ขจัดความยากจน เพื่อสร้างสันติภาพ

สาส์นของสมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ ที่ 16 เนื่องในโอกาสเฉลิมฉลองวันสันติภาพสากล
 

1 มกราคม 2552

ขจัดความยากจน เพื่อสร้างสันติภาพ (Fighting Poverty to Build Peace)

1.นับเป็นอีกวาระหนึ่งเมื่อถึงวันเริ่มต้นปีใหม่ข้าพเจ้าขอส่งความปรารถนาดีเพื่อสันติภาพมายังประชาชนทุกหนทุกแห่งข้าพเจ้ าส่งสารนี้เพื่อนำเสนอข้อพิจารณาไตร่ตรองเรื่องขจัดความยากจนเพื่อสร้างสันติภาพเมื่อปีค.ศ.1993สมเด็จพระสันตะปาปายอห์นปอลที่ 2 ผู้ดำรงตำแหน่งก่อนข้าพเจ้าได้ส่งสาสน์วันสันติภาพสากล ในปีนั้นชี้ให้เห็นผลด้านลบต่อสันติภาพเมื่อประชาชนทั้งหมดต้องมีชีวิตอยู่ในความยากจนความยากจนมักจะเป็นปัจจัยสนับสนุนและเพิ่มความรุนแรงห้แก่ความขัดแย้งรวมไปถึงการใช้อาวุธด้วยในทางกลับกันความขัดแย้งเหล่านี้ก็เป็นเชื้อเร่งให้สถานการณ์ความยากจนเลวร้ายมากยิ่งขึ้นพระองค์เขียนไว้ว่า“โลกของเราแสด งให้เห็นหลักฐานการคุกคามอย่างหนักต่อสันติภาพเพิ่มขึ้น

ในปัจจุบันคนจำนวนมากและแม้แต่ประชาชาติทั้งปวงดำเนินชีวิตอยู่ท่ามกลางความยากจนข้นแค้นช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจนนับวันจะยิ่งห่างกันมากขึ้นไม่เว้แม้แต่ในประเทศที่พัฒนาแล้ว นี่คือปัญหาที่มโนธรรมของมนุษยชาติไม่อาจเพิกเฉย เนื่องจากสภาพการดำรงชีวิตของผู้คนจำนวนมากเป็นการทำลายศักดิ์ศรีตามธรรมชาติของพวกเขาและส่งผลให้เกิดการคุกคามต่อความเ จริญก้าวหน้าที่แท้จริงและสมดุลของประชาคมโลก”1

2. ในบริบทนี้ การขจัดความยากจนเรียกร้องให้ใส่ใจพิจารณาปรากฏการณ์โลกาภิวัตน์ที่สลับซับซ้อน เรื่องนี้มีความสำคัญในแง่ของมรรควิธีเพราะถือเป็นการใช้ประโยชน์จากผลของการวิจัยทางเศรษฐกิจและสังคมวิทยาต่อความยากจนในมิติต่างๆมากมายอย่างไรก็ตามการพิจารณาไตร่ตรองโลกาภิวัตน์ควรเตือนเราให้ระวังผลกระทบทางจิตวิญญาณและศีลธรรมจากโลกาภิวัตน์ด้วยกร ะตุ้นเราในการทำงานกับคนยากจนให้เริ่มต้นจากการยอมรับอย่างชัดเจนว่าเราต่างก็มีส่วนร่วมนแผนการเดียวกันของพระเจ้านั่นคือเราได้รับเรียกให้สร้างครอบครัวหนึ่งเดียวเริ่มจากปัจเจกบุคคล ประชาชนและชาติทั้งหลาย ร่วมกันหล่อหลอมพฤติกรรมของตนตามหลักแห่งภราดรภาพและความรับผิดชอบ

แนวคิดนี้เรียกร้องให้เข้าใจความยากจนในมุมกว้างและด้วยข้อมูลรอบด้านหากเป็นเรื่องความยากจนทางวัตถุปัจจัยเพียงอย่า งเดียว สังคมศาสตร์ก็อาจเพียงพอในการช่วยเราวัดปรากฏการณ์บนพื้นฐานของข้อมูลเชิงปริมาณ ที่จะนำเสนอลักษณะที่สำคัญๆของความยากจนได้แต่เราก็รู้ว่ายังมีรูปแบบความยากจนที่มิใช่ในเชิงวัตถุซึ่งมิใช่เป็นผลโดยตรงและเกิดขึ้นอย่างอิสระจากการกีดกันทางวัตถุปัจจัยตัวอย่างเช่นในสังคมก้าวหน้าและมั่งคั่งมีปรากฏการณ์ของการกีดกันคนไปอยู่ชายขอบ เช่นเดียวกับความยากจนที่กระทบความรู้สึก ศีลธรรม และจิตวิญญาณ

ซึ่งพบในประชาชนที่ชีวิตภายในของตนถูกรบกวนให้ สับสน และต้องประสบกับความเจ็บป่วยในรูปแบบต่างๆ ทั้งๆ ที่มีความรุ่ งเรืองทางด้านวัตถุ ในด้านหนึ่งนั้น ข้าพเจ้าคิดถึงสิ่งที่เรียกว่า “ความด้อยพัฒนาทางศีลธรรม” 2 และในอีกด้านหนึ่ง ยังมีผลด้านลบของ “การพัฒนาเกินขอบเขต” 3 ข้าพเจ้าเองก็ไม่อาจลืมว่า สิ่งที่เรียกว่าสังคม “ยากจน” นั้น ความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจยังมักจะถูกขัดขวางด้วยอุปสรรคทางวัฒนธรรมซึ่งนำไปสู่การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างไร้ประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม ยังคงเป็นความจริงเสมอ ที่ความยากจนทุกรูปแบบซึ่งถูกยัดเยียดมาจากภายนอกนั้น มีรากฐานมาจากการขาดความเคารพศักดิ์ศรีเหนือธรรมชาติของบุคคล

