราจ้าง1,500-2,000 บาทต่อเด ือน มีหน้าที่รายงานความผิดปกติของการสร้างให้คุณพ่อทราบในทันทีที่ผิดแบบหรือโครงสร้างตามสัญญา
 
 
             คุณพ่อแพทิน ย้ายเข้าพักอาศัยบ้านพักพระสงฆ์เมื่อสร้างเสร็จแล้วในวันที่ 27 กันยายน ค.ศ. 1982 โดยขาดอุปกรณ์ประปาและไฟฟ้าบ้าง ซึ่งกำหนดเสร็จตามกำหนดในเดือนตุลาคม ปีเดียวกัน  สัตบุรุษบริจาคอุปกรณ์ ศาสนภัณฑ์ เข้ามาเรื่อยๆ เพื่อใ ห้วัดสามารถบริการเกี่ยวกับ       ศีลศักดิ์สิทธิ์และศาสนบริการได้เร็วยิ่งขึ้น อาทิเช่น สัตบุรุษชื่อ อักเนส บริจาคเครื่องเล่นเปียโนไฟฟ้า (Organ) 1 ตัว, นางบุญธรรม กัลป์ยางกูร บริจาครูปปั้นแม่พระประจักษ์ที่ลูร์ด สูง 1.5 เมตร, มาสเตอร์ ราฟาเอล มานิต บุญคั้นผล บริจาครูปไม้นักบุญโยเซฟอุ้มพระกุมาร สูง 1.5 เมตร เช่นกัน
 
         นอกจากนั้นมีการติดตั้งเครื่องเสียง ของบริษัทเครื่องเสียงธานินทร์ช่วงเดือนธันวาคมเพื่อให้การสมโภชพระคริสตสมภพปี ค.ศ. 1982  เป็นไปด้วยดี
         มีการติดรูปพระแม่นิจจานุเคราะห์ และนักบุญเยราร์ด ด้านข้างขวาและซ้ายของพระแท่นส่วนของพระแท่นมีการจ้าง นายสำเร็จ และครอบครัว จากสำเร็จการช่าง แกะสลักลงรักปิดทองไม้โดยกำหนดเสร็จเพื่อสมโภชพระคริสตสมภพเช่นกัน พร้อมตู้ศีลมหาสนิทด้วย
         อย่างไรก็ดี คุณพ่อแพทิน ได้เริ่มใช้วัดเพื่อประกอบพิธีมิสซาในค่ำคืนวันคริสตสมภพ โดยมีคริสตชนเข้าร่วมพิธีจำนวนมากพอควร
 
             กิจกรรมต่างๆ ของวัดเริ่มมีชีวิตชีวาแม้จะต้องเติมแต่งเครื่องหมายและเครื่องประดับอื่นๆ ที่จำเป็นสำหรับภายในและภายนอกวัด เช่น ชื่อวัด การปลูกต้นไม้เล็ก-ใหญ่ คุณพ่อได้ขอให้กรรมการวัดสมัยคุณพ่อกริฟฟิต และผู้มีน้ำใจรุ่นใหม่เข้าร่วมปรึกษาหารือโครงการต่างๆ เป็นต้นการเตรียมเปิด-เสกวัดใหม่ ในปี ค.ศ.1983 ทั้งนี้มีนายสุธา อินทรภักดี เป็นหัวเรี่ยวหัวแรง ที่ประชุมกำหนด ให้เป็นวันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม ค.ศ. 1983 เวลา 10.00 น.
             แม้ทางวัดขาดอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อเตรียมการเปิด-เสกวัด แต่ก็มีโรงเรียนพระกุมารเยซู  ลาซาล และเซนต์โยเซฟ บางนา เป็นแหล่งของอุปกรณ์เหล่านี้เช่น โต๊ะ เก้าอี้ พร้อมน้ำใจมากมายของมวลคริสตชน มีการเช้าเต้นท์มาเพิ่มที่นั่งภายนอกวัด กรรีที่พื้นที่นั่งในวัดเกินความจุได้ตามปกติ
           วันฉลองเปิด-เสกวัดใหม่ตามกำหนด โดยมี พระคาร์ดินัล ไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู เป็นประธาน ร่วมด้วยพระสมณทูตมาร์ต ิโนและอัครสังฆราชยอแซฟ ยวง นิตโย อดีตประมุขและผู้อนุมัติให้วัดราชินีฯ ซึ่งครั้งหนึ่งเคยให้บริการศาสนพิธีในสมัย คุณพ่อกริฟฟิต ที่โรงเรียนพระกุมารเยซูเป็นกลุ่มคริสตชนอย่างเป็นทางการ มีพระสฆ์จำนวนหนึ่งมาร่วมพิธีอย่างชื่นชมยินดี ทั้งนี้ได้งดมิสซารอบ 09.00 น. และ 11.00 น. ให้ร่วมใจรอบ 10.00 น. โดยพร้อมเพรียงกัน
 
 
นอกเหนือจากเหตุการณ์เปิด-เสกวัดใหม่แล้ว คุณพ่อแพทินยังได้พัฒนากิจกรรมอื่นของวัดเช่น
 
             1. จัดให้มีสารวัดทุกวันอาทิตย์ ซึ่งวัดเป็นสมาชิกสำนักพิมพ์พระมหาไถ่ พัทยา
             2. จัดให้มีการเลือกตั้งคณะกรรมการสมาชิกชุดใหม่อย่างเป็นทางการ
             3. จัดให้มีการรับศีลมหาสนิท   ศีลกำลังของนักเรียนโรงเรียนลาซาล  และเซนต์โยเซฟ บางนา ที่วัดราชินีฯ
                 จากที่เคยจัดในโรงเรียนเอง
             4. เหตุการณ์ร่วมยินดีที่สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 เสด็จเยี่ยมประเทศไทย ระหว่างวันที่ 10-11
                 พฤษภาคม ค.ศ. 1984
 
 
             คุณพ่อแพทิน ดูแลปกครองอภิบาลสัตบุรุษวัดราชินีฯเป็นเวลา 3 ปีเต็ม คณะผู้ใหญ่จึงได้กำหนดให้คุณพ่อย้ายไปปฏิบัติห น้าที่ในวัดที่คณะดูแลภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อิสาน) คณะกรรม การวัดได้จัดพิธีอำลากตัญญุตาต่อคุณพ่อในวันที่ 3 มิถุนายน ค.ศ.1984 และเช้าวันจันทร์ที่ 4 มิถุนายน คุณพ่อเดินทางออกจากวัดราชินีฯเพื่อรับหน้าที่ใหม่วัดนักบุญอัลฟอนโซ จังหวัดหนองคาย ทำหน้าที่อธิการของหมู่คณะและนวกจารย์ของสมาชิกผู้เยาว์ของคณะพระมหาไถ่ที่ใกล้วัดนักบุญอัลฟอนโซด้วย
 
 
 
สมัยคุณพ่อเจมส์ ธนู กระทอง C.Ss.R
ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสองค์สาม ปี ค.ศ. 1984-1993
 
           คุณพ่อมีผู้ช่วยหลายองค์ผลัดเปลี่ยนกันมา คือ คุณพ่อลอว์เร็นส์ ชาย ขัณฑโฮม C.Ss.R (3 ปี) คุณพ่อโรเบิร์ต มาร์ติน C.Ss.R  (ช่วยประจำ 5 ปีเต็ม)
 

           จากการประกาศมติของผู้ใหญ่คณะพระมหาไถ่ ให้คุณพ่อลอว์เร็นส์ แพทิน ย้ายไปทำหน้าที่ใหม่ที่ว ัดนักบุญอัลฟอนโซ จังหวัดหนองคาย ผู้ใหญ่ได้ให้คุณพ่อธนู กระทอง เข้าดำรงตำแหน่งแทนโดยคงดูแล อภิบาลหมู่คณะของซิสเตอร์คณะพระกุมารเยซู คณะลาซาล และคณะเซนต์ปอล โรงเรียนเซนต์โยเซฟ บางนา

           ความเปลี่ยนแปลงแรกที่คุณพ่อธนูจัดให้สัตบุรุษคือ มีอาหารเช้า กาแฟ เครื่องดื่มอื่นๆ หลังร่วมพิธีมิสซารอบเช้าวันอาทิตย์ โดยมีแม่บ้านวัดช่วยเหลือจัดอาหารและคณะกรรมการวัดเป็นผู้ช่วย ให้บริการผู้รับอาหารและเครื่องดื่ม ช่วยบริจาคตามศรัทธาในกล่องใส่ที่จัดเตรียมไว้

 
       การฉลองวัดประจำปียังคงยึดปฏิบัติตามที่คุณพ่อแพทินกำหนดคือ วันอาทิตย์สุดท้ายของเดือนสิงหาคม นับจากวันเปิดและเสกวัดในปี ค.ศ. 1983 เป็นต้นมา

       มีการจัดพิธีศีลมหาสนิทและศีลกำลังที่วัด เนื่องจากมีเด็กนักเรียนของโรงเรียนลาซาล และเซนต์โยเซฟ บางนา ซึ่งเป็นโรงเรียนหลักสูตรสายสามัญ ส่วนโรงเรียนพระกุมารเยซูเป็นระดับหลักสูตรพิเศษจบมัธยมศึกษาตอนต้นแล้ว

       เด็กส่วนใหญ่รับศีลศักดิ์สิทธิ์ทั้งสองแล้วจะมียกเว้นบางครั้ง ที่มีเด็กขอรับศีลล้างบาปช่วงโตแล้วเท่านั้น ผู้โปรดศีลกำลังจะเป็นพระอัครสังฆราชแห่งกรุงเทพฯ มีบางครั้งที่พระสังฆราชยอร์ด ยอด พิมพิสาร สมาชิกของคณะพระมหาไถ่ หรือพระสังฆราชองค์อื่นกรณีที่ผู้ปกครองท้องถิ่นไม่สะดวกในวันกำหนดของทางวัด
 

       การฉลองวัดในช่วงปีแรกๆ คุณพ่อธนูใช้บริการขอพี่น้องสัตบุรุษที่หลายท่านสามารถจัดอาหารได้เองเพราะเป็นแม่ค้าบ้าง บร ิจาคโดยจัดอาหารของพ่อค้าแม่ค้าที่รู้จักมาบริการให้เป็นบรรยากาศแบบชนบท และแสดงความสามัคคีปรองดองที่สัตบุรุษรักวัดของตน
       ต่อมาคุณพ่อธนู ตระหนักถึงความเหน็ดเหนื่อยและภาระของสัตบุรุษในการจัดเตรียมฉลองวัดประจำปี หลังปรึกษาคณะกรรมการวัดแล้ว คุณพ่อจึงสร้างให้ผู้บริการเอกชนที่ชำนาญปรุงอาหารและบริการมาทำหน้าที่นี้แทน ตามราคาที่เหมาะสมและปริมาณของผู้เข้าร่วมฉลองวัด โดยคาดคะเนให้ใกล้เคียงจำนวนผู้คนที่รับประทานในวันนั้น

