ค้นหาข้อมูล :

ประวัติพระคุณเจ้ามีชัย กิจบุญชู

พระคาร์ดินัลไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู   เกิดวันที่ 24 มกราคม ค.ศ. 1930  ที่หมู่บ้านวัดนักบุญเปโตร สามพราน นครปฐม  เป็นบุตรของยอแซฟ ยู่ฮง และมารีอา เคลือบ กิจบุญชู มีพี่น้องทั้งหมด 8 คน เป็น ชาย 7 คน เป็นหญิง 1 คน พระคุณเจ้าเป็นบุตรคนที่ 5 ของครอบครัว

การศึกษา

- ปี ค.ศ. 1935-1940 เรียนที่โรงเรียนนักบุญเปโตร สามพราน นครปฐม จบชั้นประถมปีที่ 4

  (เลขประจำตัว 718)

- ปี ค.ศ. 1940 เรียนที่โรงเรียนดาราสมุทร (สามเณราลัยพระหฤทัย) ศรีราชา ชลบุรี

  ชั้นมัธยมปีที่ 1 (เรียนไม่จบ เนื่องจากเกิดสงครามอินโดจีน จึงย้ายไปเรียนที่บ้านเณรบางช้าง)

- ปี ค.ศ. 1941-1944 เรียนที่บ้านเณรพระหฤทัยบางช้าง สมุทรสงคราม เป็นเวลา 4 ปี จบชั้นมัธยมปีที่ 4

- ปี ค.ศ. 1945-1947 เรียนที่โรงเรียนอัสสัมชัญ ศรีราชา ชลบุรี จบชั้นมัธยมปีที่ 6

- ปี ค.ศ. 1948-1953 เป็นครูเณรที่สามเณราลัยพระหฤทัย ศรีราชา ชลบุรี

  สอนเรียนที่โรงเรียนดาราสมุทร ได้รับตำแหน่งตั้งให้เป็นครูใหญ่โรงเรียนดาราสมุทร

- ปี ค.ศ. 1953-1959 เรียนที่วิทยาลัยโปรปากันดาฟีเด กรุงโรม จบปริญญาโท สาขาปรัชญา และ

   เทววิทยา ได้รับศีลบวชเป็นพระสงฆ์วันที่ 20 ธันวาคม 1959 ที่บ้านเณรปรอปากันดาฟีเด

   กรุงโรม โดยพระคาร์ดินัลเปโตร อากายาเนียน พร้อมกับพระสังฆราชยอแซฟ เอก ทับปิง

   (มรณภาพ 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1985)

ตำแหน่งหน้าที่ต่างๆ (จากอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ)

วันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1960    ถึง วันที่ 21 มกราคม ค.ศ. 1962

ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระนามพระเยซู บ้านแป้ง สิงห์บุรี

 วันที่ 21 มกราคม ค.ศ. 1962 ถึง  เดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1965

ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดนักบุญลูกา บางขาม ลพบุรี

 เดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1965 ถึง  เดือนสิงหาคม ค.ศ. 1965

ได้รับแต่งตั้งเป็นเหรัญญิกของอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

 วันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ. 1965

ได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาพระสังฆราชของอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

เดือนสิงหาคม ค.ศ. 1965     ถึงเดือนมีนาคม ค.ศ. 1973

ได้รับแต่งตั้งเป็นอธิการสามเณราลัยนักบุญยอแซฟ สามพราน นครปฐม

ตำแหน่งหน้าที่ต่างๆ

(จากสภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย)

ปี ค.ศ. 1979-1982 ดำรงตำแหน่งประธานสภาพระสังฆราชฯ

  ปี ค.ศ. 1986-1990 ดำรงตำแหน่งประธานสภาพระสังฆราชฯ

  ปี ค.ศ. 1995-1997 ดำรงตำแหน่งประธานสภาพระสังฆราชฯ

  นอกจากนี้ยังดำรงตำแหน่งประธานกรรมาธิการฝ่ายต่างๆ ของสภา

พระสังฆราชฯ อีกหลายฝ่ายด้วยกัน

ตำแหน่งหน้าที่ต่างๆ (จากกรุงโรม)

ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการของสมณกระทรวง ประกาศพระวรสารสู่ปวงชน (Member of the Pontifical of the Missionary Union of the Clergy in Thailand3