เมื่อมนุษย์ไม่ถูกมองภายในบริบทของกระแสเรียกโดยรวมของเขาและเมื่อการเรียกร้องให้มี“ระบบนิเวศน์มนุษย์”4 ที่แท้จริง ไม่ได้รับการเคารพ พลังโหดร้ายของความยากจนก็จะถูกปล่อยออกมา ซึ่งเห็นได้ในบางเรื่องที่ข้าพเจ้าจะกล่าวถึงเป็นเรื่องๆ โดยย่อต่อไปความยากจนและผลกระทบทางศีลธรรม

3.ความยากจนมักได้รับการพิจารณาว่าเป็นผลจากการเพิ่มของประชากรด้วยเหตุนี้จึงมีการรณรงค์ในระดับระหว่างประเทศเ พื่อลดอัตราการเกิดบางครั้งโดยการใช้วิธีที่ไม่เคารพศักดิ์ศรีของผู้หญิงหรือสิทธิของพ่อแม่ในการเลือกด้วยความรับผิดชอบว่าตนจะมีบุตรกี่คน5ที่น่าเศร้าไปกว่านั้นก็คือวิธีการเหล่านี้มักจะไม่เคารพแม้กระทั่งสิทธิที่จะมีชีวิตการกำจัดเด็กที่ยังไม่เกิดเรือนล้านด้วยข้ออ้างว่าเป็นการขจัดความยากจนมักจะหมายถึงการทำลายคนยากจนที่สุดในหมู่มวลมนุษย์กระนั้นก็ดีก็ยังเกิดกรณีในค.ศ.1981ว่าประชากรโลกประมาณร้อยละ40อยู่ต่ำกว่าเกณฑ์ความยากจนข้นแค้นในขณะที่ในปัจจุบันอัตรานี้ถูกลดลงมากถึงครึ่งห นึ่ง และประชาชาติทั้งหมดได้หนีพ้นความยากจน

แม้ว่ายังคงมีอัตราการเกิดของประชาชนอย่างมีนัยสำคัญนี่แสดงให้เห็นว่าทรัพยากรในการแก้ปัญหาความยากจนมีอยู่ แม้ว่าจะยังคงมีประชากรเพิ่มขึ้นก็ตามนอกจากนั้นเรายังต้องไม่ลืมว่า นับตั้งแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2ประชากรโลกเพิ่มขึ้นสี่พันล้านคนส่วนใหญ่เป็นเพราะบางประเทศที่เพิ่งเข้าสู่เวทีโลกในฐานะมหาอำนาจใหม่ทางเศรษฐกิจและมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วเพราะป ระชากรที่มีจำนวนมากนั่นเองนอกจากนั้นในบรรดาประเทศที่พัฒนาแล้วประเทศที่มีอัตราการเกิดสูงกลับได้รับโอกาสการพัฒนามากกว่ากล่าวอีกนัยหนึ่งประชากรถือได้ว่าเป็นทรัพย์สินมิใช่ปัจจัยที่นำไปสู่ความยากจน

4.ส่วนที่น่าห่วงใยอีกเรื่องหนึ่งคือโรคระบาดเช่นมาลาเรียวัณโรคและเอดส์หากโรคระบาดเหล่านี้กระทบต่อประชากรกลุ่มที่สร้ างความมั่งคั่งก็นับเป็นปัจจัยที่สำคัญของความเสียหายโดยรวมต่อสภาพแวดล้อมในประเทศที่เกี่ยวข้องความพยายามที่จะควบคุมผลกระทบของโรคเหล่านี้ต่อประชากรมักจะไม่ค่อยประสบผลสำเร็จเท่าที่ควรนอกจากนั้นยังปรากฏว่าประเทศที่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาดเหล่านี้พบว่าตนเองกลับต้องตกเป็นตัวประกันเมื่อพยายามแก้ปัญหาโรคระบาดเนื่องจากผู้ให้ความช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจตั้งเงื่อนไขให้มีการดำเนินนโยบายต่อต้านชีวิตเป็นการยากที่จะเอาชนะเอดส์ได้ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของความยากจน หากไม่มีการมุ่งแก้ปัญหาทางศีลธรรมที่เกี่ยวข้อง

กับการแพร่กระจายไวรัสด้วยประการแรกและสำคัญที่สุดจำเป็นต้องมีการรณรงค์ให้การศึกษาที่มุ่งเฉพาะไปยังเยาวชนเพื่อส่งเสริมจริยธรรมทางเพศที่สอดคล้องกับศักดิ์ศรีของมนุษย์อย่างครบถ้วนกิจกรรมประเภทนี้ได้ก่อให้เกิดผลที่สคัญแล้วซึ่งส่งผลสู่การลดการแพร่เอดส์ด้วยเหตุนี้จึงต้องจัดหายาและการรักษาที่จำเป็นให้แก่ประชาชนที่ยากจนด้วยการดำเนินการนี้เรียกร้องให้มีควา มพยายามในการส่งเสริมการวิจัยทางการแพทย์และนวัตกรรมการรักษารูปแบบต่างๆรวมไปถึงการใช้กฎระหว่างประเทศที่คุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาอย่างยืดหยุ่นหากจำเป็นทั้งนี้เพื่อสร้างหลักประกันว่าประชาชนทุกคนจะได้รับการดูแลรักษาสุขภาพขั้นพื้นฐานที่จำเป็น