       ปัญหาการจอดรถของคริสตชนที่ขับรถเข้าร่วมพิธีในวันอาทิตย์ ยามฝนตกหรือยามที่มีพาหนะเพิ่มขึ้น พื้นที่ลุ่ม มีน้ำฝนเจิ่งนอง การจัดระบบระบายน้ำยังไม่ดีพอคืออุปสรรคที่คุณพ่อเล็งเห็นในช่วงเวลาต่อมา จึงปรึกษาคณะกรรมการและทำหนังสือขออนุมัติการปรับปรุงพื้นที่ต่อพระสังฆราชแห่งกรุงเทพฯ ระหว่างที่รอการอนุมัติ ก็มีรถโดยสารขนาดเล็กในซอยสุขุมวิท 101 เข้าให้บริการ โดยทุกวันอาทิตย์รถเหล่านี้ ซึ่งมีจำนวน 4-5 คัน บริการให้สัตบุรุษที่ไม่มีรถยนต์ส่วนตัวสามารถปฏิบัติศาสนพิธีได้สะดวกขึ้น

       หลังจากอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ได้พิจารณาถึงความเหมาะสมของคำร้องขออนุญาตที่ คุณพ่อธนู ขอเทพื้นคอนกรีตลานหน้าวัดในงบประมาณ 620,000 บาท (หกแสนสองหมื่นบาทถ้วน) โดยเป็นเงินบริจาคสมทบของพี่น้องสัตบุรุษและเงินสะสมของทางวัดส่วนหนึ่ง อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ไม่ต้องสมทบช่วยเหลือแต่อย่างใด การปรับพื้นที่ตามจุดประสงค์ดังกล่าวได้สำเร็จตามเจตนารมณ์ ในวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ. 1988 โดยมีบริษัท TMP Maintenance & Service Co.Ltd. เป็นผู้รับเหมาเจ้าของชื่อ นายกวิน ทร์ เกวลี สัตบุรุษวัดราชินีฯ
 
 
       ในสมัยของคุณพ่อธนูได้มีเหตุการณ์สำคัญยิ่งคือ อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯอนุญาตให้จัดพิธีบวชพระสงฆ์คณะพระมหาไถ่ 3 องค์ที่วัดราชินีฯ หลังจากผู้ใหญ่คณะพระมหาไถ่เห็นชอบแล้ว สงฆ์บางท่านเคยฝึกงานอภิบาลที่วัดราชินีฯด้วย พิธีบวชมีขึ้นในวันที่ 12 สิงหาคม
ค.ศ.1985 โดยพระคาร์ดินัล ไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู เป็นประธานในพิธี รายนามทั้ง 3 องค์ คือ
       1. คุณพ่อยอแซฟ ไวยากรณ์ สุขสวัสดิ์
       2. คุณพ่อเปโตร เจริญ เวียนศิรินันทโชติ
       3. คุณพ่อฟรังซิส เซเวียร์ อภิชาต เนติประวัติ
 
 
         ส่วนผู้ช่วยงานอภิบาลประจำของคุณพ่อธนูขณะเป็นผู้อภิบาลคือ คุณพ่อชาย ขัณฑโฮมประจำประมาณ 3 ปี, คุณพ่อโรเบิร์ต มาร์ติน ประจำประมาณ 4-5 ปี โดยมีสงฆ์พระมหาไถ่ องค์อื่นๆ ผลัดกันช่วยเหลือในหลายโอกาส เมื่อมีธุระจำเป็นและมีการฉลองสำคัญที่ต้องการผู้ช่วยฟัง แก้บาป มากกว่าปกติ ดังมีรายนามคือ
 
       1. คุณพ่ออภิศิษฐ์ กฤษลัมภ์
       2. คุณพ่อไพบูลย์ อุดมเดช
       3. คุณพ่อทอม กริฟฟิต
       4. คุณพ่อสมพงษ์ เตียวตระกูล
       5. คุณพ่อเจริญ เวียนศิรินันทโชติ
       6. คุณพ่อไวยากรณ์ สุขสวัสดิ์

       คณะฯ ยังได้จัดให้สามเณรใหญ่ที่สามพรานได้ฝึกงานอภิบาลทุกวันเสาร์-อาทิตย์ที่วัดราชินีฯ นอกเหนือจากวัดพระมหาไถ่ ซอย ร่วมฤดีทั้งนี้เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับสามเณรเองและผู้ใหญ่ที่ดูแลสามเณรด้วย เพราะเป็นโอกาสเก็บพฤติกรรมที่สามเณรแสดงออกด้วย ส่วนใหญ่จะเป็นงานเยาวชนและพิธีกรรมของน้องๆ ที่ช่วยจารีตในวัด

       นอกจากงานเทพื้นคอนกรีตลานจอดรถหน้าวัดแล้ว คุณพ่อธนูยังได้พัฒนาและปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ อีกหลายอย่าง ดังสรุปได้ดังนี้
 

ติดตั้งพัดลมเพดานในวัดเพิ่มจากเดิม เพื่อให้ความเย็นแก่สัตบุรุษที่มีมากขึ้น
ปรับปรุงเก้าอี้นั่งเพิ่มขึ้นพบจำนวนกับสัตบุรุษเช่นกัน
ปรับปรุงห้องสุขาหญิง-ชาย เพราะมีการใช้บริการมากขึ้น
สร้างห้องพักคนงานเพื่อพักอาศัยโดยแยกเป็นครอบครัว
ปลูกต้นไม้ยืนต้น ทั้งไม้ดอกและไม้ผล เพื่อให้ร่มและฟอกอากาศ
ปรับปรุงบ่อพักและท่อระบายน้ำ เพื่อลดระดับน้ำยามฝนตกหนัก เพราะพื้นที่วัดยังเป็นที่ลุ่มอยู่
ปรับพื้นที่ด้านหลังวัด ขยายพื้นที่จอดรถ เป็นวัสดุหินคลุก เนื่องจากพื้นที่ของวัดมีเพียง 4 ไร่ เมื่อครั้งที่คุณพ่อกริฟฟิตรับจากอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

ติดไฟฟ้าส่องทาง จากปากซอยปุณณวิถี 27 (ซอยสองพี่น้อง) ถึงประตูรั้ววัด เพื่อช่วยให้ผู้เดินทางเข้าร่วมพิธีช่วงค่ำสะดวกขึ้น และปลอดภัยจากภัยร้ายต่างๆ
 
         คุณพ่อธนู ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส นานถึง 9 ปี ทำให้คุณพ่อเป็นผู้รู้จักมักคุ้นของพี่น้องสัตบุรุษเป็นอย่างดีรวมถึงหมู่คณะนักบวชที่รับการอภิบาลทั้ง 3 แห่ง ดังนั้นเมื่อครบวาระหน้าที่คณะกรรมการวัดจึงเห็นสมควรจัดพิธีอำลาขอบคุณด้วยมิสซาและอาหา รโต๊ะจีนประมาณ55โต๊ะ บริเวณลานวัดที่คุณพ่อ ได้พัฒนาในวันอาทิตย์ที่ 18 เมษายน ค.ศ.1993 ช่วงเวลาเย็นหลังมิสซารอบ 17.00 น. มีการแสดง การร้องเพลงในบรรยากาศพี่น้องร่วมด้วยเพื่อนพระสงฆ์คณะพระมหาไถ่ให้เกียรติเข้าร่วมพิธีอำลานับได้ 10 องค์ ดังนี้
       1. คุณพ่อทอม กริฟฟิต
       2. คุณพ่อโรเบิร์ต มาร์ติน
       3. คุณพ่อชาร์ลส โกแตนท์
       4. คุณพ่อไพโรจน์ สมงาม
       5. คุณพ่อบรรจง ไชยรา
       6. คุณพ่อฟรังซิส โกโตร
       7. คุณพ่อศิริชัย เล้ากอบกุล (เจ้าอาวาสองค์ใหม่ ต่อจากคุณพ่อธนุ)
       8. คุณพ่อวัลลภ จำหน่ายผล
       9. คุณพ่อปอล นาทัน (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นคุณพ่อพล เนตรธรรม)
       10. คุณพ่อไวยากรณ์ สุขสวัสดิ์
 
 
       สรุปงาน ต่างๆ ในสมัยคุณพ่อธนูได้พัฒนาไปมากมาย ทำให้สัตบุรุษมีความเข้มแข็งในความสามัคคี ความเชื่อที่มั่นคง ความรักในชุมชน และรับที่จะช่วยเหลือสังคมส่วนรวมมากขึ้น ทั้งนี้กลุ่มคริสตชนก็ขยายจำนวนด้วยคุณพ่อศิริชัย เล้ากอบกุล รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสองค์ต่อมา โดยมีคุณพ่อโกโตรเป็นผู้ช่วยอภิบาลตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ 2 พฤษภาคม ค.ศ.1993 เป็นต้นไป

 สมัยคุณพ่อแอนโทนี ศิริชัย เล้ากอบกุล C.Ss.R
   ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสองค์สี่ ปี ค.ศ. 1993-1994
           สงฆ์ผู้ช่วยอภิบาลประจำ คือ คุณพ่อฟรันซิส โกโตร C.Ss.R

           เมื่อคุณพ่อศิริชัย เล้ากอบกุล สงฆ์คณะพระมหาไถ่ เข้ารับตำแหน่งต่อจากคุณพ่อธนู  กระทอง ปรากฏว่างานพัฒนาปรับปรุงพื้นที่ต่างๆ ค่อนข้างจะพร้อมแล้ว ดูเหมือนความจำเป็นด้านวัตถุน้อยลง คุณพ่อศิริ ชัยจึงมุ่งหน้าเน้นไปในส่วนของฝ่ายจิตวิญญาณ เพิ่มพลังภายในให้แก่ชีวิตคริสตชนมากขึ้น เน้นวิถีชีวิตคริสตชน อบรมเพิ่มความรู้คำสอนของพระศาสนจักร และความรู้พื้นฐานของพระเจ้ามากขึ้น โดยเน้นกลุ่มย่อยๆ ทั้งก่อนระหว่างและหลังมิสซา เป็นต้น ศีลศักดิ์สิทธิ์เริ่มต้นชีวิตคริสตชน-ศีลล้างบาป-ศีลแต่งงาน
 