 นับตั้งแต่ได้รับแต่งตั้งเป็นพระคาร์ดินัล พระคุณเจ้าได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการที่ปรึกษาของสมณกระทรวงเผยแพร่ความเชื่อหลังจากที่พ้นจากตำแหน่งกรรมการที่ปรึกษาของสมณกระทรวงฯ แล้ววันที่ 28 มกราคม ค.ศ. 1994 ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิก “สภาที่ปรึกษาด้านการเงิน และเศรษฐกิจของสันตะสำนัก4”

เหตุการณ์สำคัญในชีวิต

 วันที่ 3 มิถุนายน ค.ศ. 1973 ได้รับการอภิเษกเป็นพระอัครสังฆราช แห่งอัครสังฆมณฑลกรุงเทพ ฯ สืบตำแหน่งต่อจากพระอัครสังฆราชยอแซฟ ยวง นิตโย

วันที่ 30 ธันวาคม ค.ศ. 1982 สมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2 ทรงมีพระสมณสาสน์แจ้ง เป็นการภายในให้ทราบว่า  จะทรงแต่งตั้งให้เป็นสมาชิก ของพระคาร์ดินัลแห่งพระศาสนจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1983

วันที่ 5 มกราคม ค.ศ. 1983 มีประกาศอย่างเป็นทางการ  แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสมาชิกคณะพระคาร์ดินัล นับเป็นพระคาร์ดินัลไทยองค์แรก

วันที่ 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1983  พิธีสถาปนาสมณศักดิ์พระคาร์ดินัลท่ามกลางคณะพระคาร์ดินัล คณะทูตานุทูต และคริสตศาสนึกชน

 วันที่ 20 ธันวาคม ค.ศ. 1984 ฉลองหิรัญสมโภชครบรอบ 25 ปี แห่งการบวชเป็นพระสงฆ์

แนวทางการปกครองและวิธีการ (Directive and Methodology)

  ตำแหน่งพระสังฆราช เป็นตำแหน่ง “บิดาที่รักยิ่ง” เราพบการเรียกนี้เสมอ เวลาที่มีผู้ขอให้บวชผู้รับ เลือกขึ้นเป็นพระสงฆ์ และเป็นการเรียกที่มีความหมายอย่างยิ่ง สำหรับพระสงฆ์ และบรรดาคริสตชนแล้ว พระสังฆราชเป็นบิดาของพวกเรา แต่สำหรับพระคุณเจ้า ท่านปกครองและรักพวกเราเสมือนเป็นลูกๆ ของท่านเอง  พระคุณเจ้าเาที่บิดาเหล่านี้ของพระคุณเจ้า เราพบได้จากแนวทางและวิธีการปกครองของพระคุณเจ้า งานเขียนชิ้นนี้จึงมิได้เขียนขึ้นจากความคิดเห็นส่วนตัว แต่ได้นำเอ าคำพูดรวมทั้งการสอนต่างๆ ที่พระคุณเจ้าเคยให้ไว้ในโอกาสต่าง ๆ มาใช้ เพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจถึงชีวิตความเป็นบิดาของพระคุณเจ้ามากขึ้น
 

แนวทางที่กล่าวนี้ปรากฏชัดอยู่ในคำพูดของพระคุณเจ้า  ที่ให้ไว้ในบทสัมภาษณ์ในหนังสือ “นิตยสารอุดมสาสน์” เป็นการจัดลำดับบทบาท พร้อมทั้งได้คำนึงถึงปัจจัยสำคัญต่าง ๆ ของการดำเนินงานไว้ด้วย ดังนี้

“ภารกิจอันสำคัญของอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ นั้น ก็คืองานอภิบาล เพราะพระศาส นจักรได้รับมอบหมายจากพระเยซูเจ้าให้เป็นผู้ดูแล เป็นผู้เลี้ยงดูบรรดาสั ตบุรุษ เพราะฉะนั้น ในด้านงานอภิบาลอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ   ก็จะพยายามให้งานด้านการอภิบาลก้าวหน้าต่อไปให้ได้รับผลยิ่งขึ้น เมื่อพูดถึงงาน ด้านการอภิบาล  ก็ต้องมีบุคลากร อันนี้แน่นอน บรรดาผู้ที่มีหน้าที่โดยเจาะจงคือ พระสงฆ์ นักบวช ทั้งหลาย ต้องพยายามเน้นให้พระสงฆ์นักบวชที่ต้องมีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงนี้ ได้เพิ่มความเอาใจใส่ออกแรงมากยิ่งๆ ขึ้น และเตรียม ผู้ซึ่งรับหน้าที่นี้ต่อไปในอนาคต นั่นก็คือ จะต้องส่งเสริมกระแสเรียกให้มากยิ่งๆ ขึ้น ส่วนในด้านสัตบุรุษเอง ก็มีแ นวทางที่จะปลุกสำนึกให้บรรดาสัตบุรุษได้เข้าใจถึงภาระหน้าที่และความรับผิดชอบร่วมกัน”

ภารกิจหลัก ได้แก่การอภิบาลโดยอาศัยบุคลากร ดังนั้นการเตรียมบุคลากรและการส่งเสริมกระแส เรียกรวมทั้งความร่วมมือของบรรดาคริสตชน      จึงเป็นแนวทางการทำงานที่สำคัญดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่า สถานการณ์และสภาพแวดล้อมขอ งพระศาสนจักรแต่ละสมัยนั้นแตกต่างกัน   จึงต้องมีการปรับเปลี่ยนให้สอดคล้อง แต่ในเวลาเดียวกัน ก็ต้องมีความต่อเนื่องกันด้วย พระคุณเจ้าเข้าใจความจริงข้อนี้ของพระศาสน จักรอย่างชัดเจน ทำให้แนวทางการปกครองและการดำเนินงานแจ่มชัดมากขึ้น

   “การเปลี่ยนแปลงต่างๆ ของพระศาสนจักร ไม่ว่าจะเป็นวิธีการ หรือบุคลากรต่างๆ นั้น เป็นสิ่งจำเป็น และเป็นเรื่องธ รรมดา ทั้งนี้ก็เพื่อให้พระศาสนจักรเจ ริญเติบโต สามารถให้บริการแก่บรรดาสมาชิกของตน และแก่สังคม และเพื่อให้พระศาสนจักรดำเนินไปด้วยความราบรื่นและมีประสิทธิภาพ บรรดาสมาชิกขอ งพระศาสนจักร ไม่ว่าฝ่ายสงฆ์  หรือฝ่ายฆราวาส จะต้องตระหนักและมีความรับผิดชอบอย่างแท้จริงตามฐานะและกระแสเรียกของตน และจะต้องประสานงาน ประสานใจกันทั้งสองฝ่ายตลอดไป”

  แนวทางใหญ่ ๆ และสำคัญอีกประการหนึ่งซึ่งปรากฏอยู่ในการสนทนาหรืองานเขียน รวมทั้งการปราศรัย การอภิบาลในที่ต่าง ๆ หรือตามวัดต่าง ๆ ในโอกาสฉลองวัดก็ดี ดังคำพูดเหล่านี้ “นอกจากแนวทางการอภิบาลและงานแพร่ธรรมแล้ว พระศาสนจักรมีหน้าที่ในการพัฒนาประเทศชาติและสังคม” “หน้าที่ประการต่อไป คือ  เราคริสตชนต้องมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศชาติ ซึ่งเป็นที่รับรู้คาทอลิกมีบทบาทมิใช่น้อยในด้านการพัฒนาประเท ศชาติ อาทิเช่น การศึกษา ด้านเมตตาจิ ต ก็มีสถานเด็กกำพร้า คนพิการ คนตาบอด บ้านพักคนชรา ด้านสังคมสงเคราะห์ต่างๆ ”

แนวทางที่สำคัญที่สุด 2 ประการเหล่านี้  ได้รับการตอบสนองด้วยความเอาใจใส่ยิ่ง  ด้วยความร้อนรนรอบคอบและอดทนแต่ที่สำคัญที่สุดด้วยความรักที่มีต่องานของพระ และด้วยความรักที่มีต่อเพื่อนมนุษย์ตามจิตตารมณ์ของพระคริสตเจ้า ตลอดระยะเวลา 25 ปีแห่งการปกครองและการอภิบาลในฐานะพระอัครสังฆราช เราจะเห็นได้ชัดมากขึ้น เมื่อเราได้ทราบถึงวิธีการทำงานเพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางทั้งสองประการนี้