5.เรื่องที่สามซึ่งเรียกร้องความสนใจต่อแผนงานในการขจัดความยากจนซึ่งยังคงเน้นมิติศีลธรรมที่แท้จริงนั่นคือความ ยากจน ของเด็ก เมื่อความยากจนเกิดกับครอบครัว เด็กจะได้รับผลกระทบมากที่สุด ปัจจุบัน เกือบครึ่งหนึ่งของผู้ที่ตกอยู่ในความยากจนข้นแค้นคือเด็กการเข้าข้างเด็กเมื่อคำนึงถึงความยากจนหมายถึงการให้ความสำคัญต่อเป้าประสงค์ที่เกี่ยวข้องกับเด็กโดยตรงที่สุดเช่น การดูแลมารดาการสนับสนุนการศึกษาการเข้าถึงวัคซีนการรักษาพยาบาลและน้ำดื่มการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม และที่สำคัญที่สุด คือการคุ้มครองครอบครัวและความสัมพันธ์อันมั่นคงภายในครอบครัวเมื่อครอบครัวอ่อนแอ เด็กก็จะได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ย งไม่ได้ หากศักดิ์ศรีของผู้หญิงและแม่ไม่ได้รับการปกป้อง เด็กก็จะได้รับผลกระทบมากที่สุด

6.เรื่องที่สี่ที่เรียกร้องความสนใจจากจุดยืนทางศีลธรรมเป็นพิเศษคือความสัมพันธ์ระหว่างการลดอาวุธและการพัฒนา ระดับค่าใช้จ่ายด้านการทหารในปัจจุบันของโลกเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วง ดังที่ข้าพเจ้าได้ชี้ให้เห็นก่อนหน้านี้ว่าย่อมเป็นไปได้ที่ “ค่าใช้จ่ายด้ านการทหารจำนวนมหาศาลที่เกี่ยวข้องด้านวัตถุ บุคลากร และยุทโธปกรณ์ อันที่จริงแล้ว ถูกยักย้ายถ่ายเทมาจากโครงการพัฒนาเพื่อประชาชาติ

โดยเฉพาะจากคนยากจนที่สุดที่มีความต้องการความช่วยเหลือมากที่สุด สถานการณ์นี้ขัดแย้งกับสิ่งที่ระบุไว้ในกฎบัตรของสหประชาชาติ ซึ่งผูกพันประชาคมระหว่างประเทศและรัฐโดยเฉพาะ ‘เพื่อที่จะส่งเสริมการสถาปนาและการธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและค วามมั่นคงระหว่างประเทศ การนำเอาทรัพยากรมนุษย์และเศรษฐกิจของโลก มาใช้เพื่อเป็นอาวุธยุทโธปกรณ์ต้องเป็นไปให้น้อยที่สุด’ (มาตรา 26)” 6

ในเรื่องนี้ มิได้มีการดำเนินการใดเพื่อส่งเสริมแต่กลับสกัดกั้นอย่างรุนแรง มิให้ประชาคมระหว่างประเทศบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ใฝ่ฝันนอกจากนั้นการใช้จ่ายด้านการทหารที่เพิ่มขึ้นมากเกินไปทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเพิ่มการแข่งขันทางด้านอาวุธ ก่อให้เกิดหย่อมความด้อยพัฒนาและความสิ้นหวังซึ่งอาจกลายเป็นสาเหตุของความไม่มั่นคงความตึงเครียดและความขัดแย้ง ดังเช่น พระสันตะปาปาปอล ที่ 6ผู้น่าเคารพผู้ดำรงตำแหน่งก่อนข้าพเจ้าได้ตั้งข้อสังเกตอย่างชาญฉลาดไว้ว่า“ชื่อใหม่ของสันติภาพคือการพัฒนา”7ดังนั้น ประเทศต่างๆจึงได้รับการเชื้อเชิญให้พิจารณาไตร่ตรองอย่างจริงจังถึงสาเหตุของความขัดแย้ง

ซึ่งมักจะถูกกระตุ้นด้วยความอยุติธรรม และให้ทำการวิพากษ์วิจารณ์ตนเองอย่างกล้าหาญ ถ้าความสัมพันธ์ได้รับการปรับปรุงใ ห้ดีขึ้น ก็เป็นไปได้ที่จะมีการลดค่าใช้จ่ายด้านอาวุธลง ทรัพยากรที่ประหยัดได้นี้ ก็จะสามารถนำไปใช้ในโครงการพัฒนาเพื่อช่วยเหลือปัจเจกชนและประชาชาติที่ยากจนที่สุดและที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งความพยายามเพื่อดำเนินการในหนทางนี้ย่อมเป็นความพยายามเพื่อสันติภาพภายในครอบครัวมนุษยชาตินั่นเอง