       คุณพ่อยังได้ดูแล จัดการเปลี่ยนสิ่งของเครื่องใช้ ทั้งในวัดและนอกวัดที่เสื่อมโทรมไปตามอายุ เพื่อให้เหมาะสมสำหรับการบร ิการแก่สัตบุรุษและถวายเกียรติแด่พระเจ้าต่อไป เหตุการณ์ที่บันทึกไว้เป็นประโยชน์ ต่องานอภิบาลอย่างต่อเนื่องสมัยที่ คุณพ่อศิริชัย ได้ริเริ่มและดำเนินการเกิดผลดีแก่สัตบุรุษที่เข้าร่วมพิธีมิสซาและศาสนพิธีพอสรุปได้ดังนี้
 
 
จัดตั้งกลุ่มคณะพลมารีขึ้นเป็นครั้งแรก โดยมอบให้คุณพ่อโกโตร เป็นจิตตาภิบาลจากการริเริ่มของสัตบุรุษวัดเซนต์หลุยส์ที่รู้จักคุณพ่อศิริชัย ชื่อนายบุญเกียรติ หรือภาษาจีน “บุ่ง เกี๊ยก” ขอจัดตั้งกลุ่มโดยครั้งแรกนี้มีสมาชิกสนใจ 4 คน แต่ภายหลังหยุดไปเพราะไม่เข้มแข็งพอ
จัดให้กลุ่มสมาชิกเยาวชนสอนคำสอนง่ายๆ ให้เด็กเล็ก ถือเป็นกิจกรรมของกลุ่ม
ปรับปรุงเครื่องขยายเสียงและไมโครโฟน เพาะมีสัตบุรุษเริ่มพูดกันหนาหูว่า ฟังเสียงพระสงฆ์เทศน์ไม่ค่อยชัดหรือประกาศแจ้งต่างๆ
แทรกการอบรมเกี่ยวกับความหมายของศีลศักดิ์สิทธิ์ในระหว่างประกอบพิธี เช่น ศีลล้างบาป หรือศีลแต่งงาน เพื่อสัตบุรุษจะได้รับรู้ความหมายเพิ่มขึ้น

อบรมคำสอนให้ผู้ใหญ่ทั้งช่วยเตรียมแต่งงาน และให้เป็นคริสตชนที่ดีต่อไป
อบรมคริสตชนจำนวนไม่เกิน 30 คนทุกเช้าวันเสาร์ จบการอบรมเวลาเที่ยง
บริการจำหน่ายหนังสือศรัทธา เพื่อประโยชน์แก่ชีวิตคริสตชน
ปรับปรุงแสงสว่างทางเข้าวัดที่คุณพ่อธนูได้ติดตั้งไว้ให้เกิดความสะดวกขึ้น

 ถึงแม้คุณพ่อศิริชัย จะดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสเพียง 1 ปี แต่มีกิจกรรมหลายอย่างเกิดขึ้นที่วัดราชินีฯ ภารกิจต่างๆ ก้าวรุดหน้าไปตามครรลองของจิตตารมณ์คณะฯ ที่มุ่งสร้างกลุ่มคริสตชนด้วยความมุมานะ เข้มแข็งอย่างต่อเนื่อง มีเหตุการณ์สำคัญหนึ่งเกิดขึ้นที่คุณพ่อบันทึกว่า “วันอังคารที่ 24 สิงหาคม ค.ศ. 1993 พระได้เรียกคุณพ่อทอม กริฟฟิต จากโลกไปเฝ้า คุณพ่อกริฟฟิต เ ป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งวัดราชินีฯ โดยรวบรวมสัตบุรุษที่พักอาศัยใกล้เคียงและออกเยี่ยม เพื่อนำพาทุกคนให้เข้าร่วมมิสซาวันอาทิตย์ สอนคำสอนให้ผู้สนใจเป็นคริสตชนและลูกหลาน คริสตชน จากจำนวน 10 กว่าคนจนเพิ่มจำนวนมากขึ้น จากห้องประชุมโรงเรียนพระกุมารเยซู จนกลายเป็นวัดหลังปัจจุบัน”
 
       เมื่อเวลาสุกงอม คณะพระมหาไถ่โดยเจ้าคณะฯ ขณะนั้นคือคุณพ่อฟิลิป บรรจง ไชยรา พร้อมที่ปรึกษาได้มีมติมอบวัดราชินีฯ ให้ประมุขท้องถิ่นดูแลต่อไปหลังจากแพร่ธรรมเสร็จ   ตามเจตนารมณ์ การมอบโอนวัดให้อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ดูแลเกิดขึ้นใน การโยกย้ายประจำปี วันเสาร์ที่ 9 เมษายน ค.ศ. 1994 พระสงฆ์สังฆมณฑลองค์แรกที่ดำรงตำแหน่งคือ  คุณพ่อเปโตร บัญชา ศรีประมงค์
 
 
       ค่ำวันอาทิตย์ที่ 24 เมษายน คุณพ่อบัญชา ได้เข้ามารับมอบเอกสารต่างๆ และพูดคุยเพื่อสานงานต่อจากคุณพ่อศิริชัย ซึ่งพั กอาศัยต่ออีก 2-3 วัน ก่อนที่คุณพ่อบัญชาจะเข้าประจำการอย่างเป็นทางการต่อไป เช้าวันพุธที่ 27 เมษายน ค.ศ. 1994 คุณพ่อศิริชัยได้เดินทางจากไปรับหน้าที่ใหม่ที่คณะพระมหาไถ่กำหนดให้ในบันทึกประจำวัน คุณพ่อได้เขียนคำส่งท้ายเป็นภาษาอังกฤษว่า
       “Good bye, God bless the parish priest & the people.”
 
 
สมัยคุณพ่อเปโตร บัญชา ศรีประมงค์
ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสองค์ที่ห้า ปี ค.ศ. 1994-1995

 สงฆ์ผู้ช่วยอภิบาล คือ
         1. คุณพ่อยอแซฟ อนันต์ เอี่ยมมโน
         2. คุณพ่อยอแซฟบรรจบ โสภณ
         3. คุณพ่อเปโตรสุพจน์ ฤกษ์สุจริต (วันอาทิตย์)

             หลังรับมอบงานและหน้าที่จากคุณพ่อศิริชัย เล้ากอบกุล สงฆ์พระมหาไถ่ที่ปกครองอภิบาลวัดนี้ค ุณพ่อบัญชา เป็นสงฆ์อัครสังฆมณฑลองค์แรกที่ต่องานตามข้อตกลงแรกๆ สัตบุรุษต้องปรับตัว กับวิถีชีวิตของชุมชนที่ต้องมีพระสงฆ์พื้นเมืองมาอภิบาล หลังจากที่คณะพระมหาไถ่ดูแลนานถึงเกือบ 30 ปี นับจากใช้ห้องประชุมของโรงเรียนพระกุมารเยซู เริ่มต้นมาอย่างไรก็ดี ในช่วงเวลาประมาณ 1 ปี
 
ที่คุณพ่อบัญชาอภิบาลสัตบุรุษที่นี่ไม่ได้มีบันทึกเหตุการณ์ไว้เฉกเช่นสงฆ์คณะพระมหาไถ่ การรสอบถามและพูดคุยกับบุคคลที่อยู่ช่วงเวลานี้จึงเป็นการจำเหตุการณ์เพื่อบันทึกไว้ให้เกิดความต่อเนื่องนั่นเอง
 
 
       ตามความตั้งใจแรกและรับการอนุมัติจากประมุขท้องถิ่นแล้ว ศาลาอเนกประสงค์ที่เกิดขึ้นในสมัยคุณพ่อทอม กริฟฟิต จึงจัดพื้นที่ไว้เป็น
 
สนาม
เป็นที่แสดงกิจกรรม หรือ การแสดงบนเวที
ในกรณีพิธีกรรมทุกวันอาทิตย์หรือ วันฉลองอื่นๆ จะมีม่านปิดกั้นไว้
ส่วนหนึ่งจัดไว้เป็นห้องสวดอุทิศให้ผู้ล่วงลับกรณีตั้งศพผู้จากไป
 
งานและการเปลี่ยนแปลง
         คุณพ่อบัญชาโดยพื้นฐานของชีวิตสงฆ์ ที่เคยทำงานกับเยาวชนในหน่วยงานของสภาพระสังฆราชแห่งประเทศไทยช่วงเวลาหนึ่ง ทำให้จิตใจส่วนหนึ่งคิดถึงกิจกรรมส่งเสริมเยาวชน โดยได้นำแนวคิดดังกล่าวมาทำให้เป็นรูปธรรมดังนี้
       1. รวบรวมเยาวชนจัดกิจกรรมให้ เช่น จัดสนามฟุตบอลเล็ก บาสเกตบอล ตาม
           กำลังทรัพย์ และตามศักยภาพของพื้นที่
       2. ทำที่จอดรถพระสงฆ์ติดรั้วกำแพงวัดด้านหน้าประตู ปัจจุบันมีการต่อเติมเป็น
           ส่วนหนึ่งของห้องประชุมวัดไปแล้ว
       3. จัดให้มีสนามเด็กเล่น และอุปกรณ์เครื่องเล่นเพื่อการพักผ่อนของเด็กเล็ด
       4. จัดซื้อโต๊ะชุดม้าหินขัดประมาณ 20 ชุด เพื่อบริการสัตบุรุษและกิจกรรมต่างๆ
       5. รื้อกำแพงที่ก่อสร้างไว้แยกพื้นที่วัดกับพื้นที่ด้านทิศเหนือ ที่มิสซังฯ เคยมีเจตนาโยก ย้ายคริสตชนจากวัดอื่นมาอาศัย แต่มี
           เหตุขัดข้องจึงยกเลิกโครงการ นายทรงศักดิ์(จั๊ว) รับหน้าที่ปรับพื้นที่รั้ว ทำให้บริเวณดูสบายตาขึ้น
 
       คุณพ่อบัญชา ปกครองอภิบาลช่วงเวลา 1 ปี แล้วรับคำสั่งให้ไปศึกษาเพิ่มเติมเป็นเวลา 1 ปี ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เม ื่อมีประกาศเปลี่ยนแปลงตำแหน่ง หลังการเข้าเงียบฟื้นฟูจิตใจประจำปีในเดือนเมษายน ค.ศ. 1995 พระสังฆราชได้แต่งตั้งให้คุณพ่อเปาโล สุรชัย ชุ่มศรีพันธุ์ ดำรงตำแหน่งต่อไป
 