7.เรื่องที่ห้าที่เกี่ยวข้องกับการขจัดความยากจนทางด้านวัตถุปัจจัยคือ เรื่องวิกฤติการณ์อาหารในปัจจุบันซึ่งเป็นอุปสรรคต่อกา รได้มาซึ่งความจำเป็นขั้นพื้นฐานวิกฤติการณ์นี้มิใช่เรื่องของการขาดแคลนอาหารแต่เป็นความยากลำบากในการได้มาซึ่งอาหารและการเก็งกำไรในรูปแบบต่างๆกล่าวอีกนัยหนึ่งคือการขาดโครงสร้างทางการเมืองและเศรษฐกิจที่สามารถจัดการตอบสนองความจำเป็นและภาวะฉุกเฉินต่างๆภาวะทุพโภชนาการยังก่อให้เกิดความเสียหายรุนแรงทางสติปัญญาและร่างกายของประชาชนทำให้คนจำนวนมากขาดพลังที่จำเป็นเพื่อหลีกหนีจากความยากจนที่ไม่ได้รับความช่วยเหลือสถานการณ์นี้ส่งผล ให้เกิดช่องว่างของความไม่เท่าเทียมกันมากยิ่งขึ้น

และอาจกระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยารุนแรงสิ่งบ่งชี้ทั้งมวลที่เกี่ยวกับความยากจนในไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างคนร่ำรวยและคนยากจนที่เพิ่มมากขึ้นไม่ต้องสงสัยเลยว่า สาเหตุหลักของสถานการณ์นี้ในด้านหนึ่ง คือความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ซึ่งมักเป็นประโยชน์ต่อคนร่ำรวยกว่า ขณะที่อีกด้านหนึ่งคือ ความเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าอุตสาหกรรมซึ่งสูงขึ้นเร็วก ว่าสินค้าทางภาคเกษตรและวัตถุดิบที่อยู่ในครอบครองของประเทศที่ยากจนกว่าในแนวทางนี้ ประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศยากจนที่สุดต้องประสบกับการกีดกันให้ออกไปอยู่ชายขอบเป็นสองเท่า เพราะผลกระทบด้านลบของรายได้ที่ต่ำลงและราคาสินค้าที่สูงขึ้น สมานฉันท์ระดับโลกและการขจัดความยากจน
 

8.หนทางที่สำคัญที่สุดหนทางหนึ่งในการสร้างสันติภาพคือรูปแบบโลกาภิวัตน์ที่มุ่งคุณประโยชน์ของครอบครัวมนุษยชาติทั้งมว ล8อย่างไรก็ตามเพื่อที่จะจัดการโลกาภิวัตน์จะต้องมีความคิดในเรื่องสมานฉันท์ระดับโลก9ระหว่างประเทศร่ำรวยและประเทศยากจนอย่างเข้มข้น รวมทั้งภายในแต่ละประเทศเอง และในประเทศร่ำรวยด้วยเราจำเป็นจะต้องมี “หลักจริยธรรมร่วม”10ซึ่งประกอบด้วยบรรทัดฐานที่มิได้อยู่บนพื้นฐานของฉันทามติเท่านั้น หากแต่มีรากฐานอยู่ในกฎธรรมชาติซึ่งพระผู้สร้างทรงจารึกอยู่ในมโนธรรมของมนุษย์แต่ละคน (เทียบ รม 2:14-15)

เราแต่ละคนมิได้มีความรู้สึกลึกๆอยู่ภายในมโนธรรมว่าตนได้รับเรียกให้มี ส่วนร่วมในการสร้างความดีส่วนรวมและสร้างสันติภาพในสังคมดอกหรือ?โลกาภิวัตน์ขจัดอุปสรรคบางประการแต่ก็ยังสามารถสร้างอุปสรรคใหม่ขึ้นมาได้โลกาภิวัตน์นำประชาชนมาร่วมกัน แต่ความใกล้ชิดกันทางสถานที่และเวลาโดยตัวของตัวเอง มิใช่เงื่อนไขในการสร้างความเป็นหนึ่งเดียวกันและสันติภาพอย่างแท้จริงวิธีการที่มีประสิทธิภาพในการจัดการเรื่องกีดกันคนยากจนของโลกให้ออกไปอยู่ชายขอบสังคมโดยอาศัยโลกาภิวัตน์ 

ก็คือเมื่อประชาชนทุกหนแห่งมีความรู้สึกในแต่ละคนว่าตนถูกทำร้ายเพราะความอยุติธรรมในโลกและการละเมิดสิทธิมนุษยชนซึ่งเกี่ยวข้องกัน พระศาสนจักรซึ่งเป็น “สัญญาณและเครื่องมือของความสนิทสัมพันธ์เป็นหนึ่งเดียวกับพระเจ้าและความเป็นหนึ่งเดียวกันของเผ่าพันธุ์มนุษยชาติทั้งมวล”11จะยังคงทำงานต่อไปเพื่อแก้ไขปัญหาความอยุติธรรมและความไม่เข้าใจซึ่งจะนำไปสู่โลกที่มีสันติภาพและสมานฉันท์มากขึ้น

9.ในด้านการค้าและการเงินระหว่างประเทศมีกระบวนการที่ดำเนินการอยู่ ในปัจจุบันซึ่งทำให้เกิดการบูรณาการระบบเศรษฐกิจอันนำไปสู่การปรับปรุงเงื่อนไขต่างๆแต่ก็ยังมีกระบวนการที่มีแนวโน้มไปในทิศทางตรงกันข้ามแบ่งแยกและกีดกันประชาชาติออกไปยังชายขอบของสังคม และสร้างสถานการณ์อันตราย ซึ่งอาจนำไปสู่สงครามและความขัดแย้งได้ นับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา การค้าสินค้าและบริการระหว่าง ประเทศเติบโตอย่างรวดเร็วมากเป็นพิเศษ ด้วยแรงขับเคลื่อนอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อนในประวัติศาสตร์