 
สมัยคุณพ่อเปาโล สุรชัย ชุ่มศรีพันธุ์
ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสองค์ที่หก ปี ค.ศ. 1995-1999
 

 พระสงฆ์ผู้ช่วยอภิบาล คือ

         1. คุณพ่อเปาโล คมสันท์ ยันต์เจริญ ปี ค.ศ. 1995-1997
             (วันธรรมดา ดูแลวัดน้อยโรงเรียนเซนต์โยเซฟบางนา-วัดน้อยโรงเรียนลาซาล)
         2. คุณพ่อเปโตร สุพจน์ ฤกษ์สุจริต ปี ค.ศ. 1995-1999  (เฉพาะวันอาทิตย์ )
         3. คุณพ่ออันแซล์ม อดิศักดิ์ กิจบุญชู ปี ค.ศ. 1997-1999) แทนคุณพ่อคมสันท์ ยันต์เจริญ
             ย้ายออกไปประจำที่วัดอื่น
         4. คุณพ่อโทมัส ประทีป สุทธินาวิน เดือนมิถุนายน-เดือนธันวาคม ค.ศ. 1998
             (เตรียมเป็นเจ้าอาวาสองค์แรกของวัดพระกุมารเยซู ถ. บางนา-ตราด กม.8 ดูแล
             วัดน้อยโรงเรียนลาซาล)
         สมัยคุณพ่อสุรชัย ชุ่มศรีพันธุ์ ปกครองอภิบาลวัดราชินีฯ ไม่ปรากฏว่ามีบันทึกเหตุการณ์ในสมุดบันทึกหมายเหตุของวัดเช่นเดียวกับคุณพ่อบัญชา ประวัติช่วงเวลา 5 ปี จึงเป็นการเก็บข้อมูลจากการสอบถามพี่น้อง คริสตชนที่ยังจำเหตุการณ์ได้เท่าที่สามารถ
 
       พระคาร์ดินัลได้แต่งตั้งพระสงฆ์ให้ช่วยแบ่งเบาภาระที่วัดราชะนีฯ ต้องดูแลหมู่คณะของนักบวช 2 คณะที่ดำเนินการเรื่องกิจ การโรงเรียน คือ ลาซาล และเซนต์โยเซฟ บางนา ทั้งสองแห่งมีวัดน้อยที่สมาชิกต้องการการอภิบาลด้านศีลศักดิ์สิทธิ์ด้วย คุณพ่อเปาโล คมสันท์ ยันต์เจริญ และคุณพ่ออัลแซล์ม อดิศักดิ์ กิจบุญชู จึงรับหน้าที่นี้ตามลำดับ

       อย่างไรก็ดี กลุ่มคริสตชนของวัดราชินีฯ มีการกระจัดกระจายไปแถบพื้นที่กว้างตามการเกิดของหมู่บ้านต่างๆ ที่นักลงทุนจัดสร้างและมีคริสตชนจำนวนหนึ่งซื้อบ้านเข้าพักอาศัยด้วย สำนักมิสซังกรุงเทพฯจึงมีความคิดที่จะสร้างวัดในพื้นที่ถนนบางนา-ตราด บร ิเวณ กม.8 ซึ่งมีสัตบุรุษท่านหนึ่งมีที่ดินบริเวณดังกล่าว และมีเจตนาให้คณะพระมหาไถ่เปิดวัดใหม่ด้วย การเจรจาและรวมเจตนาเกิดขึ้น โดยพระคาร์ดินัลรับข้อเสนอจัดซื้อที่ดินเพิ่มจากเดิม 5 ไร่ เป็นมากกว่าอีก 2-3 ไร่
 
         คุณพ่อประทีปสุทธินาวินจึงรับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสในปี ค.ศ. 1998 แต่ระหว่างก่อสร้างให้พัก ที่วัดราชินีฯ และอภิบาลวัดน้อยโรงเรียนลาซาล เตรียมไว้ในอนาคตเมื่อแยกการอภิบาลจากวัดราชินีฯ อย่างเป็นทางการแล้ว
 
       การปรับปรุงวัดราชินีฯ จากโถง-ศาลาอเนกประสงค์ให้เหมาะสมที่จะเป็นวัดสมฐานะได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาของคุณพ่อสุรชัย ทางมิสซังฯ จึงดำเนินการให้สถาปนิกเขียนแบบต่อเติมให้มีลักษณะของชานพักขยายพื้นที่ของพื้นที่พักเดิมเป็นพื้นของวัดถาวร พร้อมกับเทถนนคอนกรีตรอบวัดเป็นพื้นที่ใช้แห่โอกาสฉลองวัด มิสซังฯ รับผิดชอบค่าใช้จ่ายโดยให้วัด-พี่น้องสัตบุรุษช่วยสมทบส่วนหนึ่ง ซึ่งคุณพ่อสุรชัยหลังปรึกษากรรมการวัด เห็นควรจัดการแข่งขันโบว์ลิ่ง หลังค่าใช้จ่ายกิจกรรมแล้ว มีเงินสมทบประมาณ 200,000 บาท(สองแสนบาทถ้วน)
    
           ผู้รับเหมาคือนายวิเชียร ชัยมงคลตระกูล ซึ่งเป็นน้องชายของนายธวัชชัย ที่สร้างโถง อเนกประสงค์ สมัยคุณพ่อทอม กริฟฟิต เป็นผู้ดำเนินการเริ่มวันที่ 13 มกราคม ค.ศ. 1998 และเสร็จสิ้นโครงการนี้ วันที่ 30 สิงหาคม ปีเดียวกัน ซึ่งเป็นวันฉลองวัดประจำปี นั้นด้วย มีการสร้างถ้ำแม่พระประจักษ์ที่ลูร์ดในเวลาต่อมาด้วย เพื่อให้สัตบุรุษภาวนาต่อพระแม่ ก่อนและหลังเข้าวัดร่วมมิสซาเป็นต้นในวันเสาร์-อาทิตย์

 กิจกรรมพิเศษ
       คุณพ่อสุรชัยได้สนับสนุนเยาวชนที่เริ่มในสมัยของคุณพ่อบัญชาให้พัฒนาก้าวหน้าเนื่องด้วยมีผู้ช่วยพักประจำ และยังเพิ่งบวชไม่นานนัก เป็นต้น คุณพ่ออดิศักดิ์ กิจบุญชู  จัดกิจกรรมต่างๆ ให้กลุ่มสมาชิกทำการช่วยเหลือจัดการขับร้องเพลงในพิธี กิจกรรมรื่นเริงรับวันคริสตสมภพ ร่วมแรงร่วมใจจัดงานฉลองวัด สนุบสนุนกิจศรัทธาสัตบุรุษวัดราชินีฯ ไปแสวงบุญที่สักการสถานพระมารดาแห่งมรณสักขี สองคอน

จัดการปลูกต้นไม้ใหญ่ให้ร่มรื่นเพิ่มขึ้น
 
         จัดการซื้อหาพาหนะใหม่ของพระสงฆ์ รถเก๋ง โตโยต้า โคโรล่า 1 คัน และขอรถตู้มือสองจากมิสซังฯ เพื่อใช้ในกิจกรรมของวัดและจัดบริการสัตบุรุษไปเยี่ยมวัดอื่นๆ เท่าที่สามารถไปได้

เหตุการณ์ที่ควรจดจำคือ
       มีการบวชพระสงฆ์คณะรอยแผลศักดิ์สิทธิ์ 2 องค์ ซึ่ง 1 ใน 2 เคยช่วยงานที่วัด โดยฝึกงานอภิบาลวันเสาร์-อาทิตย์ ระหว่างป ีการศึกษา เช่นที่คณะพระมหาไถ่ เคยบวชพระสงฆ์ของคณะๆ สมัยคุณพ่อเจมส์ ธนู กระทอง  ที่วัดราชินีฯ โดยผู้ใหญ่ของคณะรอยแผลฯ เห็นชอบตามขั้นตอน คุณพ่อทั้งสององค์ ได้แก่
คุณพ่อมีคาแอล จีระศักดิ์ ยงบรรทม
คุณพ่อเปโตร ยุทธนา สกนธวัฒน์
โดยมี พระคาร์ดินัล ไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู  เป็นผู้ประกอบพิธี ในวันเสาร์ที่ 12 ตุลาคม ค.ศ. 1996 มีสัตบุรุษเข้าร่วมพิธีจำนวนมาก
สมัยคุณพ่อยอแซฟ ประสาร คูรัตนสุวรรณ
     ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสองค์ที่เจ็ด  ปี ค.ศ. 1999-2004
 

 พระสงฆ์ผู้ช่วยอภิบาล คือ
             1. คุณพ่อเปโตร สุพจน์ ฤกษ์สุจริต ใน ปี ค.ศ. 1999-2000 (ช่วยวันอาทิตย์)
             2. คุณพ่อเปโตร ประยุทธ ศรีเจริญ ปี ค.ศ. 2000-2003 (ช่วยวันอาทิตย์)
             3. คุณพ่อยอห์น บัปติสต์ พงศ์เทพ ประมวลพร้อม ปี ค.ศ. 2003-2004
                 (ช่วยวันเสาร์-วันอาทิตย์)
             4. คุณพ่อฟรังซิสเซเวียร์ สมหมาย มธุรสสุวรรณ ประจำ 1 ปี ก่อนไปเรียนต่อประเทศอิตาลี
                   เดือนกันยายน
       หลังประกาศโยกย้ายสับเปลี่ยนตำแหน่งหน้าที่ประจำปี ค.ศ.1999 คุณพ่อประสาร ได้เข้าประจำวัดราชินีฯ มีผู้ช่วยอภิบาลหลายองค์ เฉพาะในวันเสาร์และอาทิตย์ งานประจำที่วัดราชินีฯ เคยรับผิดชอบถวามิสซาให้โรงเรียนลาซาล และโรงเรียนเซนต์โยเซฟ บา งนา ก็หมดไป  เพราะเป็นหน้าที่ของพระสงฆ์ที่ดูแลวัดพระกุมารเยซู  ถนนบางนาตราด กม.8 และพระสงฆ์อื่นที่ศูนย์กลางกำหนดให้พักเพื่ออภิบาลโรงเรียน ดังกล่าว
 
       ช่วงเวลาที่คุณพ่อประสารอภิบาลวัดราชินีฯ เป็นช่วงที่สมเด็จพระสันตะปาปา ยอห์น ปอล ที่ 2 กำหนดให้ปี ค.ศ. 2000 เป็นปีศักดิ์สิทธิ์ เพื่อเตรียมเข้าสู่สหัสวรรษใหม่ (รอบ 100 ปี ที่ 3) วัดทั่วพระศาสนจักรจึงตื่นตัวเตรียมเข้าสู่โครงการอย่างเข้มแข็ง

       คุณพ่อประสารจึงเห็นเป็นโอกาสเหมาะสมปรับปรุงวัดให้ดูสวยงามขึ้น เป็นการฉลองวัดในบรรยากาศปีศักดิ์สิทธิ์ จึงจัดหาสถาปนิกและผู้รับเหมา มาร่วมความคิดดังกล่าว งบประมาณมาจากพี่น้องสัตบุรุษทั้งของวัดราชินีฯเอง และเพื่อนต่างวัด ที่คุณพ่อรู้จักและเขารู้จักคุณพ่อ ทั้งนี้เพื่อถวายเกียรติแด่พระเจ้าและพระแม่เจ้า

         การดำเนินการเป็นลักษณะผู้รับเหมาค่อยทำค่อยเป็นค่อยไป การนำกระจกสีเพื่อให้ความสว่างและความสวยงามจากร้าน Reflexion  (บริษัท) โดยนางศิริพรและนายจักร โภคทวี สัตบุรุษวัดนักบุญยอแซฟ ตรอกจันทน์  พื้นแท่นประกอบมิสซา ปรับเปลี่ยนโดยใช้หินอ่อนสีครีมตัดดำนำเข้ามาจากประเทศอิตาลีเพื่อให้สมฐานะของผู้ประทับในวัดนายมนัสชัย (ช่างเจียว) สัตบุรุษวัดพระวิสุทธิวงส์ คลอง 12 (วัดลำไทร) ซึ่งเคยร่วมงานปรับปรุงวัดลำไทรมาแล้วเป็นผู้ดำเนินงาน ผนังวัดใช้วัสดุทรายผสมปูนลวดลายใหม่

       นอกจากนั้นยังมี สถาปนิกผู้เขียนแบบคือนาย พันธุ์เลิศ มกรมณี แห่งบริษัทโกลเด็นแลนด์จำกัด นายพัฒนา เธียรวิฑิต ลูกวัดราชินีฯ ดูแลช่วยเหลือด้านสีและผลิตภัณฑ์ใยแก้วปิดรอยร้าวจากการฉาบปูน ครอบครัววีรพันธ์ ทิพย์วรรณ ธาราศิลป์ ส่งผลิตภัณฑ์ปูนปั่น เสาโรมันมาสนับสนุนงานในวัด ค่าใช้จ่ายไม่ได้กำหนดไว้ การบริจาคก็มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้งานรุดหน้าไปเรื่อยๆ ความสวยงามปรากฏขึ้นให้เห็นชัดเจนขึ้น

             วัดดูสลายและชวนศรัทธา สง่าสมกับที่ประทับของพระเป็นเจ้า ทุกอย่างดีใหม่ไปหมด จากโถงอเนกประสงค์ กลับกลายเป็นวัดสมกับเป็นวัด อย่างไรก็ดี ตัวอาคารไม่ได้ตั้งในทิศทางของลมอย่างควรเป็น การติดตั้งและเปลี่ยนพัดลมเพดานในสมัยคุณพ่อธนู ให้เป็นพัดลมส่ายติดผนังจึงเกิดขึ้น แต่เพราะมีผู้ร่วมร่วมศาสนพิธีมากขึ้น ความร้อนมีมาก พัดลมก็ส่งเสียงดังตามปริมาณของตัวพัดลมที่ติดเพิ่มขึ้น ทำให้ระบบเสียง ลำโพงและไมโครโฟนเริ่มมีปัญหาตามมาด้วย ทำให้บรรยากาศที่คาดการณ์ว่าน่าจะด ีในส่วนของพิธีกรรมที่วัดสวยงาม จึงถูกทอนความรู้สึกลงไปบ้าง ปัญหามีไว้ให้แก้ไข สมาชิกในการร่วมพิธีกรรมลดน้อยลงไปบ้างเช่นกัน เป็นหน้าที่ของคุณพ่อและผู้ร่วมงานทั้งหลายต้องหาทางออกให้ดีที่สุดต่อไป
 
       พระคาร์ดินัลได้เป็นประธานการฉลองวัดทุกปี และทุกคนก็มีความสุขที่เห็นสักกาสถานที่ประทับรับการปรับปรุงอย่างดี ผู้บริจาคทรัพย์ต่างๆ ยินดี เพราะได้มีส่วนช่วยเหลือ พระศาสนจักรท้องถิ่นเท่าที่สามารถตามบทบัญญัติของพระศาสนจักรนั่นเอง

     นอกจากการปรับปรุงวัดให้เหมาะสม เป็นที่ประทับของพระเป็นเจ้าแล้ว โครงการและงานอื่นๆ ที่คุณพ่อประสารได้ทำประโยชน์แก่ชุมชนแห่งนี้ มีดังนี้

ภายในวัด
 
จัดให้มีมิสซาค่ำทุกวันธรรมดา ซึ่งแต่เดิมไม่มี  คุณพ่อเปิดมิสซาค่ำในห้องกระจกซึ่งปัจจุบันเป็นห้องภาวนาและตั้งรูปบุญราศีนิโคลาส บุญเกิด กฤษบำรุง มีสัตบุรุษเข้าร่วมมิสซาประมาณ 5-10 คน ทุกวัน

จัดพิมพ์บทเพลงในเทศกาลต่างๆ เป็นเล่มย่อยเพื่อใช้งานได้สะดวกสำหรับผู้เข้าร่วมมิสซาและพิธีกรรมต่างๆ พร้อมสอนร้องเพลงใหม่ๆ
 
ปรับปรุงเครื่องเสียงให้มีคุณภาพ เพราะเสียงเพลง เสียงสวดจะทำให้มีส่วนร่วมมาก  พิธีกรรมยิ่งขึ้น ช่วยให้ฟังเข้าใจและนำไปปฏิบัติได้อย่างด

จัดจ้างให้มีเจ้าหน้าที่ของวัดในส่วนของพิธีกรรม และดูแลการทำความสะอาดและจัดอุปกรณ์ในพิธี ซึ่งก่อนหน้านี้มีเพียงอาสาสมัครช่วยเหลือ คุณครูระวีวรรณ ชมจินดา จึงได้เข้ามาทำหน้าที่ตรงนี้ งานในความรับผิดชอบคือ นำสวด ขับร้อง สอนคำสอนเด็กๆ และดูแลเครื่องใช้ในพิธีกรรมและพิธีกรรมอื่นๆ ด้วย
 
ภายนอกวัด
 
เพิ่มเติมถังเก็บน้ำบนดาดฟ้าวัดเพื่อใช้ในกิจกรรมต่างๆ ซึ่งในกรณีที่มีผู้ร่วมพิธีมาก น้ำมักจะไม่พอใช้ โดยปรับปรุงห้องสุขา ต่อจากสมัยคุณพ่อธนู

จัดสร้างและต่อเติมห้องประชุมทิศใต้ติดกับห้องพักคนงาน เพื่อใช้ประโยชน์ในการภาวนา อุทิศให้ผู้ล่วงลับ พร้อมกับได้ขอเครื่องปรับอากาศมือสอง จากสำนักมิสซังฯ เพื่อติดตั้งเพิ่มเติมในห้องประชุมและห้องภาวนาอุทิศผู้ล่วงลับ

ปรับปรุงโรงอาหารเป็นเพื่อบริการสัตบุรุษในวันอาทิตย์ โดยคุณพ่อประสารขอให้ครอบครัวนายช่วง-นางสังวาลย์ ธิราศักดิ์ ทำอาหาร มาจำหน่าย  โดยเริ่มเวลาหลังมิสซารอบ เช้า 07.30 น. ถึง ประมาณ 13.00 น. ให้ความสะดวกแก่สัตบุรุษ

ปรับปรุงท่อระบายน้ำ ล้างท่อที่อุดตัน เพื่อมิให้น้ำท่วมขัง แต่ทำได้ในบางจุดเท่านั้น เพราะงานส่วนใหญ่ขณะนั้นอยู่ที่ปรับปรุงวัดนั่นเอง
จัดยามดูแล เนื่องจากวัดอยู่ในสถานที่เสี่ยง เรื่องความปลอดภัย ด้วยเนื้อที่ขนาด 8 ไร่ แม้ติดกับชาวบ้าน ทางด้านทิศเหนือและด้านหลังทิศตะวันออกก็มีอัตราเสี่ยงเหมือนกัน ยามค่ำคืนที่บางครั้งคุณพ่อต้องไปทำธุระที่อื่น ไม่มีใครอยู่วัด ที่สุดการจ้างยาม จ ึงนำมาซึ่งการจัดนำเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของบริษัทของเอกชน โดยเจ้าหน้าที่จะดูแลช่วงเวลา 19.00 น. – 07.00 น. รวม 12 ชั่วโมง ต่อ 1 ท่าน เพื่อให้มีความมั่นใจว่า บ้านพักพระสงฆ์และอาคารอื่นๆของวัดจะปลอดภัย

จัดสร้างสนามบาสเกตบอล ให้เป็นสนามที่เล่นกีฬาออกกำลังกายของเยาวชน และบุคคลอื่น เช่น เด็กประจำของโรงเรียนพระกุมารเยซู

จัดให้มีกิจกรรมการเรียนคำสอนปีละ 2 ครั้ง คือเดือนเมษายนและเดือนตุลาคม ทำให้เด็กๆ ต่างครอบครัวได้รู้จักกันและช่วยเหลื อคุณพ่อคุณแม่ให้สบายใจ เพราะลูกได้ความรู้ในเรื่องศาสนา และอุ่นใจในความปลอดภัยในสถานที่ระหว่างหยุดพักผ่อนของโรงเรียนต่างๆ  
สมัยคุณพ่อยวง สุเทพ  พงษ์วิรัชไชย

ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสองค์ที่แปด  ปี ค.ศ 2004-2009

 พระสงฆ์ผู้ช่วยอภิบาล คือ

   1. คุณพ่อยอห์น บัปติสต์ พงศ์เทพ ประมวลพร้อม  ปี ค.ศ. 2004-2006 (ช่วยวันเสาร์-วันอาทิตย์)
   2. คุณพ่อยอแซฟ อนุชา ไชยเดช     ปี ค.ศ. 2006-ปัจจุบัน (ช่วยวันเสาร์-วันอาทิตย์)
   3. คุณพ่อมีคาแอล คมทวน มุ่งสมหมาย ปี ค.ศ. 2006-2008