การค้าระดับโลกส่วนใหญ่นี้เกี่ยวข้องกับประเทศที่พัฒนาอุตสาหกรรมในช่วงต้นๆและประเทศที่พัฒนาใหม่ๆจำนวนมากก้าวเข้ามาอยู่บนเวทีระดับโลกด้วย กระนั้นก็ดี ยังมีประเทศที่มีรายได้ต่ำอื่นๆซึ่งยังคงถูกกีดกันให้ออกไปอยู่ชายขอบในทางการค้าการเติบโตของประเทศเหล่านี้ได้รับอิทธิพลด้านลบจากราคาสินค้าที่ตกต่ำอย่างรวดเร็วในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมาซึ่งหมายถึงสินค้าส่ งออกทั้งหมดของประเทศเหล่านี้นั่นเองในประเทศดังกล่าวนี้ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในอาฟริกาการพึ่งพาสินค้าส่งออกยังคงเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ ตรงจุดนี้ ข้าพเจ้าขอเรียกร้องประเทศทั้งหลายอีกครั้งหนึ่ง ให้เปิดโอกาสที่เสมอภาคในการเข้าถึงตลาดโลกโดยปราศจากการกีดกันหรือการผลักออกไปอยู่ชายขอบ

10.เราอาจใช้การพิจารณาไตร่ตรองแบบเดียวกันในเรื่องการเงินซึ่งเป็นมิติที่สำคัญของปรากฏการณ์โลกาภิวัตน์ที่เกิดขึ้นเพร าะการพัฒนาเทคโนโลยีและนโยบายการเปิดให้มีการหลั่งไหลเงินทุนระหว่างประเทศได้อย่างเสรี โดยวัตถุประสงค์ในตัวเอง หน้าที่ที่สำคัญที่สุดของการเงินคือการค้ำจุนความเป็นไปได้สำหรับการลงทุนในระยะยาว ซึ่งหมายถึงการพัฒนานั่นเอง ในปัจจุบัน นี่เป็นเรื่องเปราะบางอย่างยิ่งเพราะกำลังประสบกับผลด้านลบของระบบธุรกรรมการเงินทั้งในระดับชาติและระดับโลก ซึ่งเกิดจากความคิดเพียงระยะสั้นๆ ที่มุ่งเพิ่มมูลค่าการดำเนินการ ทางการเงิน และเน้นการบริหารจัดการทางด้านเทคนิคต่อความเสี่ยงในรูปแบบ ต่างๆ เท่านั้น วิกฤติที่เกิดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้แสดงให้เห็นธุรกรรมทางการเงินที่บางครั้งอาจหันกลับมาทำร้ายตัวเองอย่างสิ้นเชิง

เพราะมิได้คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวมในระยะยาวการลดวัตถุประสงค์ของการเงินระดับโลกลงเป็นเพียงเรื่องระยะสั้นทำให้ลดขีดความสามารถที่จะทำหน้าที่เป็นสะพานระหว่างปัจจุบันและอนาคตและหน้าที่ในฐานะตัวกระตุ้นที่จะสร้างโอกาสใหม่ๆในการ ผลิตและสร้างงานในระยะยาวการเงินที่จำกัดตัวเองลงเป็นเพียงระยะสั้นกลับกลายเป็นอันตรายต่อทุกคน แม้แต่ต่อผู้ที่ได้รับประโยชน์เมื่อตลาดดำเนินการไปด้วยดี 12

11.สิ่งเหล่านี้อาจบ่งชี้ว่าการขจัดความยากจน  เรียกร้องความร่วมมือทั้งทางด้านเศรษฐกิจและด้านกฎหมายเพื่อให้ประชาคมระหว่างประเทศ และโดยเฉพาะประเทศที่ยากจน ได้ค้นพบและดำเนินยุทธศาสตร์เพื่อจัดการกับปัญหาที่กล่าวถึงข้างต้น ซึ่งจะเป็น การให้กรอบทางกฎหมายที่มีประสิทธิภาพสำหรับเศรษฐกิจ มีความจำเป็นที่จะต้องทำให้เกิดแรงจูงใจในการสร้างสถาบันแบบมีส่วนร่วมที่มีประสิทธิผล และต้องมีการสนับสนุนในการต่อสู้กับอาชญากรรมและส่งเสริมวัฒนธรรมแห่งกฎหมาย

ในอีกด้านหนึ่งเราไม่อาจปฏิเสธได้ว่านโยบายที่เน้นความช่วยเหลือมากเกินไปนั้นเป็นสาเหตุแห่งความล้มเหลวมากมายในกา รให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศยากจนการลงทุนอบรมสร้างคนและพัฒนาวัฒนธรรมธุรกิจการค้าที่เฉพาะและมีบูรณาการอย่างดีดูเหมือนว่าจะเป็นแนวทางที่ถูกต้องในปัจจุบันทั้งในระยะปานกลางและระยะยาวถ้ากิจกรรมทางเศรษฐกิจเรียกร้องบริบทที่เหมาะสมเพื่อที่จะพัฒนาจะต้องไม่หันเหความสนใจไปจากความจำเป็นที่จะต้องสร้างรายได้ด้วยในขณะที่การเน้น อย่างถูกต้องว่าการเพิ่มรายได้ต่อหัวไม่อาจถือเป็นเป้าหมายสูงสุดของกิจกรรมทางการเมืองและเศรษฐกิจนั้น นับว่ายังเป็นวิธีการที่สำคัญ