       พระคาร์ดินัล ไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู ได้แต่งตั้งคุณพ่อสุเทพ พงษ์วิรัชไชย จากวัดพระแม่สกลสงเคราะห์ (บางบัวทอง) มาทำหน้าที่อภิบาลเจ้าอาวาสวัดราชินีฯ แทนคุณพ่อประสาร นับเป็นเจ้าอาวาสองค์ที่แปด ของวัดนี้
 
       คุณพ่อสุเทพเดินทางเข้ามารับหน้าที่โดยไม่ได้พบคุณพ่อประสาร เนื่องจากคุณพ่อประสาร เดินทางไปต่างประเทศ มีเพียงคุณพ่อสมหมาย มธุรสสุวรรณ ช่วยเป็นธุระดูแลแทน เป็นช่วงที่คุณพ่อสมหมายกำลังเตรียมตัวเพื่อไปศึกษาต่อที่กรุงโรม ประเทศอิตาลี ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2004

       อย่างไรก็ดีก็ดีหลังจากคุณพ่อประสารกลับจากตางประเทศในกลางเดือนมิถุนายน ก็มีพิธีอำลาหน้าที่อภิบาลวัดราชินีฯ พิธีขอ บคุณ คุณพ่อประสารและคุณพ่อสมหมาย พร้อมสังสันทน์ด้วยอาหารกลางวันหลังมิสซารอบ 11.00 น. ทั้งนี้คุณพ่อสมหมายยังได้ทำหน้าดูแลวัดต่อไปอีกระยะหนึ่ง เพราะคุณพ่อสุเทพมีกำหนดการไปประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อเยี่ยมคนรู้จักตามที่ตั้งใจไว้ล่วงหน้าก่อนเข้าประจำหน้าที่ช่วงเดือนกรกฎาคม โดยมีคุณพ่อวิเชียร ระดมกิจ พระสงฆ์คณะรอยแผลศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งมีน้ำใจสละเวลาเข้ามาช่วยในช่วงที่คุณพ่อไม่อยู่

สภาอภิบาลชุดใหม่
       ช่วงเวลาที่เปลี่ยนแปลงผู้อภิบาลวัดราชินีฯ ยังไม่มีสภาอภิบาลเป็นกิจจะลักษณะ เพราะคุณพ่อประสารจะเชิญผู้ใหญ่บางท่านมาเป็นที่ปรึกษางานอภิบาลทั่วๆ ไป เพื่อให้เป็นไปตามประกาศของฝ่ายปกครองวัดอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ  ซึ่งกำหนดให้ทุกวัดจัดการเลือกตั้งสภาอภิบาลชุดใหม่พร้อมกัน คุณพ่อสุเทพจึงได้เรียนเชิญนายวิรัช กุลเนตุ รักษาการผู้อำนวยการสภาอภิบาล และเจ้าหน้าที่สภาฯบางท่านเข้าปรึกษาหารือเพื่อจัดให้มีการเลือกตั้ง กำหนดวิธี กำหนดจำนวน กำหนดวันให้พร้อม  และจัดพิมพ์เอกสารใบล งคะแนนที่มีรูปหน้าตาของผู้สมัคร ติดเบอร์ตามเวลายื่นใบสมัครอีกทั้งแต่งตั้งผู้รับผิดชอบพิมพ์เอกสารใบลงคะแนน คณะกรรมการเลือกตั้ง นับคะแนนและสรุป เพื่อประกาศผู้รับเลือกตั้งจากสัตบุรุษทุกรอบมิสซา(วันเสาร์ เวลา 17.00 น.และวันอาทิตย์ 4 รอบ มิสซาเวลา 07.30 น., 09.00 น., 11.00 น. และ 17.00 น.
       เมื่อทุกอย่างเตรียมการพร้อม วันเสาร์ที่ 17 และวันอาทิตย์ที่ 18 กรกฎาคม  จึงจัดให้มีการลงคะแนนตามกำหนดการ  มีผู้ใ ช้สิทธิลงคะแนนประมาณ 800 ท่าน ทุกรอบมิสซา ลำดับจำนวนที่คัดเลือกได้ 35 ท่าน และสำรองได้ 5 ท่าน  พร้อมกับแจ้งให้ทุกคนทราบโดยทั่วกัน คุณพ่อสุเทพ ได้รับรองการเลือกตั้งและพิมพ์รายชื่อในข่าวสารวัดและเรียกประชุมคณะกรรมการชุดใหม่ในช่วงเวลาถัดมา เพื่อเลือกคณะกรรมการบริหารตามระบบจัดการที่ประชุมได้เลือก
       - นายพัฒนา เธียรวิฑิตเป็นผู้อำนวยการ
       - นายสุวรรณี ตรีธาราเป็นรองผู้อำนวย
       - นางสาววลัยพร อศินธรรมเป็นเลขานุการ
       - นางสาวสุนันทา สูตรเชียนชัย เป็นเหรัญญิก

       งานแรกของสภาฯชุดนี้ คุณพ่อสุเทพได้จัดให้มีการรับรู้หน้าที่และกรอบของการทำงาน ทั้งเน้นให้สมาชิกทุ่มเทการบริการชุมชนความเชื่อ และสร้างความสามัคคีในหมู่คณะคริสตชน  ที่เข้านมัสการพระเจ้าใจทุกวันอาทิตย์

       ดังนั้นวันอาทิตย์ที่ 8 สิงหาคม สภาภิบาลทั้งหมดได้เข้าไปที่บ้านผู้หว่าน รับการอบรมจากคุณพ่อทวีศักดิ์ กิจเจริญ ผู้ชำนาญด้านกฎหมายของพระศาสนจักร เพื่อชี้ให้เห็นสิทธิและหน้าที่ตามแนวทาง ระบุไว้ในกฎหมาย ตอบข้อสักถาม จากนั้นคุณพ่อไพฑูรย์ หอมจินดา ผู้ช่วยพระสังฆราชฝ่ายปกครองวัด ได้ย้ำเน้นในภาคส่วนที่จำเป้นของสมาชิกสภาภิบาลทุกท่านตลอดระยะเวลา 3 ปี ที่ปฏิบัติหน้าที่ ทุกคนให้พัก 1 คืน จากนั้น 1 เดือน คุณพ่อไพฑูรย์ ได้เข้ามาวัดราชินีฯ เป็นประธานแห่แม่พระและรับคำสัญญา ของกรรมการทุกท่าน วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน ค.ศ. 2004
 
ฉลองวัดประจำปี
       สืบเนื่องจากอดีตมีการเทศน์ตรีวารเตรียมฉลองวัดชนิด 3 เย็นต่อเนื่อง ภายหลังมีการพูดถึงว่า มีผู้เข้าร่วมฟังเตรียมใจไม่มากนัก เพราะบ้านอยู่ไกล การเดินทางไม่สะดวก และกลับบ้านดึก เพราะวันรุ่งขึ้นยังคงต้องทำงานสำหรับหลายท่าน หลังจากพิจารณาและประเมินผลแล้ว คุณพ่อสุเทพ จึงเสนอแนวทางใหม่ให้พระสงฆ์ที่รับเป็นผู้เทศน์เตรียมจิตใจได้เทศน์ทุกรอบของวันอาทิตย์ใ ห้ผู้เข้าร่วมมิสซาแต่ละรอบรับฟังในลักษณะของการฟังเทศน์เหมือนในเนื้อหา เพียงแต่องค์ประกอบอื่นอาจจะเปลี่ยนบ้าง โดยเริ่มต้นตั้งแต่เย็นวันเสาร์เป็นต้นไป กำหนดเป็น “เอกวาร” 1 อาทิตย์ ก่อนวันฉลองวัดประจำปีนั่นเอง

       แต่เดิมวันฉลองวัดก่อนคุณพ่อสุเทพ จะเข้ามาประจำหน้าที่ กำหนดเป็นวันเสาร์สุดท้ายของเดือนสิงหาคม ปัญหาของการเตรียมฉลองวัด คือ บุคลากรที่ช่วยเหลือมีจำนวนน้อยและมีอาวุโส เนื่องจากยุคปัจจุบันการทำงานวันศุกร์และหลายครั้งต่อเนื่องวันเสา ร์ที่ต่างคนมีความจำเป็นที่แต่ละคนต้องดูแลครอบครัว ด้วยการทำมาหากิน การลากิจเพื่อช่วยงานวัดไม่สะดวกใจ สะดวกเวลามากนัก คนที่ช่วยเหลือเตรียมฉลองวัดจึงเหนื่อยและมีจำนวนน้อยดังกล่าว

       หลังจากรักษาธรรมเนียมปฏิบัติวันฉลองวัดเป็นวันเสาร์ เป็นเวลา 2 ปี คุณพ่อสุเทพจึงนำเรื่องเข้าที่ปรึกษาคณะกรรมการสภาฯ เพื่อขอเปลี่ยนวันฉลองวัดจากวันเสาร์เป็นวันอาทิตย์ โดยเริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 2006
 
องค์อุปถัมภ์ของวัด

       เกี่ยวกับรูปพระแม่ราชินีแห่งสันติสุข คุณพ่อสุเทพได้สังเกตเห็นว่า รูปของพระแม่น่าจะมีรูปพิเศษต่างจากรูปอื่นๆ ที่ใช้แห่ในปัจจุบัน ปี ค.ศ.2004-2005 เพราะว่ามั่นใจจะต้องเป็นรูปเฉพาะในสมญานาม “ราชินีแห่งสันติสุข” คุณพ่อสุเทพได้ขอให้คุณพ่อกิตติศักดิ์ กาญจนธานินทร์ ซึ่งมีความรู้ความสามารถเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ช่วยจัดค้นหาในเว็ปไซต์ต่างๆ  คุณพ่อกิตติศักดิ์ ก็พบว่า ร ูปแท้อยู่ในพระมหาวิหารแม่พระแห่งหิมะ หรือ La Basilica di Santa Maria Maqqiore กรุงโรม
 
           ซึ่งเป็นรูปแกะสลักจากหินอ่อน ในลักษณะพระแม่ประทับบนอาสน์ และทรงอุ้มพระกุมารเจ้า ซึ่งพระหัตถ์ของพระกุมารถือกิ่งมะกอก พระหัตถ์ซ้ายของพระแม่ทรงยกขึ้นในลักษณะห้ามหรือบอกให้หยุด มีรูปนกพิราบใกล้อาสน์ ผู้ที่ให้แกะสลักรูปปั้น นี้คือ สมเด็จพระสันตะปาปา เบเนดิกที่ 15 ซึ่งเป็นสมณะประมุขช่วงของสง ครามโลกครั้งที่หนึ่ง ค.ศ.1914-1918 โดยพระรูปนี้สามารถโยงไปถึงเหตุการณ์การประจักษ์ของพระแม่แห่งฟาติมา เมื่อทรงแจ้งให้เด็ก 3 คน ที่นั่น ในปี ค.ศ.1917 ว่าอีกไม่ช้าสงครามโลกจะสงบลง ขอให้สวดสายประคำ ทำกิจใช้โทษบาป แก้บาป รับศีลมหาสนิท และละเว้นการทำบาป