ในการ บรรลุวัตถุประสงค์ในการขจัดความหิวโหยและความยากจนข้นแค้น ดังนั้นมายาคติที่ว่านโยบายการกระจายความมั่งคั่งที่มีอยู่เพียงอย่างเดียวจะช่วยขจัดปัญหาจะต้องถูกละทิ้งไปเสีย ในระบบเศรษฐกิจสมัยใหม่มูลค่าทรัพย์สินต้องพึ่งพาอย่างเต็มที่กับความสามารถในการก่อให้เกิด รายได้ในปัจจุบันและอนาคต ดังนั้นการสร้างความมั่งคั่งจึงกลายเป็นหน้าที่ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  ซึ่งต้องคำนึงถึงเสมอ หากจะให้การขจัดความยากจน ทางวัตถุมีประสิทธิภาพในระยะยาว

12.หากจะให้ความสำคัญแก่คนจน ก็จะต้องเปิดทางให้กับแนวทางจริยธรรมสำหรับเศรษฐศาสตร์ สำหรับผู้ที่มีส่วนในการดำเนินการตลาดระหว่างประเทศ แนวทางจริยธรรมสำหรับการเมืองสำหรับผู้ที่อยู่ในฝ่ายบริหารประเทศ และแนวทางจริยธรรมสำหรับการมีส่วนร่วมที่สามารถควบคุมการมีส่วนของประชาสังคมในระดับประเทศและระหว่างประเทศองค์กรระหว่างประเทศเองก็เพิ่งต ระหนักถึงคุณค่าและอรรถประโยชน์ของการริเริ่มทางเศรษฐกิจโดยภาคประชาสังคมหรือองค์กรท้องถิ่นในการส่งเสริมการปลดปล่อยและการนับรวมประชากรที่อยู่ต่ำกว่าเส้น

ความยากจนข้นแค้นซึ่งมักจะไม่ค่อยมีโอกาสได้รับความช่วยเหลืออย่างเป็นทางการให้เข้ามาอยู่ในสังคม ประวัติศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจในศตวรรษที่ยี่สิบสอนเราว่า นโยบายการพัฒนาที่ดีขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของการดำเนินงานอย่างรับผิดชอบโดยมนุ ษย์และการสร้างภาคีความร่วมมือเชิงบวกระหว่างตลาด ภาคประชาสังคมและรัฐ โดยเฉพาะภาคประชาสังคมมีบทบาทสำคัญในกระบวนการพัฒนาทั้งหลายเนื่องจากการพัฒนาโดยแท้จริงแล้วคือปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรม และวัฒนธรรมเกิดและพัฒนาในภาคประชาชน13

13.ดังเช่น พระสันตะปาปายอห์นปอลที่ 2ผู้น่าเคารพและดำรงตำแหน่งก่อนข้าพเจ้าทรงมีโอกาสตั้งข้อสังเกตเอาไว้ว่า โลกาภิ วัตน์“เป็นเสมือนดาบสองคม”14ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการบริหารจัดการด้วยความสุขุมรอบคอบเป็นอย่างยิ่งการดำเนินการดังกล่าวจะต้องรวมถึงการให้ความสำคัญต่อความจำเป็นของคนยากจนในโลก และการเอาชนะความไม่สมดุลที่น่าอดสูระหว่างปัญหาความยากจนและมาตรการ

ที่พัฒนาขึ้นเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ความไม่สมดุลดังกล่าวนี้เป็นเรื่องของทั้งระเบียบทางวัฒนธรรมและการเมือง และระเบียบ ทางจิตวิญญาณและศีลธรรม อันที่จริง เรามักจะพิจารณาสาเหตุของความยากจนอย่างผิวเผินและในเชิงเครื่องมือ โดยมิได้ใส่ใจต่อสิ่งที่ฝังอยู่ภายในจิตใจมนุษย์ เช่น ความโลภและการมีวิสัยทัศน์แคบ บางครั้ง ปัญหาการพัฒนา การให้ความช่วยเหลือและความร่วมมือระหว่างประเทศ

ได้รับการแก้ไขโดยมิได้ใส่ใจต่อมนุษย์ที่เป็นองค์ประกอบด้วย แต่มุ่งเพียงคำถาม ทางเทคนิคที่มีข้อจำกัด กล่าวคือ มุ่งสร้างโ ครงสร้าง จัดทำข้อตกลง ทางการค้า และจัดสรรเงินทุนโดยไม่คำนึงถึงตัวมนุษย์  สิ่งที่จำเป็นต่อการขจัดความยากจนคือชายและหญิงที่ดำเนินชีวิตในหนทางแห่งความเป็นพี่น้องกันอย่างลึกซึ้ง และสามารถร่วมไปกับปัจเจกบุคคล ครอบครัว และชุมชนในการเดินทางไปสู่การพัฒนามนุษย์อย่างแท้จริง

บทสรุป

14.ในสมณสาสน์ Centesimus Annus(การเฉลิมฉลองครบรอบปีที่หนึ่งร้อย)สมเด็จพระสันตะปาปายอห์นปอล ที่ 2 ทรงเตื อนเกี่ยวกับความจำเป็นที่จะ“ขจัดทัศนะที่ถือว่าคนยากจน ทั้งในแง่ปัจเจกบุคคลและในแง่ประชาชาตินั้นว่าเป็นภาระเป็นผู้บุกรุกที่น่ารำคาญที่พยายามบริโภค สิ่งที่ผู้อื่นได้ทำการผลิตออกมา”พระองค์ทรงเขียนไว้ว่า“คนยากจนเรียกร้องสิทธิที่จะมีส่วนในการชื่นชมวัตถุและนำเอาความสามารถในการทำงานของตนไปใช้อย่างดีซึ่งถือเป็นการสร้างโลกที่มีความยุติธรรมและเจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้นสำหรับทุกคน” 15

ในโลกแห่งโลกาภิวัตน์ในปัจจุบันเราจะเห็นได้อย่างชัดเจนมากขึ้นว่าสันติภาพสามารถสร้างได้หากทุกคนได้รับหลักประกันที่จ ะมีโอกาสเติบโตอย่างสมเหตุผล:ไม่ช้าก็เร็วความบิดเบือนอันเกิดจากระบบที่ไม่เป็นธรรมจะต้องมีการชดเชยโดยทุกๆคนนับเป็นการโง่เขลาอย่างแท้จริงที่จะสร้างบ้านที่ฟุ่มเฟือยในใจกลางทะเลทรายหรือความผุพังโลกาภิวัตน์ในตัวเองไม่สามารถสร้างสันติภาพได้ และในหลายๆกรณีกลับสร้างความแตกแยกและความขัดแย้ง

โลกาภิวัตน์ชี้ให้เห็นความจำเป็นที่จะต้องมุ่งไปหาเป้าหมายแห่งสมานฉันท์อย่างลึกซึ้ง ที่ปรารถนาความดีของแต่ละคนและทุก คน ในแง่นี้ ควรถือโลกาภิวัตน์ว่าเป็นโอกาสอันดีที่จะบรรลุบางสิ่งที่สำคัญในการขจัดความยากจน และนำทรัพยากรที่ไม่ค่อยได้คิดถึงกันมาก่อนมาสนับสนุนความยุติธรรมและสันติภาพ

15.คำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักรแสดงความห่วงใยต่อคนยากจนเสมอ  ในยุคสมัยของสมณสาสน์ Rerum Novarum (เหตุการณ์ใหม่ เรื่องทุนและแรงงาน) คนยากจนส่วนใหญ่คือคนงานในสังคมอุตสาหกรรมใหม่ ในคำสอนด้านสังคมของพระสันตะ ปาปาปีโอที่11พระสันตะปาปาปีโอที่ 12 พระสันตะปาปายอห์น ที่ 23 พระสันตะปาปาปอล ที่ 6 และพระสันตะปาปายอห์นปอลที่ 2 ความยากจนรูปแบบใหม่ๆ ค่อยๆ ได้รับการสำรวจในขณะที่ขอบเขตปัญหาสังคมขยายกว้างมากขึ้นไปสู่ระดับโลก

16.การขยายปัญหาสังคมไปสู่ระดับโลกจะต้องได้รับการพิจารณามิใช่เพียงการขยายเชิงปริมาณเท่านั้นแต่เชิงการเติบโตทาง คุณภาพ ในการเข้าใจมนุษย์และความต้องการของครอบครัวมนุษย์ด้วย ด้วยเหตุนี้ ในขณะที่เฝ้าติดตามปรากฏการณ์โลกาภิวัตน์และผลกระทบต่อความยากจนของมนุษย์ในปัจจุบันอย่างสนใจนั้น พระศาสนจักรก็ชี้ให้เห็นมิติใหม่ๆ ของปัญหาสังคม ไม่ใช่เพียงแค่ปัญหาในมุมกว้างเท่านั้น แต่ในมุมลึกด้วย

ด้วยเหตุที่เกี่ยวข้องกับอัตลักษณ์ของมนุษย์และความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า หลักการของคำสอนทางสังคม มุ่งที่จะอ ธิบายความเกี่ยวข้องกันระหว่างความยากจนและโลกาภิวัตน์ และช่วยชี้นำกิจการในการสร้างสันติภาพ ในบรรดาหลักการเหล่านี้นั้น เป็นเวลาที่เหมาะสมเป็นพิเศษที่จะนึกถึง “การเลือกรักคนจน”

17.ตามแสงสว่างแห่งความสำคัญของเมตตาธรรมซึ่งได้รับการยืนยันตลอดมาในธรรมประเพณีคริสตชนเริ่มจากยุคพระศาสนจักรเริ่มแรก (เทียบ กจ 4:32-36; 1 คร, 16:1, 2 คร 8-9; กท 2:10) พระสันตะปาปาเลโอ ที่ 13 ทรงเขียนไว้ในปี 1891 ว่า “ทุก คนควรลงมือทำงานในส่วนที่ตนรับผิดชอบในทันทีทันใด” และพระองค์ยังเสริมอีกว่า “ในส่วนของพระศาสนจักรนั้น พระศาสนจักรจะไม่มีวันทอดทิ้งงานของตน ไม่ว่าจะเป็นเวลาหรือโอกาสก็ตาม”18 และด้วยจิตตารมณ์เดียวกันนี้เอง ที่พระศาสนจักรยังคงทำงานเพื่อคนยากจนจนถึงทุกวันนี้ 