             ปรากฏว่าสงครามโลกได้สงบลงในวันที่ 11 พฤศจิกายน ค.ศ.1918 ในสมณสมัยสมเด็จพระสันตะปาปา เบเนดิกที่ 15 นั่ นเอง และพระองค์ก็ได้รับการขนานนามว่า สมเด็จพระสันตะปาปาแห่งสันติภาพด้วย  พระรูปของพระแม่ราชินีแห่งสันติสุข ก็เกิดขึ้นหลังสงครามโลกสงบ โดยช่างแกะสลักชาวอิตาเลียนชื่อ กวีโด กัลลี (Quido Galli) ที่ฐานของพระรูปสลักเป็นตัวอักษรภาษาละตินว่า SALVE REGINA PACIS  จึงมั่นใจว่านี่คือรูปองค์อุปถัมภ์ของวัดราชินีฯ อย่างแน่นอน คุณพ่อสุเทพจึงหาทางปั้นรูปแม่พระใหม่นี้ ปรากฏว่าที่วัดราชินีแห่งสันติภาพ อำเภอสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว สังกัดสังฆมณฑลจันทบุรีมีรูปนี้แล้ว
           โดยครอบครัวฤทธิกรและวรี แซ่แต้  ซึ่งมีโรงงานปั้นรูปที่ อำเภอศรีราชาและเป็นผู้ปั้นรูปด้วยวัสดุไฟเบอร์ จึงติดต่อและอัญเชิญมาประจำวัดราชินีฯ ด้วย

           อย่างไรก็ดี เมื่อมีจิตใจพร้อมที่จะจัดหารูปแม่พระให้ตรงกับสถานะองค์อุปถัมภ์จริงๆ พระแม่เจ้า ก็จัดให้มีสัตบุรุษครอบครัวหนึ่งที่เข้าใช้บริการศาสนกิจเป็นประจำที่วัดราชินีฯ แล้วมีฝีมือและประสบการณ์ปั้นรูปด้วยวัสดุอื่นที่สามารถลงสีสันให้สวย งามได้ และวัสดุคงทนเป็นหลายสิบปี ซื่อวัสดุ คือ “คอนกรีต-ไฟเบอร์” ครอบครัวดังกล่าวเป็นสัตบุรุษเดิมของวัดนักบุญยวง บัปติสตา เจ้าเจ็ด ปัจจุบันอยู่เขตปกครองของวัดราชินีฯ คือ ครอบครัววีรพันธ์-ทิพย์วรรณ ธาราศิลป์ คุณพ่อสุเทพจึงติดต่อและขอให้ปั่นรูปพระราชินีฯ เพื่อติดตั้งบริเวณเหนือธรณีประตูกลางก่อนเข้าวัด เพื่อความสง่าและสมฐานะองค์อุปถัมภ์ของวัดราชินีฯ ใช้เวลาปั้นอย่างประณีตและทุ่มเทประมาณ 6 เดือน ทุกอย่างก็เรียบร้อยพร้อมติดตั้งก่อนวันฉลองวัดประจำปี ค.ศ.2005  โดยเลื่อนวันฉลองไ ปวันที่ 11 พฤศจิกายน ตามเหตุการณ์บันทึกข้างต้น พระคาร์ดินัล ไมเกิ้ล  มีชัย กิจบุญชู  เป็นองค์ประธานทำพิธีเสกและปัจจุบันรูปนี้ก็ประดิษฐานเด่นสง่าหลังลงสีเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

         รูปปั้นของคุณพ่อทอม กริฟฟิต พระสงฆ์คณะพระมหาไถ่ ผู้ก่อตั้งชุมชนวัดราชินีฯ
         ตามบันทึกของซิสเตอร์คณะพระกุมารเยซู ที่ดำเนินงานด้านการศึกษาของเยาวสตรีในพื้นที่ใกล้กับวัดราชินีฯ ชื่อโรงเรียน พระกุมารเยซูวิทยา พระโขนง พระสงฆ์คณะพระมหาไถ่เป็นผู้ให้บริการศาสนกิจตั้งแต่เริ่มแรก โดยสมาชิกของคณะซิสเตอร์ต้องเดินทางไปวัดพระมหาไถ่ เพราะสมาชิกรุ่นแรกเป็นชาวฝรั่งเศส และไอร์แลนด์ การพูดภาษาไทยยังไม่สันทัตนัก
           ต่อมามีส่งพระสงฆ์คณะพระมหาไถ่ไปให้บริการที่โรงเรียน ควบการดูแลโรงเรียนลาซาลและของเซอร์เซนต์ปอลที่ซอยแบริ่ง เมื่อคริสตชนมีมากขึ้นการบริการจึงมีสม่ำเสมอที่โรงเรียนทั้ง 3 แห่ง
 
             บุคคลที่ทุ่มเทมากสุดและยาวนานที่สุด คือ คุณพ่อทอม กริฟฟิต ซึ่งดูแลแบบทุ่มเทนานถึง 12 ปี ทำให้ชุมชนความเชื่อเข้มแข็ง นำความเจริญทั้งวัตถุและจิตใจ เมื่อคุณพ่อจากไปพบพระในวันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ.1993 ทำให้มีความสำนึกในการทุ่มเทชีวิตของธรรมทูตของคุณพ่อ ควรแก่การรำลึกถึง คุณพ่อสุเทพจึงนำความคิดในการปั้นรูปและติดตั้ง ปรึกษาคณะกรรมการ สภาภิบาลและครอบครัววีรพันธ์-ทิพย์วรรณ  ธาราศิลป์ อีกครั้งให้ช่วยแสดงฝีมือพร้อมผู้ช่วยปั้น รูปเหมือนจริงตามเจตนารมณ์
             งานปั้นตามตามขั้นตอนใช้เวลามากกว่า 6 เดือน เหมือนรูปปั้นพระแม่ราชินรฯ แล้วทุกอย่างก็เสร็จสิ้นในเดือนตุลาคม ค.ศ.2007 มีการติดตั้งอยู่ที่หน้าบ้านพระสงฆ์ และทำพิธีเปิดรูปปั้นในวันอาทิตย์ที่ 11 พฤศจิกายน ค.ศ.2007 มีคุณพ่อลอเรนซ์ ชาย ขัณฑโฮม
 
พระสงฆ์คณะพระมหาไถ่ เป็นประธานเปิดรูป โอกาสวันฉลองประจำปี  ทุกอย่างผ่านไปด้วยความเรียบร้อย ขอถือโอกาสขอบคุณครอบครัววีรพันธ์-ทิพย์วรรณ ธาราศิลป์ อีกครั้ง
 
 
งานพัฒนา
       เมื่อได้สภาภิบาลเป็นผู้ร่วมบริหาร การพัฒนาทั้งภายในและภายนอกวัดได้ดำเนินไปตามจังหวะของความคิดและมุมมองร่วมกันเพื่อส่วนรวมจะได้รับประโยชน์มากเท่าที่สามารถ การต่อเติมมุขหน้าวัด เป็นหลังคาโครงเหล็กและไบโอคาร์บอเนต
       เนื่องจากบริเวณชานพัก ช่วงบ่ายมีแดดตกกระทบกับพื้น และส่องเข้าวัดสะท้อนสายตากับพระสงฆ์ผู้ประกอบพิธีมิสซาเป็นประ จำ ทำให้ต้องปิดบานประตูวัดก็ดูมืดไป อีกทั้งเวลาฝนตก ลมแรง ทำให้น้ำฝนกระเซ็นและลื่นสำหรับผู้สูงอายุที่ต้องเดิน-เข้า-ออก บริเวณดังกล่าว ทางวัดจึงมีความคิดที่จะสร้างหลังคาคลุมด้านหน้าวัด Canopy และถือโอกาสทุบคอนกรีตที่เคยตั้งรูปพระแม่เดิมออกไปบริเวณหน้ามุขด้านหน้า เนื่องจากตรวจสอบโครงสร้างตามแบบที่เขียนไว้ ไม่ส่งผลต่อน้ำหนักที่จะทำให้อาคารทรุด
       การออกแบบหลังคาคลุมและก่อสร้าง ทางวัดได้ว่าจ้างนายกิตติวัฒน์ เรืองวุฒิชนะพืช เป็นผู้รับผิดชอบในงาบประมาณ 450,000 บาท เริ่มทำเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2006  และกำหนดเสร็จภายในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2006 ซึ่งเป็นเวลาก่อนฉลองวัดประจำปีที่เลื่อนจากเคยฉลองเดือนสิงหาคมเป็นเดือนพฤศจิกายน เป็นต้นไป
 
 
ติดตั้งเครื่องปรับอากาศในวัด
       หลังจากรับความคิดเห็นและเสนอความคิดเห็นให้สภาภิบาลรับทราบ พร้อมขอความเห็นชอบจากมวลสัตบุรุษในทุกรอบมิสซา เพื่อหาข้อยุติที่ดีสุดสำหรับส่วนรวม คุณพ่อสุเทพ    จึงตัดสินใจติดตั้งเครื่องปรับอากาศในวัด โดยมีเหตุผลสนับสนุน คือ
 
 
       1. เพื่อความสงบของการร่วมพิธี หลังจากมีเสียงของพัดลมค่อนข้างดัง รบกวนสมาธิในการฟังธรรมและร่วมพิธี
       2. เพื่อลดฝุ่นละอองที่เข้ามาช่วงเวลาพิธี เมื่อรถยนต์ผ่านรอบวัดและลมพัดฝุ่นเข้ามา
       3. เพื่อกันมิให้นกกระจอกเข้ามารบกวนและปล่อยมูลทิ้งไว้
       4. เพื่อให้ทุกคนที่เดินทางเข้าร่วมมิสซาไม่ต้องวอกแวกในรูปแบบต่างๆ ที่กังวลกับเวลาที่ไม่ส่งเสริมให้อยู่ร่วมพิธีนานนัก
           และอาจจะหงุดหงิดได้
 