ซึ่งพระศาสนจักร มองเห็นพระคริสต์ในตัวพวกเขา19 และพระศาสนจักรยังคงรับฟังเสียง ที่สะท้อนอยู่ในหัวใจถึงพระบัญญัติข ององค์ราชันแห่งสันติภาพ ที่ทรงมีต่ออัครสาวกของพระองค์ว่า “Vos date illis manducare “ท่านทั้งหลายจงหาอาหารให้เขากินเถิด” (ลก 9:13) ด้วยความซื่อสัตย์ ต่อคำสั่งที่ได้รับจากพระอาจารย์นี้เอง ชุมชนคริสตชนจะไม่ละเลย ที่จะยืนยันสนับสนุนครอบครัวมนุษยชาติทั้งมวลด้วยสัญญาณของ สมานฉันท์ที่สร้างสรรค์มิใช่เพียงแค่ “การให้ส่วนเกินของตน” แต่เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ “การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต รูปแบบการผลิตและการบริโภค และโครงสร้างอำนาจที่จัดสร้างขึ้นซึ่งกำกับสังคมในปัจจุบัน” 20 ในวาระเริ่มต้นปีใหม่

ข้าพเจ้าขอเชื้อเชิญศิษย์ทุกคนของพระคริสต์ และมนุษย์ผู้มีน้ำใจดีทุกคน ให้เปิดหัวใจให้กว้างเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของคนยากจน และดำเนินการที่เป็นไปได้เพื่อช่วยเหลือพวกเขา สัจธรรมของหลักการที่ไม่อาจลบล้างได้ นั้นคือ “การขจัดความยากจน คือการสร้างสันติภาพ”
 

จากวาติกัน 8 ธันวาคม 2551

พระสันตะปาปาเบเนดิกต์ ที่ 16


เอกสารอ้างอิง

1 สาสน์วันสันติภาพสากล ปี 1993, ข้อ 1

2 พระสันตะปาปาปอล ที่ 6, สมณสาสน์ Populorum Progressio (การพัฒนาประชาชาติ), ข้อ 19

3 พระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2, สมณสาสน์Sollicitudo Rei Socialis (ความห่วงใยเรื่องสังคม), ข้อ 28

4  พระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2, สมณสาสน์ Centesimus Annus  (การเฉลิมฉลองปีที่หนึ่งร้อย), ข้อ 38

5 เทียบ พระสันตะปาปาปอล ที่ 6, สมณสาสน์ การพัฒนาประชาชาติ, ข้อ 37, พระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่2,
สมณสาสน์ความห่วงใยเรื่องสังคม, ข้อ 25

6 พระสันตะปาปาเบเนดิกต์ ที่ 16, สารถึงพระคาร์ดินัลเรนาโต ราฟาแอล มาร์ติโน เนื่องในโอกาสการสัมมนาระหว่างประเทศ ซึ่งจัดโดยสมณสภาเพื่อความยุติธรรมและสันติ ในหัวข้อเรื่อง ‘การลดอาวุธ การพัฒนา และสันติภาพ โอกาสเพื่อการลดอาวุธทั้งหมด’, 10 เมษายน 2008, L’Osservatore Romano ฉบับภาษาอังกฤษ, 30เมษายน 2008,หน้า 2

7 สมณสาสน์การพัฒนาประชาชาติ, ข้อ 87

8 เทียบ พระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2, สมณสาสน์ การเฉลิมฉลองปีที่หนึ่งร้อย, ข้อ 58

9 เทียบ พระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2, คำปราศรัยต่อสมาคมคริสตชนคนงานแห่งอิตาลี, 27 เมษายน 2002, 4 : Insegnamenti di Giovanni Paolo II, XXV:1 (2002), หน้า 637

10 พระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2, คำปราศรัยต่อที่ประชุมใหญ่ของสมณสถาบันวิชาการว่าด้วยสังคมศาสตร์, 27
เมษายน 2001, 4 : L’Osservatore Romano, ฉบับภาษาอังกฤษ, 2 พฤษภาคม 2001, หน้า 7

11 สังคายนาวาติกัน ที่ 2, Lumen gentium (ธรรมนูญด้านพระธรรม กล่าวถึง พระศาสนจักร), ข้อ 1

12 เทียบ สมณสภาเพื่อความยุติธรรมและสันติ, ประมวลคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร, ข้อ 368

13 เทียบ เพิ่งอ้าง ข้อ 356

14 คำปราศรัยต่อผู้นำสหภาพแรงงานและสมาคมผู้ใช้แรงงาน,2พฤษภาคม 2000,3:Insegnamentidi Giovanni Paolo II, XXIII, 1 (2000), หน้า 726.

15 ข้อ 28

16 เทียบ พระสันตะปาปาปอล ที่ 6, สมณสาสน์ การพัฒนาประชาชาติ, ข้อ 3

17 พระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2, สมณสาสน์ ความห่วงใยเรื่องสังคม, ข้อ 42 ; เทียบ สมณสาสน์การเฉลิมฉลองปีที่หนึ่งร้อย, ข้อ 57

18 สมณสาสน์ Rerum Novarum (เหตุการณ์ใหม่ เรื่องทุนและแรงงาน), ข้อ 45

19 เทียบ พระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2, สมณสาสน์ การเฉลิมฉลอง  ปีที่หนึ่งร้อย, ข้อ 58

20 เพิ่งอ้าง

ขอขอบคุณ คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ (ยส.)