 
ห้องสารภาพบาป
       คุณพ่อสุเทพ ได้ตัดสินใจแยกห้องสารภาพบาปจากเดิมที่งตั้งบริเวณใกล้ประตูกลางเข้า-ออก ของห้องแต่งตัวพระสงฆ์และเด็กช่วยจารีตซึ่งขวางทางเดิน และในระหว่างทำหน้าที่มักจะมีเสียงเล็๖ลอด ทำให้เห็นความจำเป็นต้องย้ายและแยกห้อง แยกพื้นที่ในการเข้าแถวของสัตบุรุษ  มีคริสตชนท่านหนึ่ง ชื่อ นางสาวสุพร รักษ์ซื่อวณิช ที่รู้จักและทำงานเกี่ยวกับการต่อตู้ไม้และตู้ ติดผนังห้อง ได้แสดงเจตนาจะดำเนินการให้ พร้อมเครื่องปรับอากาศตัวใหม่ เพราะห้องแฝดเก่าใช้เครื่องปรับอากาศร่วมกัน ในงบประมาณ 100,000 บาท เมื่อแยกห้อง ต้องมีตัวใหม่ด้วย เสร็จสิ้นการปรับปรุงในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2005

เครื่องเสียงในวัด
       มีการปรับปรุงเครื่องเสียงเพื่อให้เหมาะสมกับการพูดและการฟัง ช่วยให้การร่วมพิธีกรรมมีประสิทธิภาพ จัดซื้อไมโครโฟนเพิ่ ม ปรับเครื่องขยายเสียง ทำความสะอาดเครื่องและเพิ่มเครื่องขยายพร้อมลำโพงในห้องแต่ตัวพระสงฆ์ ซึ่งดัดแปลงเป็นวัดน้อยถวายมิสซาในวันธรรมดา (จันทร์-ศุกร์)

ฝ้าเพดาน
       เนื่องจากเพดานเริ่มมีความเสื่อม สีที่ทาเคลือบไว้เริ่มหลุดร่อนหล่นลงมาที่พื้นวัด ขณะที่ร่วมมิสซา ทำให้เกิดความรำคาญ จึงแจ้งขอบริจาคบรรดาสัตบุรุษก็ช่วยกันด้วยความเต็มใจ ด้วยงบประมาณ 80,000 บาท ทำให้ดูสวยงามมากขึ้น พร้อมกันนี้ได้เติ มไฟฟ้าอีก 1 แถวบริเวณฝ้าใหม่ เพิ่มความสว่างให้ความสะดวกในการร่วมพิธีกรรมสวดภาวนาและมิสซา
 
ปรับปรุงที่จอดรถรอบวัด-ถ้ำแม่พระ

        เพราะพื้นที่รอบวัด (วงนอก) เป็นที่จอดรถพื้นดินปนทรายคลุกยามฝนตกมักเฉอะแฉะทำให้สัตบุรุษลำบากที่จะหาที่จอดได้เหมาะสม คุณพ่อสุเทพจึงปรึกษาสภาภิบาลและมีมติให้ใช้เงินสะสมจากถุงทานแต่ละอาทิตย์ที่ใช้เป็นสาธารณประโยชน์
       นายธานี ขันติโกวิท ผู้รับเหมาเริ่มลงมือทำการปรับปรุง ตั้งแต่เดือนมีนาคม ค.ศ. 2007 สร็จงานในเดือนมิถุนายน ในปีเดียวกัน มีมติรับภูมิทัศน์ใหม่ที่หน้าวัดข้างชานพักถ้ำแม่พระ

         เมื่อพระศาสนจักรประกาศให้ฉลอง 150 ปี แม่พระประจักษ์ที่ลูร์ด ปี ค.ศ. 1858-2008 โดยเริ่มวันที่ 8 ธันวาคม ค.ศ. 2007 ทางวัดเห็นเหมาะสมที่จะจัดที่ประทับใหม่ให้พระแม่เจ้าแทนถ้ำเดิม ซึ่งสร้างในสมัยคุณพ่อเปาโลสุรชัย ชุ่มศรีพันธุ์ คุณพ่อสุเทพเสนอให้สภาภิบาลพิ จารณาและ แนวปรับปรุงจึงได้มีการนัดผู้รับเหมาจัดสวน เพราะที่ประทับใหม่จะไม่เน้นลักษณะถ้ำ แต่มุ่งการปรับปรุงภูมิทัศน์แบบจัดสวน ผู้รับจัดทำและรับตบแต่งชื่อ นายสมควร กุฎีจีน ในงบประมาณ 200,000 บาท โดยเริ่มทำปลายเดือนมิถุนายน แล้วเสร็จก่อนวันที่ 7 สิงหาคม เพื่อทดสอบทั้งอุปกรณ์ไฟฟ้า-น้ำ และสิ่งอื่นๆ เนื่องจากกำหนดเปิดเสก เป็นวันอาทิตย์ที่ 17 สิงหาคม ค.ศ. 2008 โอกาสสมโภชพระแม่เจ้ารับเกียรติยกสู่สวรรค์ทั้งกายและวิญญาณ โดยทางวัดกราบเรียนเชิญ พระสังฆราชยอด พิมพิสาร ปร ะมุขสังฆมณฑลอุดรธานี เป็นประธาน และเปิดโอกาสให้สัตบุรุษร่วมความยินดีที่ท่าน บวช ครบ 50 ปีในสังฆภาพ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน ค.ศ. 2008 ที่ผ่านมา
 

 
       ประจวบกับพระศาสนจักรสากลประกาศให้ฉลอง 200 ชาตะกาลของนักบุญเปาโล อัครสาวก ทางวัดจึงใช้โอกาสปรับปรุงภูมิทัศ น์นี้ตั้งรูปนักบุญ เปโตรและนักบุญเปาโล อัครสาวกคู่บารมีของพระเยซูเจ้าอีกฟากหนึ่งของที่ประทับพระแม่เจ้าด้วย จึงทำให้วันที่ 17 สิงหาคม ค.ศ. 2008 มีบรรยากาศของการเปิด-เสกร่วมกันอย่างเหมาะสม

       หลังจากที่ประทับของพระแม่เจ้าเสร็จสิ้นการปรับถ้ำเก่าของพระแม่ให้เป็นเนินกัลวารีโอก็ดำเนินการต่อไป เนื่องจากในวันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์หลายปีที่ผ่านไป มีการเดินรูปทางไม้กางเขนรอบวัดก่อนการนมัสการไม้กางเขนในวัด การปรับความคิดของหลายท่านจ ึงสรุปว่า บริเวณถ้ำเดิมควรเป็นที่ตั้งไม้กางเขนพร้อมรูปของพระเยซูเจ้า พระแม่มารีอา และนักบุญจอห์น อัครสาวก เป็นสถานที่ 12 ก่อนสิ้นพระชนม์ จึงมีความคิดนำพระวาจาที่บันทึกไว้ในพระคัมภีร์มาติดตั้งด้วย ว่า “แม่ นั่นลูกของแม่” นั่นแม่ของท่าน” “ทุกอย่างสำเร็จบริบูรณ์”
 
อิเลคโทน
       เนื่องจากอิเลคโทนเครื่องเก่าใช้มานานกว่า 10 ปีแล้ว ทำให้คุณภาพเสียงลดความไพเราะ สภาภิบาลจึงมีมติเห็นด้วยกับการจ ัดซื้อเครื่องใหม่ ในการประชุมเดือนตุลาคม ค.ศ. 2008 โดยขอรับบริจาคทรัพย์สมทบ และมุ่งจัดงานวันครอบครัวนำรายได้จัดซื้อ ด้วยความอนุเคราะห์จากนายพรเทพ พรประภา  ประธาน ผู้บริหาร-เจ้าของบริษัท Yamaha มีจิตกุศลลดราคาให้ 20 เปอร์เซ็นต์ และชำระโดยการผ่อนส่งงวด ในราคาพิเศษ 380,000 บาท และมีการรับมอบสินค้าในวันเสาร์ที่ 25 ตุลาคม ค.ศ. 2008 เสียงสรรเสริญพระจะส่งเสริมบรรยากาศให้จิตใจดีขึ้นด้วย

รั้วคอนกรีตหน้าวัด
       ตั้งแต่เริ่มต้นการก่อสร้างวัดเป็นคอนกรีตประมาณ 30 ปีก่อน มีการร่นแนวเขตเข้ามาประมาณ 1.20 เมตร เพื่อเป็นพื้นที่จอดรถรับ-ส่ง ที่บริการสัตบุรุษ ช่วงเริ่มต้นใช้วัดใหม่ๆ เป็นรถวิ่งในซอยปุณณวิถี (สุขุมวิท 101) วันอาทิตย์จะช่วยสัตบุรุษได้มากเมื่อเดินทางมา-ไปวัด
       เมื่อเวลาสุกงอม สัตบุรุษใช้รถส่วนตัวและวัดปรับพื้นที่จอดรถดีพอสมควรบริเวณพื้นที่วัดก่อนฉลองวัดปี ค.ศ.2008 วันที่ 9 พฤศจิกายน ทางวัดจึงขยายรั้วเต็มพื้นที่ตามแนวโฉนดที่ดิน พร้อมติดตั้งรูปแม่พระและนักบุญเปโตร-นักบุญเปาโลยืนคู่กัน ติดผนังรั้วเป็นการสร้างการมองให้สวยงาม โดยนายช่าง ธานี ขันติโกวิท
       บันทึกท้ายเหตุการณ์ย้อนรอยวัดราชินีแห่งสันติสุข ขอพระพรพระผู้เป็นเจ้าผ่านคำเสนอ วิงวอนของพระแม่มารีอา จงคุ้มครองพระสงฆ์ผู้อภิบาลวัดนี้ทุกองค์ และพี่น้องคริสตชน เพื่อให้ทุกคนพบกันทุกวันอาทิตย์ อย่างมีความสุขทั้งในครอบครัววัด และครอบครัวมนุษย์ตลอดไป.
 
 สมัยคุณพ่อเปาโล  พจนารถ  นิรมลทินวงศ์
ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสองค์ที่เก้า ปี ค.ศ 2009-ปัจจุบัน

           พระสงฆ์ผู้ช่วยอภิบาล คือ
               คุณพ่อยอแซฟ อนุชา ไชยเดช  ปี ค.ศ. 2006-ปัจจุบัน (ช่วยวันเสาร์-วันอาทิตย์)
 
จากหนังสือย้อนรอยวัดราชินีแห่งสันติสุข... คุณพ่อจอห์น สุเทพ  พงษ์วิรัชไชย
และ จากข้อมูล... หอจดหมายเหตุอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

 

คุณพ่ออดิศักดิ์ สมแสงสรวง ( 5 พฤษภาคม 2012 - ปัจจุบัน ) ช่วยงานอภิบาล

    update ข้อมูลล่าสุด วันที่ 23 เมษายน 2012

    หน้าหลักอ่านทั้งหมดหน้ารวม